Enfa สรุปให้
- การตรวจอัลตราซาวนด์ท้อง เป็นการตรวจโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง ซึ่งไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับร่างกาย และทารกในครรภ์ เพื่อตรวจดูอวัยวะ พัฒนาการ การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
- ราคาในการตรวจอัลตราซาวนด์จะอยู่ที่ประมาณ 400 บาท ขึ้นไป สำหรับโรงพยาบาลรัฐ หากเป็นโรงพยาบาลเอกชน จะมีราคาเริ่มต้นที่ 2,000 บาท เป็นต้นไป ซึ่งราคายังขึ้นอยู่กับประเภทในการตรวจอัลตราซาวนด์ รวมทั้งอาจจะมีค่าบริการทางการแพทย์เพิ่มเติม
- การตรวจอัลตราซาวนด์คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถตรวจผ่านได้ 2 ทาง ได้แก่ ตรวจอัลตราซาวนด์ผ่านหน้าท้อง และตรวจอัลตราซาวนด์ผ่านทางช่องคลอด
เลือกอ่านตามหัวข้อ
• อัลตราซาวนด์คืออะไร
• อัลตราซาวนด์มีกี่แบบ
• ข้อดี - ข้อเสีย ของอัลตราซาวนด์
• เตรียมตัวไปอัลตราซาวนด์อย่างไร
• ราคาตรวจอัลตราซาวนด์
• ตรวจอัลตราวซาวนด์ อันตรายไหม
• อัลตราซาวนด์บอกอายุครรภ์ได้ไหม
• รอผลอัลตราซาวนด์นานขนาดไหน
• ข้อควรรู้เกี่ยวกับอัลตราซาวนด์
• ไขข้อข้องใจเรื่องอัลตราซาวนด์กับ Enfa Smart Club
เคยได้ยินการตรวอัลตราซาวนด์กันไหมเอ่ย คุณแม่ตั้งครรภ์อาจจะได้รับนัดจากแพทย์ เพื่อตรวจอัลตราซาวนด์เจ้าตัวน้อยในครรภ์ แต่การตรวจที่ว่านี้ตรวจอะไรในครรภ์บ้าง แล้วคุณแม่ต้องเตรียมตัวอย่างไรสำหรับการตรวจอัลตราซาวนด์ท้อง วันนี้เราจะพาไปหาคำตอบกันค่ะ
อัลตราซาวนด์คืออะไร
อัลตราซาวนด์เป็นการตรวจโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง ที่มีความถี่มากกว่า 20,000 เฮิรตซ์ เกินในระดับที่หูของเราจะได้ยิน ซึ่งคลื่นเสียงนี้ จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ กับร่างกายของเรา โดยการตรวจอัลตราซาวนด์ในคุณแม่ตั้งครรภ์นั้น เพื่อตรวจดูพัฒนาการอวัยวะต่าง ๆ ของทารกในครรภ์ ว่ามีความสมบูรณ์ หรือมีความผิดปกติอะไรหรือไม่
โดยการตรวจอัลตราซาวนด์จะแสดงภาพทารกในครรภ์ออกมาในรูปแบบของภาพ 2D, 3D หรือ 4D ซึ่งขึ้นอยู่กับเทคโนยีของเครื่องอัลตราซาวนด์ที่ใช้ ซึ่งการตรวจอัลตราซาวนด์จะช่วยให้แพทย์สามารถติดตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ได้ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจดูความผิดปกติของอวัยวะต่าง ๆ อย่างหัวใจ หรือการตรวจเช็กเพศของทารกในครรภ์
อัลตราซาวนด์มีกี่แบบ
