Enfa สรุปให้
วัยทารกแรกเกิด คือช่วงอายุระหว่าง 0 - 4 สัปดาห์หลังคลอด โดยช่วงชีวิตของเด็กทารกแรกเกิดนั้นเป็นระยะที่มีความสำคัญอย่างมาก
สุขภาพและร่างกายของทารกหลังแรกคลอด มีความบอบบาง เสี่ยงต่อการติดเชื้อง่าย เพราะระบบภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรง และยังต้องใช้เวลาในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่
คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยดูแลอย่างดีและใกล้ชิด เพื่อให้เด็กสามารถปรับตัวเข้ากับบรรยากาศและสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ ที่แตกต่างไปจากตอนอยู่ในครรภ์ของแม่ได้อย่างราบรื่น
เลือกอ่านตามหัวข้อ
ทารกหลังคลอด หรือทารกแรกเกิด เป็นช่วงเวลาที่สำคัญมาก เพราะทารกกำลังจะปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ และในขณะเดียวกันก็เสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ รวมถึงความผิดปกติบางประการที่อาจพบได้เฉพาะในเด็กทารกแรกเกิด ดังนั้น ระยะแรกหลังคลอดออกมาใหม่ ๆ นี้ ทารกจำเป็นจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากคุณพ่อคุณแม่
วัยทารกแรกเกิด คือช่วงอายุระหว่าง 0-4 สัปดาห์หลังคลอด โดยช่วงชีวิตของเด็กทารกแรกเกิดนั้นเป็นระยะที่มีความสำคัญอย่างมาก คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยดูแลอย่างดีและใกล้ชิด เพื่อให้เด็กสามารถปรับตัวเข้ากับบรรยากาศและสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ ที่แตกต่างไปจากตอนอยู่ในครรภ์ของแม่ได้อย่างราบรื่น
ช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด หากไม่มีภาวะผิดปกติใด ๆ ของแม่และเด็ก แพทย์ก็จะให้กลับมาพักฟื้นหลังคลอดกันต่อที่บ้านค่ะ ซึ่งช่วงเวลาหลังจากออกจากโรงพยาบาลกลับมาพักฟื้นที่บ้านนี้เอง ที่คุณพ่อคุณแม่จะพบกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มากมายของลูกน้อยที่จะทำให้กิจวัตรประจำวันของทั้งคุณพ่อและคุณแม่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง
หลังคลอดคุณแม่จะต้องเริ่มให้นมลูกทันที ไม่ต้องรอให้พักฟื้นจนหายดีก่อน การทำให้ลูกคุ้นเคยกับเต้านม หัวนม และนมแม่ได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี
โดยเด็กทารกแรกเกิดนั้นจะต้องกินนมแม่ทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง และเวลาให้นมแม่ ควรจะให้นมแม่ข้างละ 10-15 นาทีแล้วจึงเปลี่ยนข้าง ที่สำคัญคือควรให้นมแม่อย่างเดียวและต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือนค่ะ
ทารกเองก็จำเป็นจะต้องได้รับการทำความสะอาดเช่นกัน คุณพ่อคุณแม่ควรอาบน้ำให้ลูกในบริเวณที่มีอุณหภูมิอุ่น ไม่เย็นเกินไป ลมไม่โกรกเกินไป และควรอาบในช่วงสาย ๆ หรือช่วงบ่าย หรือเลือกอาบในช่วงเวลาที่อากาศอบอุ่นจะดีที่สุด การอาบน้ำในช่วงเวลาและสภาพแวดล้อมที่มีอากาศเย็นมาก ๆ อาจทำให้ลูกไม่สบายได้
เวลาอาบน้ำควรใช้น้ำที่อุณหภูมิห้อง และไม่ต้องใช้แชมพูหรือผลิตภัณฑ์ใด ๆ ใช้เพียงน้ำเปล่าก็เพียงพอแล้ว มากไปกว่านี้ ควรอาบน้ำลูกให้เสร็จเรียบร้อยภายใน 5-7 นาที หากอาบนานกว่านั้นทารกอาจจะไม่สบายเอาได้
คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรปล่อยปละละเลยสะดือของลูกให้หมักหมมนะคะ หลังอาบน้ำเสร็จทุกครั้งให้ซับเบา ๆ จนสะดือแห้ง จากนั้นใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาดบริเวณสะดือ เวลาเช็ดสะดือให้ค่อย ๆ เช็ดวนจากด้านในออกมาด้านนอก และควรเช็ดเบา ๆ อย่าเช็ดแรงจนเกินไป
โดยขั้วสะดือของทารกหลังจากตัดสายสะดือแล้วจะใช้เวลาราว ๆ 1-2 สัปดาห์ และจะค่อย ๆ หลุดไปเอง แต่ถ้าสะดือหลุดแล้ว และมีกลิ่น มีหนอง หรือของเหลวออกมา ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อได้
ทารกแรกเกิดจะขับถ่ายบ่อยมากค่ะ โดยเฉพาะทารกที่กินนมแม่ยิ่งถ่ายบ่อย คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกอยู่เสมอ อย่าปล่อยให้ลูกขับถ่ายและหมักหมมจนผ้าอ้อมแฉะ อาจเสี่ยงต่อผื่นผ้าอ้อมได้
โดยก่อนเปลี่ยนผ้าอ้อมให้จัดการทำความสะอาดก้น อวัยวะเพศ ขาหนีบ และต้นขาของทารกให้สะอาด แล้วจึงเปลี่ยนผ้าอ้อมให้เรียบร้อย
การห่อตัวทารกนั้นจะช่วยให้ทารกรู้สึกสบายตัว ปลอดภัย เหมือนกับเมื่อครั้งที่ยังนอนอยู่ในครรภ์ของมารดา วิธีนี้จึงช่วยให้ทารกรู้สึกสงบ และนอนหลับได้อย่างสบายตัว โดยวิธีห่อตัวทารก สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้
วางผ้าลงกับพื้นราบ หรือบนเตียง แล้วพับมุมผ้าลง ให้ผ้ามีลักษณะเป็นรูปห้าเหลี่ยม
วางลูกลงบนผ้า ให้บ่าอยู่บริเวณขอบผ้า และศีรษะอยู่พ้นมุมผ้าที่พับลง
ใช้มือข้างหนึ่งจับทารกไว้ มืออีกข้างหยิบมุมซ้ายของผ้ามาห่มทับลำตัวของทารก และพาดไปสอดไว้ใต้แขนอีกข้างของทารก แล้วดึงชายผ้าส่วนที่เหลืออ้อมไปเก็บไว้ด้านหลัง
จากนั้นหยิบผ้าจากมุมขวามือ ห่อพาดแขนขวาและลำตัวของทารก เหน็บผ้าส่วนเกินไว้ทางด้านหลัง
ค่อย ๆ พับหรือม้วนผ้าที่อยู่ด้านล่างหรือ่วนปลายเท้าขึ้นมาและเหน็บไว้ด้านล่างให้เรียบร้อย หรือจะผูกเอาก็ได้ค่ะ
ทารกแรกเกิดควรจะต้องนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ และเวลานอนควรจัดให้ทารกนอนให้ห้องหรือสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเท ไม่ร้อนเกินไป และไม่เย็นจนเกินไป
มากไปกว่านั้น ไม่ควรให้ทารกนอนคว่ำ แต่ควรดูแลให้ทารกนอนหงายอยู่เสมอ การนอนคว่ำอาจเสี่ยงต่อปัญหาการหายใจ ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสี่ยงของโรคไหลตายในเด็ก ซึ่งเกิดจากการหายใจไม่ออกในขณะนอนหลับค่ะ ถือว่าเป็นความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตที่พบได้บ่อยมากในทารกแรกเกิด
ทารกแรกเกิดควรจะต้องได้รับวัคซีนตามที่แพทย์กำหนด โดยวัคซีนบางชนิดทารกอาจได้รับตั้งแต่แรกเกิดเลยก็มี และเมื่ออายุมากขึ้นก็จะต้องทยอยเข้ารับวัคซีนชนิดอื่น ๆ ที่เหลือให้ครบตามกำหนด ข้อสำคัญคือคุณพ่อคุณพ่อต้องหาเวลาพาลูกไปเข้ารับวัคซีนให้ครบตามกำหนดนด้วยนะคะ เพื่อที่เด็กจะได้มีภูมิคุ้มกันสำหรับป้องกันโรคต่าง ๆ
