นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เอนฟาสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนไปจนถึง 2 ปี หรือนานกว่าตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

เต้าไม่คัดทำไงดี ? วิธีดูแลเต้านมช่วงตั้งครรภ์และหลังคลอด

Enfa สรุปให้

  • ท้อง 8 เดือนเต้าไม่คัด หรือหลังคลอดเต้าไม่คัด ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ พบได้ในคุณแม่หลายคน โดยมักมีสาเหตุมาจากฮอร์โมนและความเครียดวิตกกังวล
  • หากหลังคลอดไม่คัดเต้า ควรให้ลูกรีบดูดกระตุ้น หรือใช้เครื่องปั๊มนมช่วยกระตุ้น
  • การนวดกระตุ้นเป็นอีกวิธีกระตุ้นน้ำนมที่ได้ผลดี โดยคุณแม่สามารถทได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องใช้อุปกรณ์มากมาย

เลือกอ่านตามหัวข้อ

การตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลามหัศจรรย์ของแม่ทุกคน เพราะมาพร้อมการเปลี่ยนแปลงมากมายในร่างกายทั้งภายนอกและภายใน นอกจากคุณแม่จะมีท้องที่โตขึ้นเรื่อย ๆ แล้ว เต้านมของคุณแม่ก็จะเริ่มขยายใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับการผลิตน้ำนมสำหรับลูกน้อยด้วยเช่นกัน เต้านมมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการเลี้ยงดูทารกหลังคลอด เพราะเป็นแหล่งอาหารสำคัญสำหรับทารก

อย่างไรก็ตามด้วยสรีระและสุขภาพของคุณแม่แต่ละคนไม่เหมือนกัน คุณแม่บางคนอาจพบว่าเต้านมไม่มีอาการคัดตึงหรือขยายตัวแม้ว่าเป็นช่วงท้องแก่หรือใกล้คลอด ทำให้เกิดความกังวลใจตามมาว่าเต้านมไม่คัดทำไงดี ท้อง 8 เดือนไม่คัดเต้า หลังคลอดไม่คัดเต้า จะมีน้ำนมพอให้ลูกกินไหม วันนี้ Enfa จะพาคุณแม่มาหาคำตอบกันค่ะ

 

ท้อง 8 เดือน ไม่คัดเต้า ผิดปกติไหม

เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์เข้าสู่เดือนที่ 8 คุณแม่จะเริ่มมีอาการคัดเต้าหรือเต้านมขยายใหญ่ เพราะร่างกายคุณมีแม่ฮอร์โมนสำคัญที่มีผลต่อการผลิตน้ำนมคือ ฮอร์โมนโปรแลคติน (Prolactin) ซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นการสร้างน้ำนม และฮอร์โมนออกซิโทซิน (Oxytocin) ซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นการหลั่งน้ำนมในระยะสัปดาห์แรกหลังคลอด ทำให้คุณแม่บางคนเริ่มมีการคัดเต้าตั้งแต่ตั้งครรภ์ไปจนถึงหลังคลอด

สำหรับคุณแม่บางคนที่ท้อง 8 เดือน ไม่คัดเต้าเลย ไม่ได้เป็นเรื่องผิดปกติแต่อย่างใดค่ะ เพราะสรีระร่างกายคนเราไม่เหมือนกัน คุณแม่ตั้งครรภ์เองก็มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายขณะตั้งครรภ์ไม่เหมือนกัน คุณแม่บางคนอาจจะเริ่มคัดเต้าตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ไตรมาสแรก บางคนไม่มีอาการคัดเต้าเลยจนกระทั่งคลอดหรือหลังคลอดก็มี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ระดับฮอร์โมนในร่างกายไม่สูงพอในช่วงนั้น หรือคุณแม่มีความเครียดวิตกกังวลมากเกินไป เช่น กังวลเรื่องการคลอด กังวลเรื่องการลางานไปคลอด กังวลว่าจะมีน้ำนมพอให้ลูกกินไหม จนส่งผลกระทบต่อร่างกาย

