ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
แจ้งเกิดภายในกี่วัน

แจ้งเกิดภายในกี่วัน ขอสูติบัตรต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

Enfa สรุปให้

  • แจ้งเกิดภายในกี่วัน? การแจ้งเกิด จะต้องดำเนินการภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันที่เกิด หากพ้น 15 วันไปแล้ว จะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือในกรณีจำเป็นไม่อาจแจ้งเกิดได้ตามกำหนด ให้ทำการแจ้งเกิดภายหลังได้ แต่ต้องไม่เกิน 30 วันนับตั้งแต่วันที่เกิด
  • การแจ้งเกิดลูก คือ การนำเข้าข้อมูลสู่ทะเบียนราษฏรตามกฎหมาย และสูติบัตรถือเป็นเอกสารทางราชการเพื่อใช้ในการพิสูจน์ตัวบุคคล ตลอดจนการดำเนินเรื่องขอสิทธิ์ หรือรับสิทธิต่าง ๆ ตามกฎหมาย
  • การแจ้งเกิดเข้าทะเบียนบ้าน ผู้ที่ต้องเป็นคนไปแจ้งเกิด คือเจ้าบ้าน หรือบิดามารดา ทำเรื่องแจ้งต่อนายทะเบียนในพื้นที่ที่เด็กเกิด ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่เด็กเกิด

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • การแจ้งเกิดสำคัญอย่างไร
     • เอกสารแจ้งเกิดมีอะไรบ้างอัปเดตปี 2567
     • ขั้นตอนในการแจ้งเกิดทำอย่างไร
     • แจ้งเกิดภายในกี่วัน
     • ไขข้อข้องใจเรื่องการแจ้งเกิดกับ Enfa Smart Club

ในบรรดาของเตรียมคลอดที่คุณพ่อคุณแม่ต้องทำเช็กลิสต์กันไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ นั้น สิ่งหนึ่งที่จะขาดไปไม่ได้และถือว่าเป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญเลยก็คือ ตั้งชื่อจริงลูกชาย ลูกสาวไว้ให้พร้อม การเตรียมเอกสารสำหรับการแจ้งเกิดบุตร เพื่อทำใบสูติบัตรหรือใบเกิด ทั้งยังเป็นการนำเข้าข้อมูลสู่ฐานทะเบียนราษฏรอีกด้วย

ซึ่งแน่นอนว่าพอเป็นเรื่องเอกสารแล้ว ก็อาจจะก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวายกันในบางครั้ง ยิ่งในกรณีที่เป็นลูกคนแรกก็ยิ่งตื่นเต้นจนอาจจะลืมนึกถึงการแจ้งเกิดไป

บทความนี้จาก Enfa จะมาแนะนำรายละเอียดเบื้องต้นในการแจ้งเกิดค่ะ มาดูสิว่าคุณพ่อคุณแม่ควรจะต้องแจ้งเกิดภายในกี่วัน และการแจ้งเกิดจะต้องใช้เอกสารใดในการยื่นบ้าง มาติดตามกันค่ะ

ทำไมถึงต้องมีการแจ้งเกิด


การแจ้งเกิดลูก ถือเป็นการนำเข้าข้อมูลสู่ทะเบียนราษฏรตามกฎหมาย และสูติบัตรถือเป็นเอกสารทางราชการเพื่อใช้ในการพิสูจน์ตัวบุคคล ตลอดจนการดำเนินเรื่องขอสิทธิ์ หรือรับสิทธิต่าง ๆ

การแจ้งเกิดจึงเป็นหน้าที่ที่พึงกระทำเพื่อให้ลูกได้รับการยืนยันตัวตนตามกฎหมาย และสามารถรับสิทธิต่าง ๆ ในอนาคตได้อย่างถูกต้อง

สูติบัตร สำคัญอย่างไรและจะได้มาเมื่อไหร่


สูติบัตร ถือเป็นเอกสารสำคัญทางราชการที่คุณพ่อ คุณแม่ หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจให้ไปดำเนินการแจ้งเกิดจะได้รับภายในวันเดียวกันนั้นเลย ซึ่งสูติบัตรนอกจากจะเป็นเอกสารในการยืนยันตัวบุคคลแล้ว ก็ยังจำเป็นต้องใช้ในหลายกรณี ดังนี้

