Enfa สรุปให้
ท่าอุ้มท่ารก เป็นสิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องปฏิบัติให้ถูกวิธี เพราะถ้าอุ้มลูกผิดวิธี ไม่เพียงแต่จะเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุจากการพลัดตกเท่านั้น แต่ยังเสี่ยงต่อพัฒนาการของเด็กอีกด้วย
การอุ้มจะช่วยให้ทารกรู้สึกอบอุ่น ผ่อนคลาย สบายใจ และไว้ใจ การอุ้มบ่อย ๆ จึงช่วยให้ลูกคุ้นเคยกับพ่อแม่ได้ง่าย ทั้งยังช่วยให้ทารกหลับได้ไวขึ้นด้วย
แต่บางครั้งทารกก็อาจจะติดการอุ้มจนไม่ยอมนอนเองถ้าไม่ถูกอุ้ม ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องหาวิธีอื่นมารับมือเพื่อสร้างความคุ้นเคยใหม่ ๆ ที่นอกเหนือไปจากการอุ้ม เช่น การห่อตัวทารก การใช้หมอนให้นม เป็นต้น
เลือกอ่านตามหัวข้อ
การอุ้ม เป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าคุณพ่อคุณแม่จะต้องคอยผลัดกันอุ้มทารกกันไปอีกนานจนกว่าลูกจะสามารถเดินได้ด้วยตัวเอง และไม่จำเป็นจะต้องคอยอุ้มบ่อย ๆ แต่การอุ้มทารกที่ถูกต้อง ทำอย่างไร และการอุ้มแบบไหนไม่ควรทำ ไปหาคำตอบในบทความนี้จาก Enfa กันเลยค่ะ
การอุ้มเด็กนั้นถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ต้องใส่ใจ สำคัญขนาดไหน ก็สำคัญถึงขนาดที่ว่าในคอร์สเตรียมพร้อมการเป็นพ่อแม่มือใหม่หลาย ๆ ที่ ยังต้องมีการสอนคุณพ่อคุณแม่ให้อุ้มลูก โดยฝึกจากการอุ้มตุ๊กตา เพื่อให้สามารถอุ้มลูกได้ถูกวิธี และไม่เกิดอันตรายต่อเด็ก
ท่าอุ้มเด็ก ก็เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องปฏิบัติให้เหมาะสม เพราะท่าอุ้มเด็กบางท่าอาจจะมีผลต่อสรีระของเด็กได้ หรือหากอุ้มไม่ดี อุ้มผิดท่า อาจทำให้ลูกร่วง หรือหล่น จนเกิดอุบัติเหตุฟกช้ำตามมา หรือเกิดการกระทบกระเทือนที่ศีรษะรุนแรง อาจส่งผลต่อพัฒนาการด้านการเรียนรู้ของเด็กได้ค่ะ ดังนั้น การอุ้มเด็กที่ถูกต้องจึงถือว่าเป็นเรื่องจำเป็นที่พ่อแม่มือใหม่จะต้องทำให้ดี และทำให้ถูกวิธี
ท่าอุ้มต่าง ๆ ที่ใช้อุ้มเด็กนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายท่าค่ะ ซึ่งแต่ละท่าก็จะมีรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่แตกต่างกันอยู่บ้าง ดังนี้
ทารกแรกเกิดนั้นมีความบอบบางสูงมาก คุณพ่อคุณแม่จะต้องอุ้มอย่างละมุนละม่อมที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อเด็ก โดยสามารถอุ้มเจ้าตัวเล็กได้ง่าย ๆ ดังนี้
การจับลูกเรอนั้นทำเพื่อขับไล่ลมหรือแก๊สออกจากระเพาะอาหารของทารก บรรเทาอาการอึดอัดท้อง ไม่สบายตัวของทารก ซึ่งสามารถทำได้หลายท่า ดังนี้
ท่าอุ้มลูกเข้าเต้า คุณแม่สามารถทำได้ 4 ท่าง่าย ๆ ดังนี้
1. ท่าอุ้มนอนขวางบนตักแม่ (Cradle Hold)
ให้คุณแม่อุ้มลูกวางไว้ที่ตัก โดยวางตำแหน่งท้ายทอยของลูกไว้ที่แขนข้างถนัดของคุณแม่ เอื้อมมือไปแตะที่ก้นลูก มืออีกข้างประคองที่ก้นลูก แล้วค่อย ๆ โน้มตัวลูกตะแคงเข้าเต้า
2. ท่านอนขวางบนตักแบบประยุกต์ (Modified/Cross Cradle Hold)
ท่านี้ให้คุณแม่อุ้มเจ้าตัวเล็กมาวางไว้บนตักแบบเดียวกับท่าแรกเลยค่ะ แต่เปลี่ยนตำแหน่งมือของคุณแม่แทน ให้คุณแม่ใช้มือด้านตรงข้ามกับเต้านมประคองไว้ที่บริเวณท้ายทอยและคอของลูก ส่วนมือข้างที่ติดกับเต้านมใช้สำหรับพยุงเต้านม หรืออาจจะใช้หมอนรองตัวลูกด้วยก็ได้เช่นกัน
3. ท่าอุ้มลูกฟุตบอล (Clutch Hold/Football Hold)
ท่านี้ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยนิดหน่อยค่ะ ให้คุณแม่เลือกหมอนใบหนา ๆ มา 1 ใบ แล้ววางไว้บนหมอนโดยที่มือข้างหนึ่งของแม่ยังประคองไว้ที่ศีรษะและท้ายทอยของลูก ท่านี้จะคล้ายกับคุณแม่กำลังอุ้มลูกฟุตบอลไว้ข้างลำตัว
