นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เอนฟาสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนไปจนถึง 2 ปี หรือนานกว่าตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

เช็ก 10 ลักษณะคนไอคิวต่ำ พร้อมกระตุ้นพัฒนาการลูกให้สมวัย

Enfa สรุปให้

  • หนึ่งใน 10 ลักษณะคนไอคิวต่ำที่สำคัญนั่นก็คือ การมีค่าเฉลี่ยไอคิวต่ำกว่ามาตรฐาน โดยตัวเลขระดับไอคิวปกติจะอยู่ที่ 90 – 109 หากต่ำกว่าค่านี้จะถือว่าไอคิวต่ำกว่ามาตรฐาน
  • ไอคิวต่ำแก้ยังไง? ปัญหาไอคิวต่ำนี้ต้องเริ่มจากความรู้ความเข้าใจของพ่อกับแม่เป็นสำคัญ เพื่อให้สามารถส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ของลูกได้อย่างตรงจุด
  • ไอคิวต่ำเกิดจากหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยด้านพันธุกรรม การติดเชื้อขณะตั้งครรภ์ การประสบอุบัติเหตุ สภาพแวดล้อมการเลี้ยงดูที่ไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ ไปจนถึงการติดเชื้อและโรคประจำตัวต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อสมอง

เลือกอ่านตามหัวข้อ

ไอคิว (Intelligence Quotient หรือ IQ) คือ ความฉลาดทางสติปัญญา หรือความเชาวน์ปัญญา ภาษาบ้าน ๆ ก็คือมีสมองดี มีความรู้ เฉลียวฉลาดหลักแหลมนั่นเอง ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่เด็กทุกคนที่เกิดมาแล้วจะมีไอคิวดี เพราะมีเด็กหลายคนที่เกิดมาพร้อมความยกพร่องทางสติปัญญาหรือมีไอคิวต่ำ แต่ไอคิวต่ำเกิดจากอะไร หากลูกมีไอคิวต่ำแก้ยังไง แล้ว 10 ลักษณะคนไอคิวต่ำมีอะไรบ้าง บทความนี้จาก Enfa มีสาระควรรู้เกี่ยวกับภาวะไอคิวต่ำมาฝากค่ะ

 

ไอคิวต่ำ เกิดจาก


ค่าไอคิวปกติ จะอยู่ระหว่าง 90 – 109  หากต่ำกว่าค่านี้ จะถือว่าระดับไอคิวต่ำกว่ามาตรฐาน โดยสามารถแบ่งระดับการทำงานของสติปัญญาตามค่าไอคิวได้ดังนี้

  • ไอคิว 71-84: การทำงานของสติปัญญาอยู่ในระดับปานกลาง
  • ไอคิว 50-55 ถึงประมาณ 70: การทำงานของสติปัญญามีความบกพร่องเล็กน้อย
  • ไอคิว 35-40 ถึง 50-55: การทำงานของสติปัญญามีความบกพร่องปานกลาง
  • ไอคิว 20-25 ถึง 35-40: การทำงานของสติปัญญามีความบกพร่องขั้นรุนแรง
  • ไอคิวต่ำกว่า 20-25: การทำงานของสติปัญญามีความบกพร่องขั้นรุนแรงมาก

โดยปัญหาไอคิวต่ำกว่าเกณฑ์นั้น เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ซึ่งเด็กที่เกิดมามีไอคิวต่ำอาจเกิดจากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง หรือมีปัจจัยร่วมกันหลายอย่างก็ได้ ดังนี้

ปัจจัยก่อนการคลอด

  • พันธุกรรม อาจมีสมาชิกในครอบครัวหรือญาติใกล้ชิดกันมีประวัติความบกพร่องด้านสติปัญญา
  • เกิดการติดเชื้อในขณะตั้งครรภ์ การติดเชื้อบางชนิด เช่น โรคท็อกโซพลาสโมซิสและโรคหัดเยอรมัน สามารถส่งผลเสียต่อพัฒนาของทารกในครรภ์ ทำให้เกิดสมองพิการ หรือเกิดมาพร้อมความบกพร่องทางสติปัญญา
  • ทารกได้รับสารพิษตั้งแต่ตอนอยู่ในครรภ์ ไม่ว่าจะเป็น แอลกอฮอล์ ควันบุหรี่หรือยาสูบ รังสีต่าง ๆ หรือสารเคมีบางชนิด หากเข้าสู่ร่างกายของแม่ปริมาณมาก ก็จะส่งผลเสียต่อพัฒนาการด้านสมองและสติปัญญาของทารกได้
  • แม่มีภาวะเสี่ยงในขณะตั้งครรภ์ เช่น คลอดก่อนกำหนด ขาดออกซิเจน ไทรอยด์ผิดปกติ ประสบอุบัติเหตุขณะตั้งครรภ์ ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้อาจส่งผลต่อสมองของทารก และมีผลต่อพัฒนาการด้านสติปัญญา

