ช่วง 3 ขวบปีแรกเป็นช่วงเวลาสำคัญของพัฒนาการเด็ก เพราะเป็นช่วงวัยที่สมองมีการพัฒนาสูงสุด การเรียนรู้จดจำ และทักษะชีวิตจำเป็นที่จะต้องติดตัวเด็กคนหนึ่งไปจนโต ต้องส่งเสริมอย่างตรงจุดตั้งแต่ช่วงวัย 0-3 ปี โดยเฉพาะทักษะการคิดเป็น คิดดี ทำดี สามารถพึ่งพาตัวเองเป็น และเอาตัวรอดในสังคมได้อย่างมีความสุข
สิ่งสำคัญคือการเข้าใจพัฒนาการตามวัยและพื้นอารมณ์ที่ติดตัวลูกมาตั้งแต่แรกเกิด เมื่อพ่อแม่เข้าใจและปรับวิธีการเลี้ยงดูอย่างเหมาะสมในทุกด้าน ทั้งอาหารที่ครบถ้วนโภชนาการ ส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ให้ความรักและผูกพัน ให้ลูกรู้สึกว่า ‘แม่มีอยู่จริง’ ก็เท่ากับได้สร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งให้ลูก แม้ต้องพบกับการเปลี่ยนแปลงใดในอนาคตลูกเราก็สามารถรับมือและอยู่รอดได้ทุกสถานการณ์
วัย 2-3 ขวบเป็นช่วงเวลาสำคัญที่จะปลูกฝังรากฐานที่แข็งแรงให้ลูกในทุกด้าน โดยเฉพาะสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม คือ การกระตุ้น ส่งเสริม และช่วยฝึกฝนพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยของลูกอย่างถูกต้องเหมาะสม เพราะการที่จะให้ลูกเราเติบโตเป็นคนที่เห็นอกเห็นใจผู้อื่น เรียนรู้ที่จะเข้าสังคม สามารถเริ่มฝึกและสร้างได้ตั้งแต่วัยนี้
วิ่งได้คล่อง
ชี้อวัยวะของร่างกายได้
มือและนิ้วมือทำงานประสานกันได้ดี
ชอบวิ่ง กระโดด ปีนป่าย
โยนและเตะลูกบอลได้
สามารถเริ่มบอกรูปร่างและสีของสิ่งของได้
เรียนรู้ผ่านการตั้งคำถามบ่อยๆ
ชอบท้าท้ายความสามารถของตัวเอง
เมื่อเข้าสู่วัย 2-3 ขวบ เจ้าหนูวัยป่วนจะอยากแสดงตัวตน ทดสอบความสามารถที่ตัวเองทำได้ และชอบท้าท้ายคำสั่ง ในช่วงวัยนี้การฝึกให้ลูกรู้จักควบคุมตัวเองอย่างเหมาะสมจึงสำคัญไม่แพ้การส่งเสริมพัฒนาการต่างๆ
มักจะเดินหนี ชอบทำอะไรด้วยตัวเอง เพราะรู้สึกว่าตัวเองเป็นอิสระจากพ่อแม่
แสดงความไม่พอใจเมื่อถูกบังคับ
ช่างเลือก ไม่พอใจอะไรง่ายๆ
เริ่มมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ เช่น หวงของ หรือแย่งของ
เรียกร้องและหวังผลต่อการตอบสนอง
ร้องกรี๊ด แสดงอาการเอาแต่ใจตัวเอง
ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่อยู่ เช่น ขว้างปาสิ่งของเมื่อเกิดอารมณ์โกรธ
หากลูกงอแง แม่ไม่ควรใช้อารมณ์ สอนด้วยเหตุผลควบคู่กับการตอบสนองต่อพฤติกรรมของลูกอย่างเหมาะสม เมื่อลูกเรียนรู้ว่าวิธีนี้ไม่ได้ผล เขาก็จะค่อยๆ เปลี่ยนพฤติกรรม
แม่ต้องแสดงออกให้รู้ว่ายอมรับและเข้าใจอารมณ์ของลูก และสอนให้เขาเรียนรู้ว่า หนูกำลังรู้สึกอะไร เช่น โกรธ โมโห จากนั้นบอกวิธีการและขอบเขตที่สามารถแสดงออกได้ เช่น โกรธ โมโหได้ แต่ตีคนอื่นไม่ได้ เป็นต้น
ไม่เอาแต่ห้ามอย่างเดียว หากแน่ใจว่าสิ่งที่ลูกทำไม่มีอันตราย คุณแม่สามารถเปิดโอกาสให้ลูกได้เรียนรู้ได้ลองผิดลองถูก สร้างประสบการณ์ด้วยตัวเองบ้าง
เช่น ของเล่นชิ้นไหนเป็นของใคร อยากเล่นต้องทำอย่างไร หรือสร้างกฎกติกาที่ตกลงร่วมกัน ให้เขามีส่วนร่วม เขาก็จะค่อยๆ เข้าใจและเรียนรู้ที่จะทำตามได้มากขึ้น
