Enfa สรุปให้
- แผลเย็บกี่วันหาย? แผลผ่าตัดคลอดจะใช้เวลาประมาณ 7-14 วันจึงจะเริ่มหายเป็นปกติ แต่ในบางกรณ๊อาจนานกว่านั้น ขึ้นอยู่กับสุขภาพของคุณแม่และการดูแลตนเองหลังผ่าคลอด
- ตัดไหมกี่วันโดนน้ำได้? โดยทั่วไปแล้วแผลผ่าคลอดจะต้องดูแลไม่ให้โดนน้ำอย่างน้อย 7 วัน หรือจนกว่าแพทย์จะนัดเปิดแผล หรือจนกว่าแผลจะแห้งสนิทกัน
- แผลเย็บต้องล้างแผลทุกวันไหม? ในช่วงแรกหากแพทย์ไม่ได้แนะนำให้ล้างแผล คุณแม่ก็ยังไม่จำเป็นต้องล้างแผล แต่หลังจากเปิดแผลแล้ว แพทย์อาจสั่งให้ดูแลล้างทำความสะอาดแผลเป็นประจำ

สำหรับคุณแม่ที่ผ่าคลอด จำเป็นที่จะต้องดูแลแผลให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อให้แผลผ่าคลอดหายเร็วขึ้น และไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม คุณแม่อาจมีคำถามที่สงสัยมากมายเกี่ยวกับแผลผ่าคลอด ไม่ว่าจะเป็นแผลเย็บกี่วันหาย? ตัดไหมกี่วันโดนน้ำได้? แผลเย็บต้องล้างแผลทุกวันไหม? บทความนี้จาก Enfa มีคำตอบพร้อมวิธีดูแลแผลเย็บหลังคลอดมากฝากค่ะ
แผลเย็บกี่วันหาย
แผลเย็บกี่วันหาย? แผลผ่าคลอดใช้เวลานานไหมกว่าจะหาย? โดยทั่วไปแล้วแผลผ่าคลอดจะเริ่มสมานตัวดีขึ้นหลังจากผ่าคลอดไปประมาณ 7 วัน แต่กว่าแผลจะหายดีและสมานตัวได้สนิท อาจจะใช้เวลาตั้งแต่ 7-14 วัน
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากคุณแม่แต่ละคนมีพื้นฐานสุขภาพแตกต่างกัน บางคนอาจหายเร็วกว่านั้น แต่บางคนอาจใช้ระยะเวลานานกว่านั้นกว่าที่แผลจะหายเป็นปกติ
มากไปกว่านั้น หากแผลผ่าคลอดของคุณแม่ไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้นเลย ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม
แผลเย็บต้องล้างแผลทุกวันไหม
แม่ผ่าคลอด ต้องล้างแผลเย็บทุกวันไหม? ปกติแล้วคุณแม่ไม่จำเป็นต้องทำการล้างแผลผ่าคลอด เพียงซับรอบ ๆ แผลผ่าคลอดให้แห้ง และระวังอย่าให้แผลผ่าคลอดโดนน้ำจนกว่าแพทย์จะนัดไปตรวจดูแผล
อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับวิธีการเย็บแผลและคำแนะนำของแพทย์ว่าควรจะต้องระมัดระวังและดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร หากแพทย์แปะพลาสเตอร์กันน้ำเอาไว้ คุณแม่จึงไม่จำเป็นต้องล้างแผล จนกว่าจะถึงวันที่แพทย์นัดเปิดแผล
แต่ถ้าหากไม่ได้มีการแปะพลาสเตอร์ใด ๆ ให้ คุณแม่ก็จะต้องดูแลความสะอาดของแผลตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด
การดูแลแผลเย็บ หลังผ่าคลอดด้วยตนเองที่บ้าน
วิธีล้างแผลเย็บ และวิธีดูแลแผลผ่าคลอดด้วยตัวเองที่บ้าน สามารถทำได้ ดังนี้
- ห้ามเปิดแผลเองโดยที่แพทย์ไม่ได้อนุญาต ต้องรอให้แพทย์วินิจฉัยเปิดแผลให้ก่อนเท่านั้น
- ห้ามไม่ให้แผลโดนน้ำ จนกว่าแผลจะแห้งติดกันสนิท ยกเว้นแพทย์ปิดแผลด้วยพลาสเตอร์กันน้ำให้
- ก่อนที่แพทย์นัดทำการเปิดแผล ห้ามถูสบู่ลงไปที่บริเวณแผลผ่าคลอด
- สวมกางเกง หรือกระโปรงที่ไม่รัดแผลแน่นจนเกินไป