อาการตัวเหลืองในทารกแรกเกิดนั้นเป็นเรื่องปกติค่ะ โดย 2-3 วันแรกหลังคลอดทารกหลาย ๆ คนก็จะเริ่มมีอาการตัวเหลืองแล้วค่ะ แต่ผ่านไปสัก 2-3 สัปดาห์อาการก็จะค่อย ๆ หายเป็นปกติค่ะ
แต่ถ้านานเกินกว่านั้นแล้วทารกยังตัวเหลืองอยู่ คุณพ่อคุณแม่ต้องรีบพาลูกไปพบแพทย์นะคะ เพราะระดับสารเหลืองนั้นอาจเป็นอันตรายต่อสมองของทารกได้ค่ะ
แหล่งโภชนาการสำคัญเพียงอย่างเดียวของทารกแรกเกิดก็คือนมแม่ค่ะ เพราะนมแม่แค่อย่างเดียวก็มีสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของทารกแรกเกิดแล้ว
มากไปกว่านั้น ในนมแม่ยังมีสารอาหารสำคัญอย่าง MFGM ที่อุดมไปด้วยโปรตีนและไขมันกว่า 150 ชนิด ซึ่งช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสมอง ทำหน้าที่ช่วยสร้างปลอกไขมันหุ้มเส้นใยสมอง (Myelin Sheath) เพิ่มประสิทธิภาพการส่งสัญญาณประสาท เชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง
นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยรองรับว่า เด็กที่ได้รับสารอาหารอย่าง MFGM จะมีทักษะและคะแนนการวัดผล IQ/EQ สูงกว่าเด็กที่ไม่ได้รับ MFGM การเลือกโภชนาการที่มี MFGM ให้กับลูกจึงเป็นหนึ่งในรากฐานที่ดีในอนาคตให้กับลูกน้อย เพื่อ IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ปีแรก
ทารกวัยแรกเกิดถึงอายุ 6 เดือน ควรได้รับนมแม่แค่เพียงอย่างเดียวโดยไม่ต้องให้อาหารอื่น และคุณแม่ควรให้ลูกได้กินนมแม่ต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน หรือต่อเนื่องถึง 2 ปีได้เลยหากสะดวก
ช่วง 3 เดือนแรกของทารกแรกเกิดนั้น มีพัฒนาการสำคัญ ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้ ดังนี้ค่ะ
ทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ในระยะแรกศีรษะของทารกแรกเกิดจะมีการโคลนเคลน ยังไม่สามารถที่จะตั้งตรงเองได้ คุณพ่อคุณแม่จึงต้องคอยประคองศีรษะของทารกไว้เสมอ แต่ในไม่ช้าทารกก็จะสามารถยกศีรษะขึ้นเองได้โดยไม่ต้องให้คุณพ่อคุณแม่คอยประคอง เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อขาที่ก็จะพัฒนาขึ้น ทารกสามารถที่จะยืดและเตะขาได้แล้ว รวมถึงมือก็เริ่มที่จะกำและแบออกได้ สามารถหยิบจับของได้
ทักษะการได้ยิน ทารกแรกเกิดสามารถได้ยินเสียงต่าง ๆ นะคะ โดยเฉพาะถ้าเสียงดังมาก ๆ ทารกก็จะมีการตอบสนองต่อเสียงนั้นได้ด้วย หรือเวลาที่คุณพ่อคุณแม่พยายามพูดคุย หยอกล้อกับทารก แน่นอนค่ะว่าถึงแม้ทารกจะไม่รู้เรื่อง แต่ก็สามารถตอบสนองต่อเสียงของคุณพ่อคุณแม่ได้ อาจจะเป็นการยิ้ม หัวเราะ หรือร้องไห้ในบางครั้ง
ทักษะด้านการมองเห็น หากยื่นหน้าเข้าไปใกล้ทารก ก็จะเห็นว่าทารกค่อย ๆ เริ่มจดจ่อที่หน้าของคุณพ่อคุณแม่ โดยเฉพาะที่ดวงตาของคุณพ่อคุณแม่จะเป็นจุดโฟกัสที่เด็ก ๆ จะเพ่งมอง โดยในช่วง 1 เดือนแรก ทารกจะชอบดูลวดลายและสีสันต่าง ๆ ที่ตัดกันอย่างชัดเจนค่ะ เมื่ออายุได้ 2 เดือน ดวงตาของทารกทำงานประสานกันมากขึ้น ทำให้ทารกสามารถจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้มากขึ้น และสามารถมองตามวัตถุที่อยู่ไกลตัวออกไปได้