  • ใช้เพื่อเป็นหลักฐานในการประกอบคำร้องขอแจ้งชื่อบุตรเข้าทะเบียนบ้านต่อนายทะเบียนท้องที่
  • ใช้เพื่อขอมีรายการบุคคลและเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักในฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร และเกี่ยวข้องกับสิทธิหน้าที่ของบุคคล ได้แก่ การเลือกตั้ง การขอหนังสือเดินทาง เป็นต้น

ดังนั้น จึงเป็นเหตุผลว่าเมื่อได้รับสูติบัตรมาแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล หากพบว่ามีข้อมูลใดที่ไม่ถูกต้อง หรือผิดพลาด ควรรีบแจ้งต่อเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการแก้ไขทันที

เอกสารแจ้งเกิด ที่พ่อแม่ต้องเตรียมให้พร้อมมีอะไรบ้าง อัปเดตปี 2567


เอกสารหรือหลักฐานที่ใช้ประกอบการยื่นคำร้องการแจ้งเกิด มีดังนี้

     1. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง

     2. เอกสารแสดงตนของบิดา - มารดา (ถ้ามี)

     3. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน (กรณีเกิดในท้องที่)

     4. หนังสือรับรองการเกิดตามแบบ ท.ร.1/1 (กรณีเกิดในสถานพยาบาล)

     5. ใบรับแจ้งการเกิด ตามแบบ ท.ร.1 ตอนหน้า (กรณีเกิดในบ้านหรือนอกบ้าน)

     6. หนังสือมอบหมายหรือหนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

ในกรณีที่ยื่นสำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถื่นแห่งท้องที่ที่บิดา มารดา หรือผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ต้องมีเอกสารหรือหลักฐาน ดังนี้

     1. หนังสือรับรองการเกิดตามแบบที่ออกให้โดยโรงพยาบาล ท.ร.1/1 (กรณีเกิดในสถานพยาบาล)

     2. พยานบุคคลจำนวน 2 คน

กรณีที่ไม่มีหนังสือรับรองการเกิด ให้ใช้ผลตรวจทางวิทยาศาสตร์ ผลตรวจดีเอ็นเอ เพื่อพิสูจน์ความสัมพันธ์

ขั้นตอนการแจ้งเกิด มีอะไรบ้าง อัปเดตปี 2567


ขั้นตอนในการแจ้งเกิดโดยปกติแล้วมี 2 ขั้นตอนด้วยกัน ได้แก่

     1. การตรวจสอบเอกสาร (ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 10 นาที)

     2. การพิจาณาอนุมัติและแจ้งผล (ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 10 นาที)

รวมระยะเวลาในการดำเนินการสำหรับการแจ้งเกิดประมาณ 20 นาที

ขั้นตอนการแจ้งเกิดกรณีที่เด็กเกิดในโรงพยาบาล

การแจ้งเกิดเด็กในกรณีที่เกิดในโรงพยาบาล ใช้เอกสารดังนี้

     1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้งและของบิดามารดา

     2. สำเนาทะเบียนบ้านของบิดา มารดา (ถ้ามี)

     3. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่ต้องการจะเพิ่มชื่อเด็กที่เกิด

     4. หนังสือรับรองการเกิดที่ออกให้โดยโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่เด็กเกิด (ถ้ามี)

ส่วนขั้นตอนการยื่นแจ้งเกิดนั้น ทำเช่นเดียวกับการยื่นแจ้งเกิดตามปกติ

ขั้นตอนการแจ้งเกิดกรณีที่เด็กเกิดที่บ้านหรือสถานที่ที่ไม่ใช่สถานพยาบาล

เอกสารสำหรับการแจ้งเกิดกรณีที่เด็กเกิดในบ้าน ได้แก่

     1. บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน หรือบิดา หรือมารดา หรือผู้ได้รับมอบหมาย

     2. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

     3. บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน หรือบิดา หรือมารดา หรือหนังสือมอบหมายกรณีได้รับมอบหมาย

เมื่อเตรียมเอกสารครบแล้ว ให้ดำเนินการแจ้งเกิดในพื้นที่เขต เทศบาล หรืออำเภอตามทะเบียนบ้านที่บิดามารดาหรือผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามปกติ

