Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
เด็ก กับ พฤติกรรมเลียนแบบ ถือเป็นของคู่กันและเป็นหนึ่งในพัฒนาการที่สมวัยอีกด้วย อย่างไรก็ตาม การเลียนแบบนี้ หากไม่ดูแลและให้คำแนะนำที่ถูกต้องกับลูก อาจทำให้ลูกซึมซับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และเลียนแบบจนติดเป็นนิสัยเพราะเข้าใจว่าเป็นเรื่องปกติ
แต่ถ้าลูกได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ได้รับการอบรมอย่างดี ก็จะส่งผลให้ลูกเติบโตมาด้วยพฤติกรรมที่สมวัย บทความนี้จาก Enfa มีสาระน่ารู้เกี่ยวกับพฤติกกรรมเลียนแบบในลูกน้อยพร้อมวิธีรับมือเมื่อลูกน้อยเริ่มทำการเลียนแบบพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ไม่เหมาะสมมาฝากค่ะ
พฤติกรรมเลียนแบบ คือ กระบวนการเรียนรู้ตามธรรมชาติอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการสังเกตเห็นจากบุคคลใกล้ชิด สื่อที่ได้รับชมเป็นประจำ เกิดจากการอ่าน หรือเกิดจากการเสพพฤติกรรมจากบุคคลที่ชื่นชอบ ซึ่งเมื่อได้พบเจอสิ่งเหล่านี้บ่อยเข้า ก็จะเกิดพฤติกรรมการเลียนแบบ เริ่มที่จะทำท่าทางตาม เลียนแบบน้ำเสียง เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต หรือแม้กระทั่งการเริ่มมีความคิดและความเชื่อแบบเดียวกันตามไปด้วย
อย่างไรก็ตาม สำหรับเด็กนั้นพฤติกรรมการเลียนแบบถือเป็นเรื่องปกติมาก และถือเป็นขั้นบันไดของการมีพัฒนาการที่สมวัยของเด็ก ๆ อีกด้วย สิ่งสำคัญคือคุณพ่อคุณแม่จะต้องหมั่นสังเกตด้วยว่าพฤติกรรมเลียนแบบที่ลูกกำลังทำอยู่นั้นเหมาะสมหรือไม่ ลูกเข้าใจจริง ๆ หรือไม่ว่าสิ่งนั้นคืออะไร คุณพ่อคุณแม่ควรแนะนำ ตักเตือนด้วยเหตุและผล เมื่อเห็นว่าลูกมีพฤติกรรมเลียนแบบที่ไม่เหมาะสม เพราะถ้าหากปล่อยไว้ลูกอาจจะติดพฤติกรรมนั้นและอาจจะกลายเป็นนิสัยได้
ในทางจิตวิยานั้น พฤติกรรมลอกเลียนแบบในเด็กถือเป็นเรื่องปกติมาก ๆ เพราะเด็กเล็กจะเริ่มเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ผ่านการเลียนแบบจากผู้ใหญ่ แต่ก็ไม่ใช่ว่าเด็กจะเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่ทุกคน แต่จะเลือกเลียนแบบจากผู้ใหญ่ที่พบเห็นเป็นประจำ รู้สึกคุ้นเคย และไว้วางใจมากกว่าจะเลียนแบบพฤติกรรมจากผู้ใหญ่ที่ไม่รู้สึกคุ้นเคย
ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องระมัดระวังพฤติกรรมที่แสดงออกให้ลูกพบเห็นเป็นประจำ บางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจจะตำหนิลูกเมื่อตอนที่ลูกโตว่าทำไมไม่ค่อยมีเหตุผลเลย และลืมไปว่าในตอนที่ลูกยังเล็กนั้น พ่อกับแม่อาจมีพฤติกรรมการแสดงออกที่ไม่มีเหตุผลกับลูก ทำให้ลูกซึมซับเอาพฤติกรรมเหล่านั้นติดตัวมาจนเป็นนิสัยไปโดยปริยายได้
ในทางกลับกัน หากคุณพ่อคุณแม่แสดงออกถึงพฤติกรรมที่เหมาะสม เพื่อหวังให้ลูกเลียนแบบพฤติกรรมด้านดีของคุณพ่อคุณแม่ เช่น
พฤติกรรมของพ่อแม่ที่ลูกพบเห็นเป็นประจำ จะทำให้ลูกซึมซับ เลียนแบบ หากคุณพ่อคุณแม่สอนให้ลูกรู้จักการใช้เหตุผล ลูกก็จะโตมาเป็นเด็กที่แสดงความรู้สึกของตนเองออกมาด้วยเหตุและผลอย่างเหมาะสม และรู้เท่าทันอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง
