Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
ผื่นแพ้อากาศเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในเด็ก โดยเฉพาะในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หรือเมื่อเจอสภาพอากาศแห้งและเย็น ซึ่งสร้างความกังวลใจคุณพ่อคุณแม่ไม่น้อย เนื่องจากอาการคันจากผื่นแพ้ส่งผลต่อสุขภาพของลูกรัก
ในบทความนี้ Enfa จะพามารู้จักกับผื่นคันแพ้อากาศ หรืออาการแพ้อากาศ ผื่นขึ้น พร้อมวิธีรับมืออย่างเหมาะสมกันค่ะ
ผื่นแพ้อากาศ (Atopic Dermatitis) หรือผื่นภูมิแพ้อากาศ เป็นผื่นที่เกิดจากการตอบสนองของผิวหนังต่อสิ่งกระตุ้นในสิ่งแวดล้อม เช่น ฝุ่น ละอองเกสรดอกไม้ หรือความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ซึ่งอาจกระตุ้นให้เกิดอาการผิวแห้ง คัน และมีผื่นแดง โดยเฉพาะบริเวณข้อพับ แขน ขา คอ หรือใบหน้า
ผื่นภูมิแพ้อากาศมักพบในเด็กที่มีภูมิแพ้ในระบบทางเดินหายใจร่วมด้วย เช่น โรคหืดหรือโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ โดยเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
ลักษณะผื่นแพ้อากาศ (Atopic Dermatitis) มักมีการอักเสบของผิวหนังหลายระยะ ตั้งแต่ระยะเฉียบพลันจนถึงระยะเรื้อรัง ลักษณะที่พบได้ชัดคือเป็นผื่นตุ่มแดงคัน เป็นแผ่นแดง ลอก และเป็นขุย มีอาการคันมาก และการกระจายตามตัวจะต่างกันในแต่ละช่วงวัย
อาการผื่นคันแพ้อากาศในแต่ละช่วงวัยเป็นดังนี้
ผื่นคันแพ้อากาศของทารกมักปรากฏบนแก้มเป็นที่แรก รวมถึงบริเวณแขนและขาที่พ้นเสื้อผ้า และอาจพบบริเวณใต้ผ้าอ้อม หากผ้าอ้อมเปียกชื้นหรือใส่ไว้เป็นเวลานานทำให้ทารกระคายเคืองและเกิดเป็นผื่นผ้าอ้อมตามมา
โดยทารกที่อายุต่ำกว่า 1 ปี มักมีผื่นภูมิแพ้ผิวหนังกระจายอยู่หลายจุดทั่วร่างกาย รวมทั้งอาจมีผิวที่แห้ง แดง ลอก เป็นสะเก็ด และรอยแดงจากการข่วนตัวเอง
ผื่นคันแพ้อากาศของเด็กวัยหัดเดินและวัยก่อนเข้าเรียนอาจเริ่มปรากฏขึ้นเฉพาะส่วน ผื่นอาจเริ่มแข็ง หนา หยาบ และทำให้รู้สึกไม่สบายตัว ผื่นผิวหนังดังกล่าวมักเกิดขึ้นบริเวณข้อต่อกระดูก เช่น ข้อมือ ข้อศอก หัวเข่า ข้อเท้า รวมถึงอวัยวะเพศ
เมื่อเด็กโตขึ้น ผื่นอาจเปลี่ยนมาปรากฏบริเวณข้อพับของข้อต่อนั้น ๆ แทน ซึ่งผื่นผิวหนังจะยิ่งแห้ง หนา และแข็งขึ้นหากถูกถูหรือเกา
สำหรับเด็กวัยเรียนมักพบผื่นคันแพ้อากาศบริเวณข้อศอกและหัวเข่า รวมถึงบริเวณอื่น ๆ ที่บอบบาง เช่น เปลือกตา ใบหู ศีรษะ และช่วงคอ ซึ่งผื่นจะหนาขึ้น รวมถึงมีรอยเกาบริเวณลำคอหรือข้อพับของแขนและขา ผู้ป่วยบางรายอาจมีตุ่มพองบริเวณฝ่ามือ นิ้วมือ และเท้าร่วมด้วย
ผื่นผิวหนังที่เกิดขึ้นในช่วงวัยเรียนอาจหายได้เองเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น แม้ผิวจะบอบบางลงก็ตาม