หลายคนอาจจะคิดว่า การตรวจอัลตราซาวนด์มีเพียงแบบเดียว แต่ที่จริงแล้ว สามารถจำแนกการตรวจอัลตราซาวนด์ได้หลายแบบ แต่จำแนกหลัก ๆ ได้ 2 แบบ ได้แก่
1. การตรวจอัลตราซาวนด์ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางหน้าท้อง (Transabdominal Ultrasound, TAS)
การตรวจอัลตราซาวด์ชนิดนี้ ต้องทำในขณะที่มีปัสสาวะอยู่เต็ม ซึ่งเป็นการตรวจที่ใช้กันบ่อย โดยในขณะตรวจ จะใช้เจลหล่อลื่นทาที่หน้าท้องก่อน และใช้เครื่องอัลตราซาวนด์วางเคลื่อนไปบนหน้าท้อง เจลที่ใช้ในระหว่างการตรวจนั้น จะช่วยให้เครื่องตรวจเคลื่นที่ได้ง่ายขึ้น รวมทั้งจับภาพภายในครรภ์ได้ชัดเจน
คุณแม่อาจจะต้องดื่มน้ำก่อนการตรวจอัลตราซาวนด์ล่วงหน้าประมาณ 2 ชั่วโมง เพื่อให้กระเพาะปัสสาวะมีของเหลวเพียงพอสำหรับการตรวจอัลตราซาวนด์ โดยการตรวจจะใช้เวลาประมาณ 20 นาที
2. การตรวจอัลตราซาวนด์ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางช่องคลอด (Transvaginal Ultrasound, TVS)
การตรวจอัลตราซาวนด์แบบการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงทางช่องคลอด เป็นการตรวจอัลตราซาวนด์ที่ใช้ในการตรวจที่ต้องการการประเมินแบบเฉพาะเจาะจง โดยการตรวจชนิดนี้ จะถูกการจำกัดการมองเห็นจากผนังหน้าท้อง ชั้นใต้ผิวหนัง รวมถึงลำไส้ ทำให้ไม่สามารถเห็นบริเวณอุ้งเชิงกรานได้ชัดเจน โดยเหมาะสำหรับการตรวจสิ่งเหล่านี้
• ตรวจการตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสแรก
• ตรวจเพื่อดูบริเวณปากมดลูก เช่น รกเกาะต่ำ ประเมินกระดูกสันหลังส่วนล่างของทารกในครรภ์ เนื้อสมองของทารก เป็นต้น
• ตรวจการตั้งครรภ์นอกมดลูก
• ตรวจดูภาวะผิดปกติของอุ้งเชิงกราน ที่ไม่สามารถใช้การตรวจแบบคลื่นเสียงความถี่สูงทางหน้าท้อง (Transabdominal Ultrasound, TAS) ได้
• การประเมินรังไข่ และประเมินการเจริญพันธุ์
นอกจากจะแบ่งวิธีการตรวจอัลตราซาวด์ตามที่กล่าวข้างต้นได้แล้ว การตรวจอัลตราซาวนด์ยังสามารถแสดงผลได้อีก 3 แบบด้วยกัน ดังนี้
1. แบบ Doppler: การตรวจชนิดนี้ จะตรวจดูระบบไหวเวียนเลือดของทารกในครรภ์ รวมทั้งสามารถฟังเสียงการเต้นของหัวใจเด็กทารกในครรภ์ ซึ่งการตรวจนี้ จะสามารถระบุได้ว่า ระบบไหวเวียนเลือดของทารกในครรภ์มีปัญหาอะไรหรือไม่ โดยปกติ การตรวจแบบ Doppler จะตรวจในไตรมาสที่ 3 หรือไตรมาสสุดท้าย แต่ก็สามารถตรวจก่อนเวลาได้เช่นกัน
