Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
พฤติกรรม เด็กก้าวร้าว ถือเป็นความกังวลของคุณพ่อคุณแม่ ไม่ว่าจะเป็นการทุบตี ขว้างของ หรือกัดเพื่อน บางครั้งก็ถึงขั้นทำร้ายตัวเอง ซึ่งพบได้บ่อยในเด็กเล็ก วันนี้เราชวนมาทำความเข้าใจ ลูก 1 ขวบ อารมณ์ร้าย เพื่อหาวิธีแก้ไขพฤติกรรมก้าวร้าวอย่างถูกวิธีกันค่ะ
เด็กก้าวร้าว เป็นเรื่องที่หลายครอบครัวต้องเผชิญ และเป็นสิ่งที่น่ากังวลอย่างยิ่งสำหรับคุณพ่อคุณแม่ เพราะนอกจากจะส่งผลกระทบต่อตัวเด็กเองแล้ว ยังอาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ภายในครอบครัวและสังคมรอบข้างอีกด้วยค่ะ
เด็กก้าวร้าว มักเกิดจากหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่การที่ลูกก้าวร้าวจะมาจากเด็กยังไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ ในบ้านที่มีการปะทะทางอารมณ์รุนแรง เช่น พ่อแม่ทะเลาะกัน หรือยังขาดทักษะในการสื่อสารหรือจัดการอารมณ์
โดยเฉพาะในช่วงวัย 1-3 ขวบ ซึ่งเป็นวัยที่เด็กๆ กำลังเรียนรู้การควบคุมอารมณ์และการแสดงออก บอกความต้องการและความรู้สึกด้วยคำพูดจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับเด็ก ๆ แต่การที่พวกเขาไม่สามารถทำได้ก็อาจส่งผลให้เกิดพฤติกรรมที่ก้าวร้าว เช่น การตี การผลัก หรือการกรีดร้อง เป็นต้น
ลูกมีพฤติกรรมก้าวร้าว มักจะแสดงออกในหลายรูปแบบ ซึ่งพฤติกรรมก้าวร้าวในเด็ก ที่พบได้บ่อย อาทิ
การแย่งของเล่นอย่างรุนแรงพฤติกรรมเด็กก้าวร้าวส่วนใหญ่จะมีกิริยาที่ท้าทาย เช่น การกรีดร้อง การตี การเหวี่ยงของ หรือการทำร้ายตัวเองและผู้อื่น โดยเฉพาะในช่วงที่เด็กยังไม่สามารถบอกความรู้สึกหรือความต้องการได้อย่างชัดเจน พฤติกรรมก้าวร้าวยังอาจแสดงออกมาในรูปแบบของการไม่เชื่อฟัง หรือการต่อต้านคำสั่งของพ่อแม่ เช่น ไม่ยอมทานอาหาร หรือไม่ยอมแต่งตัว ซึ่งทั้งหมดนี้อาจทำให้คุณแม่รู้สึกท้อแท้ และสงสัยว่าทำไมลูกถึงเป็นแบบนี้
การที่ ลูกอารมณ์ร้าย ก้าวร้าว เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการตามวัยค่ะ พัฒนาการธรรมชาติของเด็กจะต้องผ่านไป เช่น การที่เด็ก 1 ขวบ อารมณ์ร้าย หรือ ลูก 2 ขวบอารมณ์ร้าย ชอบพูดว่า "ไม่" เป็นการทดลองขีดจำกัดของตัวเองในฐานะของผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาอารมณ์และความเป็นอิสระในวัยเด็ก
การที่เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว หรือเอาแต่ใจอาจไม่ได้หมายความว่าคุณแม่ทำผิดอะไร แต่หมายถึงเด็กกำลังเรียนรู้วิธีการที่จะควบคุมอารมณ์และการแสดงออกของตัวเองเท่านั้น แต่ถึงอย่างนั้น พฤติกรรมเหล่านี้ ก็ต้องได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรระวัง มีดังนี้
พฤติกรรมในการเลี้ยงดูของคุณพ่อคุณแม่ข้างต้น อาจส่งผลต่อการพัฒนาอารมณ์ของลูกน้อย จนกลายเป็นนิสัยที่ติดตัวลูกไปในระยะยาวได้
วิธีสอนลูกไม่ให้ก้าวร้าว ต้องอาศัยความเข้าใจและความอดทน สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจสาเหตุของปัญหาและให้การสนับสนุนที่เหมาะสมแก่เด็ก เพื่อช่วยให้เด็กสามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเองได้ดีขึ้น โดยมีวิธีแก้ปัญหาเด็กก้าวร้าวแนะนำ ดังนี้