ลักษณะผื่นแพ้อากาศในวัยผู้ใหญ่อาจปรากฏเฉพาะส่วน เช่น มือ เปลือกตา ข้อพับ หัวนม หรือเกิดขึ้นทุกส่วนพร้อมกัน และมักเป็นผื่นแห้ง หนา และแข็งกว่าผื่นผิวหนังในเด็ก โดยเฉพาะบริเวณมือที่อาจมีตุ่มพองร่วมด้วย
ผื่นคันแพ้อากาศมักเกิดขึ้นในวัยเด็กช่วงอายุก่อน 5 ปี และอาจคงอยู่ไปเรื่อย ๆ จนเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ บางคนอาจมีอาการเรื้อรังแบบเป็น ๆ หาย ๆ หรืออาการอาจหายไปหลายปีก่อนกลับมาเป็นอีกครั้ง ทั้งนี้ ความรุนแรงของอาการจะแตกต่างกันไปตามสาเหตุ ขนาดของบริเวณที่เกิดอาการ และการเกาบริเวณที่ติดเชื้อ
เด็กแพ้อากาศสามารถสังเกตได้จากผิวหนัง เช่น มีผื่นแดงบริเวณแก้ม ข้อพับ แขน ขา ผิวแห้งและคัน โดยเฉพาะหลังอาบน้ำหรือในอากาศเย็น โดยอาการอาจกำเริบเมื่อเจอสิ่งกระตุ้น เช่น อากาศแห้ง หรือเปลี่ยนอากาศเร็ว รวมถึงการแพ้สารระคายเคือง เช่น ฝุ่น สบู่ น้ำหอม
โดยเด็กอาจเกาผิวหนังบ่อยจนเกิดรอยแผล และหากลูกเป็นภูมิแพ้คัดจมูกหรือภูมิแพ้ในระบบทางเดินหายใจ อาจพบอาการมีน้ำมูกหรืออาการคัดจมูกร่วมด้วย
ลูกเป็นภูมิแพ้อากาศทําไงดี หากทารกเป็นภูมิแพ้อากาศ หรือลูกแพ้อากาศ ผื่นขึ้น มักทำให้เกิดความไม่สบายตัว อาจมีการร้องกวน ส่งผลต่อการนอนและการใช้ชีวิตประจำวันของลูก หากปล่อยไว้ลูกอาจเกาจนผิวอักเสบได้ คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตสาเหตุของการแพ้และแก้ไขให้เหมาะสม ดังนี้
1. บรรเทาอาการผื่น
โดยให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว ทาครีมบำรุงผิวสำหรับเด็กที่แพ้ง่ายทันทีหลังอาบน้ำ เพื่อป้องกันผิวแห้ง หากผิวอักเสบมากควรปรึกษาแพทย์ เนื่องจากอาจต้องใช้ยาแก้แพ้หรือยาสเตียรอยด์
2. หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น
โดยเฉพาะสบู่ที่ไม่เหมาะสมต่อผิวเด็ก หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีน้ำหอม รวมทั้งกำจัดฝุ่นละออง ขนสัตว์ ตุ๊กตา และสารระคายเคืองอื่น ๆ พร้อมทั้งให้ลูกสวมเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี เนื้อนุ่ม ไม่ระคายเคืองผิว
3. ปรับสภาพแวดล้อม
ระวังอย่าให้บ้านชื้นและแห้งเกินไป หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนอากาศฉับพลัน เช่น อาบน้ำเสร็จแล้วออกมาเจอแอร์เย็นจัด อาจกระตุ้นอาการภูมิแพ้ได้
4. ตัดเล็บให้สั้นและรักษาความสะอาดเสมอ
สำหรับทารกอาจต้องสวมถุงมือป้องกันไม่ให้ลูกเกาผื่น เพราะหากลูกเกาผื่นอาจขึ้นมากกว่าเดิมและลุกลามมากขึ้น ทำให้ผิวหนังอักเสบมากขึ้นด้วย
5. ปรึกษาแพทย์
หากลูกแพ้อากาศ ผื่นขึ้น ไม่มีท่าทีว่าจะดีขึ้น หรือมีอาการแทรกซ้อน เช่น น้ำเหลืองซึม ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์