ปัจจัยหลังคลอด

  • เด็กได้รับการบาดเจ็บหรือประสบอุบัติเหตุอย่างรุนแรงต่อสมอง ทำให้มีพัฒนาการล่าช้า เนื่องจากสมองได้รับการกระทบกระเทือนและเสียหาย
  • เด็กเกิดการติดเชื้อ และเชื้อนั้นแพร่ต่อไปยังสมองและระบบประสาท จึงอาจทำให้เกิดความบกพร่องทางสติปัญญาได้ เช่น โรคหัดหรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • เด็กมีเนื้องอกในสมอง อาจจะเป็นมะเร็ง หรือเป็นเพียงเนื้อเยื่อที่ไม่ร้ายแรง ก็สามารถส่งผลต่อความบกพร่องของสมองได้
  • เด็กมีโรคประจำตัวหรือมีปัญหาสุขภาพบางอย่างที่ส่งผลเสียต่อสมอง เช่น อาการชัก โรคลมบ้าหมู หรือกลุ่มอาการ Lennox-Gastaut Syndrome (LGS) ซึ่งอาการชักรุนแรงเหล่านี้อาจทำให้สมองเสียหายจนทำให้เกิดความบกพร่องทางสติปัญญาได้
  • เด็กเติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่ขาดการส่งเสริมและสนับสนุนทักษะด้านการเรียนรู้ ทำให้พัฒนาการด้านสติปัญญาไม่ถูกกระตุ้นอย่างเหมาะสม เสี่ยงทำให้มีพัฒนาการเรียนรู้ที่ล่าช้า

 

10 ลักษณะคนไอคิวต่ำ


หากลูกมี 10 สัญญาณต่อไปนี้ปรากฎให้เห็น อาจสันนิษฐานได้ว่ามีแนวโน้มที่จะมีความบกพร่องทางสติปัญญา หรือมีไอคิวต่ำกว่าระดับเกณฑ์มาตรฐานปกติ

  • พูดได้ช้า แม้ว่าจะถึงวัยที่ควรจะต้องพูดได้แล้ว
  • พลิกตัวช้า นั่งได้ช้า เดิน หรือคลานได้ช้ากว่าที่ควรจะเป็น
  • ขาดทักษะหรือไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองแบบง่าย ๆ ได้ หรือทำได้ช้ากว่าปกติ เช่น กินข้าวเองไม่ได้ ขับถ่ายเองไม่ได้ ไม่สามารถแต่งตัวด้วยตนเองได้
  • ขาดทักษะด้านการจดจำ มักขี้ลืมบ่อย ๆ แม้ว่าจะเพิ่งพูดถึงไปเมื่อไม่กี่นาทีที่แล้ว
  • มักมีปัญหาด้านพฤติกรรม เช่น ชอบอาละวาดรุนแรง
  • ไม่สามารถพูด คิด หรือเข้าใจกระบวนการใช้เหตุและผลได้
  • สมาธิสั้น ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งต่าง ๆ ได้เลย
  • ไม่สามารถเข้าสังคมได้ มีปัญหาด้านการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
  • ไม่เข้าใจคำสั่ง ไม่สามารถทำตามที่บอกได้ แม้ว่าจะเป็นเรื่องง่าย ๆ ทั่วไป
  • ไม่เข้าใจกฎระเบียบต่าง ๆ ในสังคม

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของสัญญาณที่เตือนว่าลูกอาจมีภาวะบกพร่องด้านสติปัญญา หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตว่าลูกมีอาการใกล้เคียงกับสัญญาณข้างต้นหลายข้อ ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยว่าลูกมีความบกพร่องด้านการเรียนรู้จริงไหม หรือแค่เพียงมีพัฒนาการล่าช้ากว่าปกติ แต่ไม่ถึงกับบกพร่องด้านสติปัญญา

เพื่อที่คุณพ่อคุณแม่จะได้เข้าใจลูกอย่างตรงจุด และสามารถรับมือ เลี้ยงดูได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการเสริมสร้างพัฒนาการด้านสติปัญญาอย่างถูกต้อง เพื่อช่วยให้ลูกสามารถเติบโตได้อย่างมีความสุข

