นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เอนฟาสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนไปจนถึง 2 ปี หรือนานกว่าตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

วิธีปรับพฤติกรรมลูกต่อต้าน ความท้าทายของพ่อแม่ในการสร้างพัฒนาการลูก

Enfa สรุปให้

  • พฤติกรรมลูกดื้อต่อต้าน เป็นเรื่องปกติที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในช่วงวัยที่เด็กเริ่มมีความคิดเป็นของตัวเอง
  • วัยต่อต้าน มักเริ่มตั้งแต่ช่วงวัยอนุบาลปลายจนถึงวัยรุ่น โดยช่วงอายุที่พบพฤติกรรมต่อต้านได้ชัดเจนที่สุด คือช่วงอายุ 2-3 ปี และ 11-12 ปี
  • วิธีปรับพฤติกรรมลูกต่อต้าน ต้องอาศัยความอดทน และความเข้าใจของพ่อแม่เป็นอย่างมาก เพื่อให้ลูกผ่านพ้นช่วงเวลานี้ไปอย่างราบรื่น

เลือกอ่านตามหัวข้อ

ลูกดื้อ ไม่เชื่อฟัง เป็นปัญหาโลกแตกสำหรับพ่อแม่ หลายครอบครัวต้องเผชิญกับช่วงเวลาที่เรียกว่า "วัยต่อต้าน" อันเป็นช่วงที่ลูกน้อยต้องการแสดงออกถึงความเป็นตัวของตัวเอง และบ่อยครั้งที่ลูกแสดงพฤติกรรมต่อต้านนั้น อาจทำให้พ่อแม่รู้สึกหงุดหงิดและไม่เข้าใจ แต่ก่อนจะลงโทษหรือใช้วิธีที่รุนแรง เราควรทำความเข้าใจถึงสาเหตุและวิธีปรับพฤติกรรมลูกต่อต้าน

 

ลูกดื้อต่อต้าน อยู่หรือเปล่า เป็นอาการปกติของเด็กไหม?


พฤติกรรม ลูกดื้อต่อต้าน เป็นเรื่องปกติที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในช่วงวัยที่เด็กเริ่มมีความคิดเป็นของตัวเอง และต้องการแสดงออกถึงความเป็นอิสระ ก็จะเริ่มแสดงความเป็นตัวของตัวเอง และไม่อาจควบคุมตัวเองได้ดีพอ ยิ่งถ้าเหนื่อย หิว หงุดหงิด หรือกลัว ลูกก็ยิ่งไม่สามารถที่จะจัดการตัวเองได้ การร้องอาละวาด จึงเป็นหนทางในการปลดปล่อยอารมณ์ของเด็ก

อาการเหล่านี้ มีเรื่องการสื่อสารเป็นเหตุผลหลัก เนื่องจากเป็นข้อจำกัดของการพัฒนาการทางภาษา ที่ยังไม่สามารถจะเข้าใจพ่อแม่ได้อย่างชัดเจน หรือไม่สามารถอธิบายได้ว่าตัวเองรู้สึกอย่างไร ซึ่งโดยทั่วไป หลังจากลูกอายุ 3 ขวบ พอจะเริ่มสื่อสารอารมณ์ความต้องการได้ พฤติกรรมการอาละวาดก็จะค่อยๆ ลดลงไป นอกเสียจากความผิดปกติในตัวลูกจะทำให้พฤติกรรมดังกล่าวยังคงอยู่  

หากพฤติกรรมเหล่านี้รุนแรงและเกิดขึ้นบ่อยครั้ง อาจเป็นสัญญาณของปัญหาทางพัฒนาการ หรืออาจเป็น Oppositional Defiant Disorder (ODD) หรือโรคดื้อต่อต้าน ซึ่งเป็นโรคทางพฤติกรรมที่พบในเด็ก
 

วัยต่อต้าน คือช่วงอายุเท่าไหร่?


วัยต่อต้าน มักเริ่มตั้งแต่ช่วงวัยอนุบาลปลายจนถึงวัยรุ่น โดยช่วงอายุที่พบพฤติกรรมต่อต้านได้ชัดเจนที่สุด คือช่วงอายุ 2-3 ปี และ 11-12 ปี

ในช่วงแรก (2-3ปี) ลูกจะเริ่มทำอะไรเองได้บ้างแล้ว อาทิ เดิน วิ่ง ใช้มือหยิบจับสิ่งต่างๆ ควบคุมการขับถ่ายได้บ้าง ช่วงนี้ เด็กจะลดการพึ่งพาพ่อแม่ และเริ่มแยกออกมาเป็นตัวของตัวเอง หากห้ามไม่ให้ทำอะไร ลูกก็อาจจะสะบัดมือ หรือร้องไห้อาละวาด บ่อยครั้ง ทำให้อาจมองว่า ดื้อรั้น แต่อันที่จริงเขากำลังพัฒนาความเป็นตัวของตัวเองซึ่งเป็นพัฒนาการของเด็กตามปกติ จึงดูเหมือนต่อต้านพ่อแม่ไปโดยปริยาย

