Enfa สรุปให้
- ไขบนหัวทารก คือ ไขเคลือบตัวทารกแรกเกิด มีลักษณะเป็นเกล็ดหรือสะเก็ดไขมัน
มักพบบริเวณศีรษะ หน้าผาก แนวเส้นผม หัวคิ้ว หลังหู
- คราบไขมันบนหัวทารกมักพบในทารกแรกเกิด พบมากในช่วงอายุ 3 เดือน
และส่วนใหญ่จะหายได้เองในอายุ 6-12 เดือน
-
การเกิดไขบนหัวทารกไม่ได้เป็นเพราะตัวทารกไม่สะอาด
เมื่อคุณแม่พบไขบนหัวทารกหรือหัวลูกเป็นสะเก็ดเหลือง ไม่จำเป็นต้องพยายามทำความสะอาด แกะ หรือเกาแรง ๆ

ไขบนหัวทารกเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิดถึงประมาณ 6 เดือน ซึ่งดูเหมือนไม่ได้เป็นเรื่องอันตรายและหายไปได้เอง
แต่บางครั้งพบว่าไขบนหัวทารกเหล่านี้ก่อให้เกิดปัญหา เช่น อาการคัน ติดเชื้อรา หากคุณพ่อคุณแม่พบปัญหาไขบนหัวทารก
หรือหัวลูกเป็นสะเก็ดเหลืองแล้วเกิดความไม่สบายใจ วันนี้ Enfa มีวิธีทำความสะอาดไขที่หัวทารกมาฝากกันค่ะ
ไขบนหัวทารก คืออะไร
ไขบนหัวทารก (Cradle Cap) คือ ไขเคลือบตัวทารกแรกเกิด
มีลักษณะเป็นเกล็ดหรือสะเก็ดไขมัน มักพบบริเวณศีรษะ หน้าผาก แนวเส้นผม หัวคิ้ว หลังหู บางครั้งพบหัวลูกเป็นสะเก็ดเหลือง
ไขบนหัวทารกนี้จะเริ่มเป็นมากในช่วงแรกเกิดถึง 3 เดือน
แม้จะยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดของการเกิดไขมันบนหัวทารกหรือไขมันบนหน้าผากทารก และเป็นภาวะปกติที่หายได้เอง
แต่ก็สร้างความกังวลใจให้คุณพ่อคุณแม่ได้ไม่น้อย โดยเฉพาะในคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่ไม่รู้จักผื่นไขมันชนิด
ไขบนหัวทารกเกิดจากอะไร
คราบไขมันบนหัวทารกมักพบในทารกแรกเกิด พบมากในช่วงอายุ 3 เดือน และส่วนใหญ่จะหายได้เองในอายุ 6-12 เดือน
ไขบนหัวทารกมักเกิดเป็นผื่นบริเวณที่มีต่อมไขมันบนหนังศีรษะ
ลักษณะของคราบไขมันบนหัวทารกมีทั้งแบบเป็นผื่นสีเหลืองหรือสีน้ำตาลเข้ม เป็นตุ่มคล้ายสิวแต่เล็กกว่า และเป็นสะเก็ดบาง ๆ
เป็นแผ่นสีขาวหรือสีเหลือง หรือเป็นขุย
สาเหตุหลัก ๆ ของการเกิดไขบนหัวทารกนั้นยังไม่มีผลสรุปที่แน่ชัดเท่าไร
แต่ก็พบว่ามีความสัมพันธ์กับฮอร์โมนของคุณแม่ระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งฮอร์โมนไปกระตุ้นต่อมไขมันในเด็กให้ทำงานมากกว่าปกติ
จนผลิตไขมันออกมามากและกลายเป็นการอักเสบหรืออุดตันบนศีรษะทารก
นอกจากนี้ ไขบนหัวทารกยังสัมพันธ์กับสภาพอากาศที่ร้อนมากเกินไป
เนื่องจากความร้อนมีผลทำให้ต่อมไขมันของลูกน้อยทำงานหนักมากขึ้น จนทำให้เกิดผดผื่นที่ศีรษะ
รวมถึงการติดเชื้อราบางชนิดที่ส่งผลต่อต่อมไขมันของลูกน้อยด้วย
ทั้งนี้ การเกิดไขบนหัวทารกไม่ได้เป็นเพราะตัวทารกไม่สะอาด เมื่อคุณแม่พบไขบนหัวทารกหรือหัวลูกเป็นสะเก็ดเหลือง
ไม่จำเป็นต้องพยายามทำความสะอาด แกะ หรือเกาแรง ๆ เพราะอาจทำให้อักเสบมากขึ้นได้