4. ท่านอนตะแคง (Side Lying Position)
ท่านี้จะช่วยให้คุณแม่ให้นมลูกได้อย่างสบายตัวขึ้นมานิดหน่อย เพราะไม่ต้องคอยอุ้มประคองทารกตลอดการให้นม โดยให้คุณแม่นอนตะแคงเข้าหาลูก แล้วตะแคงตัวลูกเข้าหาเต้านม จัดตำแหน่งให้ปากของลูกตรงกับหัวนมของแม่พอดี แล้วใช้มือประคองเต้านมเพื่อให้ลูกดูดนมได้ง่ายขึ้น
ท่าอุ้มทารกให้หยุดร้องที่นิยมทำกันนั้นคือ ท่าซูเปอร์แมน หรือ Belly Hold ค่ะ ซึ่งสามารถทำได้ ดังนี้
การอุ้ม เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยฝึกให้ทารกคอแข็งได้เร็วขึ้น โดยเวลาอุ้มให้คุณพ่อคุณแม่อุ้มลูกพาดบ่า หรืออุ้มแนบอกก็ได้ ในระหว่างนั้นให้คุณพ่อคุณแม่ก้มหน้าคุยกับทารกไปด้วย เพื่อเป็นการกระตุ้นทักษะการสื่อสารและกระตุ้นกล้ามเนื้อคอของลูก
หนึ่งในท่าที่ง่ายสุด ๆ แต่ช่วยให้ทารกหลับได้ดีคือการอุ้มลูกพาดบ่า โดยให้แขนข้างหนึ่งประคองที่หลังและคอของลูก และแขนอีกข้างหนึ่งประคองที่ก้นของลูก ท่านี้ถือเป็นท่าที่ทารกรู้สึกสบายที่สุดและหลับได้ง่าย
มากไปกว่านั้น ท่านี้ยังช่วยให้ทารกได้ยินเสียงหัวใจเต้นและสัมผัสได้ถึงจังหวะหายใจของคุณพ่อคุณแม่ ถือเป็นการช่วยให้ทารกรู้สึกผ่อนคลายได้อีกทางหนึ่ง
ทารกนั้นเป็นวัยที่มีความบอบบางโดยเฉพาะบริเวณศีรษะและลำคอ เวลาอุ้มลูกจึงต้องคอยประคองศีรษะและลำคออยู่เสมอเพื่อไม่ให้เกิดการบาดเจ็บที่ศีรษะ และป้องกันไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อสมอง
มากไปกว่านั้น หากคุณพ่อคุณแม่อุ้มลูกผิดท่า ยังอาจเกิดการบาดเจ็บที่แขน ขา หรือหัวไหล่ได้ หรือร้ายแรงสุด ๆ คือทำลูกหลุดออกจากมือ เกิดการพลัดตก ซึ่งจะนำมาซึ่งการบาดเจ็บที่อาจเป็นอันตรายรุนแรงต่อเด็กที่มากกว่าแค่ฟกช้ำได้ค่ะ
ในช่วงวัยแรกเกิดถึง 6 เดือน ทารกยังจำเป็นที่จะต้องให้คุณพ่อคุณแม่อุ้มอยู่ตลอดเวลาค่ะ เพราะยังไม่สามารถประคองตัวเองให้ลุกขึ้นนั่งหรือคลานได้ อย่างไรก็ตาม ไม่มีระยะเวลาตายตัวว่าคุณพ่อคุณแม่ควรจะเลิกอุ้มลูกตอนไหน แต่ส่วนมากแล้วเมื่อทารกเริ่มเดินได้คล่องขึ้นโดยไม่ต้องคอยให้พ่อแม่อุ้มอยู่ตลอดเวลา คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถลดความถี่ของการอุ้มลูกลงได้ค่ะ
หากลูกยังชันคอไม่ได้ เวลาอุ้มคุณพ่อคุณแม่จะต้องคอยประคองที่บริเวณศีรษะและท้ายทอยของลูกเสมอค่ะ ระวังอย่าให้เกิดการกระทบกระเทือนรุนแรง เพราะอาจเกิดการบาดเจ็บที่ศีรษะหรือกระทบกระเทือนถึงสมองได้
การอุ้มเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กรู้สึกอบอุ่น สบายใจ จึงชอบให้คุณพ่อคุณแม่อุ้มอยู่ตลอด จนกลายเป็นว่าวางลูกไม่ได้เลยเพราะลูกจะร้องไห้งอแง คุณพ่อคุณแม่ต้องอุ้มลูกอยู่เสมอ
ในกรณีที่มีคนช่วยเลี้ยงหลายคนก็อาจจะมีคนมาคอยแบ่งเบาภาระนี้ แต่ถ้าคุณแม่เลี้ยงลูกคนเดียว หรือเลี้ยงลูกกันสองคนกับคุณพ่อ อาจจะสามารถใช้เทคนิคดังต่อไปนี้เพื่อช่วยให้ลูกหยุดร้องไห้ได้
แต่ไม่ว่าจะอุ้มก็แล้ว หรือลองสารพัดวิธีแล้ว แต่ลูกก็ยังร้องไห้อยู่ อาจจะต้องพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยว่ามีความผิดปกติใด ๆ เกิดขึ้นหรือไม่
Enfa สรุปให้ อาการไข้ขึ้นตอนกลางคืน กลางวันปกติ พบได้บ่อยในเด็ก เพราะเป็นภาวะที่ร่างกายตอบสนองต่...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ เมื่อทารกคัดจมูก คุณแม่สามารถใช้ผลิตภัณฑ์ยาทาระเหยบรรเทาอาการคัดจมูกสูตรสำหรับทารกโ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ฟลูออไรด์ เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้ตามธรรมชาติทั้งจากดิน หิน น้ำโดยเฉพาะใน...
อ่านต่อ