ช่วงที่สอง (11-12ปี) เด็กจะเริ่มเป็นตัวของตัวเองอีกครั้งหนึ่ง มีเหตุผลของตนเองและทำตามที่ตนคิด จากที่พ่อแม่บอกอะไรก็เชื่อ ก็จะไม่เชื่อ เริ่มต้องการอิสระ และความเป็นส่วนตัว ไม่ชอบให้พ่อแม่เข้ามาจัดการเหมือนแต่ก่อน เป็นเรื่องที่พ่อแม่ต้องเข้าใจและรับมือ มากกว่าจะสรุปว่า ลูกมีปัญหา หรือคิดว่าลูกผิดปกติ

Oppositional Defiant Disorder คืออะไร 


Oppositional Defiant Disorder (ตัวย่อ ODD) หรือโรคดื้อต่อต้าน เป็นโรคทางพฤติกรรมที่พบในเด็ก ซึ่งมีลักษณะเด่นคือ ดื้อรั้น ต่อต้าน ไม่เชื่อฟัง และก้าวร้าวต่อผู้อื่นเป็นระยะเวลานาน โดยมักจะพบโรคนี้ในเด็กที่มีอายุในช่วง 6-8 ปี และมักพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง หรือพบในวัยรุ่นไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ สาเหตุของโรคอาจเกิดจากพันธุกรรม ระบบประสาท หรือสภาพแวดล้อม เช่น การใช้ความรุนแรงภายในครอบครัว การเลี้ยงลูกผิดวิธี หรือการถูกรังแก เป็นต้น

ข้อสังเกตอาการที่เข้าข่ายเป็น โรคดื้อต่อต้าน

  1. โกรธง่าย ขี้หงุดหงิด มีความอดทนต่ำ และมักจะระเบิดอารมณ์ออกมาเมื่อรู้สึกไม่พอใจ
  2. พูดจาหยาบคาย ชอบเถียงพ่อแม่ ไม่ยอมรับฟัง หรือไม่ทำตามคำขอของผู้ปกครอง 
  3. ตั้งใจก่อกวน ก่อความรำคาญ หากรู้สึกโกรธใครจะหาทางตอบโต้ หรือกลั่นแกล้งอีกฝ่าย

หากลูกของคุณมีพฤติกรรมเหล่านี้อย่างต่อเนื่องในระยะ 6 เดือน ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง

 

วิธีปรับพฤติกรรมลูกต่อต้าน


ทำความเข้าใจสาเหตุ: พยายามหาสาเหตุที่ทำให้ลูกแสดงพฤติกรรมต่อต้าน เช่น ความเครียด การเปลี่ยนแปลงในชีวิต หรือการขาดความสนใจ
สร้างบรรยากาศที่อบอุ่น: ถ้าพ่อแม่ก็โมโห จะยิ่งทำให้สถานการณ์แย่ลง ดังนั้น การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูก สนับสนุน และให้กำลังใจลูกเสมอ กรณีที่แสดงอาการโกรธไม่รุนแรง เช่น ร้องไห้ กรีดร้อง เตะขา อาจเพิกเฉยได้ โดยยืนดูใกล้ๆ หรือจับตัวลูกไว้โดยไม่ต้องพูดอะไรจนกว่าจะสงบ ก่อนจะเบี่ยงเบนความสนใจโดยใช้คำพูดละมุละม่อม 
กำหนดกฎระเบียบที่ชัดเจน: กำหนดกฎระเบียบที่ชัดเจนและสอดคล้องกับวัยของลูก และอธิบายเหตุผลให้ลูกฟัง แต่ไม่ควรทำโทษขณะที่ลูกอาละวาดเพราะอาจเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เด็กเก็บความคับข้องใจไว้และมีปัญหาทางอารมณ์ต่อไป ให้ถือเป็นเรื่องปกติของลูกที่จะทดสอบกฎของพ่อแม่ว่าจะเอาจริงหรือไม่
ใช้การเสริมแรงเชิงบวก: ชื่นชม และให้รางวัลเมื่อลูกทำพฤติกรรมที่ดี แต่อย่าใช้รางวัลเพื่อให้ลูกหยุดพฤติกรรมรุนแรง เพราะจะทำให้เขาคิดว่าวิธีนี้ทำให้ตนเองได้ในสิ่งที่ต้องการ
หลีกเลี่ยงการลงโทษทางร่างกาย: การลงโทษทางร่างกายจะยิ่งทำให้ลูกมีความรู้สึกโกรธแค้นและต่อต้านมากขึ้น
ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ: หากพฤติกรรมของลูกไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เด็ก นักจิตวิทยาเด็ก หรือผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก
 

