นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เอนฟาสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนไปจนถึง 2 ปี หรือนานกว่าตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

แผลผ่าคลอดอักเสบข้างใน แผลผ่าคลอดปริ คุณแม่จะรับมือยังไงดี

Enfa สรุปให้

  • แผลผ่าคลอดปริ แผลผ่าคลอดอักเสบ เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ แผลกระทบกระเทือน ดูแลแผลไม่สะอาด การมีเซ็กซ์หลังคลอด เป็นต้น
  • แผลผ่าคลอดปริหรืออักเสบ มีอาการโดยทั่วไปคือ แผลมีรอยแดง บวม มีหนอง มีอาการปวดที่แผล แผลมีกลิ่นเหม็น และเนื้อผิวเริ่มเปลี่ยนสีหรือเนื้อเริ่มเน่า
  • หากแผลผ่าคลอดอักเสบ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะถ้าปล่อยเอาไว้แผลจะค่อย ๆ แย่ลง ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อรุนแรง บาดทะยัก หรือโรคเนื้อเน่าได้

เลือกอ่านตามหัวข้อ

หลังผ่าคลอด คุณแม่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดูแลเอาใจใส่กับแผลผ่าคลอดเป็นอย่างดี เพราะถ้าหากปล่อยปละละเลย หรือไม่ดูแลตนเองตามที่แพทย์แนะนำ อาจเสี่ยงทำให้ แผลผ่าคลอดปริ หรือ แผลผ่าคลอดอักเสบข้างใน ซึ่งจะเสี่ยงอันตรายมากขึ้น และทำให้คุณแม่ฟื้นตัวช้าลงด้วย

แผลผ่าคลอดปริ แผลผ่าคลอดอักเสบ เกิดจากอะไร


แผลผ่าคลอดปริ แผลผ่าคลอดอักเสบ เกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น

  • ดูแลแผลไม่สะอาด หรือปล่อยให้เกิดการหมักหมม
  • เกิดการกระทบกระเทือน เช่น ออกแรงมาก ยกของหนัก ทำกิจกรรมที่ใช้แรงมากเกินไป
  • แผลผ่าคลอดเกิดการติดเชื้อ
  • มีปัญหาสุขภาพเรื้อรังอยู่ก่อนแล้ว และส่งผลต่อการฟื้นตัวของแผลผ่าตัด
  • เกิดอุบัติเหตุและมีการกระทบกระเทือนที่แผล
  • มีเพศสัมพันธ์หลังคลอดโดยที่แผลยังไม่หายดี
  • แพทย์ทำแผลไม่เรียบร้อยดี
  • แพทย์ทำการผ่าคลอดแบบแนวตั้ง ซึ่งมีโอกาสที่แผลผ่าคลอดจะปริได้ง่ายกว่าแผลผ่าตัดแนวนอน

เสริมสร้างพัฒนาการให้กับเด็กผ่าคลอดอย่างไร เพื่อเด็กผ่าคลอดเริ่มต้นดีต้องมีครบ 3

คุณแม่ทราบหรือไม่ว่า การผ่าคลอด (C-Section) คือ การผ่าตัดโดยนำทารกออกมาผ่าทางหน้าท้อง จึงทำให้ทารกไม่ได้รับจุลินทรีย์สุขภาพ (Gut Microbiome) จากบริเวณช่องคลอดของแม่ ซึ่งทำให้เด็กผ่าคลอดอาจมีพัฒนาการภูมิคุ้มกันแรกเกิด และสุขภาพลำไส้ช้ากว่าเด็กที่คลอดแบบธรรมชาติ ส่งผลให้มีโอกาสเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น

Cs-Biome หรือ Commensal Microbiome​

คือ ดีเอ็นเอของกลุ่มจุลินทรีย์ชนิดดีที่อยู่รวมกัน เช่นบิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) และ แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) ที่พบในน้ำนมแม่ มีส่วนช่วยทำให้ผนังลำไส้แข็งแรง พัฒนาระบบทางเดินอาหาร ทำให้ลูกขับถ่ายดี เสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง นอกจากนี้ MFGM และ DHA ในนมแม่ยังมีส่วนช่วยเสริมสร้างพัฒนาการสมองในช่วงเริ่มต้นของชีวิต​

อยากรู้ว่าวันไหนฤกษ์ดีสำหรับการผ่าคลอด เราได้รวบรวมฤกษ์ผ่าคลอด 2567 ฤกษ์ดีปีมังกรทอง วันไหนดี วันไหนมงคล มาดูฤกษ์ผ่าคลอดฟรี 2567 พยากรณ์โดย การะเกต์ ศรีปริญญาศิลป์ (การะเกต์พยากรณ์) มาดูฤกษ์ผ่าคลอดฟรีได้ที่นี่