 

ไอคิวต่ำแก้ยังไง


ปัญหาไอคิวต่ำ หรือมีภาวะบกพร่องด้านสติปัญญา ถือเป็นความท้าทายอย่างยิ่งสำหรับคุณพ่อคุณแม่ เนื่องจากไม่ใช่สิ่งที่เราจะสามารถแก้ไขกันได้ภายในเวลาไม่กี่วัน แต่ต้องใช้ระยะเวลาและความสม่ำเสมอนานเป็นปีและหลายปี เพื่อให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีขึ้น และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข

โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาลูกมีพัฒนาการด้านสติปัญญาบกพร่องได้หลายวิธี ดังนี้

1. รับรู้และเข้าใจในความแตกต่างของลูก

คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องมีความรู้และความเข้าใจต่อความบกพร่องทางสติปัญญาของลูก ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นผลดีทั้งต่อตัวลูกเอง และมีประโยชน์พ่อกับแม่ด้วย ยิ่งเข้าใจมากเท่าไหร่ คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถสนับสนุนลูกได้ดีมากเท่านั้น และสามารถจัดการกับชีวิตของตัวเองได้ง่ายขึ้นด้วย

2. ใส่ใจกับการเลือกโรงเรียนให้ลูก  

เพราะไม่ใช่ทุกโรงเรียนที่มีบุคลากรและทรัพยากรที่เหมาะสมกับนักเรียนที่เรียนรู้ช้า เนื่องจากเด็กต้องใช้เวลาอยู่ที่โรงเรียนมากกว่าที่บ้าน จึงจำเป็นจะต้องเลือกสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้เหมาะสมกับลูก

หากไม่มีตัวเลือกโรงเรียนมากนัก คุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษาหารือกับคุณครูและโรงเรียนใกล้บ้าน เพื่อให้เข้าใจถึงความแตกต่างของเด็ก ว่าเด็กมีความบกพร่องอย่างไร และควรได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างไรบ้าง

3. กิจกรรมเป็นสื่อนำแห่งความสำเร็จ

พยายามพาลูกไปทำกิจกรรมนอกบ้านร่วมกับผู้อื่นเป็นประจำ เพื่อกระตุ้นให้ลูกมีพัฒนาการที่สมวัย และได้พัฒนาทักษะด้านการเข้าสังคม เรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้ากับสังคมใหม่ เพื่อนใหม่

4. ให้ลูกมีส่วนร่วมกับกิจกรรมต่าง ๆ ภายในบ้าน  

ไม่ว่าจะเป็นการล้างจาน ทำกับข้าว ทำสวน หรือกวาดบ้าน คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกได้ทำเองบ้าง แม้อาจเป็นเรื่องยากกว่าที่ลูกจะเข้าใจ หรืออาจทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร ก็ขอให้อดทน และหมั่นสังเกตพฤติกรรมของลูก ว่าเวลาได้รับมอบหมายงาน ลูกทำอย่างไร พลาดตรงไหน เพื่อจะได้แนะนำทริคที่มีประโยชน์มาปรับใช้กับลูก สิ่งนี้จะดีต่อพัฒนาการเรียนรู้ของลูก และยังเป็นการฝึกให้ลูกช่วยเหลือตัวเองได้

5. เกมฝึกสมอง

การเล่นเกม นอกจากจะช่วยให้ลูกผ่อนคลายและเพลิดเพลินแล้ว ยังมีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง ช่วยให้พัฒนาการด้านสติปัญญาของลูกดีขึ้นได้ โดยอาจเป็นเกมตัวต่อ เกมจับผิดภาพ เกมลากเส้นต่อจุด เกมแก้โจทย์ต่าง ๆ และเกมฝึกสมองอื่น ๆ ที่เปิดโอกาสให้ลูกได้ใช้ความคิด เป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมทักษะด้านการคิด ตรรกะ และการใช้เหตุผล

6. ไม่ปิดกั้น ไม่บังคับ

สนับสนุนให้ลูกได้ใช้ชีวิตอย่างเป็นอิสระ ปล่อยให้ลูกได้ลองทำสิ่งใหม่ ๆ และสนับสนุนให้ลูกได้ทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง คุณพ่อคุณแม่ให้คำแนะนำเมื่อจำเป็น และให้ข้อเสนอแนะเมื่อลูกของคุณทำได้ดีหรือเริ่มเชี่ยวชาญในสิ่งใหม่ ๆ ไม่ตำหนิ แต่ให้กำลังใจเมื่อลูกผิดพลาดหรือท้อแท้ จะช่วยสนับสนุนให้ลูกมีกำลังใจที่อยากจะทำกิจกรรมใหม่ ๆ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากขึ้น

