Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
ยุคปัจจุบันนี้ การคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative Thinking) กลายเป็นทักษะสำคัญที่ทุกคนควรมี เพราะไม่ว่าจะเป็นชีวิตส่วนตัว การเรียน หรือการทำงาน ความคิดสร้างสรรค์จะช่วยให้เราสามารถมองเห็นโอกาสใหม่ ๆ และคิดนอกกรอบได้มากขึ้น
บทความนี้ Enfa จะพาคุณพ่อคุณแม่มารู้จักกับ CQ หรือ Creative Quotient ซึ่งเป็นความฉลาดในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มาหาคำตอบพร้อมกันว่า CQ คืออะไร สำคัญต่อพัฒนาการสมองของลูกน้อยอย่างไร และพ่อแม่จะส่งเสริม CQ ให้ลูกได้อย่างไรบ้าง
CQ หรือ Creative Quotient หมายถึงความฉลาดในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดย CQ คือ การผสมผสานระหว่างความคิดเชิงวิเคราะห์และความคิดเชิงนวัตกรรม เพื่อสร้างวิธีแก้ปัญหาใหม่ ๆ หรือแนวคิดที่ไม่เหมือนใคร
CQ แตกต่างจาก IQ ซึ่งวัดความฉลาดด้านการวิเคราะห์ และ EQ ที่วัดความฉลาดทางอารมณ์ โดย CQ มุ่งเน้นไปที่ศักยภาพในการสร้างแนวคิดใหม่และการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้
CQ ไม่ได้เป็นเพียงพรสวรรค์ที่มีติดตัวมาแต่กำเนิด แต่เป็นทักษะที่สามารถพัฒนาได้ผ่านการฝึกฝนและประสบการณ์ การพัฒนา CQ ให้ลูก จึงเป็นการเพิ่มศักยภาพในการเผชิญกับความท้าทายของโลกยุคใหม่ในอนาคตของลูกน้อยซึ่งมีประโยชน์อย่างมาก
Creative Thinking คือ การคิดเชิงสร้างสรรค์ หมายถึงกระบวนการคิดที่มีเป้าหมายในการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ วิธีแก้ปัญหาหรือมุมมองที่แตกต่างจากปกติ หรือวิธีการแก้ปัญหาที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยความคิดสร้างสรรค์ไม่ได้จำกัดอยู่ในงานศิลปะหรือการออกแบบเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมทุกด้านของชีวิต เช่น การแก้ปัญหาในชีวิต การพัฒนานวัตกรรม หรือการปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันให้ดีขึ้น
Creative Thinking มีองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างศักยภาพในกระบวนการคิด คือ ความยืดหยุ่นทางความคิด ความคิดริเริ่ม ความช่างสังเกตและรู้จักการใช้จินตนาการ การคิดเชิงวิเคราะห์หรือความสามารถในการเชื่อมโยงแนวคิดจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อสร้างสิ่งใหม่ และที่สำคัญคือความอยากรู้อยากเห็น หากพ่อแม่สามารถเสริมสร้างทักษะ Creative Thinking ให้ลูกน้อยได้ พวกเขาจะเติบโตอย่างมีความยืดหยุ่นทางความคิด สามารถจัดการเรื่องยากในชีวิตได้ง่ายขึ้นได้ด้วย
CQ (Creative Quotient) และ Creative Thinking มีบทบาทสำคัญในการสะท้อนความสามารถของบุคคลในการคิดอย่างสร้างสรรค์ แต่จะแตกต่างกับ IQ หรือทักษะด้านตรรกะและความเข้าใจ เช่น หากลูกเจอปัญหาแบบเดียวกัน คนที่มี IQ สูงอาจใช้วิธีแก้ที่รวดเร็วและแม่นยำ แต่คนที่มี CQ สูงจะสามารถหาวิธีแก้หลายรูปแบบที่อาจไม่เคยมีมาก่อน
ความคิดสร้างสรรค์วัดกันได้จริงหรือ ความจริงแล้ว Creativity Quotient สามารถวัดผลได้ผ่านแบบทดสอบหรือกระบวนการต่าง ๆ ที่ออกแบบมาเฉพาะ โดยทั่วไปมีหลายวิธีที่เป็นที่รู้จักกันดี ดังนี้
เครื่องมือวัดความคิดสร้างสรรค์ที่พัฒนาโดย E. Paul Torrance นักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงในด้านการศึกษาความคิดสร้างสรรค์ในช่วงปี 1966 เป็นแบบทดสอบการวัด CQ ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยมีการทดสอบผ่านกิจกรรม เช่น การวาดภาพ การเขียนเรื่องราว หรือการสร้างวิธีแก้ปัญหา สามารถใช้ประเมินความคิดสร้างสรรค์ในเด็กและผู้ใหญ่ การวิจัยด้านการศึกษา ตลอดจนการค้นหาบุคคลที่มีความสามารถพิเศษ