หากคุณพ่อคุณแม่ให้ความสำคัญกับการชมเชยลูกเวลาที่ทำดี ทำตัวน่ารัก โดยไม่กลัวว่าจะทำให้ลูกเหลิง ก็จะช่วยให้ลูกเติบโตมาด้วยความรักเต็มเปี่ยม เห็นคุณค่าในตนเอง และภูมิใจในตนเอง
อย่างไรก็ตาม ตอนเด็กลูกอาจเลียนแบบพฤติกรรมของคนใกล้ชิด เพราะได้พบเจอกับพฤติกรรมเหล่านั้นเป็นประจำ แต่เมื่อโตขึ้นเด็ก ๆ ก็จะเริ่มมีความชอบเป็นของตัวเอง มีแนวทางที่คลั่งไคล้ และสร้างพฤติกรรมที่เป็นแบบเฉพาะของตัวเองผ่านกระบวนการเรียนรู้และการเสพสิ่งต่าง ๆ ที่หลากหลายตามความสนใจมากขึ้น
พฤติกรรมเลียนแบบของเด็กแต่ละคนนั้นอาจเริ่มต่างกัน แต่จะอยู่ในช่วงวัยระหว่าง 2-4 ขวบขึ้นไป คุณพ่อคุณแม่อาจพบว่าลูก ๆ มักชอบพูดตาม ชอบพูดคำติดปากที่คุณพ่อคุณแม่ชอบพูด หรือเลียนแบบพฤติกรรมที่คล้ายกับสมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัว หรืออาจเลียนแบบพฤติกรรมของสัตว์เลี้ยงก็เป็นไปได้เช่นกัน
ซึ่งพฤติกรรมของเด็กในวัยนี้มักจะไม่ติดเป็นนิสัยในระยะยาว เพราะเมื่อโตขึ้นลูกก็จะมีความสนใจต่อสิ่งใหม่ ๆ ไปตามวัยของเขา และก็จะเลิกเลียนแบบพฤติกรรมของพ่อกับแม่หรือคนใกล้ชิด แต่เริ่มเลียนแบบตามศิลปินที่ชอบ หรือเพื่อน ๆ ที่โรงเรียนแทน
ในปัจจุบันนี้สื่อต่าง ๆ ทั้งสื่อโทรทัศน์และสื่อโซเชียลมีเดียซึ่งในปัจจุบันมีบทบาทสำคัญต่อมนุษย์เป็นอย่างมาก เทรนด์พฤติกรรมต่าง ๆ บนโลกโซเชียลมีเดียมีหลากหลายและเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งทั้งสิ่งที่เหมาะสมและไม่เหมาะสม
หากคุณพ่อคุณแม่ให้ลูกเข้าถึงสื่อเหล่านี้เร็วเกินไป หรือไม่ได้ดูแลและให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิดในเวลาที่ลูกเสพสื่อต่าง ๆ เด็กอาจจะมีพฤติกรรมเลียนแบบในสิ่งที่ไม่เหมาะสม เพราะเข้าใจว่าสิ่งนั้นเป็นเรื่องปกติ ใคร ๆ ก็ทำกัน
ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรจะต้องรู้เท่าทันสื่อให้มาก ไม่จำเป็นต้องให้ลูกเล่นสื่อโซเชียลเร็วจนเกินไป เพราะนอกจากจะเสี่ยงต่อภาวะออทิสติกเทียมแล้ว ยังอาจเสี่ยงทำให้ลูกเกิดพฤติกรรมเลียนแบบจากสื่อที่ไม่เหมาะสมกับวัยอีกด้วย
บุคคลใกล้ชิดที่อยู่กับลูกเป็นประจำ ทั้งคุณพ่อคุณแม่ ปู่ย่า ตายาย หรือแม้แต่พี่เลี้ยง ถือว่าเป็นกลุ่มบุคคลแรก ๆ ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเลียนแบบของลูก
คุณพ่อคุณแม่อาจเคยได้ยินข่าวว่า บางครอบครัวจ้างพี่เลี้ยงจากต่างชาติ ทำให้ลูกพูดติดสำเนียงตามพี่เลี้ยงต่างชาติไปด้วย หรือเด็กเลียนแบบการพูดคำหยาบมาจากพี่ ๆ ของตัวเอง หรือเด็กอาจเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเพราะได้ยินหรือพบเห็นจากพฤติกรรมของคนอื่น ๆ หรือสื่อต่าง ๆ ที่สมาชิกในครอบครัวเสพเป็นประจำ
จะเห็นได้ว่าเด็กพร้อมที่จะลอกเลียนแบบพฤติกรรมต่าง ๆ จากทุกคนในครอบครัว จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจกับสมาชิกทุกคนในครอบครัวให้เข้าใจตรงกันว่าพฤติกรรมแบบไหนควรระวังและไม่ควรทำต่อหน้าลูก และเมื่อลูกเริ่มมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม พ่อกับแม่ควรจะต้องเริ่มให้คำแนะนำและดูแลอย่างใกล้ชิดทันที