แผลผ่าคลอดอักเสบ มีลักษณะและอาการอย่างไร


หากแผลผ่าคลอดอักเสบ อาการจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่าแผลผ่าคลอดอักเสบนั้น เกิดจากข้างใน หรือข้างนอก

แผลผ่าคลอดอักเสบข้างใน

กรณีที่แผลผ่าคลอดอักเสบจากข้างใน แน่นอนว่าคุณแม่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้จากปากแผล แต่จะสังเกตได้จากอาการโดยทั่วไป ดังนี้

  • มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง
  • มีเลือดออกทางช่องคลอด
  • วิงเวียนศีรษะ
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • มีไข้สูง
  • รู้สึกปวดเวลาปัสสาวะ
  • รู้สึกปวดท้องเวลาลำไส้เคลื่อนตัว
  • มีอาการท้องผูกอย่างรุนแรงหรือไม่สามารถขับถ่ายได้
  • จับหรือคลำดูพบก้อนนูนที่บริเวณท้องส่วนล่าง

แผลผ่าคลอดอักเสบข้างนอก

กรณีที่แผลผ่าคลอดอักเสบจากข้างนอก แบบนี้คุณแม่สามารถสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงของแผลและอาการต่าง ๆ โดยทั่วไปได้อย่างชัดเจน ดังนี้

  • แผลผ่าคลอดมีอาการบวม แดง
  • แผลผ่าคลอดมีเลือดหรือหนองไหลออกมา
  • สีเนื้อบริเวณแผลเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เทา หรือสีดำ จากปกติจะเป็นสีชมพูหรือสีผิวปกติ
  • แผลผ่าคลอดมีกลิ่นเหม็น
  • มีอาการปวดแผลผ่าคลอด

ทำอย่างไรเมื่อแผลผ่าคลอดปริ แผลผ่าคลอดอักเสบ

หากคุณแม่เริ่มแน่ใจว่ามีอาการแผลผ่าคลอดปริหรืออักเสบ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยทันทีนะคะ ถ้าหากปล่อยไว้อาจเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อรุนแรง และบาดแผลจะเริ่มแย่ลงเรื่อย ๆ  อาจเสี่ยงบาดทะยัก หรืออาจลุกลามจนกลายเป็นโรคเนื้อเน่าได้ค่ะ

แผลผ่าคลอดอักเสบกินยาอะไร

แม่ให้นมลูกที่มีอาการแผลผ่าคลอดอักเสบ ควรระมัดระวังหรือหลีกเลี่ยงการซื้อยามากินเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เนื่องจากตัวยาบางชนิดสามารถขับออกทางน้ำนม และมีผลต่อทารกที่กินนมแม่ได้ค่ะ

ยาทั่วไปที่ปลอดภัยสำหรับแม่ให้นมบุตรและทารกที่กินนมแม่ เช่น พาราเซตามอล ไอบูโพรเฟน ยาในกลุ่มเพนนิซิลลิน ยาคล็อกซาซิลิน (Cloxacillin) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษากับแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง

ดูแลอย่างไรให้แผลผ่าคลอดไม่ปริหรืออักเสบซ้ำ


คุณแม่สามารถดูแลแผลผ่าคลอด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแผลปริ แผลอักเสบซ้ำสองได้ ดังนี้

  • ล้างมือทุกครั้งก่อนสัมผัสกับแผล
  • นอกจากอุ้มลูกแล้ว คุณแม่ไม่ควรยกของหนักหรือออกแรงมากไปกว่านี้
  • หลีกเลี่ยงการขับรถถ้าไม่จำเป็น การนั่งนาน ๆ ขณะขับรถอาจทำให้เกิดการกระทบกระเทือน หรือแผลกดทับได้
  • ทำความสะอาดแผลเป็นประจำหรือตามแพทย์แนะนำ
  • ดูแลแผลให้แห้ง อย่าปล่อยให้อับชื้น
  • กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะโปรตีนที่มีส่วนช่วยซ่อมแซมร่างกายส่วนที่สึกหรอ ทำให้แผลหายเร็วขึ้น
  • ไม่สวมเสื้อผ้าที่รัดแน่นจนเกินไป
  • เปลี่ยนอริยาบถบ่อย ๆ ป้องกันแผลกดทับในกรณีที่อยู่ในท่าเดิมนาน ๆ
  • หลีกเลี่ยงการมีเซ็กซ์จนกว่าแผลจะหายดี
  • ไม่ขัด ไม่กด ไม่เกา พยายามหลีกเลี่ยงการกดหรือสัมผัสที่บริเวณแผลผ่าคลอดโดยไม่จำเป็น 