ขั้นตอนการแจ้งเกิดกรณีเด็กถูกทอดทิ้ง

หากพบเด็กถูกทอดทิ้ง ให้ผู้ที่พบเด็กนั้นนำเด็กส่งให้และแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ประชาสงเคราะห์ในเขตพื้นที่นั้น ๆ หรือเจ้าที่และหน่วยงานของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จากนั้นเจ้าหน้าที่ประชาสงเคราะห์จะทำการแจ้งเกิดภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับตัวเด็กไว้

โดยมีเอกสารที่ต้องใช้แจ้งเกิดกรณีเด็กถูกทอดทิ้ง ดังนี้

     1. บัตรประจำตัวผู้แจ้ง

     2. สำเนาทะเบียนบ้านของสถานสงเคราะห์หรือสถานที่ที่ขอรับตัวเด็กไว้

     3. บันทึกการรับตัวเด็ก ซึ่งจัดทำโดยพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ประชาสงเคราะห์ในเขตพื้นที่นั้น ๆ หรือเจ้าที่และหน่วยงานของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

     4. หลักฐานการรับตัวเด็กของหน่วยงานที่รับตัวเด็กไว้

     5. รูปถ่ายของเด็ก ขนาด 2 นิ้ว จำนวน 2 รูป

     6. หลักฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวเด็ก ทั้งเอกสารต่าง ๆ ที่ติดตัวเด็กมา พยานที่พบเห็น พยานวัตถุ

ขั้นตอนการแจ้งเกิดกรณีเด็กถูกทอดทิ้ง

  1. นายทะเบียนจะรับเรื่องและตรวจสอบเอกสารและหลักฐานต่าง ๆ
  2. นายทะเบียนจะทำการตรวจสอบข้อมูลของเด็กในฐานข้อมูลทะเบียนราษฏรว่ามีการแจ้งเกิด หรือรายการบุคคลของเด็กที่ขอแจ้งเกิดในทะเบียนบ้านอื่นหรือไม่
  3. สอบสวนผู้แจ้ง พยานบุคคลที่พบเห็นและเกี่ยวข้อง เพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประวัติของบิดามารดาที่แท้จริงของเด็ก
  4. ออกใบรับรองการแจ้งเกิด ท.ร. 100 ให้แก่ผู้แจ้งเกิด
  5. นายทะเบียนตรวจสอบความสมบูรณ์ของประเด็นการสอบสวนพยานบุคคลและรวบรวมหลักฐาน จากนั้นนำเสนอต่อนายอำเภอภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับการแจ้งเกิด โดยจะต้องมีการสรุปความเห็น และเหตุผลประกอบการแจ้งเกิดว่าเด็กที่ขอการแจ้งเกิด เป็นผู้ที่เกิดในราชอาณาจักรหรือไม่ เป็นผู้มีสัญชาติไทย หรือไม่มีสัญชาติไทย หรือไม่สามารถยืนยันการเกิดและสัญชาติของเด็กได้
  6. เมื่อนายอำเภอได้รับข้อมูลทั้งหมดแล้ว ต้องทำการพิจารณาและแจ้งผลต่อนายทะเบียนภายใน 30 วัน
  7. กรณีที่ผลการพิจารณาระบุว่าเด็กที่ขอแจ้งเกิด เป็นผู้เกิดในราชอาณาจักรและได้รับสัญชาติไทย ให้นายทะเบียนออกสูติบัตร ท.ร.1 หรือ ท.ร.2 แล้วแต่กรณี โดยในเอกสารนั้นให้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับบิดา มารดา เท่าที่ทราบ
  8. แต่ถ้าผลการพิจารณาออกมาว่า เด็กที่ขอแจ้งเกิด เกิดในราชอาณาจักร แต่ไม่ได้รับสัญชาติไทย ให้นายทะเบียนออกสูติบัตร ท.ร.๓ โดยในเอกสารนั้นให้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับบิดา มารดา เท่าที่ทราบ
  9. เพิ่มชื่อเด็กนั้นเข้าในทะเบียนบ้าน ท.ร. 14 หรือ ท.ร. 13 ของสถานสงเคราะห์ แล้วแต่กรณี
  10. กรณีที่ผลการพิจารณาระบุว่าเด็กที่ขอแจ้งเกิด ไม่ได้เกิดในราชอาณาจักรและไม่ได้รับสัญชาติไทย หรือไม่สามารถพิสูจน์ข้อมูลการเกิดและสัญชาติของเด็กได้ ให้นายทะเบียนจัดทำทะเบียนประวัติ ท.ร.38ก ให้เด็กเป็นบุคคลประเภท 0 โดยใช้บ้านเลขที่ของสถานสงเคราะห์