ความสม่ำเสมอจะช่วยทำให้เกิดเป็นพฤติกรรมที่เคยชิน จนติดเป็นนิสัย สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น และมีพัฒนาการตามวัยที่ดีขึ้น
เมื่อถึงวัยที่ลูกต้องไปโรงเรียนอนุบาล เรื่องสำคัญไม่ใช่แค่การเลือกโรงเรียนเท่านั้น แต่ต้องเตรียมลูกให้พร้อมทั้งกายและใจ ที่สำคัญพร้อมที่จะปรับตัวกับสังคมใหม่และเพื่อนใหม่เป็นครั้งแรกด้วย
กินอาหารที่มีประโยชน์ ได้สารอาหารครบถ้วน นอนหลับพักผ่อนเพียงพอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย พร้อมต่อการเรียนรู้ที่โรงเรียน
เช่น กินข้าวได้ด้วยตนเอง บอกว่าปวดปัสสาวะหรืออุจจาระกับคุณครูได้
เพราะเวลาที่ลูกอยู่โรงเรียน อาจลูกจะไม่ได้รับการตอบสนองความต้องการทันทีเหมือนตอนอยู่บ้าน
เน้นการเปิดโอกาสให้ลูกมีโอกาสทำอะไรด้วยตัวเอง หรือได้เล่นกับเพื่อนที่หลากหลาย เรียนรู้การเล่นด้วยกัน เช่น แบ่งของเล่นให้เพื่อน เคารพกติกาที่มีร่วมกัน
ลูกวัย 2-3 ขวบ นอกจากการส่งเสริมกิจกรรมที่พัฒนาทักษะทางด้านร่างกาย และการอยู่ร่วมกับคนอื่นแล้ว เรื่องของสมาธิจดจ่อ การสื่อสารที่ชัดเจน การช่วยเหลือผู้อื่น รวมถึงทักษะความคิดสร้างสรรค์ เพื่อทำไปใช้แก้ปัญหาในอนาคต ทักษะเหล่านี้จะติดตัวลูกไปจนโต หากเริ่มฝึกกันตั้งแต่ตอนนี้
ปีนป่าย ห้อยโหน ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ (โดยมีพ่อแม่ดูแลเรื่องความปลอดภัย)
ไถหรือปั่นจักรยานสามล้อ ได้ทั้งการทรงตัว สมาธิ และความแข็งแรงของแขนขา
แปะงานศิลปะ พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก ควบคู่กับการใช้มือสัมผัสทำประสานกัน
ช่วยพ่อแม่ประดิษฐ์ตุ๊กตาหุ่นมือ หุ่นนิ้วมือ ได้จินตนาการ และกล้ามเนื้อมัดเล็ก
ชวนลูกตั้งถามและตอบทุกคำถามของลูก ต่อยอดทักษะการคิดและการสื่อสาร
บทบาทสมมติ เรียนรู้การแสดงอารมณ์และค้นหาตัวตน
งานบ้านเรื่องสนุก ได้พัฒนาการรอบได้
เล่นดิน เล่นทราย (Free Play)
การได้พบปะผู้คน หรือมีกิจกรรมร่วมกับผู้คน โดยพ่อแม่เป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตัว
เรียนรู้ขอบเขตที่เหมาะสม
ใช้ของเล่น หรือของใช้ที่ลูกคุ้นเคยมาใส่กล่อง แล้วกำหนดโจทย์ให้ลูกหาของตามภาพ หรือ ตามสีที่กำหนด แม่ลูกสามารถสลับกันเล่นและสลับกันตั้งโจทย์ได้
ระหว่างเล่านิทานให้ลูกฟัง ชวนให้ลูกตั้งคำถามและฟังนิทานด้วยความจดจ่อมากขึ้น และให้ชี้รูปสิ่งที่ชอบมากที่สุดในเรื่อง โดยไม่ต้องชี้นำลูก ช่วยฝึกให้ลูกมีความคิดสร้างสรรค์ ใช้จินตนาการอย่างอิสระ
ตรวจสอบข้อมูลโดย : รศ.นพ.พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์
กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรม
รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
Enfa สรุปให้ เด็ก 2 ขวบ เป็นวัยที่พัฒนาการสมบูรณ์รอบด้าน เด็กวัยนี้จึงพร้อมสำหรับการเรียนรู้สิ่ง...
อ่านต่อด้านสติปัญญาและการเรียนรู้ ส่งเสริมการเรียนรู้ให้ลูกน้อยจากชีวิตประจำวัน กิจกรรมต่อไปนี้เป็น...
อ่านต่อด้านสติปัญญาและการเรียนรู้ เล่น เรียนรู้การแก้ปัญหา เด็กวัย 2-3 ขวบนั้น พัฒนาการด้านค...
อ่านต่อ