ไขข้อข้องใจเรื่องอาการแผลผ่าคลอดปริ แผลผ่าคลอดอักเสบกับ Enfa Smart Club


 แผลผ่าคลอดอักเสบข้างใน อาการ เป็นยังไง

อาการแผลผ่าคลอดอักเสบจากข้างใน มีอาการที่สังเกตได้ ดังนี้ 

  • มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง 
  • มีเลือดออกทางช่องคลอด 
  • วิงเวียนศีรษะ 
  • ความดันโลหิตต่ำ 
  • มีไข้สูง 
  • รู้สึกปวดเวลาปัสสาวะ 
  • รู้สึกปวดท้องเวลาลำไส้เคลื่อนตัว 
  • มีอาการท้องผูกอย่างรุนแรงหรือไม่สามารถขับถ่ายได้ 
  • จับหรือคลำดูพบก้อนนูนที่บริเวณท้องส่วนล่าง 

 แผลผ่าคลอดปริ รักษายังไง? 

แผลผ่าคลอดปริ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตัดชิ้นเนื้อส่วนที่เน่าหรือตายแล้วออก และทำการเย็บปิดแผลใหม่อีกครั้งหากจำเป็น โดยแพทย์อาจให้ยามากินด้วยในกรณีที่ต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ 

 แผลผ่าคลอดปริข้างใน ปล่อยไว้จะติดเองไหม? 

หากแผลปริ แผลอักเสบ หากปล่อยให้แผลปริและอักเสบต่อไปเรื่อย ๆ  เสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อรุนแรง เสี่ยงต่อบาดทะยัก เนื้อตาย หรือโรคเนื้อเน่าได้ 

ดังนั้น หากสังเกตว่ามีอาการแผลปริหรืออักเสบ คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุดนะคะ 



บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ผ่าคลอด

Help your growing baby develop in the eighth week of your pregnancy

Week 8 of pregnancy sees your growing baby’s first movements. Support both physical and mental development with proper nutrition.

What’s happening in Week 8 of my pregnancy?

By the end of this week, your developing baby could be around 11 to 14mm longi. Now called a fetus, your growing baby is continuing to get nourishment from the yolk sac as the placenta continues to develop.

The body continues to develop as well. Eyes, ears, lips, and nose are becoming obvious while the lungs are forming too. Your growing baby’s fingers will also begin to formii. While your little one’s body is starting to uncurl, his or her head is still very large in comparison to the rest of the bodyiii.

What can you expect in Week 8 of pregnancy?

Back pain, especially in the lower region, is a common symptom of pregnancy at this stage, due to hormonal changes and the strain of your growing bump. Manage the pain and enjoy your pregnancy further with these tips:

  • Reduce the stress on your back. Place a small pillow behind your lower back when you’re seated. When sleeping, lie on your side with a pillow between your knees.
  • Exercise. Stretches for your lower back may help to strengthen those muscles, but talk to your doctor about appropriate prenatal exercises.
  • Watch your posture. Because your center of gravity has shifted forward, you might be overcompensating as you lean back, which could strain your back even more. Practice good posture, choose chairs that support your back, and remember to wear comfortable footwear.iv

Please keep in mind that if the pain is severe, you should consult your doctor without delay.

What can I do to support my pregnancy in week 8?

Around this time neuron (brain cell) production begins.v The cerebral cortex of your growing baby’s brain is beginning to form,vi the brain area that will be responsible for advanced brain activity such as processing information, and cognitive functions like memory and motor skills. DHAvii is still one of your hero nutrients when it comes to supporting your growing baby’s brain development, so do keep up with your intake of it, along with an iron and folic acid supplement.

In addition, mothers can get these nutrients in a glass of milk scientifically formulated for pregnant women that contains DHA, choline, folic acid, calcium and protein at levels recommended by experts.

Your growing baby’s brain is also the center of language, emotions and memories – all important when it comes to his or her overall wellbeing. So when you boost your growing baby’s brain development with essential nutrients, remember that you are also supporting his or her emotional growth.

Be part of the Enfamama A+ Club today to access exclusive content about pregnancy, plus get FREE samples, vouchers and other amazing club benefits!

References:

i    Fetal development: The 1st trimester. (n.d.). Retrieved March 21, 2017, from    

 http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/pregnancy-week-by-week/in-d…

ii   Fetal development: The 1st trimester. (n.d.). Retrieved March 21, 2017, from

 http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/pregnancy-week-by-week/in-d…

Share information about your brand with your customers.

Reference Label
* นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก
Enfa Smart Club สนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่าง
เดียวอย่างน้อย 6 เดือนและให้นมแม่ควบคู่อาหารตามวัยอีก 2 ปี หรือนานกว่านั้น ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO)
Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

คุณกำลังเข้าถึงเนื้อหาจากผู้ให้บริการภายนอกเกี่ยวกับการซื้อหรือ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท มี้ด จอห์นสัน นิวทริชัน (ประเทศไทย) จำกัด​

กรุณากดยืนยันเพื่อดำเนินการต่อ

Line TH
Shopee TH Lazada TH Join Enfamama