Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
อาการคัดเต้าเป็นก้อน หรือเต้านมคัดตึงเป็นก้อนแข็ง เป็นภาวะปกที่เกิดขึ้นได้ในเพศหญิง เช่น ช่วงก่อนมีประจำเดือน แต่สำหรับคุณแม่หรือว่าที่คุณแม่นั้นอาจพบอาการคัดเต้ารุนแรงกว่าตอนยังไม่ตั้งครรภ์ เนื่องจากเต้านมผลิตน้ำนมเตรียมพร้อมให้นมบุตร หากไม่ได้ให้นมลูกหรือไม่ได้ปั๊มออก อาจเกิดอาการคัดเต้า เต้าอักเสบ ท่อน้ำนมตันได้ ในบทความนี้ Enfa จะพาคุณแม่มาไขข้อข้องใจอาการคัดเต้าเป็นก้อน ปั๊มไม่ออกกันค่ะว่าเป็นอย่างไร
อาการคัดเต้า เต้าเป็นก้อน ปั๊มไม่ออก คือ อาการที่เต้านมมีความแข็ง ตึง หรือปวด อันเนื่องมาจากการสะสมของน้ำนมหรือการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อในเต้านม อาการนี้สามารถเกิดได้ในหลายสถานการณ์ เช่น หลังคลอด การหยุดให้นม หรือจากฮอร์โมนผิดปกติ
ลักษณะอาการคัดเต้าเป็นก้อนที่พบได้บ่อย คือ เต้านมแข็งกว่าปกติ โดยเฉพาะบริเวณลานนมหรือหัวนม มีอาการปวดหรือตึงที่เต้านม รู้สึกปวดหน่วงที่บริเวณเต้านม เต้านมอาจดูบวมแข็งหรือมีอาการแดงเหมือนอักเสบ บางรายอาจมีไข้ร่วมด้วย ในคุณแม่ให้นมบุตรหัวนมอาจแข็งตึงมากกว่าปกติ ทำให้ทารกดูดนมได้ยาก
สาเหตุของของอาการเต้านมคัดเป็นก้อน อาจเกิดจากการที่เต้านมผลิตน้ำนมเพิ่มขึ้นและมีการสะสมของน้ำนมทำให้ท่อน้ำนมอุดตัน หรืออาจเกิดจากฮอร์โมนผิดปกติ ซึ่งอาการเต้านมคัดยังเป็นภาวะที่เกิดขึ้นในผู้หญิงทั่วไปไม่ใช่เฉพาะคุณแม่ให้นมเท่านั้น ดังนั้น อาจแยกสาเหตุได้ 2 ประเภท ดังนี้
อาการเต้าแข็งเป็นก้อนเจ็บในคุณแม่หลังคลอดนั้น มักมีสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการสะสมของน้ำนมในเต้านม โดยเฉพาะเมื่อทารกดูดนมไม่เกลี้ยง หรือท่อน้ำนมอุดตัน ทำให้เกิดก้อนแข็งในเต้านม มีอาการเจ็บและตึง ปวดบวม อักเสบ และคุณแม่อาจมีไข้ร่วมด้วย
ส่วนอาการเต้าแข็งเป็นก้อนในผู้หญิงที่ไม่มีลูกนั้น มักมีสาเหตุมาจากระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง เช่น ก่อนมีประจำเดือน แต่กรณีนี้จะมีอาการเต้าคัดตึงไม่มาก ไม่มีอาการปวดหรือเจ็บบวมแดง และเป็นไม่นานก็หายไป แต่หากมีอาการเต้าแข็งเป็นก่อนเจ็บรุนแรง ทั้งที่ไม่มีลูก เต้านมไม่มีการผลิตน้ำนม อาจเกิดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อในเต้านม รวมถึงการมีซีสต์หรือก้อนเนื้อ ควรไปพบแพทย์
สำหรับคุณแม่หลังคลอด 2-3 วัน จะมีฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการผลิตน้ำนมมากขึ้น หากไม่สามารถระบายน้ำนมออกด้วยการให้ลูกดูดให้เกลี้ยงเต้าหรือปั๊มออก จะทำให้เกิดน้ำนมค้างเต้าเป็นเวลานาน ทำให้เกิดอาการเต้าแข็งเป็นก้อน คัดเต้าเป็นก้อน และเจ็บ นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่น ๆ เช่น
เพื่อป้องกันการเกิดภาวะเต้านมคัด ท่อน้ำนมอุดตัน ที่อาจนำไปสู่ภาวะเต้านมอักเสบและเต้านมเป็นฝี คุณแม่ควรให้ลูกดูดนมเข้าเต้าอย่างถูกวิธีและให้ลูกดูดนมให้เกลี้ยงเต้า หากไม่เกลี้ยงเต้าคุณแม่สามารถปั๊มนมออกหลังจากลูกดูดเสร็จหรือใช้มือบีบออกจนเกลี้ยงเต้า และควรปั๊มนมออกทุก 3 ชั่วโมง
นอกจากนี้ คุณแม่ควรผ่อนคลายความเครียดหรือวิตกกังวล พักผ่อนให้เพียงพอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำมาก ๆ และไม่สวมเสื้อชั้นในรัดแน่นเกินไป
เมื่อคุณแม่มีอาการเต้านมคัดเป็นก้อนแล้วไม่ได้รับการแก้ไขและปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน น้ำนมจะข้นมากขึ้นทำให้ไปอุดตันท่อน้ำนมบางส่วน เมื่อท่อน้ำนมอุดตันน้ำนมที่สร้างขึ้นมาใหม่ก็ไม่สามารถระบายออกได้ ทำให้เกิดเป็นก้อนแข็งที่เต้านม กดเจ็บแต่ไม่อักเสบ อาการลักษณะนี้คือ ท่อน้ำนมอุดตัน
เมื่อท่อน้ำนมอุดตันแล้วยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกวิธีอาจนำไปสู่ภาวะเต้านมอักเสบ ทำให้มีอาการอักเสบ ปวด บวมแดง เป็นก้อนแข็ง กดเจ็บ และอาจมีไข้ร่วมด้วย