ไขบนหัวทารกมีกลิ่น
ไขบนหัวทารกจะมีลักษณะเป็นผื่นสีเหลืองหรือสีน้ำตาลเข้ม เป็นตุ่มคล้ายสิวแต่เล็กกว่า และเป็นสะเก็ดบาง ๆ
เป็นแผ่นสีขาวหรือสีเหลือง หรือเป็นขุย ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติและหายเองได้ เว้นแต่คุณแม่สังเกตเห็นความผิดปกติอื่น เช่น
มีผื่นลามขึ้นบริเวณอื่นในร่างกาย ไขบนหัวทารกมีกลิ่น มีของเหลวไหลซึมหรือมีเลือดไหลออกจากเกล็ดไขมัน ผิวลูกมีลักษณะบวม
และลูกน้อยดูเหมือนเจ็บปวด ไม่สบาย ควรพาไปพบแพทย์
หัวลูกเป็นสะเก็ดเหลือง
โดยทั่วไปแล้วไขบนหัวทารกจะมีลักษณะสะเก็ดหรือขุยสีขาวหรือสะเก็ดเหลือง อาจพบบริเวณศีรษะ หน้าผาก
ซึ่งมักไม่มีอาการเจ็บปวดหรือคัน ไม่รบกวนการกินและการนอนหลับของลูก และมักจะหายไปได้เองภายในอายุ 12 เดือน
แต่หากหัวลูกเป็นสะเก็ดเหลือง ผิวหนังใต้สะเก็ดแดงหรือบวม มีอาการคัน
ประกอบกับมีสมาชิกในครอบครัวที่เป็นโรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ หรือโรคหอบหืด มีอาการเหมือนภาวะแทรกซ้อน เช่น ติดเชื้อ
เนื่องจากการเกา และมีอาการนานกว่า 12 เดือน ควรพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม
วิธีทำความสะอาดไขที่หัวทารก
สิ่งที่คุณแม่ไม่ควรทำเมื่อพบไขบนหัวทารก คือ อย่าแกะ เกา ใช้เล็บขูด รวมถึงอย่าปล่อยให้ลูกเกาสะเก็ด
โดยอาจใส่ถุงมือป้องกัน เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองมากกว่าเดิม
รวมถึงอย่าเข้าใจผิดว่าการมีไขบนหัวทารกเป็นเพราะอาบน้ำลูกไม่สะอาดและพยายามใช้สบู่หรือแชมพูทำความสะอาด
เพราะอาจทำให้เกิดอาการแพ้หรือผิวหนังอักเสบได้
วิธีทำความสะอาดไขที่หัวทารกที่เหมาะสม คือ
- ใช้เบบี้ออยล์ทาบริเวณสะเก็ดหรือเช็ดไขบนหัวทารก โดยนวดให้ความชุ่มชื้นเบา ๆ ทิ้งไว้สัก 10-15 นาที
- ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำอุ่นเช็ดไขบนหัวทารกเบาๆ เลี่ยงการขัดหรือถูแรง ๆ ป้องกันการอักเสบ
- ใช้แชมพูเด็กสูตรอ่อนโยน สระผมทารกโดยนวดหนังศีรษะ หรือใช้แปรงผมขนนุ่มสำหรับทารก แปรงเบา ๆ
หากสังเกตพบผมทารกหลุดร่วงพร้อมสะเก็ดไม่ต้องตกใจ เพราะผมจะงอกขึ้นมาใหม่ได้ในไม่ช้า
- ใช้ผ้านุ่มสะอาดเช็ดให้แห้ง
โดยปกติแล้วสะเก็ดจะหลุดและหายได้เองใน 1-2 สัปดาห์
แต่หากคุณแม่กังวลใจสามารถพาลูกไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการดูแลรักษาเบื้องต้นได้ อย่างไรก็ดี
ไขบนหัวทารกที่เกิดจากภาวะต่อมไขมันอักเสบหรือเป็นโรคต่อมไขมันอักเสบนั้น
เมื่อหายเป็นปกติแล้วอาจกลับมาเป็นซ้ำได้อีกในช่วงวัยรุ่น หรือช่วงที่มีอากาศหนาว
อีกทั้งโรคนี้ยังสัมพันธ์กับฮอร์โมนร่างกาย พันธุกรรม อาหารที่รับประทาน และความเครียดอีกด้วย ดังนั้น
หากอาการสะเก็ดไขมันไม่หายหรือดีขึ้น หรือมีภาวะแทรกซ้อนอื่น เช่น อักเสบ ควรรีบไปพบแพทย์