7. ติดต่อกับคุณครูอยู่เสมอ

ไม่ปล่อยการดูแลลูกให้เป็นภาระการทำงานของครูแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่คุณพ่อคุณแม่จำเป็นจะต้องติดต่อสื่อสาร ติดตามความคืบหน้ากับคุณครูและโรงเรียนอยู่ตลอด เพื่อให้ได้ทราบความคืบหน้าของลูก และสนับสนุนลูกได้อย่างต่อเนื่องจากสิ่งที่ลูกได้เรียนรู้มาจากโรงเรียน

8. พูดคุยกับผู้ปกครองคนอื่น ๆ  

เพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจในความแตกต่าง และเพื่อให้เด็กคนอื่น ๆ ได้เข้าใจว่าลูกของเราแตกต่างอย่างไร เป็นการลดความเสี่ยงไม่ให้ลูกถูกล้อเลียน ซึ่งการบูลลี่ในโรงเรียนอาจส่งผลต่อสภาพจิตใจของลูก และส่งผลต่อพัฒนาการเรียนรู้ของลูกได้ หรือคุณพ่อคุณแม่อาจได้รับคำแนะนำและทริคดี ๆ จากผู้ปกครองท่านอื่น ๆ ที่สามารถนำมาปรับใช้กับลูกได้

9. พูดคุยกับเพื่อน ๆ ของลูก

เด็กคนอื่น ๆ ก็ควรจะได้รับรู้ถึงความแตกต่างของเพื่อนในห้องด้วยเหมือนกัน เพื่อที่จะได้เข้าใจในความแตกต่างของกันและกันได้ดีขึ้น คุณพ่อคุณแม่อาจขออนุญาตครูและผู้ปกครองท่านอื่น ๆ เพื่อหาโอกาสได้พูดคุยกับเพื่อน ๆ ของลูก เป็นการสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน อาจช่วยลดความเสี่ยงไม่ให้ลูกถูกกลั่นแกล้งหรือล้อเลียนได้ และยังทำให้ลูกเข้าสังคมกับเพื่อน ๆ ได้ง่ายขึ้นด้วย

จะเห็นได้ว่าปัญหาไอคิวต่ำนั้น ไม่สามารถทำได้แค่เพียงคนใดคนหนึ่ง แต่ต้องอาศัยการบูรณาการจากครอบครัว โรงเรียน และคนรอบข้าง เพื่อช่วยกระตุ้นพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กให้ดีขึ้น และสามารถที่จะใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข

 

ทำยังไงดี เมื่อลูกเรียนรู้ช้ากว่าคนอื่น


ลูกเรียนรู้ช้าทําไงดี เป็นหนึ่งในความกังวลใจของคุณพ่อคุณแม่ที่พบว่าลูกมีพัฒนาการที่ล่าช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกัน

สิ่งสำคัญที่สุดคือ คุณพ่อคุณแม่ต้องทำใจและยอมรับความจริงให้ได้ว่าลูกของเราแตกต่างนะ เมื่อเข้าใจแล้วก็จะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับภาวะความบกพร่องของลูกให้มากที่สุด ยิ่งรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งเป็นผลดีกับลูกมากเท่านั้น เพราะคุณพ่อคุณแม่สามารถที่จะส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ของลูกได้อย่างตรงจุดมากขึ้น โดยสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำ คือ

  • พาลูกไปพบแพทย์ทันทีที่สังเกตว่าลูกมีสัญญาณของพัฒนาการที่ล่าช้า เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยตลอดจนคำแนะนำในการเลี้ยงดูลูกที่เหมาะสม
  • พยายามใช้เวลากับลูก ทำกิจกรรมร่วมกัน เล่นเกมด้วยกัน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของลูกทั้งในบ้านและนอกบ้าน
  • ไม่ตำหนิ ไม่ดุ ไม่ด่า เพราะไม่ใช่ความผิดของลูกที่พัฒนาการล่าช้าจนอาจทำไม่ได้ ทำได้ไม่ดี หรือไม่เข้าใจว่าต้องทำอะไร คุณพ่อคุณคุณแม่ต้องอดทน และใจเย็นให้ได้มากที่สุด ความรุนแรงมีแต่จะทำให้ทุกอย่างแย่ลง
  • คุณพ่อคุณแม่ต้องเป็นทีมเดียวกัน ช่วยเหลือและสนับสนุนลูกไปด้วยกัน ไม่ปล่อยให้ใครคนใดคนหนึ่งทำอยู่คนเดียว
  • ไม่เปรียบเทียบลูกกับคนอื่น เพราะจะยิ่งทำให้ลูกกดดัน และเริ่มต่อต้าน
  • ฝึกให้ลูกทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง เพื่อให้เขาสามารถดูแลตัวเองได้ และยังกระตุ้นพัฒนกาารเรียนรู้ไปในตัว
  • หากิจกรรมใหม่ ๆ ให้ลูกทำ หรือสนับสนุนให้ลูกได้ทำในสิ่งที่สนใจ เพื่อให้ลูกมีความมั่นใจและภูมิใจในตัวเอง
  • ฝึกฝนระเบียบวินัย เพื่อเป็นการฝึกให้ลูกได้เรียนรู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด รู้จักที่จะปฏิบัติตามกฎกติกา

