เลือกอ่านตามหัวข้อ
-
การห่อตัวทารก มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร
-
เมื่อไหร่ถึงควรเลิกห่อตัวทารก
-
วิธีห่อตัวทารก ทำอย่างไร
-
วิธีห่อตัวทารกแบบต่าง ๆ
-
ผ้าห่อทารก เลือกยังไงดี
Enfa สรุปให้
การห่อตัวทารก จะช่วยให้เด็กรู้สึกสบายตัว รู้สึกปลอดภัย เหมือนเมื่อครั้งที่ยังอยู่ในครรภ์ของแม่ การห่อตัวทารกจึงช่วยให้เด็กนอนหลับได้ง่ายและสบายตัวขึ้น
สิ่งสำคัญคือจะต้องห่อตัวทารกให้ถูกวิธี เพราะหากทำไม่ถูกวิธี การห่อตัวทารกก็อาจจะไปเพิ่มความเสี่ยงทางสุขภาพให้ทารกแทน
มากไปกว่านั้น เมื่อทารกเริ่มที่จะคว่ำตัว หรือพลิกตัวเองได้ คุณพ่อคุณแม่ควรเลิกห่อตัวทารก เพราะหากทารกคว่ำตัวขณะที่ยังถูกห่อตัวอยู่ อาจพลิกตัวกลับขึ้นมาไม่ได้ เสี่ยงต่อการเสียชีวิตเพราะหายใจไม่ออก
เลือกอ่านตามหัวข้อ
เวลาไปเข้าคอร์สพ่อแม่มือใหม่ คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คนอาจะจะเคยถูกฝึกหรือถูกสอนให้รู้จักการห่อตัวทารก เพื่อช่วยให้เด็กรู้สึกสบายตัว และนอนหลับได้ดีขึ้น แต่...การห่อตัวทารกดีต่อเด็กจริง ๆ หรือเปล่า? การห่อตัวทารกมีข้อเสียที่พึงระวังหรือไม่? และการห่อตัวทารกที่ถูกต้องเป็นอย่างไร? Enfa จะมาเล่าให้ฟังค่ะ
ห่อตัวทารก เป็นสิ่งที่ทำสืบทอดกันมานานมาก ๆ เลยค่ะ โดยการใช้ผ้าห่อตัวทารกเอาไว้ จะช่วยให้เด็กรู้สึกสบายตัว รู้สึกปลอดภัย เหมือนเมื่อครั้งที่ยังอยู่ในครรภ์ของแม่ การห่อตัวทารกจึงช่วยให้เด็กนอนหลับได้ง่ายและสบายตัวขึ้น
อย่างไรก็ตาม การก่อตัวทารก ก็ถือว่ามีข้อควรระวังที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน เพราะหากทำไม่ถูกวิธี การห่อตัวทารกก็อาจจะไปเพิ่มความเสี่ยงทางสุขภาพให้ทารกแทน ไม่ว่าจะเป็น
ทารกเสี่ยงข้อสะโพกเสื่อม (Hip dysplasia) เพราะผ้าที่ห่อพันรอบตัวทารกนั้นแน่นตึงเกินไป ทำให้ขาของทารกไม่สามารถจะเหยียดหรืองอได้ ส่งผลต่อการผิดรูปของสะโพก
อุณหภูมิในร่างกายสูงเกินไป บ้านเราเป็นเมืองร้อน ยิ่งห่อตัวลูกด้วยผ้าเข้าไปอีกชั้น ยิ่งทำให้การระบายความร้อนออกจากร่างกายทำได้ยาก เสี่ยงที่ทารกจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นได้ หากจะห่อตัวทารกควรทำในห้องที่อุณหภูมิเหมาะสม มีอาการถ่ายเทสะดวก
เสี่ยงต่อโรคไหลตายในเด็ก หรือ โรค SIDS (Sudden Infant Death Syndrome) เด็กทารกมักจะมีปัญหาเรื่องการหายใจอยู่แล้ว การขาดอากาศเพราะหายใจไม่ออกเพียงไม่นานก็อาจเสี่ยงต่อชีวิตได้ การห่อตัวทารกบางครั้งอาจจะแน่นเกินไป ทำให้เวลาที่ทารกมีปัญหาเรื่องการหายใจไม่ออก หรือถ้าผ้าห่อตัวทารกแน่นมากเกินไป และทารกเกิดพลิกตัวในท่าคว่ำหน้า ทารกก็ไม่สามารถจะพลิกตัวกลับมาได้ ก็เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้เช่นกัน
เสี่ยงต่อการขาดอากาศหายใจ การห่อตัวตัวทารกแน่นมากไปก็ไม่ดี แต่ถ้าห่อหลวมไปก็ไม่ดีเช่นกัน หากทารกพยายามพลิกตัวแล้วผ้าห่อตัวหลุด จนคลุมหน้า คลุมจมูก อาจขัดขวางการหายใจ ทำให้หายใจลำบาก หายใจไม่ออก เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้
การห่อตัวทารกนั้นสามารถทำได้ตั้งแต่ก่อนอายุครบ 2 เดือน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถห่อตัวทารกไปได้ตลอดนะคะ ซึ่งพอเป็นแบบนี้คุณพ่อคุณแม่จึงอาจจะสงสัยกันว่าแล้วเราจะต้องห่อตัวลูกถึงกี่เดือน?