คุณพ่อคุณแม่ควรเข้าใจก่อนว่า พฤติกรรมเลียนแบบในเด็กนั้น เป็นเรื่องที่ปกติมาก และการที่ลูกเริ่มแสดงออกถึงการเลียนแบบผู้อื่นและสิ่งต่าง ๆ ทั้งการเล่น การพูด หรือการแสดงออกท่าทางต่าง ๆ นี่ถือเป็นตัวชี้วัดการมีพัฒนาการเรียนรู้ที่สมวัยของลูกค่ะ
อย่างไรก็ตาม เด็กเล็ก ๆ นั้นยังขาดประสบการณ์ชีวิต ยังไม่รู้ว่าสิ่งใดทำได้ สิ่งใดไม่ควรพูด สิ่งใดไม่ควรทำ คุณพ่อคุณแม่ไม่จำเป็นต้องโกรธ แต่สามารถค่อย ๆ เริ่มอธิบายด้วยภาษาง่าย ๆ ให้ลูกเข้าใจได้
มากไปกว่านั้น พฤติกรรมเลียนแบบในเด็กเล็ก ๆ นั้นมักจะไม่ติดตัวจนกลายเป็นนิสัยธรรมชาติของลูก เพราะเมื่อลูกเริ่มโตขึ้นก็จะมีสิ่งอื่น ๆ อีกมากมายให้เรียนรู้และเลียนแบบได้ไม่รู้จบ สิ่งที่ลูกเคยเลียนแบบตอนเด็ก ๆ ตอนโตก็อาจจะไม่ทำอีกต่อไปแล้ว เพราะได้เสพสื่ออื่น ๆ และพฤติกรรมอื่น ๆ ที่หลากหลายไปตามความสนใจ
ในตอนที่ลูกยังเล็ก คุณพ่อคุณแม่ควรใกล้ชิดลูกให้มาก ๆ เพื่อให้ลูกรู้สึกอบอุ่น ได้สัมผัสกับความรักและความห่วงใยอย่างเต็มที่ และยิ่งทำกิจกรรมด้วยกัน ก็ยิ่งกระตุ้นการเรียนรู้ของลูกได้มากขึ้น
แต่เมื่อลูกเริ่มโต เริ่มมีมุมมองของตนเอง มีความชอบเป็นของตัวเอง คุณพ่อคุณแม่ควรลดระยะห่างลงมา เพื่อให้ลูกได้เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น เปลี่ยนจากความใกล้ชิด เป็นการพูดคุย แลกเปลี่ยนแทน เพื่อไม่ทำให้ลูกอึดอัดและต่อต้านพ่อกับแม่ เพราะการควบคุมลูกให้อยู่ในกรอบมากเกินไป จะยิ่งทำให้ลูกไม่เป็นตัวเอง และไม่สามารถเปิดใจกับพ่อแม่ได้อย่างเต็มที่ค่ะ
การดูแลให้ลูกมีพฤติกรรมการเรียนรู้ที่สมวัย ควบคู่ไปกับการเลือกโภชนาการที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ จะช่วยกระตุ้นให้เด็กมีพัฒนาการทางสมองที่ดี สามารถเรียนรู้และทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างมีศักยภาพ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต ทารกควรจะต้องได้กินนมแม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ลูกน้อยได้รับ MFGM สุดยอดสารอาหารในนมแม่หนึ่งเดียวที่มีงานวิจัยรองรับว่า* ช่วยให้มี IQ และ EF ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก ให้ลูกพร้อมกว่าเมื่อถึงวัยเข้าเรียน โดย MFGM ในนมแม่ เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างเส้นใยประสาท (Myelin Sheath) และเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณประสาทเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง ทำให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเรียนรู้และจดจำได้ดียิ่งขึ้น
*สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีและศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย. นมแม่กับการพัฒนาทักษะสมองส่วน Executive Function. 2561
Enfa สรุปให้ พฤติกรรมลูกดื้อต่อต้าน เป็นเรื่องปกติที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในช่วงวัยที่เด็กเริ่มมีคว...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ เซลล์สมอง คือ หน่วยพื้นฐานที่สำคัญที่สุดในสมองที่ช่วยให้สมองทำงานได้ตามปกติ มีหน้าท...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ หนึ่งใน 10 ลักษณะคนไอคิวต่ำที่สำคัญนั่นก็คือ การมีค่าเฉลี่ยไอคิวต่ำกว่ามาตรฐาน โดยต...
อ่านต่อ