นอกจากนี้ ควรให้ลูกพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะหากพักผ่อนน้อย อาการจะยิ่งกำเริบได้ง่ายเนื่องจากร่างกายอ่อนเพลีย
ยาแก้แพ้อากาศของเด็ก มักใช้เพื่อลดอาการคันและบรรเทาผื่นแพ้ โดยควรใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกรเท่านั้น โดยยาภูมิแพ้อากาศเด็กมี 3 ชนิด คือ
การใช้ยาภูมิแพ้อากาศเด็กหรือผลิตภัณฑ์ลดอาการแพ้ควรเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กที่ปราศจากน้ำหอม ไม่ควรซื้อยาใช้เอง ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพื่อป้องกันการใช้ยาเกินขนาดและผลข้างเคียงที่อาจตามมา
ภูมิแพ้อากาศในเด็กสามารถลดความเสี่ยงและป้องกันอาการกำเริบได้ในระดับหนึ่ง โดยการดูแลและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม คือ
รู้หรือไม่? "กรรมพันธุ์" เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ในเด็กเล็ก ซึ่งหากพ่อแม่ทั้งคู่มีประวัติการเป็นภูมิแพ้มาก่อน เด็กจะมีความเสี่ยงในการเป็นภูมิแพ้สูงถึง 70 - 80% เลยทีเดียว
สำหรับภูมิแพ้อากาศสามารถป้องกันได้โดยรักษาความชุ่มชื้นของผิว หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น เช่น อากาศร้อนหรือเย็นเกินไป ฝุ่น สารเคมี น้ำหอม เป็นต้น และหลีกเลี่ยงอาหารที่แพ้ เช่น ไข่ นม ถั่ว
นอกจากนี้ คุณแม่ยังสามารถป้องกันภูมิแพ้ในเด็กได้ ดังนี้
- ให้ลูกได้กินนมแม่เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
- หลีกเลี่ยงสิ่งที่สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ได้
- หากคุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ ควรปรีกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ในกรณีที่คุณแม่น้ำนมไม่เพียงพอหรือไม่สามารถให้นมแม่ได้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งแพทย์มักแนะนำ* โปรตีนที่ผ่านการย่อยอย่างละเอียด (eHP) ซึ่งมีคุณสมบัติ Hypoallergenic ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ และโพรไบโอติกส์ แล็กโทบาซิลลัส รามโนซัส จีจี (LGG) เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง รวมถึงลดโอกาสในการเกิดภูมิแพ้อื่น ๆ ที่อาจตามมาในอนาคต
*แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาโรคแพ้โปรตีนนมวัว พ.ศ. 2555
Enfa สรุปให้ ลูก 1 ขวบ ท้องเสีย ไม่มีไข้ อาจเกิดจากการเปลี่ยนอาหารหรือเปลี่ยนนม อาการแพ้อาหารบาง...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ Hypoallergenic คือคำอธิบายคุณสมบัติผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อลดโอกาสในการกระตุ้นอากา...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ผื่นแพ้อากาศ หรือผื่นภูมิแพ้อากาศ เป็นผื่นที่เกิดจากการตอบสนองของผิวหนังต่อสิ่งกระต...
อ่านต่อ