Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
การนอนกลางวันมีความสำคัญต่อพัฒนาการเด็กเป็นอย่างมาก นอกจากช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาและการคิดของเด็ก (Cognitive development) แล้ว ยังช่วยให้เด็กที่นอนกลางวันมีสมาธิยาวนานกว่าและมีอาการหงุดหงิดน้อยกว่าเด็กที่ไม่ได้นอนกลางวันอีกด้วย บทความนี้เอนฟาจะพาคุณแม่มาดูประโยชน์ของการนอนกลางวัน ว่าส่งผลดีต่อพัฒนาการของลูกน้อยอย่างไรบ้าง
เด็ก ๆ ต้องการเวลานอนหลับพักผ่อนที่มากกว่าวัยผู้ใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยทารกและช่วงก่อนเข้าอนุบาล การให้เด็กนอนกลางวัน มีส่วนช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่สมบูรณ์ตามวัย โดยเด็กในแต่ละช่วงวัยก็จะมีเวลาที่เหมาะสมในการนอนหลับที่แตกต่างกันไปค่ะ โดยทั่วไปเด็ก ๆ จะหยุดนอนกลางวันตอนอายุประมาณ 5 ขวบ
เวลานอนของเด็กมีความสำคัญมากต่อพัฒนาการของสมอง และส่งผลโดยตรงกับอารมณ์ พฤติกรรม การเรียนรู้ ความจำ การควบคุมอารมณ์ การนอนหลับยังส่งผลสำคัญต่อการเจริญเติบโตอีกด้วย โดยเฉพาะในวัยทารก ที่ใช้เวลาส่วนใหญ่กับการนอนหลับ คุณแม่จึงควรดูแลให้แน่ใจว่าลูกน้อยใช้เวลาในการนอนอย่างเพียงพอในแต่ละวัน
ระยะเวลาที่เด็กนอนกลางวันจะขึ้นอยู่กับเวลาที่เด็กใช้ตอนกลางคืน โดยยิ่งเด็กอายุน้อยเท่าไหร่ก็ควรให้เวลาในการนอนหลับพักผ่อนมากขึ้นเท่านั้น คุณแม่อาจต้องการทราบว่าเด็กควรนอนกลางวันกี่ชั่วโมง เพื่อที่จะวางแผนการนอนของลูกน้อยได้อย่างเหมาะสม เรามาดูกันค่ะว่าในแต่ละช่วงวัยควรให้เด็กนอนกลางวันกี่ชั่วโมง
ทารกแรกเกิดควรใช้เวลานอนทั้งหมดในแต่ละวันอย่างน้อยประมาณ 18 ชั่วโมง และจะตื่นเพียงคราวละ 1-2 ชั่วโมงเท่านั้น เนื่องจากในช่วงแรกของชีวิต สมองของทารกยังไม่ได้พัฒนานาฬิกาชีวภาพ (Circadian rhythm) ซึ่งเป็นวงจรการทำงานของร่างกายที่แยกเวลาระหว่างกลางวันและกลางคืน ทำให้สามารถนอนหลับได้ตลอดเวลา
เมื่ออายุได้ประมาณ 4 เดือนเป็นต้นไป ทารกจะใช้เวลานอนหลับทั้งหมดอยู่ที่ 12-16 ชั่วโมง และเริ่มหลับตอนกลางคืนได้ที่ประมาณ 6-8 ชั่วโมง โดยทั่วไปจะนอนกลางวันประมาณ 2-3 ครั้งต่อวัน โดยใช้เวลานอนประมาณ 5-6 ชั่วโมง
เด็กอายุ 1 ขวบจะเริ่มนอนหลับได้ยาวนานมากขึ้นในเวลากลางคืน ทำให้ต้องการเวลานอนกลางวันที่น้อยลงในช่วงกลางวัน และอาจหลับกลางวันเพียง 1-2 ครั้ง ประมาณ 2-3 ชั่วโมงในแต่ละวัน
เด็กอายุ 2 ขวบใช้เวลานอนตอนกลางคืนประมาณ 9-12 ชั่วโมง และนอนกลางวันเพียง 1 ครั้ง ประมาณครั้งละ 1-2 ชั่วโมง โดยเด็ก 2 ขวบควรงีบหลับในช่วงบ่ายเพื่อไม่ให้รบกวนการนอนหลับตอนกลางคืน โดยคุณแม่อาจพยายามให้เด็กนอนกลางวันเป็นเวลาอย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง ก่อนเวลาเข้านอนตอนค่ำของเด็ก
ยิ่งเด็กโตขึ้นมากเท่าไหร่ เวลานอนกลางวันก็จะสั้นลง เด็กอายุ 3 ขวบขึ้นไปมักจะนอนหลับสนิทตลอดคืน ทำให้ใช้เวลานอนกลางวันน้อยลงกว่าตอนที่ยังเป็นเด็กเล็กอย่างค่อยเป็นค่อยไป เด็ก 3 ขวบจะใช้เวลานอนกลางวันเพียง 1 ชั่วโมงก็เพียงพอแล้ว
แล้วเด็กอนุบาลนอนกลางวันกี่ชั่วโมง? เด็กอนุบาลชั้นที่ 1-3 จะอยู่ในช่วงอายุตั้งแต่ 3-6 ปี และทางโรงเรียนจะให้เด็กอนุบาลนอนกลางวัน ประมาณ 1 ชั่วโมงอยู่แล้ว คุณแม่สามารถวางใจได้ว่าลูกน้อยได้งีบหลับและใช้เวลาพักผ่อนอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ไม่ควรให้เด็กเข้านอนดึกจนเกินไป เพื่อให้เด็กได้ใช้เวลาพักผ่อนอย่างเต็มอิ่มในตอนกลางคืนเช่นกัน
ทารกไม่นอนกลางวัน จนทำให้นอนหลับไม่เพียงพอ อาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านระบบประสาทและสมองที่จะพัฒนาช้าลง ลูกอาจป่วยง่ายขึ้นเนื่องจากการนอนไม่พอจะไปรบกวนการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