ขั้นตอนการแจ้งเกิดกรณีที่เด็กมีพ่อหรือแม่ที่ไม่ใช่สัญชาติไทย หรือทั้งพ่อและแม่ไม่ได้มีสัญชาติไทย

ในกรณีที่เด็กไม่มีสัญชาติไทย โดยที่พ่อหรือแม่ไม่ได้มีสัญชาติไทย หรือทั้งพ่อและแม่ไม่ได้รับสัญชาติไทย และไม่ว่าเด็กนั้นจะมีสิทธิได้รับสัญชาติไทยหรือไม่ก็ตาม นายทะเบียนมีหน้าที่ที่จะต้องรับแจ้งการเกิดของเด็กทุกคน หากมีหลักฐานปรากฎว่าเด็กนั้นเกิดในราชอาณาจักร

โดยผู้แจ้งให้เตรียมเอกสาร ดังนี้

     1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้งและของบิดามารดา

     2. สำเนาทะเบียนบ้านของบิดา มารดา (ถ้ามี)

     3. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่ต้องการจะเพิ่มชื่อเด็กที่เกิด

     4. หนังสือรับรองการเกิดที่ออกให้โดยโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่เด็กเกิด (ถ้ามี)

เมื่อเตรียมเอกสารครบแล้วให้ทำการยื่นแจ้งเกิดตามปกติ เพียงแต่จะมีการกระบวนการพิจารณาในการออกสูติบัตรที่แตกต่างไป ซึ่งในกรณีของเด็กที่พ่อหรือแม่ไม่ได้มีสัญชาติไทย หรือทั้งพ่อและแม่ไม่ได้รับสัญชาติไทย เด็กจะได้รับสูติบัตร ประเภท ท.ร.3

แจ้งเกิดภายในกี่วัน


สำหรับคำถามว่าต้องแจ้งเกิดภายในกี่วันนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรทำการแจ้งเกิดภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันที่เกิด หากพ้น 15 วันไปแล้ว จะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือในกรณีจำเป็นไม่สามารถแจ้งเกิดได้ตามกำหนด ให้ทำการแจ้งเกิดภายหลังได้ แต่ต้องไม่เกิน 30 วันนับตั้งแต่วันที่เกิด

การแจ้งเกิดล่าช้าเกินกำหนดมีผลอะไรหรือไม่? สามารถแจ้งเกิดย้อนหลังได้ไหม?

การแจ้งเกิดเลยกำหนด 15 วัน หรือพ้นจากกรณีจำเป็น 30 วัน ถือว่ามีบทลงโทษตามกฎหมาย จะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 1,000 บาท

ในกรณีที่แจ้งเกิดเลยกำหนดจากที่ได้กำหนดไว้ในทุกกรณี ก็สามารถดำเนินการได้ตามปกติ เพียงแต่จะเสียค่าปรับไม่เกิน 1,000 บาท และนอกเหนือจากเอกสารตามปกติที่จะต้องเตรียมแล้ว ยังจำเป็นที่จะต้องมีพยานบุคคลมาให้ถ้อยคำประกอบการแจ้งเกิดด้วย โดยอาจจะเป็นบิดา มาดา ผู้ทำคลอด ผู้เห็นการคลอด กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ตลอดจนพยานหลักฐานอื่น ๆ (ถ้ามี) เพื่อประกอบการพิจารณา

แจ้งเกิดลูกเข้าทะเบียนบ้าน ใครต้องเป็นคนไปแจ้ง

การแจ้งเกิดเข้าทะเบียนบ้าน ผู้ที่ต้องเป็นคนไปแจ้งคือเจ้าบ้าน หรือบิดามารดา ทำเรื่องแจ้งต่อนายทะเบียนในพื้นที่ที่เด็กเกิด ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่เกิด

