เมื่อลูกเข้าอนุบาล เป็นช่วงเวลาสำคัญที่ลูกควรจะไปโรงเรียนอย่างมีความสุข ช่างพูดช่างจา ต้องการอะไรก็บอกคุณครูได้ ช่วยตัวเองในเรื่องขับถ่าย เข้าห้องน้ำได้ กลับมาก็มีเรื่องเล่าสนุกๆ ถึงกิจกรรมที่ได้ทำที่โรงเรียนกับเพื่อนๆ ให้ฟัง ฯลฯ ใช่มั้ยคะ
หากคุณแม่ต้องการให้ภาพข้างต้นเป็นจริง ช่วงลูกอายุ 1-3 ขวบ นับเป็นช่วงเวลาสำคัญในการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ให้ลูกตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อให้ลูกวัยเตาะแตะพร้อมสำหรับการเข้าสู่อนุบาลในวัย 3 ขวบเป็นต้นไป โดยเฉพาะการเตรียมพร้อมด้านร่างกายและสมอง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากในการเรียนรู้ของเด็กในวัยอนุบาล
ร่างกายลูกจะแข็งแรงมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของเขาว่าสามารถปกป้องร่างกายจากสิ่งแปลกปลอม เช่น เชื้อโรคต่างๆ ได้เพียงใด โดยคุณแม่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันและความแข็งแรงให้ร่างกายลูกได้ ดังนี้
ลูกน้อยในวัย 1-3 ขวบ นั้น พัฒนาการด้านต่างๆ กำลังเจริญเติบโตอย่างรุดหน้า สมองและร่างกายพัฒนาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ลูกจึงต้องการสารอาหารจำเป็นอย่างต่อเนื่อง การขาดสารอาหารมีผลเสียต่อภูมิคุ้มกัน ร่างกาย และสมอง ลูกต้องได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ มีความสมดุล และมีความหลากหลาย มีปริมาณพอเหมาะกับความต้องการ ครบหลักห้าหมู่ อาหารที่ลูกวัยนี้ควรได้รับทุกวันคือ ไข่และนม โดยเฉพาะนมที่มีสารอาหารอย่าง MFGM และ ดีเอชเอ ซึ่งช่วยเสริมสร้างสมองและภูมิคุ้มกันให้ลูกได้
การพักผ่อนที่เพียงพอช่วยให้ร่างกายได้พัก เพื่อการเจริญเติบโต อีกทั้งการนอนหลับยาวจะช่วยระบบภูมิคุ้มกันของเด็กทำงานได้ดี จึงส่งผลต่อความแข็งแรงของร่างกายด้วย เด็กๆ จึงควรได้รับการพักผ่อนอย่างน้อยวันละ 8-10 ชั่วโมง
การที่ลูกได้ออกกำลังกายช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง ส่งผลให้ร่างกายลูกแข็งแรงด้วย คุณแม่จึงควรให้ลูกได้ออกกำลังกายบ่อยๆ เช่น พาออกไปวิ่งเล่นในสวนสาธารณะ
การฉีดวัคซีนคือการสร้างภูมิคุ้มกันให้ระบบร่างกาย ซึ่งลูกจะได้รับวัคซีนเสริมภูมิคุ้มกันโรคตั้งแต่แรกเกิดจากน้ำนมแม่ และได้รับวัคซีนที่ป้องกันเชื้อโรคต่างๆ ที่เป็นอันตรายตั้งแต่เด็ก ในวัย 1-3 ขวบ มีวัคซีนที่ลูกยังต้องได้รับอย่างต่อเนื่องอยู่ คุณแม่จึงควรให้ลูกได้รับวัคซีนให้ครบ เพื่อความแข็งแรงของร่างกายลูก
