ตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์
กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล
ระหว่างการให้นมแม่ ไม่มีอะไรจะเจ็บปวดเกินกว่าปัญหาหัวนมแตก เพราะจะเจ็บแบบแทงทะลุขั้วหัวใจแม่ได้เลยทีเดียว บรรดาคุณแม่ที่กำลังตั้งท้อง หรือเพิ่งคลอดลูกน้อย ควรหาทางป้องกันปัญหาก่อนดีกว่า จะได้ให้นมลูกอย่างมีความสุขกันนานๆ
หัวนมแตกคืออาการของหัวนมที่แตกและทำให้คุณแม่เจ็บปวดมาก ฉะนั้นคุณแม่ต้องเข้าใจก่อนเลยว่า สิ่งสำคัญที่สุดที่จะรักษาความเจ็บของหัวนมเราก็คือ “ต้องรู้ที่มาของความเจ็บ” นั่นก่อน
การให้ลูกดูดนมในท่าที่ไม่ถูกต้อง ลูกอ้าปากไม่กว้างพอ จึงอมแต่หัวนมแต่ไม่ลึกไปถึงลานนม ส่งผลให้ดูดแล้วไม่ได้น้ำนม ลูกจึงใช้เหงือกซึ่งข้างใต้นั้นคือฟันหันมาเคี้ยวหัวนมแทน
ท่าอุ้มให้นมไม่ถูกวิธี ไม่มีหมอนรองตัวลูก ลูกไม่ได้นอนตะแคงทั้งตัว
เต้านมคัดตึง ลานนมแข็ง
ลูกมีพังผืดใต้ลิ้นทำให้ไม่สามารถขยับลิ้นได้มาก เมื่อดูดนมแม่ลิ้นของลูกก็ไม่สามารถขยับให้เหมาะสมได้ ทำให้เกิดแผลที่หัวนม
ใช้เครื่องปั๊มไม่ถูกวิธี หรือขนาดของกรวยปั๊มไม่เหมาะสม
การถอนหัวนมออกจากปากลูกไม่ถูกวิธี
บางครั้งคุณแม่กังวลเรื่องความสะอาดมากแล้วใช้แอลกอฮอล์หรือสบู่ถูล้างหัวนมจนผิวแห้งแตกเป็นแผล ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุทำให้หัวนมเจ็บแตกได้เช่นกัน
ให้เอาผ้าชุบน้ำอุ่นมาประคบและนวดเต้านมเบาๆ เพื่อให้น้ำนมเริ่มไหลออกมา ถ้าลานนมตึง หรือแข็ง หรือเต้านมแม่คัด ให้บีบน้ำนมออกและหรือนวดลานนมให้นิ่มก่อนให้ลูกดูดนม
เริ่มให้ลูกดูดนมจากข้างที่เจ็บน้อยที่สุดก่อน ถ้าทั้งสองข้างเจ็บเหมือนกัน ให้เอาน้ำแข็งห่อผ้ามาประคบข้างที่เจ็บไว้ ความเย็นจะช่วยให้เกิดอาการชาๆ ลดอาการเจ็บได้
เมื่อเจ็บให้ย้ายข้างเต้านมก่อนทันที อย่าฝืน ลูกจะดูดข้างที่ไม่เจ็บได้อ่อนโยนกว่าข้างที่เจ็บ
เปลี่ยนท่าอุ้มหรือเปลี่ยนตำแหน่งลูกไม่ให้ดูดทับรอยแผลที่แตกเดิม
ให้ลูกดูดนมแม่ในท่าที่ถูกต้อง ควรจำไว้ว่าจมูก แก้ม และคางของลูกควรสัมผัสกับเต้านม ริมฝีปากทั้งด้านบนและด้านล่างของลูกควรแบะออกเหมือนปลา
ถ้าจำเป็นให้ลูกดูดนมบ่อยขึ้นทุก 1-2 ชั่วโมง และควรลดเวลาที่ดูดให้สั้นลงเหลือประมาณ 10-15 นาที หรือจนกว่าเต้านมจะนิ่ม
อุ้มลูกให้กระชับกับหน้าอกเพื่อไม่ให้เขาดึงหัวนม และอย่าลืมปลดแรงดูดของลูกออกก่อนที่จะเอาหัวนมออกจากปากลูก
ไม่ต้องล้างหัวนมก่อนให้ลูกดูดนม เพราะการล้างด้วยน้ำเปล่าบ่อยๆ จะทำให้ผิวแห้ง และไม่ใช้น้ำอุ่นหรือร้อนเช็ดทำความสะอาดหัวนม เพราะจะทำให้หัวนมแห้งและเสี่ยงจะเกิดอาการหัวนมแตกได้
