ตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์
กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล
คุณแม่ให้นมลูกมักจะสงสัยว่าควรให้ลูกกินนมแม่กี่เดือนจึงจะเหมาะสม คำตอบของเรื่องนี้อาจจะต้องขึ้นอยู่กับวิจารณญาณและความเหมาะสมของคุณแม่แต่ละคน ลองมาดูข้อมูลกันค่ะเพื่อจะทำให้คุณแม่เองตัดสินใจได้จะว่าให้ลูกกินนมแม่กี่เดือนดี
สำหรับระยะเวลาในการให้ลูกกินนมแม่นั้น ขอบอกว่า...
องค์การอนามัยโลกระบุว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีประโยชน์สำหรับทารกแรกเกิดจนถึง 2 ขวบโดยเฉพาะการได้รับนมแม่ตั้งแต่ 1-3วันแรกหลังคลอด เพราะคือน้ำนมเหลืองที่มีแลคโตเฟอร์ริน แลคโตเฟอร์ริน โปรตีนในนมแม่ที่จะพบได้มากที่สุดในน้ำนมเหลือง หรือน้ำนมระยะแรกที่จะไหลออกมาใน 1-3 วันแรกหลังคลอด ซึ่งทำหน้าที่ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา จึงช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
ระยะเวลาของการกินนมแม่ยาวนานแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความต้องการของคุณแม่และลูก ไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับเด็กที่จะกินนมแม่เป็นเวลานานๆ แม้ว่าเราจะเคยชินกับทารกที่กินนมแม่ในระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือน เด็กโตอาจจะกินนมแม่ไม่บ่อยมากเหมือนเดิม และการหย่านมจากเต้าอาจจะใช้ระยะเวลายาวนาน เพราะเด็กผูกพันกับแม่ และรู้สึกมั่นคง อบอุ่นใจเมื่อได้อยู่ในอ้อมกอดแม่นั่นเอง
หลังอายุ 6 เดือนลูกต้องได้รับอาหารเสริมเพิ่มเติมจากนมแม่ จึงทำให้คุณแม่บางคนคิดว่านมแม่ไม่มีประโยชน์ จริงๆ แล้ว นมแม่ยังมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายลูกอยู่ รวมทั้งสารอาหารสำคัญต่อสมอง และภูมิคุ้มกันอย่าง Lactoferrin MFGM และDHA ก็ยังมีอยู่ครบถ้วน เพียงแต่เมื่อครบ 6 เดือน ลูกต้องกินอาหารเสริมควบคู่ไปกับนมแม่ เพราะร่างกายต้องการพลังงานมากขึ้น และการกินอาหารเสริมยังช่วยเสริมสร้างพัฒนาการเด็กในด้านต่างๆ
เมื่อครบ 1 ปี เด็กจะกินข้าวเป็นอาหารหลัก 3 มื้อ กินนมเป็นอาหารเสริมเท่านั้น แต่ไม่ได้หมายความว่านมแม่ไม่มีประโยชน์ สารอาหารและคุณประโยชน์ในนมแม่ไม่ได้ลดน้อยลงไปตามอายุของลูกที่เพิ่มขึ้น แต่นมแม่อาจมีน้อยลงตามธรรมชาติร่างกายของแม่และตามความต้องการและการดูดของลูก
อย่างไรก็ตาม หลังอายุ 1 ขวบ หากนมแม่ไม่มีจริงๆ คุณแม่สามารถเลือกนมผงที่มีสารอาหารใกล้เคียงนมแม่เสริมให้ลูกได้ เช่น มี แลคโตเฟอร์ริน ที่ช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อทั้งในระบบทางเดินอาหาร และระบบภูมิคุ้มกัน มี MFGM สารอาหารสำคัญที่พบในน้ำนมแม่ ดีเอชเอ กรดไขมันที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสมอง และ มีใยอาหารสุขภาพอย่าง พีดีเอ็กซ์ และ กอส ที่ช่วยให้ลูกมีการขับถ่ายที่ดี
ในน้ำนมแม่จะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะน้ำนมเหลือง (Colostrum) ระยะน้ำนมปรับเปลี่ยน และระยะน้ำนมแม่
ซึ่งในระยะน้ำนมเหลืองจะมีโปรตีนสำคัญชนิดหนึ่งเรียกว่า แลคโตเฟอร์ริน (Lactoferrin) ที่มีส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาว จึงทำหน้าที่ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา ลดความเสี่ยงการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร และเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
คุณแม่หยุดนมแม่ไปแล้วสามารถเริ่มให้นมแม่ใหม่ได้ สิ่งนี้เรียกว่าการกู้น้ำนม หากคุณแม่หยุดให้นมแม่มาเป็นระยะเวลายาวนาน (มากกว่า 1 สัปดาห์ หรือมากกว่านั้น) คุณแม่อาจจำเป็นต้องขยันปั๊มนมออกบ่อยๆ และเอาลูกเข้าเต้าหลายครั้งทั้งกลางวันและกลางคืน แต่วิธีนี้จะสามารถรักษาปริมาณน้ำนมไว้ได้ การนำน้ำนมออกจากเต้าด้วยการปั๊มหรือบีบด้วยมือหลายๆ ครั้ง (อย่างน้อย 8 ครั้งใน 24 ชั่วโมง รวมถึงอย่างน้อย 1 ครั้งในตอนกลางคืน) จะเป็นการบอกร่างกายคุณแม่และน้ำนมจะกลับมาในที่สุด
ในช่วงเวลา 3 เดือนที่คุณแม่ลาคลอดเพื่ออยู่กับลูกและเป็นช่วงเวลาที่ดีที่ลูกได้กินนมแม่อย่างเต็มที่ แต่หลังจากนั้นคุณแม่ต้องกลับไปทำงาน หากต้องการให้ลูกกินนมแม่ต่อ คุณแม่ต้องมีการเตรียมตัวกันนะคะ
เมื่อพิจารณาจากองค์ประกอบต่างๆ ของคุณแม่ ตอนนี้คุณแม่คงได้คำตอบแล้วว่าจะให้ลูกกินนมแม่กี่เดือน เพื่อประโยชน์สูงสุดที่ลูกน้อยจะได้รับ
เพราะมี MFGM เยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในน้ำนม ช่วยให้เซลล์ไขมันคงรูปอยู่ได้ในน้ำนม MFGM ประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ เช่น โปรตีนต่างๆ และไขมันเชิงซ้อน ซึ่งล้วนแต่เป็นสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและสมองเด็ก และมีดีเอชเอ กรดไขมันที่ช่วยพัฒนาสมองเด็กนั่นเอง
Enfa สรุปให้ ไวท์ดอทไม่ได้ท้อง ก็สามารถเกิดไวท์ดอทที่หัวนมได้ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากฮอร์โมนในร่างก...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ลูกซัดอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ไฟเบอร์ โปรตีน ธาตุเหล็ก วิตามินบี แมกนี...
อ่านต่อตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิดภาควิชากุมารเวชศา...
อ่านต่อ