Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
เด็กติดโทรศัพท์ ถือเป็นหนึ่งในความกังวลของคุณพ่อคุณแม่ยุคนี้ ยิ่งเมื่อลูกน้อย ไม่ยอมห่างจากหน้าจอโทรศัพท์ หรือแท็บแล็ต การแสดงออกเหล่านี้กำลังเป็นปัญหาใหญ่ที่ท้าทายพ่อแม่ยุคใหม่ เพราะนอกจากจะส่งผลต่อพัฒนาการแล้ว ยังอาจนำไปสู่ปัญหาพฤติกรรมที่น่ากังวลได้ แล้วอาการเด็กติดจอ จะมีทางแก้ไขยังไง ต้องถึงขั้น หักดิบลูกติดจอโทรศัพท์เลยไหม วันนี้เรามาหาคำตอบไปพร้อมๆ กันค่ะ
ก่อนอื่นคุณแม่ต้องเข้าใจว่า เด็กติดโทรศัพท์ หรือ ลูกติดโทรศัพท์ เป็นการที่เด็กใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเล่นโทรศัพท์มือถือหรือดูจอมากเกินไป จนเริ่มมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน อาการที่เห็นได้ชัดเจน เช่น ลูกใช้เวลาหมดไปกับการดูสื่อออนไลน์หรือติดเกมจนลืมกิจกรรมอื่น ๆ เช่น การเรียนรู้ การเล่นกับเพื่อน หรือแม้แต่การทำการบ้าน
มีสัญญาณเตือนจากพฤติกรรมของลูก ดังนี้
เมื่อพูดถึง "เด็กติดโทรศัพท์" หรือ "ลูกติดจอ" มักมีสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เกิดปัญหานี้ มาจากหลายปัจจัย เช่น
สิ่งแวดล้อม: เด็กอาจได้รับการฝึกฝนให้เล่นโทรศัพท์ตั้งแต่ยังเล็ก หรือบางครั้งโทรศัพท์ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทำให้เด็กสงบ เช่น เมื่อพ่อแม่ต้องทำงาน หรือมีภารกิจอื่น ๆ
ความสะดวกในการเข้าถึง: โทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตเป็นอุปกรณ์ที่ง่ายต่อการเข้าถึงและใช้งาน เด็กอาจเห็นพ่อแม่เล่นโทรศัพท์แล้วอยากลองใช้บ้าง
การเสพสื่อดิจิทัล: เด็กส่วนใหญ่จะถูกดึงดูดด้วยการ์ตูน เกม หรือวีดีโอที่มีความสนุกสนาน ซึ่งทำให้พวกเขาหลงใหลและอยากใช้เวลาอยู่หน้าจอมากขึ้น
อาการเด็กติดจอไม่ใช่แค่การที่เด็กใช้เวลามากกับโทรศัพท์เท่านั้น แต่ยังมีอาการอื่นๆ ที่คุณแม่สามารถสังเกตได้ เช่น
สมาธิสั้น: เด็กจะมีปัญหาในการทำกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิหรือความอดทน เช่น การอ่านหนังสือ การทำการบ้าน หรือการเล่นกิจกรรมที่ต้องใช้สมอง รวมถึงอาจมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวตามมา
ความรุนแรงในการแสดงอารมณ์: เด็กอาจแสดงอารมณ์รุนแรง เช่น โกรธหรือหงุดหงิด เมื่อไม่ได้ใช้โทรศัพท์ตามที่ต้องการ หรือเมื่อพ่อแม่จำกัดเวลาในการเล่น
ขาดการสื่อสารทางสังคม: เด็กที่ติดโทรศัพท์มักจะไม่สนใจการเล่นกับเพื่อน ๆ หรือไม่ชอบการพูดคุยกับคนรอบข้าง ส่งผลให้พัฒนาการทางสังคมของเด็กช้าลง
พัฒนาการทางภาษาล่าช้า: เช่น เด็กยังพูดไม่เป็นประโยค หรือผู้ใหญ่ฟังภาษาที่เด็กพูดแล้วไม่เข้าใจ
ปวดตา ปวดหลัง: เด็กที่ติดจอจะมีผลกระทบกับสุขภาพตา เกิดอาการตาแห้ง ปวดตา ร่วมกับอาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดไหล่ และต้นคอ