เมื่อเต้านมอักเสบแล้วยังปล่อยทิ้งไว้ ภาวะอักเสบดังกล่าวจะเกิดเป็นฝีหนองภายในได้ เรียกว่า เต้านมเป็นฝี กรณีนี้ต้องไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อเจาะระบายหนองออก โดยที่คุณแม่ยังสามารถให้นมลูกจากเต้าข้างที่เป็นฝีได้ ยกเว้นมีอาการเจ็บมาก อย่างไรก็ตามถึงแม้จะเจ็บจนให้นมลูกไม่ได้ ก็ควรบีบน้ำนมออกไม่ให้คั่งค้างจนเกิดการอักเสบอีก
อาการเต้าแข็งเป็นก้อน แต่ไม่เจ็บ อาจเกิดจากหลายสาเหตุ โดยลักษณะนี้ส่วนใหญ่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการอักเสบหรือการติดเชื้อที่มีอาการปวดร่วมด้วย แต่ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีภาวะที่เป็นอันตรายซ่อนอยู่ โดยควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัด ทั้งนี้ มีหลายสาเหตุที่พบได้บ่อย เช่น
หากมีภาวะเหล่านี้ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กให้แน่ใจ ซึ่งวิธีการตรวจรักษาอาจทำได้โดยการตรวจเมมโมแกรม และอาจมีการเจาะตัวอย่างชิ้นเนื้อมาตรวจสอบ และติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง
เมื่อคุณแม่เกิดอาการเต้าแข็งเป็นก้อนเจ็บ วิธีแก้เบื้องต้นคือหากมีอาการอักเสบปวด แดง ร้อน ควรประคบเย็น แต่หากไม่มีอาการอักเสบสามารถประคบอุ่นที่บริเวณเต้านม โดยหลีกเลี่ยงบริเวณหัวนม ใช้เทคนิคกด บีบ ปล่อย (press-compress-relax technique) เต้านมช่วยในขณะที่ลูกน้อยเข้าเต้าดูดนม หรือขณะที่ปั๊มนมเพื่อช่วยระบายน้ำนมออกให้เกลี้ยงเต้า และควรปั๊มนมทุก 3 ชั่วโมงให้เกลี้ยงเต้า รวมถึงผ่อนคลายความตึงเครียด
หากคุณแม่มีอาการอักเสบมากคุณแม่ควรไปพบแพทย์หรือคลินิกนมแม่ โดยแพทย์อาจสั่งยาปฏิชีวนะให้รับประทาน ร่วมกับการใช้ยาบรรเทาอาการปวด โดยคุณแม่ยังสามารถทำการให้นมบุตรต่อได้แม้ว่ามีอาการเต้านมอักเสบ
ทั้งนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดเต้านมอักเสบซ้ำอีก คุณแม่ควรปฏิบัติดังนี้
ยาบรรเทาอาการท่อนมอุดตันที่นิยมกันคือ เลซิติน (Lecithin) ซึ่งเป็นสารที่ช่วยลดความหนืดของน้ำนม ทำให้น้ำนมไหลได้ดีขึ้น โดยคุณแม่สามารถรับประทานเลซิติน 1,200 มก. วันละ 1-2 ครั้ง และลดปริมาณลงเมื่ออาการดีขึ้นได้ ทั้งนี้ ต้องไม่หยุดให้นมลูกโดยเฉพาะข้างที่มีอาการท่อน้ำนมตัน เพราะการให้นมลูกหรือให้ลูกช่วยดูดกระตุ้น จะช่วยลดอาการท่อน้ำนมตันได้ดี
ในช่วง 1,000 วันแรกของลูก เป็นช่วงเวลาสำคัญมากต่อพัฒนาการทางสมองและสติปัญญา โดย 80% ของสมอง จะเติบโตสูงสุดในช่วง 2 ขวบปีแรก และ 90% จะเติบโตสูงสุดในช่วง 5 ปีแรก ด้วยเหตุนี้ โภชนาการในช่วง 1,000 วันแรกของลูกน้อย จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก
โภชนาการที่ดีจะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการสมองและการเรียนรู้ของลูกน้อย โดยคุณแม่สามารถเสริมสร้างโภชนาการที่ดีได้ด้วยการให้ลูกน้อยได้รับนมแม่ตั้งแต่ 6 เดือนแรก และให้นมแม่อย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับอาหารตามวัยจนอายุ 2 ปี
เพราะในนมแม่มีสารอาหารสำคัญอย่าง MFGM หรือเยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในนมแม่ ที่ประกอบด้วยโปรตีนและไขมันกว่า 150 ชนิด ไม่ว่าจะเป็น สฟิงโกไมอีลิน ฟอสโฟลิปิด แกลงกลิโอไซต์ ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างการทำงานของสมองให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว เพื่อ IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ปีแรก
Enfa สรุปให้ Latch Score คือระบบการประเมินการให้นมแม่ที่เพื่อช่วยวัดและติดตามประ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ อาการคัดเต้าเป็นก้อน ปั๊มไม่ออก มักเกิดจากการปล่อยน้ำนมค้างเต้าเป็นเวลานาน ลูกดูดไม...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ท้อง 8 เดือนเต้าไม่คัด หรือหลังคลอดเต้าไม่คัด ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ พ...
อ่านต่อ