ถึงลูกจะเรียนรู้ช้า แต่ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่เข้าใจในธรรมชาติของลูก ก็จะช่วยให้สามารถสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้ของลูกได้อย่างเหมาะสม ช่วยให้ลูกเติบโตได้อย่างมีความสุขและสามารถที่จะประสบความสำเร็จได้เช่นเดียวกับคนอื่น ๆ  

 

รู้จักโรคเรียนรู้ช้า หรือโรคการเรียนรู้บกพร่อง (Learning disorder)


Learning Disorder หรือ LD คือ โรคการเรียนรู้บกพร่องที่เกี่ยวเนื่องกับความผิดปกติของกระบวนการเรียนรู้ ได้แก่  

  • ความบกพร่องทางด้านการอ่าน
  • ความบกพร่องด้านการเขียน
  • ความบกพร่องด้านการคำนวณ หรือการคิดวิเคราะห์เชิงคณิตศาสตร์  
  • ความบกพร่องทางด้านการใช้เหตุผล

โรคการเรียนรู้บกพร่อง หรือโรคเรียนรู้ช้า เกิดจาก สมองของเด็กมีการทำงานผิดปกติ จึงทำให้ศักยภาพในการเรียนรู้ของเด็กนั้นต่ำกว่าศักยภาพจริงที่ควรจะเป็น

อย่างไรก็ตาม โรคเรียนรู้ช้า ไม่ได้หมายความว่าเด็กจะไร้ความสามารถไปเสียทุกอย่าง เพราะเด็กที่เป็นโรคการเรียนรู้บกพร่อง ยังสามารถมีความสามารถด้านอื่น ๆ ที่โดดเด่น เช่น ความสามารถด้านศิลปะ ดนตรี เป็นต้น

 

MFGM สารอาหารในนมแม่ เพื่อ IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก


โภชนาการ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบประสาทและสมอง ช่วยให้ลูกเติบโตมาพร้อมกับพัฒนาการด้านการเรียนรู้ที่สมวัย

เพื่อให้เด็กเติบโตมาพร้อมกับ IQ ที่ดี การปูพื้นฐานด้านโภชนาการตั้งแต่ต้นเป็นสิ่งสำคัญ นมแม่ถือว่าเป็นแหล่งโภชนาการที่ดีที่สุดที่เด็กควรได้รับอย่างต่อเนื่องในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต  

เพราะนมแม่มี MFGM สุดยอดสารอาหารในนมแม่ สารอาหารสมองชนิดเดียวที่ช่วยให้ลูกมี IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ปีแรก ประกอบด้วยไขมันและโปรตีนกว่า 150 ชนิด รวมทั้งสฟิงโกไมอีลิน ฟอสโฟลิปิด แกงกลิโอไซด์ สารอาหารเหล่านี้มีส่วนช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบประสาทและสมอง ช่วยให้ลูกมีพัฒนาการด้านการเรียนรู้และสติปัญญาที่สมวัย 



บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ดูแลลูกน้อย

* นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก
Enfa Smart Club สนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่าง
เดียวอย่างน้อย 6 เดือนและให้นมแม่ควบคู่อาหารตามวัยอีก 2 ปี หรือนานกว่านั้น ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO)
Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

คุณกำลังเข้าถึงเนื้อหาจากผู้ให้บริการภายนอกเกี่ยวกับการซื้อหรือ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท มี้ด จอห์นสัน นิวทริชัน (ประเทศไทย) จำกัด​

กรุณากดยืนยันเพื่อดำเนินการต่อ

Line TH
Shopee TH Lazada TH Join Enfamama