การที่ลูกติดโทรศัพท์ ติดจอมากเกินไป เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนกังวล เพราะการใช้เวลาอยู่กับหน้าจอมากเกินไปนั้น ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กในหลายด้านเลยค่ะ เช่น
พัฒนาการทางร่างกาย: เด็กที่ใช้เวลานานกับโทรศัพท์มักจะไม่ออกกำลังกาย ทำให้เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ เช่น น้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน กล้ามเนื้ออ่อนแรง รวมถึงมีปัญหาการนอนด้วย
พัฒนาการทางสมอง: การที่เด็กดูแต่สื่อดิจิทัลทำให้สมองไม่พัฒนาอย่างเต็มที่ หรือสมองเล็กลงขาดการพัฒนา ทำให้พัฒนาการเชาวน์ปัญญาไม่ดี ไอคิวต่ำกว่ามาตรฐาน เช่น กระบวนการฝึกคิด การเรียนรู้ และการแก้ปัญหาที่เชื่องช้า เพราะเด็กขาดการเล่นที่ใช้จินตนาการ การเล่นกลางแจ้ง หรือการสื่อสารกับคนอื่น
พัฒนาการทางอารมณ์: เด็กที่ติดโทรศัพท์มักจะแสดงอารมณ์ไม่เหมาะสมและอาจมีปัญหาด้านการจัดการอารมณ์ในระยะยาว เช่น ความวิตกกังวล หรือความเครียด
ถ้าคุณแม่กังวลว่าลูกติดโทรศัพท์มากเกินไป ก็อย่าเพิ่งตกใจนะคะ เพราะทุกปัญหามีทางแก้ไข!
วิธีแก้เด็กติดโทรศัพท์ หรือ เด็กติดโทรศัพท์แก้ยังไง คือ การตั้งกฎระเบียบและขอบเขตที่ชัดเจน เช่น
กำหนดเวลาใช้งานที่ชัดเจน: คุณพ่อคุณแม่สามารถตั้งเวลาที่ลูกจะสามารถใช้โทรศัพท์ได้ โดยอาจจะใช้วิธีให้ลูกเลือกเวลาที่ต้องการเล่น หรือเลือกให้เล่นหลังจากทำการบ้านเสร็จ
กิจกรรมทางเลือก: หากลูกอยากใช้โทรศัพท์มากเกินไป ลองเสนอทางเลือกที่น่าสนใจ เช่น กิจกรรมสร้างสรรค์ที่ช่วยเสริมพัฒนาการ หรือกิจกรรมกลางแจ้งที่ดีต่อสุขภาพ
เป็นตัวอย่างที่ดี: คุณพ่อคุณแม่เองก็ควรใช้โทรศัพท์อย่างมีสติ และไม่เล่นโทรศัพท์บ่อยเกินไป เพราะเด็กมักจะเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่
ให้ลูกออกไปทำกิจกรรมรวมกลุ่มกับเพื่อนมากขึ้น: เพราะการทำกิจกรรมกับเพื่อนๆ จะช่วยให้ลูกห่างหน้าจอได้ และยังสานสัมพันธ์กับเพื่อนๆ ได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรม เข้าชมรมศิลปะ เรียนพิเศษ เรียนดนตรี เป็นต้น
สานความสัมพันธ์: ไม่ใช่ตามใจ ให้โอกาสเด็กๆ ได้เล่นอิสระ กับเพื่อนๆ ตามความเหมาะสม
การ "หักดิบ" ลูกติดโทรศัพท์ไม่ได้หมายความว่าให้ตัดการใช้โทรศัพท์ออกไปเลยค่ะ แต่ควรเป็นการลดการใช้ลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยคุณแม่สามารถลองใช้วิธีเหล่านี้
การเปลี่ยนพฤติกรรม: เริ่มจากการลดเวลาใช้งานโทรศัพท์ลงทีละน้อย เช่น จาก 2 ชั่วโมงลดเหลือ 1 ชั่วโมง จากนั้นลดลงอีก
สร้างกิจกรรมทดแทน: สร้างกิจกรรมที่ทำให้ลูกไม่รู้สึกเบื่อหน่าย เช่น เล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมสร้างสรรค์ร่วมกันในครอบครัว
อธิบายเหตุผลให้เด็กเข้าใจ: พูดคุยกับลูกโดยใช้เหตุผลและความเข้าใจ พร้อมชวนออกไปทำกิจกรรมด้วยกัน