- ไม่ออกแรงมากเกินไป เพราะเสี่ยงที่จะทำให้แผลปริแตก แผลแยก มีเลือดออกได้
ในระหว่างที่รอแพทย์นัดพบเพื่อเปิดแผล คุณแม่ควรดูแลและสังเกตบาดแผลให้ดี หากรู้สึกเจ็บแผลมากจนทนไม่ไหว มีหนอง มีเลือดซึม ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
แผลเย็บมีเลือดซึมกี่วัน
แผลผ่าคลอด แผลเย็บมีเลือดซึมกี่วัน? โดยทั่วไปแล้วแผลผ่าคลอดไม่ควรมีเลือดซึมออกมา หากคุณแม่พบว่ามีเลือดซึมออกมาที่แผลผ่าตัดคลอด ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพราะแผลอาจปริแยก หรือเกิดการติดเชื้อ จำเป็นจะต้องได้รับการตรวจรักษาจากแพทย์ หรืออาจต้องมีการเย็บแผลใหม่อีกครั้ง
แผลเย็บไม่ติด เกิดจาก
แผลผ่าคลอดไม่สมานตัว แผลเย็บไม่ติด เกิดจากหลายสาเหตุ ดังนี้
- คุณแม่ออกแรงเคลื่อนไหวมากเกินไป ทำให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อบาดแผล
- แผลผ่าคลอดอักเสบ หรือแผลผ่าตัดเกิดการติดเชื้อ
- การเย็บปิดแผลไม่ดี ทำให้แผลผ่าคลอดเกิดการปริ แตก หรือแผลเย็บไม่ติดได้
หากคุณแม่สังเกตว่าแผลผ่าคลอดมีอาการแผลแตก แผลปริ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการเย็บแผลใหม่ทันทีค่ะ
ตัดไหมช้าสุดกี่วัน
หากคุณแม่ได้รับการเย็บแผลด้วยไหมละลาย ไม่จำเป็นต้องไปตัดไหม แต่ถ้าหากไม่ได้เย็บปิดแผลด้วยไหมละลาย แพทย์จะนัดให้เข้าไปทำการตัดไหมหลังผ่าคลอดไปแล้ว 7-14 วัน
ตัดไหมกี่วันโดนน้ำได้
แผลผ่าคลอด ตัดไหมกี่วันโดนน้ำได้? กรณีนี้จะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ค่ะ แต่โดยทั่วไปแล้วหลังตัดไหม 1-2 วัน ก็สามารถอาบน้ำทำความสะอาดบริเวณแผลผ่าคลอดได้ค่ะ
เด็กผ่าคลอดเริ่มต้นดีต้องมีดีครบ 3: สมองดี ภูมิคุ้มกันดี สุขภาพลำไส้ดี
ทารกที่ผ่าคลอดจะไม่ได้รับจุลินทรีย์สุขภาพ (Gut Microbiome) จากบริเวณช่องคลอดของแม่ ซึ่งทำให้เด็กผ่าคลอดอาจมีพัฒนาการภูมิคุ้มกันแรกเกิด และสุขภาพลำไส้ช้ากว่าเด็กที่คลอดแบบธรรมชาติ ส่งผลให้มีโอกาสเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น
ดังนั้น เพื่อให้ลูกขับถ่ายดี มีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง และมีพัฒนาการทางสมองที่สมวัย ควรดูแลให้ทารกได้กินนมแม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ลูกน้อยได้รับ Commensal Microbiome ซึ่งเป็นดีเอ็นเอของกลุ่มจุลินทรีย์ชนิดดีที่อยู่รวมกัน เช่น บิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) และแลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) ที่พบในน้ำนมแม่ มีส่วนช่วยทำให้ผนังลำไส้แข็งแรง พัฒนาระบบทางเดินอาหาร ทำให้ลูกขับถ่ายดี เสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง นอกจากนี้ MFGM และ DHA ในนมแม่ยังมีส่วนช่วยเสริมสร้างพัฒนาการสมองในช่วงเริ่มต้นของชีวิต
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่หลังคลอด