พฤษภาคมเป็นอีกเดือนที่คุณแม่ต้องให้ความสำคัญ เพราะเดือนนี้เป็นเดือนเริ่มต้นของหน้าฝน ซึ่งมักจะมาพร้อมกับโรคประจำฤดูอย่าง “ไข้เลือดออก” โรคหน้าฝนในเด็กที่พบได้บ่อยในฤดูฝน เนื่องจากมีสภาวะที่เหมาะต่อการแพร่พันธุ์ของยุงลาย โดยโรคนี้อาจจะส่งผลรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง
โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออกเดงกี (Dengue Virus) โดยพาหะของโรคนี้คือเจ้ายุงลายนั่นเอง ไวรัสไข้เลือดออกเดงกี สามารถแยกได้ 4 สายพันธุ์ ได้แก่ ไวรัสเดงกีสายพันธุ์ 1, ไวรัสเดงกีสายพันธุ์ 2, ไวรัสเดงกีสายพันธุ์ 3, และไวรัสเดงกีสายพันธุ์ 4 ซึ่งไวรัสทุกสายพันธุ์สามารถทำให้เกิดโรคไข้เลือดออกได้
ที่จริงแล้ว โรคไข้เลือดออกสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกฤดู แต่ในหน้าฝนนั้น จะมีจำนวนพื้นที่ที่มีน้ำขังมากเป็นพิเศษ ซึ่งเหมาะสำหรับการแพร่พันธุ์ของยุงลาย หากคุณแม่ และคุณพ่อเห็นลูกน้อยมีอาการเข้าข่ายการเป็นไข้เลือดออก ดังต่อไปนี้ ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์
• มีอาการไข้สูงเป็นเวลาหลายวัน (39 – 40 องศาเซลเซียส) หรือมีไข้ลดลง แต่อาการไม่ดี ยังเบื่ออาหาร ไม่ค่อยเล่น และอ่อนเพลีย
• คลื่นไส้ อาเจียน ตลอดเวลา
• ปวดเมื่อยตัว ปวดท้อง
• มีเลือดออกมา เช่น เลือดกำเดาไหล อาเจียน ถ่ายอุจจาระสีดำ หรือบริเวณผิวหนังมีลักษณะเป็นจุดเลือดออกเล็ก ๆ กระจายตามแขน ขา และลำตัว
• กระหายน้ำตลอดเวลา
• ร้องกวนมากในเด็กเล็ก
• ตัวเย็น สีผิวคล้ำลง หรือตัวลาย
• ปัสสาวะน้อยลง หรือไม่ถ่ายปัสสาวะเป็นเวลานานเกิน 4 – 6 ชั่วโมง
หากลูกน้อยของเรามีอาการข้างต้น ให้สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นโรคไข้เลือดออกไว้ก่อน ในบางรายอาจจะมีอาการไม่เหมือนเป็นโรคไข้เลือดออก เช่น มีอาการท้องอืด กระสับกระส่าย ปลายมือ - เท้า เย็น ร่วมกับไข้ที่ลดลง ซึ่งอาการนี้ คุณแม่ คุณพ่อ อาจจะเข้าใจว่าลูกกำลังหายจากการเป็นไข้ แต่ที่จริงแล้ว เด็กอาจจะกำลังเข้าสู้ภาวะช็อก ที่มีความรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม เมื่อสังเกตว่าลูกของเราอาจจะเป็นโรคไข้เลือดออก ไม่ควรรักษาเอง แต่ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป และเป็นการลดความเสี่ยงที่ลูกจะเกิดภาวะที่มีความรุนแรงในโรคนี้
อย่างที่กล่าวไว้ตอนต้นว่า โรคไข้เลือดออกนั้น สามารถเกิดขึ้นได้ทุกฤดู ขอเพียงแค่มีพื้นที่ที่มีน้ำขัง ยุงลายก็จะสามารถแพร่พันธุ์ได้ ดังนั้น สิ่งสำคัญในการป้องการโรคนี้ คือการหลีกเลี่ยงการโดนยุงกัด คุณแม่ และคุณพ่อควรหมั่นดูแลพื้นที่ในบ้าน พื้นที่ใดที่มีน้ำขัง ควรกำจัดออก หมั่นเปลี่ยนภาชนะต่าง ๆ ไม่ให้มีน้ำขัง เพื่อเป็นการทำลายแหล่งแพร่พันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
รวมไปถึงการใส่เสื้อผ้าปกปิกมิดชิด ใช้ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงต่าง ๆ หรือการติดมุ้งลวดที่หน้าต่าง ใช้มุ้งคลุมที่นอน ก็เป็นการช่วยป้องกันยุงไม่ได้เข้ามาในที่อยู่อาศัยได้เหมือนกัน
การฉีดวัคซีนก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยป้องกันโรคไข้เลือกออกได้ แต่ไม่แนะนำให้ฉีดในเด็กที่อายุน้อยกว่า 9 ปี คุณแม่อาจจะต้องรอให้ลูกมีอายุถึง 9 ปี ก่อน ถึงจะสามารถฉีดวัคซีนได้
หน้าฝนที่ชุ่มฉ่ำนี้ คุณแม่ คุณพ่อ รวมทั้งคนในครอบครัว ควรเตรียมความพร้อมรับมือกับโรคไข้เลือดออกกันไว้ อาจจะชวนลูก ๆ ร่วมภารกิจสำรวจพื้นที่ที่มีน้ำขัง และร่วมกันทำลายแหล่งแพร่พันธุ์ยุงลายก็ได้ค่ะ พร้อมทั้งให้ความรู้ลูกน้อยไปในตัว ก็เป็นกิจกรรมที่ดี เตรียมพร้อมรับมือกับโรคหน้าฝนในเด็ก โรคนี้กันค่ะ
Enfa สรุปให้ อาการไข้ขึ้นตอนกลางคืน กลางวันปกติ พบได้บ่อยในเด็ก เพราะเป็นภาวะที่ร่างกายตอบสนองต่...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ เมื่อทารกคัดจมูก คุณแม่สามารถใช้ผลิตภัณฑ์ยาทาระเหยบรรเทาอาการคัดจมูกสูตรสำหรับทารกโ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ฟลูออไรด์ เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้ตามธรรมชาติทั้งจากดิน หิน น้ำโดยเฉพาะใน...
อ่านต่อ