นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เอนฟาสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนไปจนถึง 2 ปี หรือนานกว่าตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

ลูกตัวร้อนอย่างเดียว เกิดจากอะไร รับมือได้อย่างไรบ้าง

Enfa สรุปให้

  • ลูกตัวร้อนอย่างเดียว แต่วัดไข้แล้วไม่มีไข้ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น อุณหภูมิภายในห้องร้อนเกินไป ลูกสวมเสื้อผ้าหนาเกินไป ใช้แรงมากเกินไป หรืออยู่กลางแจ้งนานเกินไป เป็นต้น
  • ลูกมีไข้ต่ำ ๆ เป็น ๆ หาย ๆ การดูแลเบื้องต้นสามารถทำให้ไข้ลดลง และกลับสู่อุณหภูมิปกติได้ แต่ถ้าลูกมีไข้ต่ำบ่อย ๆ ควรสังเกตพฤติกรรมการเลี้ยงดูลูก และพาลูกไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย
  • หากอยู่ดี ๆ ลูกก็ตัวร้อน ควรตรวจสอบดูอุณหภูมิในห้อง เสื้อผ้าของลูก ลูกโดนแดดส่องนานเกินไปหรือเปล่า แต่ถ้าลูกตัวร้อนขึ้นมาโดยที่ไม่มีเหตุปัจจัยอันควร ให้พาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย

เลือกอ่านตามหัวข้อ

เมื่อคุณพ่อคุณแม่เห็นลูกน้อยตัวร้อนขึ้นมาอย่างกะทันหัน โดยเฉพาะเมื่ออยู่ดี ๆ ลูกก็ตัวร้อน หรือพบว่าลูกมีไข้ต่ำ ๆ เป็น ๆ หาย ๆ อาจทำให้เกิดความกังวลใจอย่างมาก แม้บางครั้งอาจดูเหมือนอาการเล็กน้อย แต่ความจริงแล้วการที่ลูกตัวร้อนอย่างเดียว อาจเป็นสัญญาณของการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในร่างกาย ที่ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด การรู้จักและเข้าใจอาการเหล่านี้จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สามารถรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างมั่นใจและถูกวิธี

ลูกตัวร้อน แต่ไม่มีไข้ เกิดจากอะไร


ปัญหา ลูกตัวร้อนอย่างเดียว ลูกตัวร้อน แต่ไม่มีไข้ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่

  • อุณหภูมิในห้องหรือในบ้านร้อนอบอ้าวจนเกินไป สามารถทำให้ลูกตัวร้อน หรือมีอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นได้
  • ลูกสวมเสื้อผ้าที่หนาจนเกินไป ทำให้ไม่เกิดการถ่ายเทของอุณหภูมิในร่างกาย ทำให้ลูกตัวร้อนได้
  • เด็กตัวร้อน แต่ไม่มีไข้ เพราะตากแดดนานเกินไป เช่น เดินเล่นกลางแจ้งเป็นเวลานาน หรือแสงแดดส่องโดนตัวลูกขณะนอนกลางวัน 
  • ลูกมีอาการเครียด และร้องไห้บ่อย ทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นได้
  • ฟันของลูกกำลังขึ้น เด็กหลายคนมีอาการไข้ต่ำ ๆ และตัวอุ่น ๆ เวลาที่ฟันน้ำนมเริ่มขึ้น
  • ลูกทำกิจกรรมที่ใช้แรงมากเกินไป เช่น วิ่งเล่น ออกกำลังกาย การออกแรงมากติดต่อกันนาน ๆ นอกจากจะทำให้เหนื่อยและเหงื่อออกมากแล้ว ยังกระตุ้นให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นได้

ลูกตัวร้อนอย่างเดียว ถือเป็นอาการที่น่ากังวลหรือไม่


ทารกตัวร้อน แต่ไม่มีไข้ โดยมากไม่ก่อให้เกิดอันตราย มักมีสาเหตุมาจากปัจจัยในการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งการดูแลลูกให้เหมาะสมและถูกวิธี สามารถช่วยให้ลูกมีอุณหภูมิร่างกายเป็นปกติได้

