คุณแม่มือใหม่ส่วนใหญ่มักกังวลใจว่าตนเองอาจมีเต้านมขนาดเล็กเกินไป
แถมกังวลว่าจะเป็นเหตุให้มีน้ำนมสำหรับลูกน้อยกว่าคนที่มีเต้านมขนาดใหญ่ จริงๆ แล้ว
ขนาดของเต้านมไม่สัมพันธ์กับการสร้างน้ำนมค่ะ
เต้านมเล็กหรือใหญ่ขึ้นอยู่กับปริมาณไขมันในเต้านม
แต่ส่วนที่สร้างน้ำนม คือ ต่อมและท่อน้ำนม ซึ่งคุณแม่ทุกคนจะมีปริมาณเท่ากัน เพราะฉะนั้นจึงเน้นย้ำอีกครั้งว่า
ขนาดของเต้านมไม่มีผลต่อความสามารถในการสร้างน้ำนมให้ลูก และไม่ว่าหน้าอกคุณแม่จะมีขนาดเท่าใด
มีความสามารถในการเก็บน้ำนมได้มากหรือน้อย ก็ล้วนแต่ผลิตน้ำนมได้เพียงพอสำหรับลูกของตัวเองค่ะ
แม่ที่สามารถเก็บน้ำนมได้มากในแต่ละมื้อ อาจช่วยให้ระยะเวลาระหว่างมื้อนมของลูกแต่ละครั้งนานกว่า โดยที่ไม่มีผลต่อปริมาณการผลิตน้ำนมและความเจริญเติบโตของลูก ส่วนแม่ที่เก็บน้ำนมได้น้อย อาจจะต้องให้นมลูกในจำนวนครั้งที่ถี่กว่า เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูก และสามารถคงปริมาณการผลิตน้ำนมไว้ได้ เนื่องจากหน้าอกจะเต็มเร็ว (เมื่อหน้าอกเต็ม ก็จะทำให้การผลิตน้ำนมช้าลง)
ถ้าต้องการที่จะกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำนมเพิ่มขึ้นในแต่ละวัน สิ่งที่ต้องทำคือ พยายามนำน้ำนมออกจากร่างกายให้เร็วขึ้นและบ่อยขึ้น เพื่อให้มีน้ำนมสะสมในเต้าในช่วงเวลาระหว่างมื้อน้อยลง นั่นก็หมายความว่า หากต้องการเพิ่มน้ำนม ต้องทำให้เต้านมเกลี้ยงที่สุดเท่าที่จะทำได้ตลอดทั้งวัน ด้วยวิธีต่อไปนี้
นำน้ำนมออกจากร่างกายให้บ่อยมากขึ้น ด้วยการให้ลูกดูดบ่อยกว่าเดิม หรือเพิ่มการบีบหรือปั๊มในระหว่างมื้อที่ลูกดูด
พยายามทำให้น้ำนมเกลี้ยงเต้ามากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในการดูดหรือปั๊มแต่ละครั้ง
หากทำได้ ร่างกายผลิตน้ำนมเพิ่มขึ้นในแต่ละวันค่ะ
เพราะมีแลคโตเฟอร์ริน โปรตีนในนมแม่ที่จะพบได้มากที่สุดในน้ำนมเหลือง หรือน้ำนมระยะแรกที่จะไหลออกมาใน 1-3 วันแรกหลังคลอด ซึ่งทำหน้าที่ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา จึงช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
Enfa สรุปให้ ไวท์ดอทไม่ได้ท้อง ก็สามารถเกิดไวท์ดอทที่หัวนมได้ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากฮอร์โมนในร่างก...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ลูกซัดอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ไฟเบอร์ โปรตีน ธาตุเหล็ก วิตามินบี แมกนี...
อ่านต่อตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิดภาควิชากุมารเวชศา...
อ่านต่อ