 

หลังคลอดไม่คัดเต้า เกิดจากอะไร

ปกติแล้วเมื่อคุณแม่ใกล้คลอดจะมีอาการคัดเต้านม บางคนเริ่มมีน้ำนมไหล หากเป็นเช่นนั้นคุณแม่สบายใจได้ว่ามีน้ำนมเพียงพอแน่ ๆ แต่ยังมีคุณแม่หลายคนที่มีปัญหาเรื่องหลังคลอดไม่คัดเต้าอีกด้วย ซึ่งการที่หลังคลอดไม่คัดเต้านั้นเกิดจากหลายสาเหตุที่ทำให้เต้านมไม่เตรียมพร้อมผลิตน้ำนม ดังนี้

  • การกระตุ้นเต้านมไม่เพียงพอ ทำให้ไม่มีการหลั่งฮอร์โมนโปรแลคตินเพื่อกระตุ้นให้มีการสร้างน้ำนม และหลั่งฮอร์โมนออกซิโทซินเพื่อมากระตุ้นให้เกิดการหลั่งของน้ำนม คุณแม่ควรให้ลูกน้อยเข้าเต้าดูดนมอย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ ดูดจนน้ำนมเกลี้ยงเต้า เพื่อกระตุ้นการผลิตน้ำนมใหม่
  • ลูกดูดนมได้น้อย หรือเข้าเต้าไม่ถูกวิธี เป็นสาเหตุทำให้มีน้ำนมคั่งค้างในเต้านม ทำให้ไม่มีการหลั่งของฮอร์โมนโปรแลคตินเพื่อสร้างน้ำนมเพิ่ม ส่งผลทำให้ปริมาณน้ำนมลดลง
  • คุณแม่มีภาวะเครียด วิตกกังวล พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือมีอาการปวดขณะให้นมลูก ทั้งเกิดอาการปวดแผลที่หัวนม ปวดแผลผ่าตัด เป็นต้น ทำให้ไปยับยั้งการหลั่งของฮอร์โมนออกซิโทซิน ส่งผลให้ไม่เกิดการหลั่งของน้ำนม
  • สาเหตุอื่นๆ เช่น ดื่มน้ำน้อยเกินไป ไม่ได้นวดกระตุ้นน้ำนม เป็นต้น

หากคุณแม่หลังคลอดไม่คัดเต้าเลย น้ำนมน้อยไม่พอให้ลูกกิน อาจต้องปรับท่าให้นมให้ลูกเข้าเต้าถูกวิธีเพื่อจะได้ช่วยดูดกระตุ้นน้ำนมแม่ รวมถึงนวดกระตุ้นน้ำนมหรือปั๊มกระตุ้นน้ำนมเพิ่ม รวมถึงการพิจารณาให้ยาบำรุงน้ำนมซึ่งควรอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์

เต้าไม่คัดทําไงดี

หลังคลอดลูกสัปดาห์แรกเต้านมคุณแม่จะเริ่มคัดตึงและเริ่มมีน้ำนมไหลออกมา แต่หากพบว่าภายในสัปดาห์แรกหลังคลอดเต้าไม่คัดเลยยังถือว่าเป็นภาวะปกติ เนื่องจากโดยปกติแล้วน้ำนมจะเริ่มสร้างเต็มที่ใช้เวลาประมาณ 2-7 วัน ซึ่งแตกต่างกันในคุณแม่แต่ละคน อีกทั้งในช่วงสัปดาห์แรกทารกยังไม่ต้องการกินนมมากนัก