2. แบบ 3 มิติ: การตรวจชนิดนี้ จะแสดงผลการอัลตราซาวด์ออกมาเป็นภาพ ให้ภาพของทารกในครรภ์ที่ชัดเจน สามารถตรวจดูได้ว่า อวัยวะต่าง ๆ ของทารกนั้น สมบูรณ์ หรือมีพัฒนาการที่ปกติหรือไม่ นอกจากการตรวจแบบนี้ ยังสามารถใช้ในการตรวจความผิดปกติของมดลูกได้อีกด้วย
3. แบบ 4 มิติ: การแสดงผลของการตรวจแบบ 4-D จะได้ภาพในแบบเคลื่อนไหวได้ เป็นวิดีโอ
อัลตราซาวนด์ท้องมีข้อดี – ข้อเสียอะไรบ้าง
ข้อดีการตรวจอัลตราซาวนด์ท้อง จะสามารถช่วยให้เห็นภาพที่ชัดเจนของทารกในครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นเพศ การเจริญเติบโตของอวัยวะ ระบบต่าง ๆ ของทารกในครรภ์ ว่ามีปัญหาอะไรหรือไม่ นอกจากนี้ ยังสามารถตรวจดูมดลูกของคุณแม่ ว่ามีความปกติขณะตั้งครรภ์หรือไม่
สำหรับข้อเสียในการตรวจอัลตราซาวนด์ท้องนั้น ถึงแม้ว่าการตรวจอัลตราซาวนด์จะทำให้เห็นภาพรวมของทารกในครรภ์ที่ชัดเจน แต่ทั้งนี้ การตรวจอัลตราซาวนด์ยังมีข้อจำกัดในการตรวจ ซึ่งทำให้คุณภาพของภาพนั้นแสดงผลออกมาไม่ชัดเจนได้เช่นกัน
เนื่องจากคลื่นเสียงในการตรวจอัลตราซาวนด์ ไม่สามารถทะลุผ่านร่างกายได้ลึกนัก หากคุณแม่มีภาวะอ้วน การแสดงผลภาพกก็อาจจะทำได้ยาก และยังรวมไปถึงประสบการณ์ของผู้ทำอัลตราซาวดน์ หากผู้ตรวจไม่มีความเชี่ยวชาญมากพอ ก็อาจจะทำให้ผลการตรวจขาดความแม่นยำได้
เตรียมตัวไปอัลตราซาวนด์ยังไงดี
สำหรับการเตรียมตัวไปอัลตราซาวนด์ท้อง หากเป็นการอัลตราซาวนด์ที่หน้าท้อง แพทย์ผู้เชี่ยวบางท่านอาจจะขอให้คุณแม่ดื่มน้ำจำนวนมากล่วงหน้า ประมาณ 4 – 6 แก้ว เพื่อให้กระเพาะปัสสาวะเต็ม ซึ่งจะช่วยให้เห็นภาพในครรภ์ได้ชัดขึ้น
กรณีคุณแม่ต้องอัลตราซาวนด์ผ่านทางช่องคลอด แพทย์จะขอให้คุณแม่นอนราบบนเตียง และสอดอุปกรณ์เข้าไปในช่องคลอด อาจจะทำให้คุณแม่มีความอึดอัดเล็กน้อย แต่เป็นการตรวจที่ไม่มีความเจ็บปวด โดยจะใช้เวลาประมาณ 20 นาที นอกจากนี้ก่อนการตรวจ แพทย์จะขอให้คุณแม่ปัสสาวะออกมาให้หมดก่อนเข้ารับการตรวจอัลตราซาวนด์
อัลตราซาวนด์ราคาเท่าไหร่
การตรวจอัลตราซาวนด์ท้องราคาอาจจะมีความแตกต่างกันออกไปตามประเภทของสถานพยาบาล รวมทั้งประเภทของอัลตราซาวนด์ ซึ่งการอัลตราซาวนด์ผ่านทางหน้าท้อง และช่องคลอดในโรงพยาบาลรัฐ จะมีราคาประมาณ 400 บาท เป็นต้นไป และอาจจะมีค่าบริการทางการแพทย์เพิ่มเติม
ในส่วนของโรงพยาบาลเอกชน การตรวจอัลตราซาวดน์โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในแพ็กเกจ ซึ่งจะรวมหลายรายการในแพ็กเกจเขาด้วยกัน โดยอัลตราซาวนด์ท้องแบบ 2 มิติ จะมีราคาเริ่มต้นที่ 2,000 บาท เป็นต้นไป ส่วน 3 มิติ และ 4 มิติ ก็จะมีราคาที่สูงขึ้น เริ่มต้นที่ 4,000 บาทเป็นต้นไป ซึ่งบางที่อาจจะยังไม่รวมค่าบริการทางการแพทย์
