Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
การตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลามหัศจรรย์ของแม่ทุกคน เพราะมาพร้อมการเปลี่ยนแปลงมากมายในร่างกายทั้งภายนอกและภายใน นอกจากคุณแม่จะมีท้องที่โตขึ้นเรื่อย ๆ แล้ว เต้านมของคุณแม่ก็จะเริ่มขยายใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับการผลิตน้ำนมสำหรับลูกน้อยด้วยเช่นกัน เต้านมมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการเลี้ยงดูทารกหลังคลอด เพราะเป็นแหล่งอาหารสำคัญสำหรับทารก
อย่างไรก็ตามด้วยสรีระและสุขภาพของคุณแม่แต่ละคนไม่เหมือนกัน คุณแม่บางคนอาจพบว่าเต้านมไม่มีอาการคัดตึงหรือขยายตัวแม้ว่าเป็นช่วงท้องแก่หรือใกล้คลอด ทำให้เกิดความกังวลใจตามมาว่าเต้านมไม่คัดทำไงดี ท้อง 8 เดือนไม่คัดเต้า หลังคลอดไม่คัดเต้า จะมีน้ำนมพอให้ลูกกินไหม วันนี้ Enfa จะพาคุณแม่มาหาคำตอบกันค่ะ
เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์เข้าสู่เดือนที่ 8 คุณแม่จะเริ่มมีอาการคัดเต้าหรือเต้านมขยายใหญ่ เพราะร่างกายคุณมีแม่ฮอร์โมนสำคัญที่มีผลต่อการผลิตน้ำนมคือ ฮอร์โมนโปรแลคติน (Prolactin) ซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นการสร้างน้ำนม และฮอร์โมนออกซิโทซิน (Oxytocin) ซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นการหลั่งน้ำนมในระยะสัปดาห์แรกหลังคลอด ทำให้คุณแม่บางคนเริ่มมีการคัดเต้าตั้งแต่ตั้งครรภ์ไปจนถึงหลังคลอด
สำหรับคุณแม่บางคนที่ท้อง 8 เดือน ไม่คัดเต้าเลย ไม่ได้เป็นเรื่องผิดปกติแต่อย่างใดค่ะ เพราะสรีระร่างกายคนเราไม่เหมือนกัน คุณแม่ตั้งครรภ์เองก็มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายขณะตั้งครรภ์ไม่เหมือนกัน คุณแม่บางคนอาจจะเริ่มคัดเต้าตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ไตรมาสแรก บางคนไม่มีอาการคัดเต้าเลยจนกระทั่งคลอดหรือหลังคลอดก็มี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ระดับฮอร์โมนในร่างกายไม่สูงพอในช่วงนั้น หรือคุณแม่มีความเครียดวิตกกังวลมากเกินไป เช่น กังวลเรื่องการคลอด กังวลเรื่องการลางานไปคลอด กังวลว่าจะมีน้ำนมพอให้ลูกกินไหม จนส่งผลกระทบต่อร่างกาย
ปกติแล้วเมื่อคุณแม่ใกล้คลอดจะมีอาการคัดเต้านม บางคนเริ่มมีน้ำนมไหล หากเป็นเช่นนั้นคุณแม่สบายใจได้ว่ามีน้ำนมเพียงพอแน่ ๆ แต่ยังมีคุณแม่หลายคนที่มีปัญหาเรื่องหลังคลอดไม่คัดเต้าอีกด้วย ซึ่งการที่หลังคลอดไม่คัดเต้านั้นเกิดจากหลายสาเหตุที่ทำให้เต้านมไม่เตรียมพร้อมผลิตน้ำนม ดังนี้