อยู่ดี ๆ ลูกก็ตัวร้อน ควรทำอย่างไร


หากสัมผัสตัวลูกแล้วพบว่าลูกตัวร้อน ให้คุณพ่อคุณแม่ปฏิบัติดังต่อไปนี้

  • ทำการวัดไข้ลูกด้วยปรอทวัดไข้หรือเทอร์โมมิเตอร์โดยทันที เพื่อเช็กในเบื้องต้นว่าลูกตัวร้อนเพราะมีไข้หรือเปล่า หากลูกมีอุณหภูมิไม่เกิน 37.5 องศาเซลเซียส ถือว่าปกติ ยังไม่มีไข้ หากอุณหภูมิสูงเกิน 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป ถือว่าลูกเริ่มมีไข้
  • หากลูกตัวร้อนอย่างเดียว แต่ลูกไม่มีไข้ ให้สำรวจดูว่าลูกสวมเสื้อผ้าหนาเกินไปไหม อุณหภูมิห้องร้อนเกินไปหรือเปล่า
  • หากคุณพ่อคุณแม่ลองใช้วิธีบรรเทาอาการตัวร้อนในเบื้องต้นแล้ว แต่อาการตัวร้อนไม่ทุเลาลงเลย ให้พาลูกไปพบแพทย์

ลูกมีไข้ต่ำ ๆ เป็น ๆ หาย ๆ


กรณีที่ลูกมีไข้ต่ำๆ เป็น ๆ หาย ๆ การดูแลเบื้องต้นเพื่อระบายความร้อนออกจากร่างกาย สามารถช่วยให้อาการดีขึ้นได้ 

  • สำหรับเด็กโต ดูแลให้ลูกดื่มน้ำอย่างเพียงพอ จิบน้ำบ่อย ๆ ส่วนเด็กทารกที่อายุน้อยกว่า 6 ให้กินนมแม่แทนการดื่มน้ำ เพื่อช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย
  • เช็ดตัวบ่อย ๆ เวลาเช็ดตัวให้เช็ดประมาณ 15-20 นาที หรือจนกว่าจะรู้สึกว่าตัวลูกเริ่มเย็นลง
  • สวมเสื้อผ้าบาง ๆ ไม่หนาเกินไป เพื่อให้ระบายความร้อนได้ดีขึ้น

แต่ถ้าหากลูกมีไข้ต่ำ ๆ แบบเป็น ๆ หาย ๆ อยู่บ่อยครั้ง คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

ลูกตัวอุ่น ๆ แต่ไม่มีไข้


ลูกตัวร้อนอย่างเดียว ลูกตัวอุ่น ๆ แต่ไม่มีไข้ เกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น

  • อุณหภูมิที่ร้อนรอบอ้าว อากาศภายในห้องไม่ถ่ายเท
  • ลูกสวมเสื้อผ้าที่หนาจนเกินไป หรือหลายชั้นเกินไป
  • ตากแดดนานเกินไป หรือใช้เวลาอยู่กลางแจ้งที่มีแดดส่องเป็นเวลานาน
  • ลูกมีอาการเครียดและร้องไห้บ่อย
  • ฟันของลูกกำลังขึ้น
  • ลูกเล่นเหนื่อยเกินไป หรือออกแรงทำกิจกรรมมากเกินไป

โดยทั่วไปแล้ว อาการตัวอุ่น ๆ หรือตัวร้อน แต่ไม่มีไข้ มักไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่ถ้าหากลูกมีอาการตัวอุ่น ๆ และไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเบื้องต้น


บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ดูแลลูก

* นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก
Enfa Smart Club สนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่าง
เดียวอย่างน้อย 6 เดือนและให้นมแม่ควบคู่อาหารตามวัยอีก 2 ปี หรือนานกว่านั้น ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO)
Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

คุณกำลังเข้าถึงเนื้อหาจากผู้ให้บริการภายนอกเกี่ยวกับการซื้อหรือ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท มี้ด จอห์นสัน นิวทริชัน (ประเทศไทย) จำกัด​

กรุณากดยืนยันเพื่อดำเนินการต่อ

Line TH
Shopee TH Lazada TH Join Enfamama