หากพบภายในสัปดาห์แรกหลังคลอดถือว่าเป็นภาวะปกติ เนื่องจากน้ำนมจะเริ่มสร้างเต็มที่ใช้เวลาประมาณ 2 – 7 วันแตกต่างกันในแต่ละคน และในช่วงนี้ทารกยังไม่ต้องการปริมาณน้ำนมมากนักนอกจากต้องการเพียงน้ำนมเหลือง (Colostrum) หรือน้ำนมแม่ในช่วงแรกซึ่งถูกสร้างขึ้นเพียงช่วง 1-3 วันแรกหลังคลอดในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น แต่หากพบว่าน้ำนมน้อยลงหรือเต้าไม่คัดเลยหลังจากนั้น อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งมีหลายวิธีที่จะช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำนมได้ คือ

  1. ให้ลูกกินนมแม่ให้เร็วที่สุด โดยเฉพาะหลังคลอด เพื่อให้ลูกได้รับน้ำนมเหลืองที่ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และเพื่อให้ทารกคุ้นชินกับนมแม่
  2. ให้นมลูกบ่อย ๆ ทุก 2-3 ชั่วโมง ประมาณ 8-12 ครั้งต่อวัน เพื่อกระตุ้นให้เต้านมผลิตน้ำนมมากขี้น
  3. ให้นมให้ถูกวิธี คุณแม่ควรดูให้แน่ใจว่าลูกดูดนมและกลืนนมได้จริง เพราะหากทารกงับหัวนมไม่ได้ คุณแม่หัวนมสั้น หรือดูดนมผิดท่า อาจทำให้ทารกให้รับนมแม่ไม่เพียงพอ
  4. ให้นมทั้งสองข้าง เพื่อให้เกิดสมดุลในรอบน้ำนมต่อไป กระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำนมทั้งสองเต้า
  5. ปั๊มกระตุ้นร่วมกับการให้นมลูก กรณีใช้เครื่องปั๊มนมหรือบีบมือ คุณแม่ไม่ควรใจร้อนและไม่ใช้แรงบีบมากไป จะทำให้เกิดแผลที่หัวนมได้ ควรปั๊มให้สม่ำเสมอเหมือนรอบการให้นมลูก โดยช่วงแรกอาจไม่มีน้ำนมออกมาเลยก็ได้ แต่ไม่ต้องกังวลใจไป เดี๋ยวร่างกายจะเริ่มรับรู้ความต้องการแล้วเริ่มผลิตน้ำนมเพิ่มขึ้นเอง
  6. นวดเต้านม โดยอาจประคบร้อนก่อนนวด นอกจากช่วยให้ผ่อนคลายแล้วยังช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดและกระตุ้นการผลิตน้ำนมด้วย
  7. ใช้ยาช่วยกระตุ้นน้ำนม กรณีนี้ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์หรือเภสัชกรเท่านั้น ไม่ควรซื้อยามากินเองเด็ดขาด
  8. กินอาหารบำรุงน้ำนม เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำนมและเพื่อให้คุณแม่หลังคลอดฟื้นตัวเร็วขึ้น คุณแม่ควรกินอาหารหลัก 5 หมู่ที่ถูกสุขอนามัย และดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ โดยต้องไม่ลืมว่าอาหารที่คุณแม่กินจะถูกส่งต่อไปยังลูกน้อยผ่านทางน้ำนมด้วย
  9. งดสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ เพราะนอกจากช่วยให้ปริมาณน้ำนมลดลงแล้ว ยังไม่ดีต่อสุขภาพคุณแม่และมีผลต่อลูกด้วย
  10. พักผ่อนให้เพียงพอ และผ่อนคลายความตึงเครียด

 

วิธีนวดเต้าหลังคลอด

การนวดเต้าหลังคลอดนอกจากช่วยกระตุ้นน้ำนมแล้ว ยังช่วยให้คุณแม่ผ่อนคลายและลดการอักเสบของเต้านมได้ด้วย โดยวิธีนวดเต้านมหลังคลอดทำได้ดังนี้

