
เมื่อสังเกตว่าลูกน้อยตาแฉะ น้ำตาไหล พร้อมการสะสมของขี้ตาจำนวนมาก ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้เกิดจากการร้องไห้ คงจะสร้างความกังวลใจให้กับคุณแม่ได้ไม่น้อย วันนี้ทาง เอนฟา จึงขอนำความรู้เล็กน้อยถึงสาเหตุเบื้องต้นที่ก่อให้เกิดอาการ ตาแฉะ และวิธีดูแลดวงตาลูกรักมาฝากทุกครอบครัวกันค่ะ
สาเหตุที่ทำให้ ทารกตาแฉะ
โดยปกติน้ำตาคนเรามักถูกสร้างขึ้นจากต่อมน้ำตา และจะถูกการระบายออกผ่านทางบริเวณหัวตา โพรงจมูก จนลงสู่ลำคอในที่สุด ซึ่งกับทารกนี้ก็อยู่ในกระบวนการเดียวกัน แต่หากเมื่อใดกรณีท่อน้ำตาที่เชื่อมต่อระหว่างตากับโพรงจมูกของทารกอุดตันขึ้น จากการขัดขวางด้วยพังผืดบาง ๆ ปิดกั้นบริเวณรูทางออกท่อน้ำตาเอาไว้ ก็อาจสามารถส่งผลให้น้ำตานี้ไหลย้อนกลับมาจนเอ่อล้นออกทางหัวตามากกว่าเดิม และเกิดอาการตาแฉะขึ้นได้
ซึ่งนอกจากสาเหตุหลักในข้างต้นแล้ว หากลูกรักคุณมีการติดเชื้อของแบคทีเรียเพิ่มเติม ก็อาจสามารถเป็นไปได้ว่าจะทำให้ดวงตาของทารกนั้นเกิดการอักเสบ พร้อมมีหนองบริเวณหัวตาร่วม ซึ่งส่วนใหญ่ภาวะดังกล่าวอาจพบบ่อยในทารกช่วงอายุ 2-3 เดือนแรกหลังคลอด และมักเกิดขึ้นกับดวงตาข้างใดข้างหนึ่งเพียงข้างเดียว
สังเกตอาการ ตาแฉะ ในทารกจากภาวะท่อน้ำตาอุดตัน
คุณแม่อาจสามารถสังเกตสัญญาณเตือนบางอย่างถึงอาการตาแฉะ หรือภาวะท่อน้ำตาอุดตันที่ผิดปกติของลูกน้อย ได้ดังต่อไปนี้
● ขี้ตาของทารกมีสีเหลือง และสีเขียว
● มีน้ำตาคลอเบ้าตลอดเวลา
● ลูกน้อยมีการสะสมของขี้ตาจำนวนมาก
● ตาของทารกแฉะมากกว่าปกติอย่างเห็นได้ชัด โดยไม่มีการร้องไห้มาก่อน
● มีสิ่งแปลมปลอมภายในดวงตา อย่างไรก็ตามหากคุณแม่พบว่า ลูกน้อยมีอาการข้างต้น หรืออาการอื่น ๆ ที่สื่อถึงความผิดปกติขึ้น ควรพาเข้าพบจักษุแพทย์ เพื่อรับการรักษาในทันที ก่อนเกิดอันตรายแทรกซ้อนรุนแรงแก่ลูกรักของคุณได้ในอนาคตค่ะ
บางครั้งเนื้อเยื่อที่ปิดกั้นอยู่ในท่อตาที่เชื่อมโยงกับโพรงจมูก มักจะสลายหายไปได้เอง แต่หากคุณแม่สังเกตเห็นว่าลูกรักมีอาการเหล่านี้เป็นเวลานาน ก็อาจต้องเข้าขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ พร้อมรับการวินิจฉัยสุขภาพของทารกอีกครั้ง เพื่อคลายความกังวลใจ หรือหาการรักษาที่เหมาะสมได้อย่างเท่าทัน

วิธีดูแลเบื้องต้นเมื่อ ทารกตาแฉะ
คุณแม่สามารถรักษาอาการทารกตาแฉะ ของลูกน้อยได้โดยการใช้สำลี หรือผ้าสะอาดชุบน้ำอุ่นเช็ดทำความสะอาดคราบขี้ตารอบ ๆ และอาจใช้วิธีการนวดตาให้แก่ทารกอย่างเบามือเข้ามาร่วม เพื่อบรรเทาอาการตาแฉะเบื้องต้น ซึ่งปฏิบัติตามขั้นตอนได้ ดังต่อไปนี้
● นำนิ้วชี้มาวางแนบระหว่างหัวตากับสันจมูกด้วยแรงเบาจนสัมผัสถึงเส้นเอ็นแข็ง ๆ
● ใช้นิ้ววนลงมาเป็นวงกลมลากลงไปตามสันข้างจมูก
● นวดวนไปเรื่อย ๆ วันละ 4 รอบ หรือช่วงเวลา เช้า กลางวัน เย็น ก่อนนอน เพื่อให้เกิดแรงดันไปเปิดปาก ทางท่อน้ำตา
● กว่า 90 % เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี การนวดตามขั้นตอนข้างต้นอาจส่งผลให้เกิดแรงดันทำให้เนื้อเยื่อมีการทะลุเปิดออกได้ดีกว่าการใช้ยาปฏิชีวนะ แต่หากการนวดไม่ได้ผล หรือลูกน้อยมีอาการไม่ดีขึ้น โปรดเข้าขอรับการปรึกษาจากแพทย์ได้ในเบื้องต้น เพื่อให้แพทย์วิเคราะห์หาเทคนิคการรักษาเหมาะสม ซึ่งอาจเป็นการใช้การผ่าตัดใส่ท่อระบาย ท่อน้ำตา ทดแทน
หากคุณแม่ท่านใดต้องการคำแนะนำในการดูแลสุขภาพ หรือข้อสงสัยเกี่ยวกับลูกน้อยเพิ่มเติม สามารถมาร่วมพูดคุยกับเราใน Enfa Smart Club ได้เลยค่ะ