พัฒนาการของเด็กวัย 3 ขวบขึ้นไปจะต้องการชั่วโมงนอนประมาณ 9-12 ชั่วโมงต่อวัน โดยนอนกลางวัน 1 ชั่วโมง ซึ่งโรงเรียนอนุบาลก็จะจัดเตรียมที่หลับที่นอนให้เด็ก แต่ก็มีเด็กบางรายไม่ยอมนอนกลางวัน โดยเฉพาะเด็กที่เพิ่งเข้าโรงเรียนใหม่ๆ จะมีปัญหานอนกลางวันมาก อาจเพราะยังไม่คุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปจากบ้าน และอีกหลายรายที่มีสาเหตุจากนอนดึก ตื่นสาย พอถึงตอนกลางวันที่ต้องนอน จึงไม่ยอมนอน
คุณแม่อาจสงสัยว่าทำไมจึงจำเป็นต้องให้เด็กนอนกลางวัน ลองสังเกตง่ายๆ ว่าวันไหนที่เด็กไม่ได้นอนมักจะมีอาการอิดโรย ซึม เหม่อลอย แสดงอาการหงุดหงิดตอนบ่ายและตอนเย็น สดชื่นน้อยกว่าเด็กที่นอนกลางวันแล้วตื่นมาทำกิจกรรมกับคุณครูในภาคบ่าย นั่นเพราะเด็กยังต้องการเวลาในการพักผ่อนหลังจากทำกิจกรรมมาตลอดช่วงเช้า
อาการเหล่านี้นอกจากส่งผลต่อตัวเด็กแล้ว ยังส่งผลไปถึงการดำเนินชีวิตประจำวันด้วย เพราะแทนที่เด็กจะร่าเริงสดใส กระตือรือร้นทำกิจกรรมต่างๆ ในช่วงบ่าย-เย็น ก็กลับง่วงนอนแทน ถึงเวลารับประทานอาหารเย็นก็แทบจะนั่งหลับคาจานข้าว แล้วนอนในช่วงเย็น ตื่นมาตอนค่ำ จากนั้นกว่าจะเข้านอนอีกทีก็ดึกมาก พอนอนดึกก็ตื่นสาย พอตื่นสาย ถึงเวลากลางวันที่ต้องนอนก็ยังไม่ง่วง บ่ายเหม่อซึม ตกเย็นง่วงนอน วนไปวนมาเป็นวงจรอยู่อย่างนี้
วิธีแก้ไขคือ ต้องปรับเวลานอนของลูกกันใหม่ ตอนเย็นเมื่อลูกง่วงนอนต้องถ่วงเวลาหากิจกรรมให้ทำก่อน อย่าพยายามให้นอนตอนเย็น แต่ปรับเป็นให้นอนเร็วกว่าปกติ นอนแต่หัวค่ำจะได้ตื่นเช้า และทุกอย่างจะเข้าที่เองในไม่ช้าค่ะ
Enfa สรุปให้ เด็ก 2 ขวบ เป็นวัยที่พัฒนาการสมบูรณ์รอบด้าน เด็กวัยนี้จึงพร้อมสำหรับการเรียนรู้สิ่ง...
อ่านต่อด้านสติปัญญาและการเรียนรู้ ส่งเสริมการเรียนรู้ให้ลูกน้อยจากชีวิตประจำวัน กิจกรรมต่อไปนี้เป็น...
อ่านต่อด้านสติปัญญาและการเรียนรู้ เล่น เรียนรู้การแก้ปัญหา เด็กวัย 2-3 ขวบนั้น พัฒนาการด้านค...
อ่านต่อ