ให้กำลังใจและรางวัลเมื่อทำได้: เมื่อลูกสามารถลดเวลาจากการดูหน้าจอ และหันไปทำกิจกรรมอย่างอื่นตามที่ได้ตกลงกับคุณพ่อคุณแม่ไว้ อย่าลืมคำชมที่ให้กำลังใจลูก และให้รางวัลเมื่อลูกทำได้นะคะ
คุณพ่อคุณแม่ควรหากิจกรรมที่สนุกและสร้างสรรค์ให้กับลูกๆ เพื่อห่างจากหน้าจอโทรศัทพ์ค่ะ ซึ่งเป็นวิธีที่ดีในการช่วยลดเวลาในการใช้โทรศัพท์ และเสริมพัฒนาการของลูก กิจกรรมสนุกๆ ที่แนะนำ เช่น
อยากให้ลูกมีพัฒนาการสมองดี ต้องเลือกเอนฟาโกรที่มี MFGM มีหลากหลายสูตรเพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูก เพราะเด็กทุกคนต่างกัน
สำหรับเด็กวัยนี้้ หากพ่อแม่พบว่า ลูก 2 ขวบติดโทรศัพท์ ควรเอาใจใส่ดูแลเรื่องนี้เป็นพิเศษ เนื่องจาก วัยนี้เป็นวัยที่กล้ามเนื้อมัดเล็กกำลังพัฒนา หรือมีปัญหาในการสื่อสาร และทักษะภาษาพัฒนาได้ไม่ดีเท่าที่ควร นอกจากนั้นยังเสี่ยงเป็นไฮเปอร์เทียม ทำให้ลูกมีอารมณ์ร้อน รอคอยไม่เป็น หรือถึงขั้นเป็นออทิสติกเทียมได้ง่ายมาก
แน่นอนว่า คำแนะนำสำหรับลูกในขวบปีแรกกับหน้าจอ คือ ไม่แนะนำเลย แต่ถ้าหากลูกมีอาการสมาธิสั้นจากการติดหน้าจอ ต้องเริ่มจากการไม่ปล่อยให้ลูกๆ อยู่กับหน้าจอเพียงลำพัง มีการตกลงเรื่องเวลากันให้ชัดเจน พยายามหากิจกรรมอื่นๆ เพื่อให้ลูกเล่นมากกว่าการดูจอ ที่สำคัญ พ่อแม่ต้องให้เวลากับลูกถึงจะแก้ไขพฤติกรรมไม่พึงประสงค์เหล่านี้ได้
นอกจากการควบคุมอารมณ์ตนเองแล้ว คุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจที่มาที่ไป หรือสิ่งเร้า สิ่งกระตุ้นที่นำไปสู่พฤติกรรมการแสดงออกแบบนั้นก่อน โดยให้เวลาลูกๆ ได้สงบสติอารมณ์ของตัวเอง การกอดจากพ่อแม่ก็เป็นอีกหนึ่งทางที่ช่วยให้เด็กๆ สงบลงได้ จากนั้นจึงเริ่มพูดคุยด้วยเหตุผล เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงพฤติกรรมในระยะยาวต่อไป
การยึดโทรศัพท์อาจส่งผลร้ายมากกว่าดี นอกจากตัวลูกเองจะเห็นด้วยกับวิธีนี้ ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับเรื่องนี้ก็คือ การพูดคุยกันด้วยเหตุผล โดยการตั้งกติการ่วมกัน ที่สำคัญต้องทำให้เห็นว่า พ่อแม่น่าสนใจกว่าหน้าจอ ชื่ชนลูก เมื่อลูกตั้งใจเรียน หรือใช้เวลาทบทวนบทเรียนร่วมกับลูก การใช้เวลาร่วมกันกับลูกจะค่อยๆ เป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กๆ ให้กลับมาห่างจากหน้าจอ และเอาใจใส่ต่อสิ่งที่พ่อแม่ชื่นชมตัวเขาในที่สุด
Enfa สรุปให้ พฤติกรรมลูกดื้อต่อต้าน เป็นเรื่องปกติที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในช่วงวัยที่เด็กเริ่มมีคว...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ เซลล์สมอง คือ หน่วยพื้นฐานที่สำคัญที่สุดในสมองที่ช่วยให้สมองทำงานได้ตามปกติ มีหน้าท...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ หนึ่งใน 10 ลักษณะคนไอคิวต่ำที่สำคัญนั่นก็คือ การมีค่าเฉลี่ยไอคิวต่ำกว่ามาตรฐาน โดยต...
อ่านต่อ