อัลตราซาวนด์บ่อย อันตรายไหม
การอัลตราซาวนด์บ่อยไม่ก่อให้เกิดอันตราย และไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงใด ๆ แต่อาจจะมีความรู้สึกไม่สบายตัวเมื่อเครื่องมือแนบลงบนผิวหนัง หรือสอดเข้าสู่ร่างกาย อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่มีอาการแพ้ยาง ควรแจ้งให้แพทย์ได้ทราบ เนื่องจากอุปกรณ์ในการตรวจมีส่วนประกอบของยาง ซึ่งหากมีอาการแพ้ยาง สามารถเปลี่ยนไปใช้อุปกรณ์ที่ไม่เคลือบด้วยยางได้
อยากรู้อายุครรภ์ สามารถอัลตราซาวนด์ดูอายุครรภ์ได้หรือไม่
การอัลตราซาวนด์สามารถบอกอายุครรภ์ได้ จากการประมาณอายุผ่านลักษณะ และการเจริญเติบโตของตัวอ่อนในครรภ์ ซึ่งเป็นการตรวจที่บอกอายุครรภ์ได้อย่างแม่นยำ
ผลอัลตราซาวนด์อายุครรภ์บอกอะไรบ้าง รอผลนานแค่ไหน
ผลการตรวจอัลตราซาวนด์แสดงการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ว่ามีอายุประมาณเท่าไหร่ จากลักษณะของตัวอ่อน รวมทั้งเมื่อทารกในครรภ์มีอายุมากขึ้น ก็จะสามารถตรวจดูการเต้นของหัวใจ รวมทั้งอวัยวะต่าง ๆ ได้ นอกจากนี้ การตรวจอัลตราซาวนด์ ยังสามารถประเมินการแท้งลูกด้วยได้อีกด้วย
โดยผลของการตรวจอัลตราซาวนด์จะสามารถทราบได้ในขณะที่ทำการตรวจ และหลังการตรวจ การอัลตราซาวนด์ส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 15 – 45 นาที และจะทราบผลได้ทันที
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการอัลตราซาวนด์
ตั้งแต่ที่รู้ตัวว่ากำลังมีลูกน้อยอยู่ในท้อง คุณแม่อย่างเราก็อดตื่นเต้นไม่ได้ อยากเห็นหัวใจลูกเต้น ดูว่าลูกปกติทุกอย่างหรือเปล่า แต่ก็ไม่แน่ใจว่าการอัลตราซาวนด์ จะมีผลเสียอะไรหรือไม่ เอนฟาเลยชวนคุณแม่มาทำความเข้าใจกับข้อสงสัยต่าง ๆ กัน
อัลตราซาวนด์เป็นคลื่น ไม่ใช่รังสี
การตรวจอัลตราซาวนด์ เป็นการส่งคลื่นความถี่เสียงไปยังบริเวณหน้าท้อง หรือสอดเข้าไปทางช่องคลอด เพื่อตรวจดูการเจริญเติบโต พัฒนาการ รวมทั้งอายุของทารกในครรภ์ ซึ่งการตรวจอัลตราซาวนด์นอกจากตรวจดูความปกติของทารกในครรภ์แล้ว ยังสามารถช่วยประเมินความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เช่น โรคปากแหว่งเพดานโหว่ การเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ เป็นต้น
อัลตราซาวนด์ อันตรายหรือปลอดภัยกันแน่?
