นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เอนฟาสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนไปจนถึง 2 ปี หรือนานกว่าตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

CQ คืออะไร Creative Thinking สำคัญต่อลูกอย่างไร

Enfa สรุปให้

  • CQ หรือ Creative Quotient หมายถึงความฉลาดในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยเป็นการผสมผสานระหว่างความคิดเชิงวิเคราะห์และความคิดเชิงนวัตกรรม เพื่อสร้างวิธีแก้ปัญหาใหม่ ๆ หรือแนวคิดที่ไม่เหมือนใคร
  • CQ แตกต่างจาก IQ ซึ่งวัดความฉลาดด้านการวิเคราะห์ และ EQ ที่วัดความฉลาดทางอารมณ์ โดย CQ มุ่งเน้นไปที่ศักยภาพในการสร้างแนวคิดใหม่และการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน เช่น การคิดนอกกรอบ การยืดหยุ่นทางความคิด
  • Creative Thinking คือ การคิดเชิงสร้างสรรค์ หมายถึงกระบวนการคิดที่มีเป้าหมายในการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ วิธีแก้ปัญหาหรือมุมมองที่แตกต่างจากปกติ หรือวิธีการแก้ปัญหาที่ไม่เคยมีมาก่อน

เลือกอ่านตามหัวข้อ

ยุคปัจจุบันนี้ การคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative Thinking) กลายเป็นทักษะสำคัญที่ทุกคนควรมี เพราะไม่ว่าจะเป็นชีวิตส่วนตัว การเรียน หรือการทำงาน ความคิดสร้างสรรค์จะช่วยให้เราสามารถมองเห็นโอกาสใหม่ ๆ และคิดนอกกรอบได้มากขึ้น

บทความนี้ Enfa จะพาคุณพ่อคุณแม่มารู้จักกับ CQ หรือ Creative Quotient ซึ่งเป็นความฉลาดในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มาหาคำตอบพร้อมกันว่า CQ คืออะไร สำคัญต่อพัฒนาการสมองของลูกน้อยอย่างไร และพ่อแม่จะส่งเสริม CQ ให้ลูกได้อย่างไรบ้าง

 

CQ คืออะไร

CQ หรือ Creative Quotient หมายถึงความฉลาดในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดย CQ คือ การผสมผสานระหว่างความคิดเชิงวิเคราะห์และความคิดเชิงนวัตกรรม เพื่อสร้างวิธีแก้ปัญหาใหม่ ๆ หรือแนวคิดที่ไม่เหมือนใคร

CQ แตกต่างจาก IQ ซึ่งวัดความฉลาดด้านการวิเคราะห์ และ EQ ที่วัดความฉลาดทางอารมณ์ โดย CQ มุ่งเน้นไปที่ศักยภาพในการสร้างแนวคิดใหม่และการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้

  • ความยืดหยุ่นทางความคิด คือ ความสามารถในการปรับเปลี่ยนมุมมองและวิธีคิดเมื่อเผชิญกับปัญหาหรือโอกาสใหม่ ๆ
  • ความคิดนอกกรอบ คือ การมองหาวิธีแก้ปัญหาที่ไม่ธรรมดาและสร้างสรรค์
  • ความอยากรู้อยากเห็น คือ ความกระหายในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและแนวคิดใหม่
  • ความมุ่งมั่นในการทดลอง คือ ความเต็มใจที่จะลองผิดลองถูกเพื่อค้นหาวิธีที่ดีที่สุด

CQ ไม่ได้เป็นเพียงพรสวรรค์ที่มีติดตัวมาแต่กำเนิด แต่เป็นทักษะที่สามารถพัฒนาได้ผ่านการฝึกฝนและประสบการณ์ การพัฒนา CQ ให้ลูก จึงเป็นการเพิ่มศักยภาพในการเผชิญกับความท้าทายของโลกยุคใหม่ในอนาคตของลูกน้อยซึ่งมีประโยชน์อย่างมาก

 