เลือก Enfa สูตรที่ใช่ แบรนด์เดียวที่เสริม MFGM


เลือกเอนฟาสูตรที่ใช่ แบรนด์เดียวที่เสริม MFGM อยากให้ลูกมีพัฒนาการสมองดี ต้องเลือกเอนฟาโกรที่มี MFGM มีหลากหลายสูตรเพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูก เพราะเด็กทุกคนต่างกัน

ไขข้อข้องใจเรื่องวิธีปรับพฤติกรรมลูกต่อต้านกับ Enfa Smart Club


พฤติกรรมดื้อต่อต้านในเด็กเป็นเรื่องปกติที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในช่วงวัยที่เด็กเริ่มมีความคิดเป็นของตัวเอง การทำความเข้าใจถึงสาเหตุและวิธีรับมือกับพฤติกรรมดังกล่าว จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สามารถเลี้ยงลูกได้อย่างมีความสุขและราบรื่นมากขึ้น

ลูกดื้อมาก 7 ขวบ สอนยังไงให้ลูกยอมฟัง

ลูกดื้อมาก  7 ขวบ ต่อต้านทุกสิ่ง ปฏิเสธทุกอย่างนั้น มีหลายปัจจัยด้วยกัน บ่อยครั้งตัวลูกเองก็ไม่สามารถอธิบายได้เหมือนกันว่าทำไมตัวเขาถึงทำแบบนั้น สิ่งที่พ่อแม่พึงระลึกไว้เสมอก็คือ ความโกรธ ความกลัวไม่ช่วยให้เด็กๆ อยากทำตามที่พ่อแม่บอก

ความรู้สึกไม่มั่นคง ไม่ปลอดภัย และโดดเดี่ยวทำให้ลูกอารมณ์แกว่งไปมา และหากพ่อแม่ยิ่งมาโกรธใส่ ลูกจะยิ่งต่อต้านมากขึ้นด้วยซ้ำ ในทางกลับกัน หากพ่อแม่พูดคุยด้วยความเข้าใจ ตัวลูกๆ เองก็สามารถตอบสนองได้ เพราะอย่างไรก็ตาม เด็กๆ ก็ยังคงอยากได้การดูแลเอาใจใส่จากพ่อแม่อยู่ดี

หากพ่อแม่ไม่ใช้อารมณ์กับลูก เขาก็จะรู้สึกปลอดภัย และมั่นคงขึ้น ถึงเวลานั้น ใจเด็กๆ ที่ไม่แกว่งไปมาก็จะพร้อมทำตามที่พ่อแม่บอก ทำตัวดี ๆ ให้พ่อแม่ภูมิใจในที่สุด

ลูก 5 ขวบดื้อมาก พูดไม่ฟัง รับมือยังไงดี


ลูก 5 ขวบดื้อมาก พูดไม่ฟัง เด็กวัยนี้มักมีพลังงานเหลือเฟือ และต้องการสำรวจโลกภายนอก อีกทั้งยังอยู่ในช่วงวัยของการเรียนรู้เรื่องการจัดการอารมณ์ และการสื่อสาร บ่อยครั้งเด็กๆ จึงไม่สามารถบอกได้ว่าจริงๆ แล้ว ตัวเขาต้องการอะไร หรืออยากให้พ่อแม่ทำอะไร

การรับมือกับลูกวัยนี้ต้องอาศัยความอดทน และความเข้าใจเป็นอย่างมาก คุณพ่อคุณแม่สามารถลองใช้การเบี่ยงเบนความสนใจ หรือสร้างกิจกรรมที่น่าสนใจให้ลูกทำ เพื่อลดโอกาสที่ลูกจะแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ขณะเดียวกันก็ค่อยๆ สื่อสารให้เขารับฟัง เพื่อที่จะช่วยให้ตัวลูกสามารถควบคุมอารมณ์ และสื่อสารกับพ่อแม่ได้ดีขึ้น

ลูกซนและดื้อมาก จนแม่เครียด คุณแม่ควรทำอย่างไร

หลายๆ ครั้งที่ลูกซนและดื้อมาก จนทำให้ตัวคุณแม่เองสะสมความเครียดโดยไม่รู้ตัว จนบ่อยครั้งการแสดงออกเพื่อตอบโต้พฤติกรรมความดื้อของลูกมักเลยเถิดจนกลายเป็นความรุนแรงไป ถ้าอย่างนั้นแล้ว คุณแม่ควรทำอย่างไรเพื่อรับมือกับความเครียดที่ถาโถมเข้ามาจากการเลี้ยงลูก