คุณแม่ทีมีความกังว่า การอัลตราซาวนด์ จะส่งคลื่นความถี่ หรือพลังงานจากเครื่องตรวจจะไปส่งผลกระทบกับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไม่จริง และการตรวจอัลตราซาวนด์มีความปลอดภัย ทั้งคุณแม่ และลูกน้อยในครรภ์
อัลตราซาวนด์ต้องเป็นไปตามวัยของลูก
คุณแม่บางคนอาจจะไม่ได้มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในการอัลตราซาวนด์ แต่คุณหมอ และผู้เชี่ยวชาญก็อยากแนะนำว่า ควรตรวจอัลตราซาวนด์เท่าที่จำเป็น หรือตามที่แพทย์ได้ทำการนัดไว้ โดยแพทย์อาจจะเริ่มตรวจอัลตราซาวนด์ในช่วงอายุครรภ์ 6 – 12 สัปดาห์ นับตั้งแต่การปฏิสนธิเป็นต้นไป ซึ่งอาจจะมีการตรวจชั้นความหนาที่รอบคอ ร่วมกับการตรวจเลือดของทารกในครรภ์ ว่ามีความเสี่ยงของภาวะดาวน์ซินโดรมหรือไม่
ในช่วงอายุครรภ์ 16 – 20 สัปดาห์ การอัลตราซาวนด์จะสามารถตรวจดูเพศของลูกน้อยได้ รวมทั้งพัฒนาการ การเจริญเติบโตของอวัยวะในร่างกาย ซึ่งการอัลตราซาวนด์สามารถแสดงผลตรวจต่าง ๆ ดังนี้
• เช็กอัตราการเต้นของหัวใจ จำนวนครั้งต่อนาที มีความปกติหรือไม่
• ขนาดของทารก มีขนาดตามเกณฑ์ปกติหรือไม่ รวมทั้งสามารถประเมินน้ำหนักของทารกในครรภ์ได้คร่าว ๆ
• ตรวจดูตำแหน่งของรก ว่ามีปัญหารกพันคอของทารกในครรภ์หรือไม่
• ปริมาณน้ำคร่ำของคุณแม่ มีมากไปก็ไม่ดี น้อยไปก็อาจเกิดปัญหา
• ความผิดปกติของร่างกาย เช็กศีรษะ คอ หัวใจ กระดูกสันหลัง แขน ขา นิ้ว ของทารกในครรภ์ มีปัญหาอะไรหรือไม่
ไขข้อข้องใจเรื่องการอัลตราซาวนด์กับ Enfa Smart Club
อัลตราซาวนด์ครั้งแรกกี่สัปดาห์
โดยทั่วไปแล้ว การอัลตราซาวนด์การตั้งครรภ์จะนิยมตรวจเมื่อมีอายุครรภ์ 8 สัปดาห์ขึ้นไป เนื่องจากจะสามารถมองเห็นรูปร่างของตัวอ่อนได้ชัดเจน ในช่วงอายุนี้ ตัวอ่อนจะมีการโค้งงอ และมีการเปลี่ยนแปลงจนมีลักษณะคล้ายมนุษย์แล้ว
ตั้งครรภ์ 5 สัปดาห์ อัลตราซาวนด์เร็วไปไหม
การอัลตราซาวนด์ในสัปดาห์ที่ 5 สามารถทำได้ และไม่ได้เร็วเกินไป หากแพทย์ขอให้มีการตรวจอัลตราซาวนด์ เพื่อตรวจเช็กการปฏิสนธิของตัวอ่อนว่าสัมฤทธิ์ผลหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ในช่วงอายุครรภ์ 5 สัปดาห์ ผลตรวจจะแสดงให้เห็นการตั้งครรภ์ ในลักษณะของถุงการตั้งครรภ์ หรือมองเห็นถุงไข่แดง ซึ่งยังมีการเจริญเติบโตที่ไม่มาก
ตั้งครรภ์ 7 สัปดาห์ อัลตราซาวนด์จะเห็นเพศลูกหรือเปล่า
การตรวจอัลตราซาวนด์เพื่อดูเพศของลูก จะเห็นได้ชัดในช่วงอายุครรภ์ 16 สัปดาห์เป็นต้นไป ในช่วงสัปดาห์ที่ 7 อาจจะยังไม่สามารถเห็นเพศของทารกในครรภ์ได้
ตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์ อัลตราซาวนด์ได้หรือยัง
ตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์ สามารถทำอัลตราซาวนด์ได้ ซึ่งยังเป็นช่วงเวลาที่นิยมตรวจอัลตราซาวนด์อีกด้วย เนื่องจากอายุครรภ์นี้ จะสามารถมองเห็นรูปร่างของตัวอ่อนในครรภ์ได้อย่างชัดเจน
ตั้งครรภ์ 9 สัปดาห์ อัลตราซาวนด์ได้หรือไม่