หากคุณแม่หลังคลอดไม่คัดเต้าเลย น้ำนมน้อยไม่พอให้ลูกกิน อาจต้องปรับท่าให้นมให้ลูกเข้าเต้าถูกวิธีเพื่อจะได้ช่วยดูดกระตุ้นน้ำนมแม่ รวมถึงนวดกระตุ้นน้ำนมหรือปั๊มกระตุ้นน้ำนมเพิ่ม รวมถึงการพิจารณาให้ยาบำรุงน้ำนมซึ่งควรอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์
หลังคลอดลูกสัปดาห์แรกเต้านมคุณแม่จะเริ่มคัดตึงและเริ่มมีน้ำนมไหลออกมา แต่หากพบว่าภายในสัปดาห์แรกหลังคลอดเต้าไม่คัดเลยยังถือว่าเป็นภาวะปกติ เนื่องจากโดยปกติแล้วน้ำนมจะเริ่มสร้างเต็มที่ใช้เวลาประมาณ 2-7 วัน ซึ่งแตกต่างกันในคุณแม่แต่ละคน อีกทั้งในช่วงสัปดาห์แรกทารกยังไม่ต้องการกินนมมากนัก
หากพบภายในสัปดาห์แรกหลังคลอดถือว่าเป็นภาวะปกติ เนื่องจากน้ำนมจะเริ่มสร้างเต็มที่ใช้เวลาประมาณ 2 – 7 วันแตกต่างกันในแต่ละคน และในช่วงนี้ทารกยังไม่ต้องการปริมาณน้ำนมมากนักนอกจากต้องการเพียงน้ำนมเหลือง (Colostrum) หรือน้ำนมแม่ในช่วงแรกซึ่งถูกสร้างขึ้นเพียงช่วง 1-3 วันแรกหลังคลอดในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น แต่หากพบว่าน้ำนมน้อยลงหรือเต้าไม่คัดเลยหลังจากนั้น อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งมีหลายวิธีที่จะช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำนมได้ คือ
การนวดเต้าหลังคลอดนอกจากช่วยกระตุ้นน้ำนมแล้ว ยังช่วยให้คุณแม่ผ่อนคลายและลดการอักเสบของเต้านมได้ด้วย โดยวิธีนวดเต้านมหลังคลอดทำได้ดังนี้
การนวดเต้านมคุณแม่สามารถทำได้ด้วยตนเอง หรือสามารถขอรับบริการนวดเต้านมที่สถานพยาบาลที่มีบริการนวดเต้าหลังคลอดสำหรับคุณแม่ได้ด้วย อย่างไรก็ดี ขณะนวดเต้าคุณแม่ไม่จำเป็นต้องรีบร้อนหรือรุนแรง ควรผ่อนคลายให้มาก เพื่อช่วยให้ร่างกายกระตุ้นการผลิตน้ำนมมากขึ้น
น้ำนมที่ร่างกายผลิตขึ้นในระยะ 1-3 วันแรกหลังคลอด เรียกว่า “น้ำนมเหลือง” (Colostrum) ถือเป็นน้ำนมส่วนที่ดีที่สุด เพราะมีภูมิคุ้มกันสูง เปรียบเสมือนวัคซีนธรรมชาติจากอกแม่ รวมทั้งมี “แลคโตเฟอร์ริน” สารอาหารสำคัญในนมน้ำเหลือง ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน และลดความเสี่ยงในการเจ็บป่วย
นอกจากนี้ น้ำนมแม่ยังช่วยในการย่อยอาหารและดูดซึมสารอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และช่วยสร้างความผูกพันระหว่างแม่และลูกด้วย
Enfa สรุปให้ Latch Score คือระบบการประเมินการให้นมแม่ที่เพื่อช่วยวัดและติดตามประ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ อาการคัดเต้าเป็นก้อน ปั๊มไม่ออก มักเกิดจากการปล่อยน้ำนมค้างเต้าเป็นเวลานาน ลูกดูดไม...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ท้อง 8 เดือนเต้าไม่คัด หรือหลังคลอดเต้าไม่คัด ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ พ...
อ่านต่อ