Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
Tummy Time คือ หนึ่งในวิธีการเสริมพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อและความมั่นใจให้ลูกน้อย โดยในช่วงแรกเกิดถึง 5 ปีแรก เด็กจะมีพัฒนาการที่สำคัญหลายด้าน เช่น ด้านร่างกาย สมอง และอารมณ์ ซึ่งต้องอาศัยคุณพ่อคุณแม่ช่วยส่งเสริมอย่างมาก
บทความนี้ Enfa จะพาคุณพ่อคุณแม่มารู้จักกับการทำ Tummy Time ที่เหมาะสมและปลอดภัย คุณพ่อคุณแม่อ่านแล้วสามารถทำได้ด้วยตนเองค่ะ
Tummy Time หรือทัมมี่ไทม์ คือการจับให้ทารกนอนคว่ำขณะตื่นอยู่บนพื้นราบหรือพื้นที่ปลอดภัย เพื่อฝึกให้ทารกใช้กล้ามเนื้อคอ ไหล่ และหลัง เป็นการเสริมสร้างพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวให้ลูกน้อย ให้สามารถยกศีรษะและสามารถพลิกตัวได้
การทำ Timmy Time ให้ลูก นอกจากช่วยกระตุ้นพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวร่างกายแล้ว ยังช่วยลดโอกาสการเกิดศีรษะแบนในทารก เนื่องมาจากนอนหงายมากเกินไป และที่สำคัญการทำ Timmy Time ยังช่วยกระตุ้นการคลาน ยืน และเดินให้ลูกน้อยได้ด้วย
หากทารกมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ดี คุณแม่สามารถทำ Tummy Time ได้ตั้งแต่แรกเกิด เพราะการช่วยกระตุ้นพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวให้ลูกตั้งแต่แรกเกิดช่วยให้ทารกคุ้นชินกับการเคลื่อนไหว และสามารถพัฒนากล้ามเนื้อร่างกายได้อย่างเป็นธรรมชาติ
โดยการทำ Tummy Time ในแต่ละช่วงวัยนั้นช่วยกระตุ้นพัฒนาการทารกได้ต่างกัน อีกทั้งยังช่วยแก้ไขภาวะผิดปกติบางอย่างได้ด้วย โดยควรอยู่ในคำแนะนำแพทย์ และควรทำอย่างระมัดระวัง
ในช่วงที่ทารกกำลังพัฒนาการควบคุมกล้ามเนื้อคอ Tummy Time ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อที่จำเป็นสำหรับการพลิกตัว นั่ง คลาน และเดิน คุณพ่อคุณแม่ควรอยู่ใกล้และดูแลลูกตลอดเวลาในระหว่างทำ
แม้ว่าทารกในวัยนี้จะเริ่มพลิกตัวและนั่งได้ด้วยความช่วยเหลือบ้างแล้ว แต่การให้ลูกนอนคว่ำขณะตื่นยังมีประโยชน์ โดยช่วยฝึกให้ลูกยกศีรษะและหน้าอกสูงขึ้นโดยการเหยียดแขนตรง ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อแขน หน้าอก และหลัง
ภาวะนี้เกิดจากกล้ามเนื้อคอที่ตึงจนทำให้ทารกหันศีรษะไม่ได้ Tummy Time ช่วยกระตุ้นให้ลูกมองไปรอบๆ และเมื่อทำควบคู่กับการออกกำลังกายตามคำแนะนำของแพทย์ จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อคอของลูกได้
ภาวะนี้เกิดจากการที่ทารกนอนหงายเป็นเวลานานในช่วงแรกเกิดจนทำให้เกิดจุดแบนที่ด้านหลังหรือด้านข้างของศีรษะ การทำ Tummy Time ช่วยลดการกดทับบริเวณศีรษะและส่งเสริมการพัฒนารูปทรงศีรษะที่เหมาะสม
ระยะเวลาในการทำ Tummy Time ควรค่อยเป็นค่อยไปตามการเจริญเติบโตของทารก พ่อแม่ไม่ควรรีบร้อน โดยในช่วงแรกหรือในทารกแรกเกิดควรทำในระยะเวลาสั้นๆ เริ่มต้นที่ประมาณ 1-2 นาทีต่อครั้ง
โดยอาจทำหลายครั้งต่อวัน และทำเฉพาะตอนที่ทารกตื่นอยู่เท่านั้น คำแนะนำการทำ Tummy Time ตามลำดับช่วงอายุ มีดังนี้