การรู้ทันอารมณ์ตัวเอง ถือเป็นเรื่องพื้นฐานของการจัดการความเครียด แน่นอนว่า นี่เป็นหนึ่งในเรื่องที่ พูดง่าย แต่ทำยาก จากสถานการณ์แวดล้อมหลายๆ อย่าง แต่อย่างไรก็ตาม การเท่าทันอารมณ์ตัวเองก็ถือเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะช่วยให้คุณแม่มองลูกอย่างเข้าใจมากขึ้นว่า นี่คือภาวะของพัฒนาการที่ตัวคนเป็นแม่ต้องเจอ เพื่อที่จะนำไปสู่การตั้งกติกากับลูกเวลาที่เกิดภาวะอารมณ์ใส่กันได้ในที่สุด

ลูกดื้อมาก 3 ขวบ ทำยังไงให้ดีขึ้น

ลูกดื้อมาก 3 ขวบ ถือเป็นหนึ่งในช่วงวัยต่อต้านช่วงแรก ที่ตัวลูกเองยังอยู่ระหว่างการเรียนรู้ด้านอารมณ์ และการสื่อสาร เป็นช่วงเวลาที่พ่อแม่ต้องใช้ความเข้าใจ และเตรียมตัวรับมือ โดยเกราะป้องกันที่ดีที่สุดในการรับมือกับความดื้อของลูกน้อยก็คือ ความรัก และความเอาใจใส่

การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ถือเป็นเรื่องแรกๆ ที่พ่อแม่ควรทำกับลูกโดยต้องใช้เวลาและความรักแก่ลูก อาจร่วมกันทำกิจกรรมบางอย่างเพื่อใช้เวลาร่วมกันภายในครอบครัว
การปรับพฤติกรรม พ่อแม่ควรปรับพฤติกรรมให้เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกเห็น หลีกเลี่ยงการใช้อำนาจ และความรุนแรงกับลูก เสริมแรงทางบวก หากลูกมีพฤติกรรมที่ดีควรเอ่ยชื่นชม
การฝึกวินัย  โดยเฉพาะเรื่องการกินและการนอนให้เป็นเวลา รวมถึงกำหนดกฎระเบียบต่าง ๆ ในครอบครัวอย่างสมเหตุสมผล

อย่างไรก็ตาม การรับมือกับพฤติกรรมดื้อต่อต้านของลูกต้องใช้ความอดทน และความเข้าใจ การสร้างสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น และให้กำลังใจลูกเป็นสิ่งสำคัญที่สุด หากคุณรู้สึกว่าไม่สามารถรับมือกับปัญหาได้ด้วยตัวเอง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม


  • camri. ลูกดื้อ ลูกเอาแต่ใจ ต่อต้านพ่อแม่ พฤติกรรมที่ไม่ควรนิ่งดูดาย  [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.camri.go.th/th/home/infographic/infographic-374 [4 กันยายน 2567]
  • thaipbskids. ลูก 7 ปีต่อต้านทุกย่าง เลิกคิดแก้ปัญหาต่อต้านไปก่อนเลย [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.thaipbskids.com/contents/62948871ce3596878f011c7a  [4 กันยายน 2567]
  • healthsmile. 9 กฎเหล็ก ปราบเด็กดื้อซน เด็กก้าวร้าวให้อยู่หมัด [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://healthsmile.co.th/blog/child-behavior-and-development/9-กฎเหล็ก…. [4 กันยายน 2567]
  • thai-dbp. การร้องอาละวาด (Temper Tamtrums) ส่วนหนึ่งของพัฒนาการที่พ่อแม่ต้องเข้าใจ  [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.thai-dbp.org/ArticleThaiDBPNo2.php [4 กันยายน 2567]
  • phanamyoi. พ่อแม่ควรรู้! 5 สาเหตุที่ลูกดื้อ ต่อต้าน ไม่เชื่อฟัง พร้อมบอกวิธีแก้ไข [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.phanamyoi.go.th/event-9.html [4 กันยายน 2567]

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่และลูกน้อย

* นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก
Enfa Smart Club สนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่าง
เดียวอย่างน้อย 6 เดือนและให้นมแม่ควบคู่อาหารตามวัยอีก 2 ปี หรือนานกว่านั้น ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO)
Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

คุณกำลังเข้าถึงเนื้อหาจากผู้ให้บริการภายนอกเกี่ยวกับการซื้อหรือ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท มี้ด จอห์นสัน นิวทริชัน (ประเทศไทย) จำกัด​

กรุณากดยืนยันเพื่อดำเนินการต่อ

Line TH
Shopee TH Lazada TH Join Enfamama