โดยปกติแผลจะต้องเริ่มติดกันสนิทเมื่อคลอดผ่านไปแล้วประมาณหนึ่งสัปดาห์
แต่ถ้าเกินหนึ่งสัปดาห์แล้ว
แผลยังไม่เริ่มปิดสนิทอาจหมายถึงมีการติดเชื้อเกิดขึ้น
ซึ่งอาการแผลฝีเย็บติดเชื้อสามารถสังเกตได้จากอาการต่าง
ๆ ดังนี้
ไขข้อข้องใจเรื่องการดูแลแผลฝีเย็บกับ
Enfa Smart
Club
1. เดือนแล้ว
แผลฝีเย็บยังไม่หาย
คุณแม่ควรทำอย่างไร?
ปกติแล้วแผลฝีเย็บจะปิดสนิทเมื่อผ่านไปประมาณ
3-4 สัปดาห์
หากยังอยู่ในระยะเวลา 1
เดือน
ก็อาจจะเป็นเรื่องปกติ
เนื่องจากร่างกายคนเราไม่เหมือนกัน
บางคนแผลหายช้า
บางคนแผลหายเร็ว
แต่...ถ้าพ้น 1
เดือนไปแล้ว
และแผลยังไม่ปิดกันสนิท
หรือแย่ลง
ควรไปพบแพทย์ทันที
2.
แผลฝีเย็บนูน
กดแล้วเจ็บ
อันตรายไหม?
คุณแม่ควรทำอย่างไร?
แผลฝีเย็บนูน กดแล้วเจ็บ
อาจหมายถึงเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้น
คือมีก้อนเลือดคั่งอยู่ในแผลทำให้แผลนูนขึ้นมา
หรืออาจมีการติดเชื้อเกิดขึ้น
ไม่ควรจับ แกะ
หรือบีบที่แผลนั้นอีก
ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษา
3.
แผลฝีเย็บปริ
หรือฉีกขาด
แม่ควรทำยังไงดี?
หากแผลเย็บปริหรือฉีกขาด
ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาทันที
เพราะอาจเกิดการติดเชื้อหรืออักเสบของแผลเกิดขึ้น
4.
แผลฝีเย็บมีตุ่มหรือติ่งเนื้อ
แม่ควรทำยังไงดี?
แผลฝีเย็บควรจะเริ่มปิดกันเมื่อผ่านไป
3-5 วัน
และควรจะปิดกันสนิทเมื่อผ่านไปประมาณ
3-4 สัปดาห์
โดยไม่มีการปริหรือแยกออกจากกัน
ซึ่งถ้ามีตุ่มหรือติ่งเนื้อเกิดขึ้นอาจหมายถึงการติดเชื้อ
หรือการอักเสบ
ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย
5.
แผลฝีเย็บยังไม่สมาน
คุณแม่ควรนอนท่าไหน?
คุณแม่ควรนอนในท่าตะแคง
หรือนอนตะแคง
เพราะจะช่วยลดแรงกดทับต่อแผลฝีเย็บ
ช่วยให้แผลสมานตัวกันได้เร็วขึ้น
6.
แผลเย็บหลังคลอดไม่ติด
ไม่สมานตัว
คุณแม่ควรทำยังไงดี?
แผลฝีเย็บควรจะเริ่มปิดกันเมื่อผ่านไป
3-5 วัน
และควรจะปิดกันสนิทเมื่อผ่านไปประมาณ
3-4 สัปดาห์
หากพ้นระยะนี้ไปแล้วแต่แผลยังไม่ติดกันสนิท
ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษา
7.
แผลฝีเย็บที่เย็บด้วยไหมละลายจะหายในกี่วัน?
แผลฝีเย็บที่ใช้ไหมละลายในการเย็บ
แผลจะหายภายในระยะเวลาประมาณ
7 วัน
แต่อาจจะยังมีอาการปวดแผลต่อไปอีกประมาณ
2 สัปดาห์
8.
แม่ท้องผูก
แต่ไม่กล้าเบ่งอุจจาระแรง
กลัวแผลฝีเย็บฉีก
ควรทำยังไงดี?
แม่หลังคลอดควรกินอาหารที่ให้กากใยหรือไฟเบอร์สูง
เพื่อลดอาการท้องผูก
และลดการเบ่งอุจจาระเพราะเสี่ยงจะทำให้แผลฝีเย็บอักเสบหรือแผลฉีกได้
แต่สำหรับคุณแม่ที่มีอาการท้องผูกแล้ว
ควรดื่มน้ำมาก ๆ
เคลื่อนไหวร่างกายบ้าง
หรืออาจใช้ยาระบายอ่อน ๆ
ไม่ควรใช้ยาระบายขนานแรงเพราะทารกอาจจะได้รับยาระบายผ่านทางน้ำนมแม่
หรืออาจทำการสวนทวารเพื่อช่วยในการขับถ่าย
9.
การแช่น้ำอุ่นผสมด่างทับทิมช่วยบรรเทาอาการเจ็บแผลฝีเย็บได้จริงหรือ?
การแช่น้ำอุ่นมีส่วนช่วยบรรเทาอาการเจ็บแผลฝีเย็บได้
ทั้งยังทำให้รู้สึกสบายตัว
ลดอาการปวดเมื่อย
แต่การแช่น้ำอุ่นผสมด่างทับทิมนั้นไม่พบว่ามีผลวิจัยหรือผลการศึกษาที่เพียงพอจะรับรองว่ามีความแตกต่างไปจากการแช่น้ำอุ่นเพียงอย่างเดียวอย่างไร
หรืออาจจะทำให้แผลแย่ลงในกรณีที่แม่บางท่านอาจจะมีอาการแพ้ด่างทับทิม
อีกทั้งการสัมผัสกับด่างทับทิมยังอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังได้อีกด้วย
การแช่แค่เพียงน้ำอุ่นอย่างเดียวก็เพียงพอแล้ว
10.
แผลฝีเย็บทาเบตาดีนได้ไหม?
การรักษาความสะอาดแผลฝีเย็บนั้นเป็นเรื่องสำคัญ
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อเกิดขึ้น
โดยสามารถใช้น้ำยาทำความสะอาดแผลฆ่าเชื้อรอบแผล
เช่น เบตาดีน ได้
แต่ทั้งนี้ควรสอบถามถึงการดูแลรักษาความสะอาดแผลฝีเย็บโดยตรงจะดีที่สุด
เพื่อความมั่นใจในการรักษาความสะอาดของแผล
11.
แสบแผลฝีเย็บเวลาฉี่
แบบนี้ปกติหรือไม่?
ในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด
การเคลื่อนไหวร่างกาย
การลุก การนั่ง
การขับถ่าย
หรือการปัสสาวะ
อาจส่งผลให้รู้สึกเจ็บหรือแสบแผลบ้างเล็กน้อย
แต่เมื่อผ่านไปแล้ว 2-4
สัปดาห์
และยังมีอาการแสบแผลฝีเย็บอยู่
ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษา
เพราะแผลอาจเกิดการติดเชื้อหรือแผลยังปิดไม่สนิท
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่