หลังจากให้นมลูกทุกครั้ง บีบน้ำนมทาบนลานนมและหัวนมทั้งสองข้าง แล้วผึ่งลมให้แห้ง หรือทาครีมลาโนลีน (หาซื้อได้ที่ร้านขายยาทั่วไป หรือ แผนกเด็กอ่อนในห้างสรรพสินค้า) หรือวาสลินบางๆ เพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้หัวนมที่แตก โดยหากทาครีมลาโนลีนคุณแม่ไม่ต้องล้างออกก่อนให้นมลูกนะคะ ไม่แนะนำให้ใช้สบู่ ครีม หรือน้ำมันโดยเด็ดขาด อาจใช้ปทุมแก้วครอบหัวนมชั่วคราว เพื่อลดการระคายเคืองจากการสัมผัสกับเสื้อชั้นใน และหากคุณแม่ใช้แผ่นซับน้ำนม ให้เปลี่ยนทุกครั้งหลังการให้นม เพื่อให้หัวนมแห้งที่สุด
ถ้าเจ็บมาก ให้ลูกงดดูดนมแม่สัก 1-2 วัน และบีบน้ำนมทาแผล ผึ่งลมให้แห้ง และอาจกินยาพาราเซตามอล เพื่อลดอาการปวดได้ ระหว่างงด ให้คุณแม่บีบน้ำนมออกทุก 2-3 ชั่วโมง และป้อนนมลูกด้วยถ้วยหรือช้อนไปก่อน ไม่ควรให้ลูกดูดจากขวดนม เพราะจะทำให้เด็กเกิดความสับสนและติดการดูดจุกนมได้
ควรหาเวลาพักผ่อนเยอะๆ เมื่อได้นอน แผลที่เจ็บจะดีขึ้น ดื่มน้ำอุ่นๆ อย่าให้ร่างกายขาดน้ำ และ รีแลกซ์ไว้ อย่ากลัวมากเกินไป ความเครียดจะยิ่งเพิ่มความเจ็บได้
ถ้าแก้ไขแล้วยังไม่ดีขึ้น หรือมีอาการรุนแรงอย่างหัวนมแตกจนมีเลือดไหล ควรปรึกษาสูติแพทย์ ผดุงครรภ์ พยาบาล หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้อง
เมื่อคุณแม่พบกับปัญหาหัวนมแตก เจ็บหัวนม อย่าหยุดกระตุ้นการสร้างน้ำนม ควรให้ลูกดูด (ถ้าทนเจ็บได้) หรือต้องบีบน้ำนมบ่อยๆ เหมือนเดิม ขอย้ำว่าเรื่องนี้สำคัญ เพราะหากไม่มีการเอาน้ำนมออกอยู่เสมอ ร่างกายจะหยุดสร้างน้ำนม เสี่ยงต่อการทำให้การให้นมแม่ไม่สำเร็จได้ เมื่อปัญหาหัวนมแตกดีขึ้น ไม่นานคุณแม่ก็จะสามารถให้ลูกดูดนมแม่ต่อไปได้อย่างที่ตั้งใจไว้ค่ะ
เพราะมี MFGM เยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในน้ำนม ช่วยให้เซลล์ไขมันคงรูปอยู่ได้ในน้ำนม MFGM ประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ เช่น โปรตีนต่างๆ และไขมันเชิงซ้อน ซึ่งล้วนแต่เป็นสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและสมองเด็ก และมีดีเอชเอ กรดไขมันที่ช่วยพัฒนาสมองเด็กนั่นเอง
Enfa สรุปให้ Latch Score คือระบบการประเมินการให้นมแม่ที่เพื่อช่วยวัดและติดตามประ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ อาการคัดเต้าเป็นก้อน ปั๊มไม่ออก มักเกิดจากการปล่อยน้ำนมค้างเต้าเป็นเวลานาน ลูกดูดไม...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ท้อง 8 เดือนเต้าไม่คัด หรือหลังคลอดเต้าไม่คัด ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ พ...
อ่านต่อ