Enfa สรุปให้
เมื่อลูกมีไข้ ให้ทำการวัดไข้ด้วยปรอท หรือเทอร์โมมิเตอร์เท่านั้น การวัดไข้โดยการใช้มือแตะหรือสัมผัสกับร่างกาย ไม่ใช่วิธีวัดไข้ที่ถูกต้องและแม่นยำ
ไม่ควรให้ลูกกินยาลดไข้เอง ไม่ควรให้ลูกกินยาดักไข้ ควรให้ลูกกินยาลดไข้ก็ต่อเมื่อวัดไข้แล้วพบว่ามีอุณหภูมิถึงเกณฑ์มีไข้ หรือมีอุณหภูมิ 37.5-38.4 องศาขึ้นไป
ไม่ควรซื้อยาลดไข้เด็กให้ลูกกินเอง โดยเฉพาะเด็กทารกไม่ควรกินยาใด ๆ โดยไม่จำเป็น ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย และสั่งจ่ายยาลดไข้โดยแพทย์หรือเภสัชกรเท่านั้น
เลือกอ่านตามหัวข้อ
ลูกไม่สบาย ตัวร้อน ไข้ขึ้นสูง แบบนี้ต้องรีบหายาลดไข้เด็กมาให้ลูกกิน จะได้ไข้ลดลงเร็ว ๆ แต่เดี๋ยวก่อน...เวลาลูกไม่สบาย คุณพ่อคุณแม่สามารถซื้อยาแก้ไข้เด็กมาให้ลูกกินเองเลยได้หรือเปล่านะ แล้วยาพาราเด็กแบบไหนที่ปลอดภัยสำหรับลูกบ้าง วันนี้ Enfa จะพาคุณพ่อคุณแม่มาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับยาลดไข้เด็กกันค่ะ
ยาลดไข้เด็ก เป็นยาที่ใช้สำหรับบรรเทาอาการตัวร้อน ลดไข้ และบรรเทาอาการปวดศีรษะร่วมด้วย ซึ่งยาลดไข้ในเด็กที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันนี้คือ พาราเซตามอล และ ไอบูโพรเฟน
ยาแก้ไข้ในเด็ก อาจไม่ได้ต่างจากยาแก้ไข้ในผู้ใหญ่มากนักในเรื่องของตัวยา เพราะเวลาผู้ใหญ่มีไข้ ก็กินยาพาราเซตามอล หรือไอบูโพรเฟนเหมือนกัน แต่สิ่งที่ไม่เหมือนกันก็คือ ปริมาณยาที่ใช้ค่ะ
ยาลดไข้ของผู้ใหญ่จะต้องกินในปริมาณที่มากกว่าเด็ก เพราะมีน้ำหนักตัว ส่วนสูง และอายุที่มากกว่า ส่วนเด็กนั้นจะต้องกินในปริมาณที่น้อยกว่า เพื่อให้ร่างกายสามารถดูดซึมยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อร่างกาย
ก่อนที่จะให้ลูกกินยาลดไข้เด็ก คุณพ่อคุณแม่ควรจะต้องแน่ใจก่อนว่า ลูกมีไข้จริง ๆ
ซึ่งการวัดว่าลูกมีไข้ที่แม่นยำ ไม่ใช่การเอามือไปสัมผัสที่หน้าผาก หรือสัมผัสร่างกายลูก แล้วสรุปเอาเองว่าลูกตัวร้อน ลูกมีไข้
ควรจะต้องวัดอุณภูมิร่างกายของลูกด้วยเครื่องมือที่มีความแม่นยำ เช่น ปรอทวัดไข้ เทอร์โมมิเตอร์
เมื่อวัดอุณหภูมิออกมาแล้วพบว่าอุณหภูมิร่างกายของลูกถึงเกณฑ์ที่เรียกว่ามีไข้หรืออุณหภูมิระหว่าง37.5-38.4 องศาขึ้นไป จึงสามารถให้ลูกกินยาลดไข้ได้ และคอยดูแลให้ไข้ลดอย่างเหมาะสมต่อไปได้ค่ะ
แต่ถ้าหากอุณหภูมิลูกยังไม่ถึงกับมีไข้ ยังไม่จำเป็นต้องให้ลูกกินยาลดไข้ แต่สามารถดูแลเบื้องต้นเพื่อให้อุณหภูมิร่างกายลดลงเป็นปกติได้เลย
ยาพาราเซตามอลสำหรับเด็ก หรือยาพาราเด็ก ถือว่าเป็นยาลดไข้ที่ปลอดภัยมากที่สุดสำหรับเด็กแล้วค่ะ แม้ว่าไอบูโพรเฟนจะสามารถใช้ลดไข้เด็กได้เหมือนกัน แต่ก็มีข้อจำกัดการใช้งานเยอะ และจำเป็นจะต้องให้แพทย์วินิจฉัยสั่งจ่ายยาให้ก่อน ถึงจะสามารถให้ลูกกินได้อย่างปลอดภัย
มากไปกว่านั้น ในทุก ๆ ครั้งที่ให้ลูกกินยาลดไข้เด็ก จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ลูกกินยาในปริมาณที่ถูกต้องและเหมาะสมกับวัยและน้ำหนักตัวของเด็กอย่างเคร่งครัด