MFGM สารอาหารในนมแม่ เพื่อ IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก
การเสริมสร้างพัฒนาการที่ดีให้กับทารกในช่วง 5 ขวบปีแรก ถือเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของการพัฒนาทางกายภาพและสติปัญญา
ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพและการเจริญเติบโตของเด็กตลอดชีวิต
โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางสมองให้ลูกน้อยผ่านกิจกรรมการเล่น การสื่อสาร การอ่านหนังสือ
เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ ทักษะภาษา และการสื่อสารให้ลูก
ควบคู่ไปกับการสร้างพัฒนาการทางอารมณ์และความมั่นใจผ่านการสัมผัส โอบกอด ช่วยให้ลูกรู้สึกปลอดภัยและมั่นคง
รวมถึงให้ความสำคัญกับโภชนาการที่ดีและเหมาะสมกับช่วงวัย
โดยโภชการที่ดีที่สุดสำหรับทารกในช่วง 6 เดือนแรกคือโภชนาการผ่านนมแม่ เพราะนมแม่มี MFGM สุดยอดสารอาหารในนมแม่
สารอาหารสมองชนิดเดียวที่ช่วยให้ลูกมี IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ปีแรกประกอบด้วยไขมันและโปรตีนกว่า 150 ชนิด
รวมทั้งสฟิงโกไมอีลิน ฟอสโฟลิปิด แกงกลิโอไซด์ และมี DHA ที่ช่วยเสริมสร้างการพัฒนาสมองและระบบประสาทได้เป็นอย่างดี
อีกทั้งการให้ทารกกินนมแม่ยังช่วยเสริมสร้างความผูกพันระหว่างแม่กับลูกอีกด้วย
นอกจากนี้ เพื่อพัฒนาการที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย คุณแม่ควรให้ลูกน้อยพักผ่อนให้เพียงพอ
และเสริมความแข็งแรงของพัฒนาการร่างกายผ่านการเล่นและเคลื่อนไหวอย่างอิสระ
รวมถึงเสริมทักษะสังคมให้ลูกด้วยการพาลูกไปพบปะกับเด็กคนอื่น ๆ ด้วย
ไขข้อข้องใจเรื่องไขบนหัวทารกกับ Enfa Smart Club
สะเก็ดเหลืองที่คิ้วทารก อันตรายไหม
สะเก็ดเหลืองที่คิ้วทารกไม่ใช่เรื่องผิดปกติอะไร เพราะการเกิดไขบนหัวทารกอาจพบที่บริเวณอื่นได้ด้วย เช่น แนวเส้นผม
หัวคิ้ว หลังใบหู เป็นต้น หากสะเก็ดเหลืองที่คิ้วทารกไม่มีความผิดปกติ เช่น ไม่มีรอยบวมแดง ไม่มีอาการคัน
ไม่มีเลือดหรือของเหลวไหลซึมจากรอยสะเก็ด หากปล่อยไว้จะหายได้เองใน 1-2 สัปดาห์
สะเก็ดเหลืองบนหัวทารก ทำความสะอาดยังไง
สะเก็ดเหลืองบนหัวทารกสามารถหายได้เองใน 1-2 สัปดาห์ แต่หากคุณแม่ต้องการทำความสะอาดสะเก็ดเหลืองบนหัวทารก
สามารถใช้เบบี้ออยล์ทาบาง ๆ และนวดเบาๆ เพื่อให้สะเก็ดอ่อนนุ่มลง แล้วใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นค่อยๆ เช็ดออก
แล้วสระผมทารกด้วยแชมพูสำหรับทารกโดยเฉพาะ จากนั้นใช้ผ้าแห้งสะอาดเช็ดให้แห้ง โดยไม่จำเป็นต้องแกะสะเก็ด เกาหรือถูแรงๆ
เพราะอาจทำให้เกิดการอักเสบได้
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่และลูกน้อย