คำตอบก็คือ คุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มหยุดห่อตัวทารก เมื่อทารกเริ่มส่งสัญญาณของการม้วนตัว หรือการคว่ำตัวค่ะ ซึ่งปกติเด็กจะเริ่มคว่ำตัวเมื่ออายุ 4 เดือนขึ้นไป แต่เด็กบางคนก็คว่ำตัวได้เร็วกว่านั้น โดยเด็กบางคนอาจจะเริ่มคว่ำตัวได้ตั้งแต่อายุ 2 เดือนด้วยซ้ำไป ดังนั้น จึงจำเป็นที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องหมั่นสังเกตสัญญาณการคว่ำตัวให้ดี
ที่ควรหยุดห่อตัวทารกเมื่อทารกเริ่มคว่ำตัวได้ ก็เพราะว่าถ้าห่อตัวแน่นเกินไป แล้วทารกเกิดคว่ำตัวในขณะนอนหลับขึ้นมา และไม่สามารถจะพลิกตัวกลับมาได้ หรือดิ้นออกจากห่อผ้าไม่หลุด อาจเสี่ยงต่อปัญหาการหายใจ และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้
วิธีห่อตัวเด็กโดยทั่วไป จะเป็นการห่อตัวแบบเปิดศีรษะ สามารถทำได้ ดังนี้
วางผ้าลงกับพื้นราบ หรือบนเตียง แล้วพับมุมผ้าลง ให้ผ้ามีลักษณะเป็นรูปห้าเหลี่ยม
วางลูกลงบนผ้า ให้บ่าอยู่บริเวณขอบผ้า และศีรษะอยู่พ้นมุมผ้าที่พับลง
ใช้มือข้างหนึ่งจับทารกไว้ มืออีกข้างหยิบมุมซ้ายของผ้ามาห่มทับลำตัวของทารก และพาดไปสอดไว้ใต้แขนอีกข้างของทารก แล้วดึงชายผ้าส่วนที่เหลืออ้อมไปเก็บไว้ด้านหลัง
จากนั้นหยิบผ้าจากมุมขวามือ ห่อพาดแขนขวาและลำตัวของทารก เหน็บผ้าส่วนเกินไว้ทางด้านหลัง
ค่อย ๆ พับหรือม้วนผ้าที่อยู่ด้านล่างหรือ่วนปลายเท้าขึ้นมาและเหน็บไว้ด้านล่างให้เรียบร้อย หรือจะผูกเอาก็ได้ค่ะ
การห่อตัวทารก สามารถทำออกมาได้หลาหลายรูปแบบ ดังนี้
วางผ้าลงกับพื้นราบ หรือบนเตียง แล้วพับมุมผ้าลง ให้ผ้ามีลักษณะเป็นรูปห้าเหลี่ยม
วางลูกลงบนผ้า ให้บ่าอยู่บริเวณขอบผ้า และศีรษะอยู่พ้นมุมผ้าที่พับลง
ใช้มือข้างหนึ่งจับทารกไว้ มืออีกข้างหยิบมุมซ้ายของผ้ามาห่มทับลำตัวของทารก และพาดไปสอดไว้ใต้แขนอีกข้างของทารก แล้วดึงชายผ้าส่วนที่เหลืออ้อมไปเก็บไว้ด้านหลัง
จากนั้นหยิบผ้าจากมุมขวามือ ห่อพาดแขนขวาและลำตัวของทารก เหน็บผ้าส่วนเกินไว้ทางด้านหลัง
ค่อย ๆ พับหรือม้วนผ้าที่อยู่ด้านล่างหรือ่วนปลายเท้าขึ้นมาและเหน็บไว้ด้านล่างให้เรียบร้อย หรือจะผูกเอาก็ได้ค่ะ
วางผ้าลงกับพื้นราบ หรือบนเตียง แล้วพับมุมผ้าลง ให้ผ้ามีลักษณะเป็นรูปห้าเหลี่ยม
วางลูกลงบนผ้า ให้ศีรษะอยู่ต่ำขอบผ้าที่พับมุมลงมา