ไม่ตวงยาตามความเข้าใจของตัวเอง ไม่หักยาเม็ดให้ลูกแบบผิดวิธี เพราะถ้าหากลูกกินยาพาราในปริมาณและขนาดยาที่ไม่เหมาะสมกับวัย อาจจะส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพของลูกได้ค่ะ
ยาลดไข้ทารกแรกเกิด ต้องมีความระมัดระวังเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในเด็กทารกแรกเกิดที่อายุน้อยกว่า 3 เดือน คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรซื้อยาแก้ไข้มาให้ลูกกินเองโดยเด็ดขาด ย้ำกันอีกชัด ๆ ว่าห้ามซื้อยาใด ๆ มาให้ลูกกินเองโดยเด็ดขาด
หากทารกแรกเกิดมีไข้ ให้คุณพ่อคุณแม่รีบพาลูกไปพบแพทย์ทันที เพื่อวินิจฉัยว่าเกิดจากอะไร และใช้ยาลดไข้เด็กแรกเกิดตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น ทั้งขนาดยา ปริมาณ ความถี่ จะต้องตรงตามที่แพทย์สั่งเอาไว้เท่านั้น
สำหรับเด็กที่อายุตั้งแต่ 1 ขวบขึ้นไป สามารถที่จะกินยาลดไข้จำพวกพาราเซตามอล ไอบูโพรเฟน แอสไพริน ยาเหล่านี้เหมาะสำหรับเด็กที่อายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป และจำเป็นจะต้องใช้ตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น
ไม่ควรซื้อยาลดไข้มาให้ลูกกินเอง เพราะอาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้ และจำเป็นจะต้องให้ยาตามปริมาณและขนาดยาที่แพทย์สั่งเท่านั้น
สำหรับเด็กโตแล้ว สามารถที่จะกินยาลดไข้ได้หลายยี่ห้อมากขึ้นทั้งพาราเซตามอล และไอบูโพรเฟน แต่...จำเป็นจะต้องให้ยาตรงตามน้ำหนักตัวและอายุของลูกเท่านั้น
ไม่ควรแบ่งยาหรือตวงยาให้ลูกกินตามความเข้าใจของตัวเอง การให้ยาที่ไม่ตรงกับบุคคล จะทำให้ประสิทธิภาพของยาในการบรรเทาไข้ลดลงค่ะ
สำหรับเด็กที่มีไข้สูง การให้ลูกกินยาแก้ไข้สูงสำหรับเด็กนั้น ควรจะต้องดูน้ำหนักและอายุของลูกเป็นสำคัญ ไม่ว่าลูกจะมีไข้สูงมากแค่ไหน ก็ห้ามเพิ่มขนาดและปริมาณของยาเองโดยไม่ได้คำนึงถึงอายุและน้ำหนักของลูก เพราะการให้ยาที่ไม่ตรงกับบุคคล อาจส่งผลเสียต่อร่างกายและทำให้ประสิทธิภาพในการรักษาโรคของยาลดลงด้วย
มากไปกว่านั้น หากลูกมีไข้สูงติดต่อกันนานตั้งแต่ 24 ชั่วโมงขึ้นไป ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ และรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไปค่ะ
ข้อปฏิบัติที่จำเป็นจะต้องยึดถืออย่างเคร่งครัดก่อนที่จะป้อนยาลดไข้เด็กให้กับลูก มีดังนี้
ในเด็กทารกแรกเกิด โดยเฉพาะเด็กที่อายุน้อยกว่า 3 เดือน หากมีไข้ ไม่ควรให้ลูกกินยาใด ๆ ทั้งสิ้น หากแพทย์ไม่ได้เป็นคนสั่ง
สำหรับเด็กเล็ก ๆ หากมีไข้ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที ไม่ควรซื้อยาลดไข้มาให้ลูกกินเอง
เวลาให้ลูกกินยาลดไข้เด็ก จะต้องให้ในปริมาณและขนาดยาตามที่แพทย์สั่งหรือตามที่ฉลากยากำหนดเอาไว้เท่านั้น ไม่ควรเพิ่มหรือลดปริมาณยาเอง เพราะอาจทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลงได้