ลูกมีนิสัยก้าวร้าว เอาแต่ใจ อาจเป็นเพราะเขาต้องการพื้นที่ส่วนตัวหรือการแสดงตัวตนมากขึ้นในโลกของเขา เด็กในช่วงวัย 2 ขวบถึง 3 ขวบมักจะเริ่มรู้สึกว่าเขามีสิทธิ์ในสิ่งที่เขาต้องการ และเริ่มมีอิสระในการตัดสินใจ
พฤติกรรมก้าวร้าวจึงอาจเกิดขึ้นเมื่อเขารู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมสิ่งแวดล้อมหรือความรู้สึกของตัวเองได้ ดังนั้น เมื่อคุณพ่อคุณแม่เข้าใจถึงปัจจัยดังกล่าวก็จะสามารถรับมือกับเด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าวได้อย่างเหมาะสม วิธีรับมือกับพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กที่ต้องการพื้นที่ส่วนตัว คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ ดังนี้
พฤติกรรมก้าวร้าวในเด็ก เป็นเรื่องที่พ่อแม่หลายคนกังวลใจ และอาจไม่รู้ว่าควรจะรับมืออย่างไร หากพฤติกรรมก้าวร้าวของลูกน้อยมีความรุนแรงมากขึ้น หรือไม่ตอบสนองต่อวิธีการแก้ไขปัญหาทั่วไป หรือสังเกตจากพฤติกรรมดังต่อไปนี้
หากพ่อแม่ไม่สามารถจัดการกับพฤติกรรมเหล่านี้ได้ด้วยตนเอง การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่น จิตแพทย์เด็ก หรือนักจิตวิทยาเด็กก็เป็นทางเลือกที่ดีค่ะ เนื่องจากสามารถให้คำแนะนำในการแก้ไขพฤติกรรมเด็กก้าวร้าวและแนะนำวิธีการอบรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของลูกแต่ละคน
อยากให้ลูกมีพัฒนาการสมองดี ต้องเลือกเอนฟาโกรที่มี MFGM มีหลากหลายสูตรเพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูก เพราะเด็กทุกคนต่างกัน
ในช่วงอายุ 1 ขวบ อารมณ์ของลูกอาจค่อนข้างรุนแรงเนื่องจากเขายังไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ดี วิธีการสอนลูกในช่วงนี้คือการใช้วิธีการที่อดทนและมีความยืดหยุ่น เช่น พูดคุยอธิบายให้ลูกเข้าใจ และให้รางวัลเมื่อเขาทำสิ่งดีๆ
เด็กวัย 2 ขวบมักมีความเป็นตัวของตัวเองสูงและอยากแสดงออกว่าเขามีความคิดของตัวเอง พ่อแม่ควรใช้การสอนโดยการทำให้เขาเข้าใจว่าความต้องการของตัวเองสามารถพูดได้โดยไม่ต้องแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว
เด็ก 3 ขวบเริ่มเข้าสู่ช่วงการเรียนรู้ทักษะทางสังคมและการควบคุมอารมณ์ การสอนให้ลูกๆ รู้จักรับผิดชอบและทำตามคำสั่งอย่างใจเย็นเป็นสิ่งสำคัญ พ่อแม่ควรเริ่มต้นให้ลูกเรียนรู้การควบคุมอารมณ์และเรียนรู้การอยู่ร่วมกับคนอื่น พ่อแม่สามารถช่วยลูกได้โดยการกำหนดกฎระเบียบที่ชัดเจน ให้รางวัลเมื่อทำตามกฎ หรือ สร้างกิจวัตรประจำวันที่แน่นอน ก็จะค่อยๆ ช่วยให้ลูกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในที่สุดค่ะ
Enfa สรุปให้ พฤติกรรมลูกดื้อต่อต้าน เป็นเรื่องปกติที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในช่วงวัยที่เด็กเริ่มมีคว...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ เซลล์สมอง คือ หน่วยพื้นฐานที่สำคัญที่สุดในสมองที่ช่วยให้สมองทำงานได้ตามปกติ มีหน้าท...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ หนึ่งใน 10 ลักษณะคนไอคิวต่ำที่สำคัญนั่นก็คือ การมีค่าเฉลี่ยไอคิวต่ำกว่ามาตรฐาน โดยต...
อ่านต่อ