จากนั้นค่อย ๆ ดึงขอบผ้าลงมาครอบที่ศีรษะและแนบไปกับลำตัวของทารก
แล้วพาดผ้าไปอีกฝั่ง ส่วนผ้าอีกฝั่งก็พาดทับกลับมาเช่นกัน
ดึงชายผ้าให้แน่น แล้วค่อย ๆ ม้วนผ้าที่อยู่ด้านล่างและผูกเอาให้เรียบร้อย
วางผ้าลงกับพื้นราบ หรือบนเตียง แล้วพับมุมผ้าลง ให้ผ้ามีลักษณะเป็นรูปห้าเหลี่ยม
วางลูกลงบนผ้า ให้บ่าอยู่บริเวณขอบผ้า และศีรษะอยู่พ้นมุมผ้าที่พับลง
แล้วเลือกแขนข้างใดข้างหนึ่งให้อยู่ชิดแนบกับลำตัว แล้วดึงชายผ้าจากอีกฝั่งพาดห่อตัว
จากนั้นดึงชายผ้าอีกฝั่งพาดห่อตัวเช่นเดียวกัน แต่ให้เหลือแขนอีกข้างไว้ โดยดึงผ้าพาดผ่านใต้แขนไปสอดไว้ด้านหลัว
ดึงชายผ้าให้แน่น แล้วมัดให้เรียบร้อยค่ะ
วางผ้าลงกับพื้นราบ หรือบนเตียง แล้วพับมุมผ้าลง ให้ผ้ามีลักษณะเป็นรูปห้าเหลี่ยม
วางลูกลงบนผ้า ให้ลูกอยู่กลางผ้า
ดึงชายผ้าพาดทับแขนของทารกแล้วนำไปสอดไว้ด้านหลัง ทำเช่นเดียวกันกับแขนทั้งสองข้าง
จากนั้นดึงชายผ้าด้านล่างขึ้นมา ให้ขอบชายผ้าอยู่ด้านล่างสะดือ ไม่ต้องดึงผ้าขึ้นมาทับท้องและสะดือนะคะ
แล้วค่อย ๆ รวบผ้าและเหน็บผ้าไปด้านหลังให้เรียบร้อย
การห่อตัว อุปกรณ์สำคัญก็คือผ้า ซึ่งจำเป็นจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานในเด็กทารก เพื่อไม่ให้เกิดการระคายเคือง หรือส่งผลเสียต่อร่างกายของทารก
ผ้าห่อตัวเด็กที่ดี ควรจะเลือกผ้าที่:
เลือกใช้ผ้าฝ้าย หรือผ้าขนหนู เพราะสามารถดูดซับน้ำและระบายอากาศได้ดี
เลือกผ้าที่บาง เพราะถ้าใช้ผ้าหนา จะทำให้การระบายอากาศและอุณหภูมิทำได้ยาก เสี่ยงที่จะมีอุณหภูมิในร่างกายสูง
เลือกผ้าที่นุ่ม มีสัมผัสอ่อนโยน ไม่กระด้าง เพื่อป้องกันไม่ให้เนื้อผ้าเกิดการระคายเคืองต่อผิวทารก
ผ้าห่อตัวใช้แค่เพียงผืนเดียวก็เพียงพอแล้วค่ะ ไม่จำเป็นต้องใช้ผ้าหลายผืนซ้อนกัน ส่วนถ้าใครอยากจะมีผ้าหัวตัวลูกหลาย ๆ ผืนไว้สลับใช้งานก็ได้ค่ะ
Enfa สรุปให้ อาการไข้ขึ้นตอนกลางคืน กลางวันปกติ พบได้บ่อยในเด็ก เพราะเป็นภาวะที่ร่างกายตอบสนองต่...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ เมื่อทารกคัดจมูก คุณแม่สามารถใช้ผลิตภัณฑ์ยาทาระเหยบรรเทาอาการคัดจมูกสูตรสำหรับทารกโ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ฟลูออไรด์ เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้ตามธรรมชาติทั้งจากดิน หิน น้ำโดยเฉพาะใน...
อ่านต่อ