ทักษะด้านการสื่อสาร จริงอยู่ที่ทารกแรกเกิดยังไม่สามารถพูดจาเป็นภาษาได้ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าทารกไม่สามารถตอบโต้กับคุณพ่อคุณแม่ได้นะคะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทารกอายุได้ 2 เดือน ทารกสามารถที่จะส่งเสียงอ้อแอ้ พยายามเลียนเสียงต่าง ๆ ที่ได้ยิน
พัฒนาการของเด็กจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ไปตามลำดับพัฒนาการและช่วงอายุ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ถือว่ามีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการของลูกให้เป็นไปตามวัย
โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถที่จะดูแลและเสริมพัฒนาการลูกน้อยได้ ดังนี้
อุ้มลูกบ่อย ๆ อ้อมแขนของคุณพ่อคุณแม่ถือเป็นจุดเริ่มต้นพัฒนาการที่สำคัญของทารก อ้อมกอด อ้อมแขนจะช่วยให้ทารกรู้สึกปลอดภัย และอบอุ่น อีกทั้งเสียงที่คุ้นเคยของคุณพ่อคุณแม่ในขณะที่อุ้มลูก ก็จะช่วยให้ลูกมีความมั่นคงทางอารมณ์ด้วย มากไปกว่านั้น ขณะที่อุ้มทารก อาจจะยื่นนิ้วให้ทารกได้จับหรือสัมผัส ก็จะช่วยเสริมสร้างทักษะการเคลื่อนไหวให้ลูกได้ด้วย
เปลี่ยนอริยาบถบ่อย ๆ อุ้มลูกในท่านอนบ้าง อุ้มลูกพาดบ่าบ้าง ให้ทารกนอนหงายบ้าง อุ้มทารกนั่งบ้าง พยายามเปลี่ยนท่าทางให้หลากหลาย เสริมให้เด็กได้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ รอบตัวมากขึ้น ได้เรียนรู้เสียงและจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ดี
พูดกับลูกบ่อย ๆ แม้ว่าเด็กจะยังพูดไม่เป็นภาษา แต่การที่คุณพ่อคุณแม่พูดกับลูกบ่อย ๆ เด็กก็จะค่อย ๆ จดจำเสียงที่คุ้นเคย และเริ่มมีการตอบโต้ไปมา ช่วยเสริมทักษะด้านภาษาและการสื่อสาร มากไปกว่านั้น น้ำเสียงของคุณพ่อคุณแม่ยังสามารถสื่อถึงอารมณ์ต่าง ๆ ซึ่งทารกสามารถที่จะรับรู้ได้
ใส่ใจกับการร้องไห้ ทารกแรกเกิดมักจะร้องไห้บ่อย หิวก็ร้องไห้ ไม่สบายก็ร้องไห้ ผ้าอ้อมแฉะก็ร้องไห้ ทุกการร้องไห้เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงความผิดปกติได้มากมาย คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรปล่อยปละละเลย แต่ควรพุ่งตัวเข้าไปดูทันทีว่าเกิดสิ่งผิดปกติอะไร การเข้าไปอุ้ม ไปกอด จะช่วยคลายความกังวลให้กับทารกได้ อีกทั้งยังสามารถแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ทันเวลาด้วย
คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้เทคนิคง่าย ๆ ในการเลี้ยงดูทารกแรกเกิดได้ ดังนี้
หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตว่าทารกมีอาการดังต่อไปนี้ ให้รีบพาทารกไปพบแพทย์ทันที
สิทธิสำหรับเด็กแรกเกิดนั้น หลัก ๆ จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ
สำหรับครอบครัวที่มีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี เด็กแรกเกิดมีสิทธิได้รับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด 600 บาทต่อเดือน ต่อเนื่องไปจนถึงอายุ 6 ปี