เครื่องมือวัดความคิดสร้างสรรค์ที่พัฒนาโดย J.P. Guilford ในปี 1967 เพื่อประเมิน divergent thinking (ความคิดเชิงแตกแขนง) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ โดย AUT ถูกออกแบบมาเพื่อทดสอบความสามารถในการคิดหาวิธีการหรือคำตอบที่หลากหลายสำหรับปัญหาหนึ่ง ๆ เช่น แบบทดสอบที่ให้ผู้เข้าร่วมระบุการใช้งานทางเลือกของวัตถุธรรมดา เช่น อิฐ หรือคลิปหนีบกระดาษ ว่าสามารถใช้ทำอะไรได้บ้าง
เครื่องมือวัดความคิดสร้างสรรค์ที่พัฒนาโดย Sarnoff Mednick ในปี 1962 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความสามารถใน associative thinking หรือการเชื่อมโยงแนวคิดที่ห่างไกลกัน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของความคิดเชิงรวม เช่น แบบทดสอบที่ให้ผู้เข้าร่วมต้องหาคำที่เชื่อมโยงคำ 3 คำเข้าด้วยกัน เช่นคำที่กำหนดให้คือ น้ำตาล - สี – ทราย คำตอบคือ ขาว มาจากน้ำตาลขาว สีขาว ทรายขาว เป็นต้น (หากใครนึกไม่ออกลองนึกถึงรายการคำต้องเชื่อม ช่องเทพลีลาค่ะ)
วิธีการหรือเครื่องมือที่ช่วยให้บุคคลสามารถประเมินความสามารถ คุณลักษณะ หรือพฤติกรรมของตนเองได้โดยตรง ช่วยสร้างความตระหนักรู้ในตัวเอง และสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาตนเองหรือปรับปรุงด้านต่าง ๆ ได้ เช่น
การสังเกตพฤติกรรมในสถานการณ์ที่ต้องการความคิดสร้างสรรค์ เช่น การทำงานเป็นทีม การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรม การตอบสนองต่อสิ่งเร้า หรือปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมดังกล่าว โดยใช้บันทึกหรือรายงานของบุคคลอื่น เช่น ผู้ปกครองหรือครู
ผ่านกิจกรรมการออกแบบหรือสร้างสิ่งของ เช่น สร้างผลงานจากวัสดุเหลือใช้ กิจกรรมการเล่าเรื่องเพื่อวัดความสามารถในการสร้างเนื้อเรื่องที่น่าสนใจและแปลกใหม่ หรือการแก้ปัญหาในสถานการณ์สมมติเพื่อดูวิธีการที่แตกต่างในการหาทางออก เป็นต้น
การวัดผล Creativity Quotient อาจใช้หลายวิธีร่วมกัน เพื่อประสิทธิภาพและเพื่อประเมิน Creativity Quotient ในหลายมิติได้อย่างครอบคลุมนั่นเอง
CQ หรือ Creativity Quotient เป็นตัวชี้วัดความคิดสร้างสรรค์ของบุคคล ซึ่งมีความสำคัญต่อพัฒนาการของสมองในเด็ก เพราะการคิดสร้างสรรค์ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองในหลากหลายด้าน ส่งผลโดยตรงต่อการเรียนรู้และการพัฒนาทักษะต่าง ๆ ของลูกน้อย
Creativity Quotient กับพัฒนาการสมองของลูกน้อย จึงเป็นการกระตุ้นการทำงานของสมองสองซีก โดยสมองซีกซ้ายพัฒนาความคิดเชิงตรรกะและการวิเคราะห์ และสมองซีกขวาส่งเสริมจินตนาการและการสร้างไอเดียใหม่ ๆ การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ช่วยให้สมองทั้งสองซีกทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
คุณพ่อคุณแม่จะส่งเสริม CQ ให้ลูกได้ผ่านการเล่นหรือทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ และเสริมสร้างการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา โดยกิจกรรมส่งเสริม CQ เพื่อพัฒนาสมองของลูกน้อยมีด้วยกันหลากหลายวิธี ดังนี้
1. สนับสนุนการเล่นอย่างสร้างสรรค์ เช่น ต่อบล็อก หรือตกแต่งของเล่น เล่นเป็นหมอ เชฟ
หรือนักสำรวจ หรือ เลือกของเล่นที่เปิดโอกาสให้ลูกใช้จินตนาการ เช่น ดินน้ำมัน บล็อกไม้ หรือชุดวาดภาพ
2.