  1. ล้างมือให้สะอาด
  2. ใช้ปลายนิ้วกดเบา ๆ บริเวณเต้านม เริ่มจากบริเวณรอบนอกแล้วทำการนวดเป็นวงกลมเข้าหาด้านใน
  3. นวดเป็นประจำก่อนให้นมลูกทุกครั้ง โดยนวดประมาณ 10-15 นาที/ ข้าง/ วัน
  4. อาจใช้ผ้าอุ่นหรือถุงน้ำร้อนหรืออุปกรณ์ช่วยประคบเต้านม เพื่อช่วยให้คุณแม่ผ่อนคลายและกระตุ้นการไหลของน้ำนม

การนวดเต้านมคุณแม่สามารถทำได้ด้วยตนเอง หรือสามารถขอรับบริการนวดเต้านมที่สถานพยาบาลที่มีบริการนวดเต้าหลังคลอดสำหรับคุณแม่ได้ด้วย อย่างไรก็ดี ขณะนวดเต้าคุณแม่ไม่จำเป็นต้องรีบร้อนหรือรุนแรง ควรผ่อนคลายให้มาก เพื่อช่วยให้ร่างกายกระตุ้นการผลิตน้ำนมมากขึ้น

 

"นมแม่" อาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูก โดยเฉพาะ "น้ำนมเหลือง" ที่มีแลคโตเฟอร์ริน

น้ำนมที่ร่างกายผลิตขึ้นในระยะ 1-3 วันแรกหลังคลอด เรียกว่า “น้ำนมเหลือง” (Colostrum) ถือเป็นน้ำนมส่วนที่ดีที่สุด เพราะมีภูมิคุ้มกันสูง เปรียบเสมือนวัคซีนธรรมชาติจากอกแม่ รวมทั้งมี “แลคโตเฟอร์ริน” สารอาหารสำคัญในนมน้ำเหลือง ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน และลดความเสี่ยงในการเจ็บป่วย

  • ต้านเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา
  • กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ลดโอกาสการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ
  • ส่งเสริมสุขภาพทางเดินอาหาร ด้วยการเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์สุขภาพ และทำให้ผนังลำไส้แข็งแรง ลดโอกาสการเกิดท้องเสีย

นอกจากนี้ น้ำนมแม่ยังช่วยในการย่อยอาหารและดูดซึมสารอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างความผูกพันระหว่างแม่และลูกด้วย
 


  • Baby Center. How to handle breast engorgement. [online]. Accessed https://www.babycenter.com/baby/breastfeeding/engorged-breasts_231. [18 October 2024].
  • Pregnancy, Birth and Baby. Breast engorgement. [online]. Accessed https://www.pregnancybirthbaby.org.au/breast-engorgement. [18 October 2024].
  • คลินิกสุขภาพหญิง มหาวิทยาลัยมหิดล. เต้านมคัด อาการที่คุณแม่มือใหม่ไม่ควรมองข้าม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://pt.mahidol.ac.th/ptcenter/knowledge-article/breast-engorgement/. [18 ตุลาคม 2567].
  • คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. เต้านมในระหว่างตั้งครรภ์ (ตอนที่ 1). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.si.mahidol.ac.th/Th/healthdetail.asp?aid=372. [18 ตุลาคม 2567].
  • ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่องการดูแลสตรีตั้งครรภ์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก www.rtcog.or.th/files/1674635976_6d73979546c171367a41.pdf. [18 ตุลาคม 2567].
  • ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  (Breastfeeding). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lessons/breastfeeding/. [18 ตุลาคม 2567].

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่และลูกน้อย

* นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก
Enfa Smart Club สนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่าง
เดียวอย่างน้อย 6 เดือนและให้นมแม่ควบคู่อาหารตามวัยอีก 2 ปี หรือนานกว่านั้น ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO)
Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

คุณกำลังเข้าถึงเนื้อหาจากผู้ให้บริการภายนอกเกี่ยวกับการซื้อหรือ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท มี้ด จอห์นสัน นิวทริชัน (ประเทศไทย) จำกัด​

กรุณากดยืนยันเพื่อดำเนินการต่อ

Line TH
Shopee TH Lazada TH Join Enfamama