ส่วนผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 สามารถยื่นขอรับเงินสงเคราะห์บุตรประกันสังคมเดือนละ 800 บาท ต่อเนื่องไปจนถึงอายุ 6 ปี แต่จะได้คราวละไม่เกิน 3 คน
เด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 6 เดือน ควรได้รับแค่เพียงนมแม่อย่างเดียวเท่านั้น เพราะนมแม่แค่อย่างเดียวก็ถือว่าเป็นแหล่งอาหารและสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของทารกแรกเกิดแล้ว
ซึ่งไม่จำเป็นและยังไม่ควรให้ลูกได้กินอาหารอื่นนอกจากนมแม่ เนื่องจากระบบการย่อยอาหารของทารกยังไม่แข็งแรงพอจะย่อยอาหารอื่น ๆ หากให้ลูกได้กินอาหารอื่นก่อนอายุ 6 เดือน อาจทำให้ทารกท้องเสียหรือมีปัญหาสุขภาพตามมาได้
ทารกแรกเกิดมักจะนอนนานเป็นปกติอยู่แล้วค่ะ ซึ่งทารกแรกเกิดนั้นจะนอนได้นานตั้งแต่ 16-17 ชั่วโมงขึ้นไป และในการนอนแต่ละครั้งจะนอนนานตั้งแต่ 2-4 ชั่วโมง
ทารกแรกเกิดหลายคนมีอาการตัวเหลืองกันเป็นเรื่องปกติค่ะ โดยจะเริ่มตัวเหลืองตั้งแต่ 2-3 วันแรกหลังคลอด แต่อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นภายใน 2-3 สัปดาห์ แต่ถ้าเกินจากนั้นแล้วยังไม่ดีขึ้น ถึงค่อยพาลูกไปพบแพทย์ค่ะ
ทารกแรกเกิดนั้นจะถ่ายบ่อยเป็นปกติอยู่แล้วค่ะ ยิ่งกินนมแม่ก็จะยิ่งถ่ายง่าย คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกมากถึง 10 ครั้งต่อวัน หรือถ้าคิดเป็นสัปดาห์ ก็อาจมากถึง 70 ครั้งต่อสัปดาห์กันเลยทีเดียว
ทารกไม่ยอมนอน หรือตื่นมากวนตอนกลางคืนนั้น แทบจะเป็นเรื่องปกติของทารกแรกเกิดเลยค่ะ สิ่งที่ต้องทำอย่างแรกเลยก็คือ ต้องทำใจให้ได้ก่อนเลยค่ะว่ายังไงก็อาจจะต้องพบเจอกับเรื่องแบบนี้เข้าสักคืน
แล้วพยายามอุ้ม กอด หรือนวดตัวเบา ๆ ให้ทารก เพื่อให้ทารกรู้สึกผ่อนคลาย อุ่นใจ และปลอดภัยมากขึ้น หรือจะเปิดเพลงเบา ๆ จังหวะเนิบ ๆ กล่อมลูกก็ได้เช่นกัน
และเมื่อทารกแรกเกิดอายุได้ 3 เดือน คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถเริ่มฝึกให้ทารกเข้านอนตามตารางการนอนได้ เพื่อให้ทารกได้คุ้นเคยว่าช่วงเวลาแบบนี้นะ คือเวลาที่จะต้องเข้านอนแล้ว
ในแต่ละวันผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ เองก็ยังผายลมได้บ่อย ๆ ทารกเองก็เช่นกันค่ะ ในหนึ่งวันทารกสามารถที่จะผายลมได้หลายครั้ง โดยไม่มีการขับถ่ายเกิดขึ้น
ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการมีลมหรือแก๊สอยู่ในท้องของทารกมากเกินไป โดยลมหรือแก๊สนั้นก็จะมาจากตอนที่ทารกอ้าปากดูดนม หรือตอนดูดจุกหลอก หรือตอนที่ร้องไห้ ช่วงเวลาที่ทารกอ้าปากนี้นี่แหละค่ะ ที่จะทำให้ทารกสูดเอาอากาศเข้าท้อง และอาจจะสะสมเอาไว้เยอะเกินไป จนต้องผายลมออกมาบ่อย ๆ
Enfa สรุปให้ ทารกตัวเหลือง ถือเป็นอาการโดยทั่วไปที่พบได้ในทารกแรกเกิด โดยเฉพาะในช่วง 2-3 หลังคลอ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ตรวจ Reflex ทารกแรกเกิด จะช่วยให้คุณแม่สามารถติดตามพัฒนาการของลูกในแต่ละช่วงวัย และ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ Tummy Time คือการให้ทารกนอนคว่ำขณะตื่นเพื่อเสริมพัฒนากล้ามเนื้อคอ ไหล่ และหลัง ช่วย...
อ่านต่อ