Creative Thinking คืออะไร

Creative Thinking คือ การคิดเชิงสร้างสรรค์ หมายถึงกระบวนการคิดที่มีเป้าหมายในการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ วิธีแก้ปัญหาหรือมุมมองที่แตกต่างจากปกติ หรือวิธีการแก้ปัญหาที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยความคิดสร้างสรรค์ไม่ได้จำกัดอยู่ในงานศิลปะหรือการออกแบบเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมทุกด้านของชีวิต เช่น การแก้ปัญหาในชีวิต การพัฒนานวัตกรรม หรือการปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันให้ดีขึ้น

Creative Thinking มีองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างศักยภาพในกระบวนการคิด คือ ความยืดหยุ่นทางความคิด ความคิดริเริ่ม ความช่างสังเกตและรู้จักการใช้จินตนาการ การคิดเชิงวิเคราะห์หรือความสามารถในการเชื่อมโยงแนวคิดจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อสร้างสิ่งใหม่ และที่สำคัญคือความอยากรู้อยากเห็น หากพ่อแม่สามารถเสริมสร้างทักษะ Creative Thinking ให้ลูกน้อยได้ พวกเขาจะเติบโตอย่างมีความยืดหยุ่นทางความคิด สามารถจัดการเรื่องยากในชีวิตได้ง่ายขึ้นได้ด้วย

CQ (Creative Quotient) และ Creative Thinking มีบทบาทสำคัญในการสะท้อนความสามารถของบุคคลในการคิดอย่างสร้างสรรค์ แต่จะแตกต่างกับ IQ หรือทักษะด้านตรรกะและความเข้าใจ เช่น หากลูกเจอปัญหาแบบเดียวกัน คนที่มี IQ สูงอาจใช้วิธีแก้ที่รวดเร็วและแม่นยำ แต่คนที่มี CQ สูงจะสามารถหาวิธีแก้หลายรูปแบบที่อาจไม่เคยมีมาก่อน

 

Creativity Quotient สามารถวัดผลได้อย่างไร

ความคิดสร้างสรรค์วัดกันได้จริงหรือ ความจริงแล้ว Creativity Quotient สามารถวัดผลได้ผ่านแบบทดสอบหรือกระบวนการต่าง ๆ ที่ออกแบบมาเฉพาะ โดยทั่วไปมีหลายวิธีที่เป็นที่รู้จักกันดี ดังนี้

1. Torrance Tests of Creative Thinking (TTCT)

เครื่องมือวัดความคิดสร้างสรรค์ที่พัฒนาโดย E. Paul Torrance นักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงในด้านการศึกษาความคิดสร้างสรรค์ในช่วงปี 1966 เป็นแบบทดสอบการวัด CQ ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยมีการทดสอบผ่านกิจกรรม เช่น การวาดภาพ การเขียนเรื่องราว หรือการสร้างวิธีแก้ปัญหา สามารถใช้ประเมินความคิดสร้างสรรค์ในเด็กและผู้ใหญ่ การวิจัยด้านการศึกษา ตลอดจนการค้นหาบุคคลที่มีความสามารถพิเศษ

2. Guilford's Alternative Uses Task (AUT)

เครื่องมือวัดความคิดสร้างสรรค์ที่พัฒนาโดย J.P. Guilford ในปี 1967 เพื่อประเมิน divergent thinking (ความคิดเชิงแตกแขนง) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ โดย AUT ถูกออกแบบมาเพื่อทดสอบความสามารถในการคิดหาวิธีการหรือคำตอบที่หลากหลายสำหรับปัญหาหนึ่ง ๆ เช่น แบบทดสอบที่ให้ผู้เข้าร่วมระบุการใช้งานทางเลือกของวัตถุธรรมดา เช่น อิฐ หรือคลิปหนีบกระดาษ ว่าสามารถใช้ทำอะไรได้บ้าง

3. Remote Associates Test (RAT)

เครื่องมือวัดความคิดสร้างสรรค์ที่พัฒนาโดย Sarnoff Mednick ในปี 1962 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความสามารถใน associative thinking หรือการเชื่อมโยงแนวคิดที่ห่างไกลกัน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของความคิดเชิงรวม เช่น แบบทดสอบที่ให้ผู้เข้าร่วมต้องหาคำที่เชื่อมโยงคำ 3 คำเข้าด้วยกัน เช่นคำที่กำหนดให้คือ  น้ำตาล - สี – ทราย คำตอบคือ ขาว มาจากน้ำตาลขาว สีขาว ทรายขาว เป็นต้น (หากใครนึกไม่ออกลองนึกถึงรายการคำต้องเชื่อม ช่องเทพลีลาค่ะ)