รวมไปถึงด้านร่างกายเนื่องจากในระหว่างการนอนหลับร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth Hormone) หากนอนหลับไม่เพียงพอ การผลิตฮอร์โมนการเจริญเติบโตจะถูกระงับ ซึ่งอาจไปขัดขวางการเจริญเติบโตทางร่างกายของทารกได้
นอกจากนี้เมื่อเข้าสู่วัยเรียน หากเด็กไม่นอนกลางวัน อาจส่งผลกระทบต่อการตั้งสมาธิกับการเรียน และสุขภาพจิต เช่น ภาวะวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้าได้ หรือหากนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอในตอนกลางคืนก็อาจส่งผลต่อชีวิตประจำวันของเด็ก ๆ ได้เช่นกัน
อาการงอแงไม่ยอมนอนกลางวันเป็นเรื่องที่เกิดได้บ่อยและเกิดได้จากหลายปัจจัย คุณแม่ควรหาสาเหตุที่ทำให้เด็กไม่ยอมนอนกลางวัน เช่น สิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ปัญหาสุขภาพ เด็กหิว ไม่สบายตัว อุณหภูมิไม่เหมาะกับการนอน มีเสียงรบกวน เพื่อปรับเปลี่ยนและส่งเสริมการนอนกลางวันให้เหมาะสม
ในเบื้องต้นหากคุณแม่มีปัญหาเรื่องทารกไม่ยอมนอนกลางวัน ควรหลีกเลี่ยงการปล่อยให้ทารกนอนร้องไห้ไปเรื่อย ๆ แต่ให้กล่อมนอนด้วยเพลงทำนองสบาย ๆ ร้องเพลงกล่อมเด็ก นวดตัวให้ทารก หรือโยกตัวทารกเพื่อกล่อมนอน ซึ่งอาจช่วยให้ทารกเข้านอนได้ง่ายขึ้น
การวางแผนเวลานอนของลูกน้อยให้เป็นเวลาที่สม่ำเสมอในทุกวัน ทั้งการนอนกลางวันและเวลานอนกลางคืน จะช่วยปรับนิสัยและฝึกพฤติกรรมการนอนหลับที่ดีให้กับลูกได้ โดยสามารถฝึกได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป คุณแม่ที่อยากฝึกลูกนอนกลางวันเองอาจลองทำตามคำแนะนำของเอนฟาต่อไปนี้ดูนะคะ
นอกจากการดูแลให้ลูกน้อยได้พักผ่อนอย่างเพียงพอแล้ว การเลือกโภชนาการที่ดีให้กับลูก ก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ลูกน้อยเติบโตอย่างแข็งแรงได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การให้ลูกได้รับสารอาหารที่เป็นแหล่งอาหารที่สมบูรณ์ที่สุดอย่างน้ำนมแม่
MFGM สุดยอดสารอาหารสมองจากนมแม่ สารอาหารชนิดเดียวที่ช่วยให้ลูกมี IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 แรก ประกอบไปด้วยโปรตีนและไขมันกว่า 150 ชนิด เช่น สฟิงโกไมอีลิน ฟอสโฟลิปิด แกงกลิโอไซต์ ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีส่วนช่วยสำคัญต่อการเสริมสร้างพัฒนาการด้านสมองและการเรียนรู้
คุณแม่ควรสร้างบรรยากาศที่ดีในการนอน หรี่ไฟให้สลัว ให้ลูกนอนห้องในที่มีอากาศถ่ายเทดี และให้วางทารกในท่านอนหงาย เพื่อให้นอนในท่าที่สบายที่สุด อาจช่วยทารกให้หลับได้ง่ายขึ้น และควรให้พาเวลาเข้านอนในเวลาเดียวกันทุกวัน
สำหรับปัญหาทารก 2 เดือนไม่ยอมนอนกลางวัน หากทำตามวิธีที่แนะนำไปข้างต้นแล้วลูกยังไม่นอนกลางวัน ให้ลองพาลูกออกไปรับแสงแดดอ่อน ๆ ยามบ่าย แสงแดดช่วยให้ทารกเรียนรู้ความแตกต่างระหว่างกลางวันและกลางคืน การได้รับแสงแดดในช่วงบ่ายจะช่วยให้สมองระบุได้ว่าควรนอนและตื่นเมื่อใด
หากทารกนอนกลางวัน กลางคืนไม่นอน อาจเกิดจากระหว่างวันทารกใช้เวลานอนมากเกินไป ทำให้ไม่ยอมหลับในตอนกลางคืน ควรปลุกให้ตื่นมากินนมทุก ๆ 3 ชั่วโมง และดูแลให้ทารกตื่นมานั่งเล่นสักระยะ เพื่อไม่ให้นอนมากจนเกินไป
Enfa สรุปให้ ทำไมเด็กต้องนอนกลางวัน สาเหตุที่เด็กต้องนอนกลางวันเพราะการนอนจะช่วยเสริมสร้างการเจร...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ไขบนหัวทารก คือ ไขเคลือบตัวทารกแรกเกิด มีลักษณะเป็นเกล็ดหรือสะเก็ดไขมัน ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ หัวนมเป็นแผล ถือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับคุณแม่มือใหม่หลายคน สาเห...
อ่านต่อ