ยาแก้ไข้เด็ก ควรให้ตามส่วนสูง อายุและน้ำหนักตัวของเด็ก เพื่อให้เด็กได้รับปริมาณยาที่เหมาะสมกับบุคคลมากที่สุด และตัวยาสามารถออกฤทธิ์มีประสิทธิภาพในการลดไข้ได้สูงสุด
เวลาวัดไข้ลูก ควรวัดด้วยปรอท หรือเทอร์โมมิเตอร์เท่านั้น หากอุณภูมิถึงเกณฑ์มีไข้จึงค่อยให้ลูกกินยา การวัดไข้โดยการใช้มือแตะที่หน้าผาก ไม่ใช่การวัดไข้ที่ถูกต้อง
หากลูกกินยาลดไข้แล้ว แต่ยังมีไข้สูง และไข้ไม่ยอมลด ไม่ควรเพิ่มขนาดยาเอง แต่ให้รีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย และรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
เวลาตวงยาให้ลูก ต้องใช้ช้อนตวงยาที่ถูกต้องและได้มาตรฐานเท่านั้น
เด็กทารกที่มีอายุยังไม่เกิน 3 เดือน ไม่ควรกินยาลดไข้ใด ๆ หากแพทย์ไม่ได้สั่ง
หากลูกมีอายุ 2 เดือนแล้วมีไข้ ให้คุณพ่อคุณแม่รีบพาลูกไปพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย และแพทย์จะเป็นผู้จ่ายยาลดไข้เด็ก 2 เดือนที่เหมาะสมเอง ไม่ควรซื้อยาลดไข้ใด ๆ มาให้ลูกกินโดยที่แพทย์ไม่เห็นด้วย
ทารก 1 เดือน สามารถกินยาลดไข้ได้ แต่...ต้องเป็นยาลดไข้ที่แพทย์สั่งจ่ายและเห็นชอบด้วยเท่านั้น ไม่ควรซื้อยาลดไข้มาให้ทารกแรกเกิดกินเองโดยเด็ดขาด
หากทารกแรกเกิดมีไข้ ให้รีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย หากแพทย์สั่งจ่ายยาลดไข้ให้ ก็กินยาตามที่แพทย์แนะนำ แต่ถ้าแพทย์ไม่ได้สั่งจ่ายยาลดไข้ให้ ก็ไม่จำเป็นต้องให้ลูกกินยาลดไข้แต่อย่างใดค่ะ
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ซื้อยาลดไข้เด็กเทมปร้ามาให้ลูกกิน ควรให้ลูกกินยาตามที่ฉลากยากำหนดไว้ คือ
กินยาเฉพาะเวลาปวดหรือมีไข้วันละไม่เกิน 5 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 4 ชม.
สำหรับเด็กที่เด็กอายุน้อยกว่า 2 เดือน ควรปรึกษาแพทย์ก่อน ไม่ควรให้ลูกกินยาเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์
ตวงยาด้วยหลอดหยดยาที่แถมมากับกล่อง ไม่กะปริมาณหรือตวงยาเอง
ยาลดไข้เด็กเทมปร้า มีหลายสูตร แต่ละสูตรใช้งานกับเด็กที่อายุแตกต่างกัน ควรเลือกสูตรที่เหมาะกับช่วงวัยของลูก
ขึ้นอยู่กับว่าเป็นยาน้ำชนิดไหน เพราะยาน้ำต่างชนิดกัน มีระยะเวลาในการเก็บรักษาที่แตกต่างกัน ดังนี้
ยาน้ำปฏิชีวนะ แบบที่ต้องผสมน้ำ เมื่อผสมน้ำแล้ว สามารถเก็บได้นาน 7 วัน หรือ 14 วันหากเก็บไว้ในตู้เย็น
ยาน้ำโดยทั่วไป สามารถเก็บรักษาไว้ได้ 6 เดือน แต่ไม่เกิน 1 ใน 4 ของระยะเวลาวันหมดอายุที่เหลืออยู่
Enfa สรุปให้ อาการไข้ขึ้นตอนกลางคืน กลางวันปกติ พบได้บ่อยในเด็ก เพราะเป็นภาวะที่ร่างกายตอบสนองต่...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ เมื่อทารกคัดจมูก คุณแม่สามารถใช้ผลิตภัณฑ์ยาทาระเหยบรรเทาอาการคัดจมูกสูตรสำหรับทารกโ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ฟลูออไรด์ เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้ตามธรรมชาติทั้งจากดิน หิน น้ำโดยเฉพาะใน...
อ่านต่อ