แจ้งเกิดออนไลน์ ได้หรือเปล่า

ปัจจุบันยังไม่สามารถทำการแจ้งเกิดออนไลน์ได้ ผู้แจ้งเกิดยังจำเป็นจะต้องเตรียมเอกสารไปดำเนินเรื่องที่สำนักงานเขต เทศบาล หรืออำเภอ ส่วนในกรณีที่เกิดในต่างประเทศ สามารถทำการแจ้งเกิดได้ที่สถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุล

อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่สามารถแจ้งเกิดออนไลน์ได้ แต่ปัจจุบันนี้ในบางพื้นที่ก็มีการเปิดให้จองคิวออนไลน์ เพื่อให้ผู้ที่ต้องการติดต่อดำเนินการเรื่องต่าง ๆ สามารถทำการจองคิวได้ล่วงหน้า ซึ่งก็แล้วแต่พื้นที่ บางพื้นที่ก็มีบริการจองคิวออนไลน์ แต่บางพื้นที่ก็ไม่มี

ไขข้อข้องใจเรื่องการแจ้งเกิดและสูติบัตร กับ Enfa Smart Club


1. แจ้งเกิดใช้อะไรบ้าง?

ในกระบวนการแจ้งเกิด จำเป็นต้องมีเอกสารเบื้องต้น ดังนี้

     1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้งและของบิดามารดา

     2. สำเนาทะเบียนบ้านของบิดา มารดา (ถ้ามี)

     3. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่ต้องการจะเพิ่มชื่อเด็กที่เกิด

     4. หนังสือรับรองการเกิดที่ออกให้โดยโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่เด็กเกิด (ถ้ามี)

2. แจ้งเกิดใช้เอกสารอะไรบ้าง?

เอกสารในการแจ้งเกิดที่คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องเตรียมไว้ให้พร้อม ได้แก่

     1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้งและของบิดามารดา

     2. สำเนาทะเบียนบ้านของบิดา มารดา (ถ้ามี)

     3. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่ต้องการจะเพิ่มชื่อเด็กที่เกิด

     4. หนังสือรับรองการเกิดที่ออกให้โดยโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่เด็กเกิด (ถ้ามี)

3. แจ้งเกิดไม่มีบัตรประชาชนพ่อทำไงดี?

หากไม่มีบัตรประชาชนพ่อ คุณพ่อควรยื่นเรื่องและดำเนินการทำบัตรประชาชนให้เรียบร้อย เพื่อให้มีเอกสารครบถ้วนในการยื่นแจ้งเกิดบุตร

4. แจ้งเกิดไม่มีทะเบียนบ้านต้องทำยังไง?

ในกรณีที่ไม่มีทะเบียนบ้าน นายทะเบียนจะแจ้งเกิดเด็กไว้ในทะเบียนบ้านกลางของพื้นที่นั้น ๆ แทน

5. ขั้นตอนการแจ้งเกิด มีอะไรบ้าง?

ขั้นตอนในการแจ้งเกิดโดยทั่วไป มีดังนี้

1. เตรียมเอกสารทั้งหมดเพื่อนำไปยื่นต่อนายทะเบียนในพื้นที่ที่เด็กเกิด เอกสารที่ต้องใช้

  • บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้งและของบิดามารดา
  • สำเนาทะเบียนบ้านของบิดา มารดา (ถ้ามี)
  • สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่ต้องการจะเพิ่มชื่อเด็กที่เกิด
  • หนังสือรับรองการเกิดที่ออกให้โดยโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่เด็กเกิด (ถ้ามี)

2. จากนั้นนายทะเบียนจะตรวจสอบเอกสารและหลักฐานต่าง ๆ ในการแจ้งเกิด หรือตรวจสอบว่ามีการแจ้งเกิดภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดหรือไม่

3. เมื่อตรวจเอกสารเรียบร้อยแล้ว นายทะเบียนจะทำการเสนอต่อนายอำเภอในพื้นที่เพื่อพิจารณาอนุมัติออกสูติบัตร ลงรายการในสูติบัตร และเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน

4. นายทะเบียนมอบสูติบัตรตอนที่ 1 ทะเบียนบ้าน และเอกสารต่าง ๆ กลับคืนให้กับผู้แจ้ง



บทความแนะนำสำหรับคุณแม่

บทความที่แนะนำ

vaccines for children 2022
เบิกค่าคลอดประกันสังคม
baby-led-weaning
Enfa Smart Club

Leaving page banner

 

Leaving page banner