ลูกวัยเตรียมอนุบาลนั้น เริ่มมีอัตราการเจริญเติบโตช้าลง แต่ก็ไม่ควรมีน้ำหนักเท่าเดิมนานเป็นสัปดาห์ ส่วนความสูงที่เพิ่มขึ้นมักเกิดจากการยืดของช่วงล่างมากกว่าช่วงกลางลำตัว กล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น และมวลไขมันลดลง ทำให้เด็กวัยนี้ดูเหมือนตัวยืดขึ้น ซึ่งพัฒนาการทางร่างกายของลูกวัยเตรียมอนุบาลที่สำคัญๆ และคุณแม่ควรเช็คว่าลูกมีพัฒนาการเหล่านี้หรือไม่ ดังนี้
ลูกวัย 1-1 ½ ขวบ
จะพยายามหัดยืนและเดิน และทำได้ดีขึ้นเรื่อยๆ
ปีนขึ้นบันไดได้แต่ต้องมีคนช่วย ลงบันไดโดยการคลานถอยหลัง ถ้าเดินลงต้องช่วยจับแขน
กระโดดสองขาได้
ชอบลาก ผลัก ดันสิ่งต่างๆ ลากเก้าอี้ไปยังชั้นวางของและพยายามปีนป่ายหรือเอื้อมหยิบของ
ต่อบล็อกได้ 3-4 ชิ้น
ลูกเด็กวัย 1 ½ - 2 ขวบ
ขึ้นบันไดได้แต่ต้องใช้มือหนึ่งจับราว เดินขึ้นลงบันไดตามลำพังได้เมื่ออายุ 2 ขวบแต่ยังสลับขาไม่ได้
ชอบวิ่ง ปีนป่าย กระโดดอยู่กับที่
เดินทีละก้าวบนกระดานไม้แผ่นเดียวได้
ขี่จักรยาน 3 ล้อได้
เริ่มถนัดใช้มือข้างใดข้างหนึ่งแล้ว
ร้อยลูกปัดเม็ดใหญ่ๆ ได้
ลูกวัย 2 - 2 ½ ขวบ
สนุกสนานกับการเคลื่อนไหว ทั้งการวิ่ง กระโดดโลดเต้น หลบหลีกสิ่งกีดขวางบนทางเดินได้ดี
เดินถอยหลังได้ เดินเขย่งปลายเท้าได้ 2-3 ก้าว
ปีนขึ้นบนราวในสนามเด็กเล่นได้แต่ปีนลงไม่ได้
หมุนลูกบิดประตูได้ จับถือสิ่งของได้มั่นคง หยิบของชิ้นเล็กๆ ได้แต่หลุดมือง่าย ชอบขว้างและรับของ
ต่อบล็อกได้ 6 ชิ้น
ลูกวัย 2 ½ - 3 ขวบ
ยืนบนขาข้างเดียวได้นาน 2 วินาที
วิ่งได้ดีแต่ไม่สามารถเริ่มหรือหยุดได้โดยเร็ว
กระโดดขึ้น 2 ขาพร้อมกันและกระโดดลงจากเก้าอี้ได้ ขึ้นลงบันไดได้เองโดยต้องรอให้ขาทั้ง 2 อยู่ชั้นเดียวกันก่อนจึงก้าวต่อ
มือและนิ้วทำงานประสานกันได้ดี
ต่อบล็อกได้สูง 8 ชั้น
หากคุณแม่พบว่าลูกยังไม่ทำเรื่องใดไม่ได้ ก็สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการด้านนั้นๆ เพื่อเตรียมความพร้อมลูกให้มากที่สุดก่อนถึงวัยอนุบาล
การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการมีพัฒนาการสมองที่ดี คุณแม่จึงไม่ควรมองข้ามช่วงเวลาสำคัญของการส่งเสริมพัฒนาการทางสมองของลูกวัยนี้ โดยการจัดประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมที่ดีให้ลูก ซึ่งทำได้ โดย :
เปิดโอกาสให้ลูกได้เล่น คุณแม่ควรได้ช่วงเวลาสำคัญในการเล่นกับลูกให้มากที่สุด โดยนั่งเล่นด้วยกันกับลูก เช่น หาสิ่งของที่มีสีสันและรูปทรงที่เหมือนกันหรือคล้ายกันมาให้ลูกฝึกจับคู่ เปิดโอกาสให้ลูกได้เล่นอิสระและใช้สมองพลิกแพลงกับสิ่งของภายในบ้าน เช่น กะละมัง จาน ช้อน กล่องกระดาษ ฯลฯ นอกจากลูกได้เรียนรู้แล้วยังมีความสุขกับช่วงเวลาที่มีแม่นั่งเล่นอยู่ด้วยกัน