ตั้งครรภ์ 9 สัปดาห์ สามารถทำการอัลตราซาวนด์ได้ ซึ่งตั้งแต่อายุครรภ์ 8 สัปดาห์ขึ้นไป เป็นช่วงเวลาที่นิยมในการตรวจอัลตราซาวนด์ เนื่องจากจะมองเห็นตัวอ่อนในครรภ์เป็นรูปร่างชัดเจนกว่าช่วงอายุก่อนหน้า
ตั้งครรภ์ 10 สัปดาห์ อัลตราซาวนด์ได้หรือเปล่า
อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ สามารถอัลตราซาวนด์ได้ แต่ยังไม่สามารถดูเพศของทารกในครรภ์ได้
ตั้งครรภ์ 11 สัปดาห์ อัลตราซาวนด์จะเห็นอะไรบ้าง
การตรวจอัลตราซาวนด์ในอายุครรภ์ 11 สัปดาห์ จะแสดงผลให้เห็นตัวอ่อนในครรภ์ ที่มีขนาดเล็ก และมีรูปร่างคล้ายมนุษย์ สามารถวัดความยาวตั้งแต่ศีรษะ จนถึงกระดูกก้นกบ ซึ่งยังสามารถระบุวันกำหนดคลอดในคุณแม่ที่จำช่วงเวลาของรอบเดือนไม่ได้อีกด้วย
ตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์ อัลตราซาวนด์ช้าไปหรือเปล่า
การอัลตราซาวนด์ในช่วงอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ไม่ได้มีความช้าเกินไป เนื่องจากโดยส่วนใหญ่แล้ว จะเริ่มนิยมตรวจอัลตราซาวนด์กันในช่วง
- March of Dimes. Ultrasound during pregnancy. [Online]. Accessed https://www.marchofdimes.org/pregnancy/ultrasound-during-pregnancy.aspx#. [14 July 2022]
- Mayo Clinic. Fetal ultrasound. [Online]. Accessed https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/fetal-ultrasound/about/pac-20394149. [14 July 2022]
- Healthline. Pregnancy Ultrasound. [Online]. Accessed https://www.healthline.com/health/pregnancy/ultrasound. [14 July 2022]
- UT Southwestern Medical Center. Pregnancy without ultrasound? Pros and cons. [Online]. Accessed https://utswmed.org/medblog/pregnancy-without-ultrasound-pros-and-cons/. [14 July 2022]
- Verywell Family. Early Pregnancy Ultrasound Results. [Online]. Accessed https://www.verywellfamily.com/understand-early-pregnancy-ultrasound-results-2371367. [14 July 2022]
- Verywell Family. Ultrasound Accuracy for Predicting Due Dates. [Online]. Accessed https://www.verywellfamily.com/are-ultrasounds-accurate-for-predicting-due-dates-2371403. [14 July 2022]
- โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์. ข้อควรรู้ การทำอัลตราซาวด์ขณะตั้งครรภ์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.chularat3.com/knowledge_detail.php?lang=th&id=463. [14 July 2022]
- ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. Ultrasonography in Obstetric Emergencies. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/topic-review/2367/. [14 July 2022]
- Pobpad. รู้ไว้ก่อนไปอัลตราซาวด์ (Ultrasound). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.pobpad.com/รู้ไว้ก่อนไปอัลตราซาวด. [14 July 2022]
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์