4. Self-Assessment Tools

วิธีการหรือเครื่องมือที่ช่วยให้บุคคลสามารถประเมินความสามารถ คุณลักษณะ หรือพฤติกรรมของตนเองได้โดยตรง ช่วยสร้างความตระหนักรู้ในตัวเอง และสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาตนเองหรือปรับปรุงด้านต่าง ๆ ได้ เช่น

  • การประเมินบุคลิกภาพ เช่น แบบทดสอบ MBTI
  • การประเมินทักษะ เช่น การแก้ปัญหา การทำงานเป็นทีม หรือทักษะการสื่อสาร
  • การประเมินความสนใจ เช่น การค้นหาอาชีพที่เหมาะสมกับความสนใจ
  • การประเมินพฤติกรรม เช่น การประเมิน EQ (Emotional Quotient) หรือ CQ (Creativity Quotient)
  • การประเมินเป้าหมายด้านสุขภาพและไลฟ์สไตล์ เช่น การวิเคราะห์นิสัยการออกกำลังกายหรือการจัดการเวลา

5. Behavioral Observation

การสังเกตพฤติกรรมในสถานการณ์ที่ต้องการความคิดสร้างสรรค์ เช่น การทำงานเป็นทีม การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรม การตอบสนองต่อสิ่งเร้า หรือปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมดังกล่าว โดยใช้บันทึกหรือรายงานของบุคคลอื่น เช่น ผู้ปกครองหรือครู

6. การวัดผ่านกิจกรรมที่เน้นความคิดสร้างสรรค์

ผ่านกิจกรรมการออกแบบหรือสร้างสิ่งของ เช่น สร้างผลงานจากวัสดุเหลือใช้ กิจกรรมการเล่าเรื่องเพื่อวัดความสามารถในการสร้างเนื้อเรื่องที่น่าสนใจและแปลกใหม่ หรือการแก้ปัญหาในสถานการณ์สมมติเพื่อดูวิธีการที่แตกต่างในการหาทางออก เป็นต้น

การวัดผล Creativity Quotient อาจใช้หลายวิธีร่วมกัน เพื่อประสิทธิภาพและเพื่อประเมิน Creativity Quotient ในหลายมิติได้อย่างครอบคลุมนั่นเอง

Creativity Quotient กับพัฒนาการสมองของลูกน้อย

CQ หรือ Creativity Quotient เป็นตัวชี้วัดความคิดสร้างสรรค์ของบุคคล ซึ่งมีความสำคัญต่อพัฒนาการของสมองในเด็ก เพราะการคิดสร้างสรรค์ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองในหลากหลายด้าน ส่งผลโดยตรงต่อการเรียนรู้และการพัฒนาทักษะต่าง ๆ ของลูกน้อย

Creativity Quotient กับพัฒนาการสมองของลูกน้อย จึงเป็นการกระตุ้นการทำงานของสมองสองซีก โดยสมองซีกซ้ายพัฒนาความคิดเชิงตรรกะและการวิเคราะห์ และสมองซีกขวาส่งเสริมจินตนาการและการสร้างไอเดียใหม่ ๆ การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ช่วยให้สมองทั้งสองซีกทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

คุณพ่อคุณแม่จะส่งเสริม CQ ให้ลูกได้อย่างไรบ้าง

คุณพ่อคุณแม่จะส่งเสริม CQ ให้ลูกได้ผ่านการเล่นหรือทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ และเสริมสร้างการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา โดยกิจกรรมส่งเสริม CQ เพื่อพัฒนาสมองของลูกน้อยมีด้วยกันหลากหลายวิธี ดังนี้