เปิดโอกาสให้ลูกช่วยเหลือตัวเอง เช่น ตักอาหาร แต่งตัวเอง ฯลฯ ช่วงเวลาที่ลูกได้ช่วยเหลือตัวเองบ่อยๆ ในชีวิตประจำวัน จะช่วยให้เขาสามารถใช้ความคิดแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ขณะทำสิ่งนั้นๆ ได้
อ่านหนังสือนิทานให้ลูกฟังบ่อยๆ ช่วงเวลาที่ลูกได้ฟังเรื่องราวของนิทาน สมองของเขาได้ทำงาน ได้เรียนรู้คำใหม่ๆ หัดจำคำหรือประโยคที่เขาได้ยินนั้น
สอนให้เรียนรู้จำนวนและตัวเลข เช่น ฝึกนับนิ้ว 1-10 ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเรียนในวัยอนุบาล
บอกความต้องการได้ด้วยการชี้หรือจูงมือผู้ใหญ่ไปยังของที่ต้องการ
ชอบทำอะไรด้วยตัวเองมากขึ้น เช่น หยิบ ตัก อาหารเข้าปาก ใส่เสื้อเอง เป็นต้น
เริ่มรู้จักชื่อของคน สัตว์ และสิ่งของที่อยู่ใกล้ตัว
เลียนแบบคนรอบข้างมากขึ้น เช่น เลียนแบบการกวาดบ้าน
แสดงความกระตือรือร้น สนใจใคร่รู้ ออกเดินสำรวจสิ่งต่างๆ มากขึ้น
รู้จักเรียกร้องความสนใจจากพ่อแม่และคนรอบข้าง เช่น ส่งเสียงเรียกหรือทำท่าต่างๆ
สามารถจับคู่ของที่มีสีหรือรูปทรงเหมือนกันได้
สามารถต่อบล็อกไม้ตามแบบง่ายๆ ที่ผู้ใหญ่ทำให้ดูได้
ชอบเล่นและสนุกกับสิ่งของใกล้ตัว เช่น กะละมัง จาน ช้อน กล่องต่างๆ ฯลฯ
เริ่มเข้าใจเรื่องเวลาบ้างแล้ว เช่น วันนี้ เดี๋ยวนี้
ชอบดูหนังสือภาพและชี้รูปภาพในหนังสือ
รู้จักสีต่างๆ 3-5 สี
มีทักษะแก้ปัญหามากขึ้น เช่น เมื่อเอาของไปวางไว้สูงกว่าที่เอื้อมถึง สามารถยืนต่อตัวบนเฟอร์นิเจอร์เพื่อเอื้อมไปเอาของนั้นได้
รู้ถึงความสัมพันธ์ของสิ่งที่ทำและผลที่เกิด เช่น เมื่อชี้ที่ภาพนก สามารถบอกได้ว่าคืออะไร ส่งเสียงร้องอย่างไร เป็นต้น
สามารถต่อภาพจิ๊กซอว์ง่ายๆ 6-12 ชิ้นได้
หากคุณแม่พบว่าลูกยังทำเรื่องใดไม่ได้ ก็สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการการเรียนรู้เรื่องนั้นๆ ให้ลูก เพื่อเตรียมความพร้อมลูกให้มากที่สุดก่อนถึงวัยอนุบาล
แม้ว่าสารอาหารสำคัญทุกชนิด เด็กๆ สามารถได้รับจากการกินอาหารหลัก 5 หมู่ แต่เพราะส่วนใหญ่เด็กวัยเตรียมอนุบาลมักจะมีปัญหาเรื่องการกินยาก กินน้อย เพราะห่วงเล่น โอกาสได้รับสารอาหารจำเป็นไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายจึงเพิ่มขึ้น
ดังนั้นลูกจึงควรได้กินนมเสริมมื้ออาหาร ถ้าคุณแม่สามารถจัดหาอาหารมื้อหลักที่มีสารอาหารครบถ้วนจากข้าว ผัก เนื้อสัตว์และผลไม้ให้กับลูกได้ในปริมาณที่เหมาะสมได้ครบ 3 มื้อ ก็เลือกนมรสจืดเสริมให้ลูกวันละ 2-3 แก้ว เพื่อเสริมวิตามินและสารอาหารอื่นๆ นอกเหนือจากแคลเซียม