ส่งเสริมการตั้งคำถาม รับฟังและกระตุ้นให้ลูกถามในสิ่งที่สงสัยและช่วยกันหาคำตอบอย่างสร้างสรรค์ที่กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น
3.
สร้างพื้นที่แห่งจินตนาการ เช่น จัดมุมสำหรับวาดรูป ระบายสี หรือประดิษฐ์งานฝีมือ
หรือพื้นที่เล่นสร้างสรรค์ เช่น บ้านต้นไม้ หรือพื้นที่กลางแจ้งที่ปลอดภัย
4.
ฝึกอ่านและเล่าเรื่อง โดยเลือกหนังสือที่มีภาพประกอบสวยงามและกระตุ้นจินตนาการ
หรือลองชวนลูกช่วยแต่งนิทานหรือเล่าเรื่องที่เกิดจากจินตนาการ
5. ให้กำลังใจและเปิดรับไอเดียใหม่
ๆ แม้ไอเดียนั้นจะดูแปลกใหม่หรือไม่สมเหตุสมผล
6.
ใช้กิจกรรมในชีวิตประจำวันให้เป็นประโยชน์ เช่น
ให้ลูกช่วยตกแต่งจานอาหารหรือสร้างเมนูแปลกใหม่ เปลี่ยนงานบ้านให้เป็นเกม เช่น การจัดของเล่นเป็นรูปทรงต่าง
ๆ
7. สนับสนุนให้ลูกเรียนรู้จากความล้มเหลว ให้ลูกลองผิดลองถูก
ไม่ควรตำหนิเมื่อไอเดียไม่สำเร็จ แต่ช่วยให้ลูกมองหาแนวทางใหม่
8.
พาออกไปสำรวจโลกกว้าง เช่น เดินเล่นในสวน ไปเที่ยวชมธรรมชาติ
หรือเที่ยวพิพิธภัณฑ์
9.
ใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชันการเรียนรู้ เช่น แอปวาดรูป
เกมต่อบล็อก หรือเกมที่ฝึกการแก้ปัญหา หรือลองให้ลูกฝึกสร้างผลงานตัวเอง เช่น ภาพถ่าย วิดีโอ
10.
เป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูก ด้วยการแสดงความคิดสร้างสรรค์
สนับสนุนการคิดนอกกรอบและทดลองสิ่งใหม่ ๆ
การส่งเสริม CQ ให้ลูกน้อย นอกจากช่วยพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา เสริมสร้างความมั่นใจ ปลูกฝังความคิดเชิงบวกแล้ว ยังเพิ่มความสามารถในการปรับตัวให้ลูกน้อยเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตอีกด้วย
MFGM สุดยอดสารอาหารสมองจากนมแม่ สารอาหารชนิดเดียวที่ช่วยให้ลูกมี IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 แรก ประกอบไปด้วยโปรตีนและไขมันกว่า 150 ชนิด เช่น สฟิงโกไมอีลิน ฟอสโฟลิปิด แกงกลิโอไซต์ ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีส่วนช่วยสำคัญต่อการเสริมสร้างพัฒนาการด้านสมองและการเรียนรู้ ให้ลูกได้มีทักษะจัดการสมอง EF ที่เหนือกว่า
Enfa สรุปให้ พฤติกรรมลูกดื้อต่อต้าน เป็นเรื่องปกติที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในช่วงวัยที่เด็กเริ่มมีคว...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ เซลล์สมอง คือ หน่วยพื้นฐานที่สำคัญที่สุดในสมองที่ช่วยให้สมองทำงานได้ตามปกติ มีหน้าท...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ หนึ่งใน 10 ลักษณะคนไอคิวต่ำที่สำคัญนั่นก็คือ การมีค่าเฉลี่ยไอคิวต่ำกว่ามาตรฐาน โดยต...
อ่านต่อ