สิ่งหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตคือ ทารกทุกคนอาจไม่ได้ชอบการทำ Tummy Time โดยเฉพาะในช่วงแรก แต่เมื่อทารกเริ่มคุ้นชินและตอบสนองต่อการเสริมพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวแล้ว ทารกจะเริ่มสนุกและใช้เวลาทำ Tummy Time ได้นานขึ้น
นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถกระตุ้นให้ทารกสนุกกับการทำ Tummy Time ได้ด้วยการใช้ของเล่นสีสันสดใส กระจก หรือการมีปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่ร่วมด้วย
การทำ Tummy Time สามารถทำได้ตั้งแต่แรกเกิด (Newborn) โดยไม่เป็นอันตราย หากลูกน้อยสุขภาพร่างกายแข็งแรงดี คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มทำ Tummy Time ให้ลูกขณะที่ลูกตื่นและดูแลอย่างใกล้ชิด โดยใช้ระยะเวลาสั้น ๆ เพียงครั้งละ 1-2 นาที
แต่อาจทำหลายครั้งต่อวัน ทั้งนี้ ควรเลือกพื้นผิวที่มีความนุ่มแต่ไม่อ่อนยวบ พื้นมีความแข็งแรงมั่นคง และหลีกเลี่ยงการทำ Tummy Time หลังให้นมลูก เนื่องจากอาจทำให้ท้องอืดและแหวะนมได้
ทำได้โดยวางลูกนอนคว่ำบนหน้าอกของคุณแม่หรือบนตักเป็นเวลาสั้นๆ ประมาณ 1-2 นาทีต่อครั้ง วันละ 2-3 ครั้ง เพื่อฝึกทารกให้ยกศีรษะและเสริมสร้างกล้ามเนื้อคอและไหล่ จากนั้นเมื่อทารกเริ่มคุ้นเคยกับการทำ Tummy Time คุณแม่จึงสามารถเพิ่มระยะเวลาให้นานขึ้นได้ โดยไม่ทำหลังให้นมทันที เพื่อป้องกันลูกท้องอืดและแหวะนม
ทำได้โดยปูผ้าห่มเนื้อนิ่มบนพื้นราบที่แข็งแรงและมั่นคง วางลูกน้อยนอนคว่ำบนผ้าห่ม เริ่มต้นด้วย 3-5 นาทีต่อครั้ง ทำหลายครั้งในแต่ละวัน ในครั้งแรก ๆ ทารกอาจมีอาการหงุดหงิด ไม่ชอบนอนท่านี้ จึงควรเริ่มด้วยระยะเวลาสั้น ๆ ก่อนที่จะค่อย ๆ เพิ่มเวลามากขึ้น
นอกจากนี้ ควรทำ Tummy Time หลังจากเปลี่ยนผ้าอ้อมแล้วหรือในขณะที่ลูกมีอารมณ์แจ่มใสดี ไม่บังคับลูกทำขณะอารมณ์ไม่ดี กำลังไม่สบายตัว หรือกำลังหิว
นอกจากการทำ Tummy Time เพื่อกระตุ้นพัฒนาการด้านเคลื่อนไหวให้ลูกน้อยแล้ว โภชนาการที่เหมาะสมก็มีบทบาทสำคัญต่อพัฒนาการของลูกน้อยเช่นกัน โดยเฉพาะในช่วง 5 ปีแรกที่สมองของเด็กพัฒนาอย่างรวดเร็ว
โภชนาการสำคัญที่ลูกน้อยควรได้รับก็คือ นมแม่ เพราะในนมแม่มีสารอาหารสำคัญอย่าง MFGM หรือเยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในนมแม่ ที่ประกอบด้วยโปรตีนและไขมันกว่า 150 ชนิด ไม่ว่าจะเป็น สฟิงโกไมอีลิน ฟอสโฟลิปิด แกลงกลิโอไซต์ ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างการทำงานของสมองให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว เพื่อ IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ปีแรก
Enfa สรุปให้ ทารกตัวเหลือง ถือเป็นอาการโดยทั่วไปที่พบได้ในทารกแรกเกิด โดยเฉพาะในช่วง 2-3 หลังคลอ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ตรวจ Reflex ทารกแรกเกิด จะช่วยให้คุณแม่สามารถติดตามพัฒนาการของลูกในแต่ละช่วงวัย และ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ Tummy Time คือการให้ทารกนอนคว่ำขณะตื่นเพื่อเสริมพัฒนากล้ามเนื้อคอ ไหล่ และหลัง ช่วย...
อ่านต่อ