ในการเลือกนม คุณแม่ควรเลือกนมที่มีสารอาหารใกล้เคียงนมแม่ คือมี MFGM เยื่อหุ้มอนุภาคในนม ประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ ที่พบในนมแม่ เช่น โปรตีนต่างๆ และไขมันเชิงซ้อน, ดีเอชเอ กรดไขมันซึ่งเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มสมอง และจอประสาทตา
ที่สำคัญ จากงานวิจัยทางคลินิกพบว่า MFGM เป็นสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กได้หลากหลายด้าน ดังนี้
โปรตีนบางชนิดใน MFGM มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างระบบการป้องกันการติดเชื้อจากไวรัสและแบคทีเรีย ช่วยให้ร่างกายเด็กต่อสู้กับการติดเชื้อได้ เช่น พบว่า MFGM ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน เป็นต้น เมื่อลูกน้อยมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี จะทำให้มีสุขภาพแข็งแรง พร้อมเรียนรู้เรื่องราวรอบตัวได้ดี
จากงานวิจัยทางคลินิก พบว่า เด็กที่ได้รับ MFGM ร่วมกับ DHA มีระดับคะแนนพัฒนาการทางสติปัญญาสูงกว่าเด็ก ที่ได้รับ DHA เพียงอย่างเดียว นอกจากนั้นจากการทดลองในห้องปฏิบัติการเพื่อศึกษาการทำงานของ MFGM พบว่า เมื่อใช้สารอาหารใน MFGM ทำงานร่วมกับ DHA ที่เวลา 21 วัน จะช่วยเพิ่มโอกาสการเชื่อมต่อเซลล์สมองมากกว่าการใช้ DHA เพียงอย่างเดียว*
มีงานวิจัยพบว่า MFGM จะช่วยให้เด็กสามารถควบคุมพฤติกรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการทางอารมณ์ของเขาได้**
มีงานวิจัยพบว่า เด็กกลุ่มที่ได้รับนมเสริม MFGM มีพัฒนาการร่างกาย โดยเฉพาะทักษะการใช้กล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวที่ดีกว่ากลุ่มเด็กที่ไม่ได้เสริม
มีงานวิจัยในเด็กพบว่า เด็กกลุ่มที่ได้รับนมเสริม MFGM มีพัฒนาการด้านภาษาที่ดีและทักษะการสื่อสารที่ซับซ้อนกว่ากลุ่มเด็กที่ไม่ได้เสริม
งานวิจัยในเด็กพบว่า เด็กกลุ่มที่ได้รับนมเสริม MFGM มีสมาธิจดจ่อกับกิจกรรมที่ทำนานกว่ากลุ่มเด็กที่ไม่ได้เสริม
การได้เตรียมร่างกายและสมองของลูกให้พร้อมเสียตั้งแต่ตอนนี้ จะทำให้เมื่อถึงวัยลูกไปโรงเรียนอนุบาลลูกจะพร้อมและลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้ค่ะ
Enfa สรุปให้ เด็ก 2 ขวบ เป็นวัยที่พัฒนาการสมบูรณ์รอบด้าน เด็กวัยนี้จึงพร้อมสำหรับการเรียนรู้สิ่ง...
อ่านต่อด้านสติปัญญาและการเรียนรู้ ส่งเสริมการเรียนรู้ให้ลูกน้อยจากชีวิตประจำวัน กิจกรรมต่อไปนี้เป็น...
อ่านต่อด้านสติปัญญาและการเรียนรู้ เล่น เรียนรู้การแก้ปัญหา เด็กวัย 2-3 ขวบนั้น พัฒนาการด้านค...
อ่านต่อ