1. สนับสนุนการเล่นอย่างสร้างสรรค์ เช่น ต่อบล็อก หรือตกแต่งของเล่น เล่นเป็นหมอ เชฟ หรือนักสำรวจ หรือ เลือกของเล่นที่เปิดโอกาสให้ลูกใช้จินตนาการ เช่น ดินน้ำมัน บล็อกไม้ หรือชุดวาดภาพ
2. ส่งเสริมการตั้งคำถาม รับฟังและกระตุ้นให้ลูกถามในสิ่งที่สงสัยและช่วยกันหาคำตอบอย่างสร้างสรรค์ที่กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น
3. สร้างพื้นที่แห่งจินตนาการ เช่น จัดมุมสำหรับวาดรูป ระบายสี หรือประดิษฐ์งานฝีมือ หรือพื้นที่เล่นสร้างสรรค์ เช่น บ้านต้นไม้ หรือพื้นที่กลางแจ้งที่ปลอดภัย
4. ฝึกอ่านและเล่าเรื่อง โดยเลือกหนังสือที่มีภาพประกอบสวยงามและกระตุ้นจินตนาการ หรือลองชวนลูกช่วยแต่งนิทานหรือเล่าเรื่องที่เกิดจากจินตนาการ
5. ให้กำลังใจและเปิดรับไอเดียใหม่ ๆ แม้ไอเดียนั้นจะดูแปลกใหม่หรือไม่สมเหตุสมผล
6. ใช้กิจกรรมในชีวิตประจำวันให้เป็นประโยชน์ เช่น ให้ลูกช่วยตกแต่งจานอาหารหรือสร้างเมนูแปลกใหม่ เปลี่ยนงานบ้านให้เป็นเกม เช่น การจัดของเล่นเป็นรูปทรงต่าง ๆ
7. สนับสนุนให้ลูกเรียนรู้จากความล้มเหลว ให้ลูกลองผิดลองถูก ไม่ควรตำหนิเมื่อไอเดียไม่สำเร็จ แต่ช่วยให้ลูกมองหาแนวทางใหม่
8. พาออกไปสำรวจโลกกว้าง เช่น เดินเล่นในสวน ไปเที่ยวชมธรรมชาติ หรือเที่ยวพิพิธภัณฑ์
9. ใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชันการเรียนรู้ เช่น แอปวาดรูป เกมต่อบล็อก หรือเกมที่ฝึกการแก้ปัญหา หรือลองให้ลูกฝึกสร้างผลงานตัวเอง เช่น ภาพถ่าย วิดีโอ
10. เป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูก ด้วยการแสดงความคิดสร้างสรรค์ สนับสนุนการคิดนอกกรอบและทดลองสิ่งใหม่ ๆ

การส่งเสริม CQ ให้ลูกน้อย นอกจากช่วยพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา เสริมสร้างความมั่นใจ ปลูกฝังความคิดเชิงบวกแล้ว ยังเพิ่มความสามารถในการปรับตัวให้ลูกน้อยเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตอีกด้วย

 

MFGM สารอาหารในนมแม่เพื่อ IQ และทักษะจัดการสมอง EF ที่เหนือกว่า

MFGM สุดยอดสารอาหารสมองจากนมแม่ สารอาหารชนิดเดียวที่ช่วยให้ลูกมี IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 แรก ประกอบไปด้วยโปรตีนและไขมันกว่า 150 ชนิด เช่น สฟิงโกไมอีลิน ฟอสโฟลิปิด แกงกลิโอไซต์ ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีส่วนช่วยสำคัญต่อการเสริมสร้างพัฒนาการด้านสมองและการเรียนรู้ ให้ลูกได้มีทักษะจัดการสมอง EF ที่เหนือกว่า



บทความแนะนำสำหรับคุณแม่และลูกน้อย

* นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก
Enfa Smart Club สนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่าง
เดียวอย่างน้อย 6 เดือนและให้นมแม่ควบคู่อาหารตามวัยอีก 2 ปี หรือนานกว่านั้น ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO)
Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

คุณกำลังเข้าถึงเนื้อหาจากผู้ให้บริการภายนอกเกี่ยวกับการซื้อหรือ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท มี้ด จอห์นสัน นิวทริชัน (ประเทศไทย) จำกัด​

กรุณากดยืนยันเพื่อดำเนินการต่อ

Line TH
Shopee TH Lazada TH Join Enfamama