Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
คุณแม่หลายท่านอาจเคยเจอกับปัญหาลูกผิวแห้งเป็นวง ที่ทำให้เกิดความกังวลใจว่าเกิดจากอะไร และจะดูแลยังไงให้ลูกน้อยหายจากอาการนี้เร็วที่สุด
ปัญหาผิวแห้งที่เกิดขึ้นกับลูกน้อยสามารถพบได้ในช่วงวัยแรกเกิดถึง 1 ขวบ แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่พบได้บ่อย แต่ก็มีหลายสิ่งที่คุณแม่สามารถทำได้เพื่อช่วยบรรเทาอาการและดูแลผิวลูกให้กลับมาเนียนนุ่มอีกครั้ง
ลูกผิวแห้งเป็นวง หรือที่บางคนเรียกกันว่า “ทารกผิวแห้งแตก” เกิดได้จากหลายปัจจัยค่ะ สาเหตุหลักๆ มาจากการที่ผิวลูกน้อยบอบบางมากๆ ซึ่งมีความบอบบางกว่าผู้ใหญ่ 5 เท่า ทำให้ผิวของทารกยังเก็บรักษาความชุ่มชื้นในผิวได้ไม่ดีพอ จึงทำให้ผิวแห้งเป็นวง หรือ ผิวแห้งแตกค่ะ หรืออาจจะมีสาเหตุอื่นๆ เช่น
เมื่อผิวของทารกแห้ง จะเกิดอาการคันและอาจทำให้เกิดการขีดข่วน หรือการเสียดสีจนเกิดแผล ผิวอาจมีลักษณะเป็นวงๆ ขึ้นบริเวณต่างๆ เช่น บริเวณแก้ม มือ หรือขา ส่วนใหญ่แล้วผิวแห้งแบบนี้จะไม่เป็นอันตรายและสามารถรักษาได้ด้วยการดูแลที่เหมาะสม
เนื่องจากผิวของทารกยังบอบบางมาก การดูแลผิวให้ลูกน้อยคุณพ่อคุณแม่จึงต้องใส่ใจเป็นพิเศษ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารเคมีรุนแรง และควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนต่อผิวทารกโดยเฉพาะ
การดูแลผิวของลูกน้อยให้แข็งแรงและชุ่มชื้นอยู่เสมอจะช่วยลดโอกาสการเกิดปัญหาผิวแห้งแตกหรือเป็นวงได้ และยังเป็นการเสริมเกราะป้องกันผิวของลูกให้พร้อมต่อสู้กับสภาพแวดล้อมรอบตัวอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ถ้าหากอาการผิวแห้งเป็นวงเกิดขึ้นร่วมกับอาการคัน เช่น ผิวแห้งเป็นสะเก็ดหรือแตกออกเป็นแผล คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและหาสาเหตุเพิ่มเติมค่ะ
การเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการดูแลลูกที่มีผิวแห้ง โดยเฉพาะหากลูกผิวแห้งจนเกิดอาการทาโลชั่นหรือครีมทาผิวแล้วไม่หาย คุณแม่ต้องเลือกครีมทาผิวที่มีส่วนผสมที่ให้ความชุ่มชื้นอย่างจริงจัง
เวลาลูกผิวแห้งใช้ครีมอะไรดี หากคุณแม่กำลังมองหาครีมที่ช่วยแก้ปัญหาผิวแห้งและไม่ระคายเคือง มีคำแนะนำดังนี้
- เลือกครีมบำรุงผิวเฉพาะทารก
- เลือกครีมบำรุงที่มีส่วนประกอบธรรมชาติ เช่น
- ปราศจากสารก่อการระคายเคือง เช่น พาราเบน ซึ่งเป็นสารกันเสียที่อาจก่อให้เกิดการระคายเคือง สีสังเคราะห์อาจทำให้ผิวแพ้ง่าย
- เลือกครีมที่มีความชุ่มชื้นสูง ช่วยบำรุงผิวแห้งให้กลับมาชุ่มชื้น เช่น มอยส์เจอร์ไรเซอร์ ที่ช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นไว้ในผิวหนัง ทำให้ผิวเนียนนุ่ม ชุ่มชื้น
นอกจากนี้ ประเภทครีมที่คุณพ่อคุณแม่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อลูกน้อยเกิดอาการผิวแห้ง คือ
- ครีมที่มีน้ำหอม
- ผลิตภัณฑ์ที่มีแอลกอฮอล์
- สารเคมีรุนแรงที่อาจพบในครีม ซึ่งลูกน้อยไม่ควรใช้ เช่น
การทาโลชั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการดูแลผิวให้ชุ่มชื้นค่ะ ที่สำคัญที่สุด หากคุณพ่อคุณแม่ไม่แน่ใจในการเลือกใช้ครีมทาผิวเพื่อลดอาการผิวแห้งของลูกน้อย ควรปรึกษาแพทย์หรือเลือกใช้ผลิตภันฑ์ตามที่เภสัชกรแนะนำก่อนเลือกผลิตภัณฑ์ค่ะ
หากลูกมีอาการผิวแห้งมาก หรือผิวแห้งสาก การใช้โลชั่นหรือครีมอย่างเดียว ไม่เพียงพอค่ะ เพราะอาการเหล่านี้อาจเกิดจากปัจจัยอื่นๆ เช่น การแพ้อาหารบางชนิด หรืออาการแพ้นมวัว ที่ทำให้ผิวลูกแห้งและคันได้
ในกรณีที่ลูกมีอาการผิวแห้งสากมาก การรักษาด้วยการใช้ครีมทาผิวเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่สามารถรักษาได้ในระยะยาว คุณแม่ควรสังเกตอาการของลูกและหากมีอาการที่บ่งบอกถึงการแพ้นมวัว ควรพาลูกไปพบแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาให้ถูกต้อง
นอกจากนี้ คุณแม่ต้องทำควบคู่กับวิธีการอื่นๆ เช่น
- จัดการสภาพแวดล้อม
- เลือกเสื้อผ้าที่ระบายอากาศดี
- งดใช้สบู่ก้อน หรือสบู่ที่มีฤทธิ์เป็นด่าง เพราะจะทำให้ผิวทารกแห้งมากขึ้น หากใช้ไปเรื่อยๆ ผิวลูกน้อยจะบางลง และมีปัญหาผิวอื่นๆ ตามมา
- ควบคุมอุณหภูมิในห้องให้เหมาะสมอยู่ที่ 25-27 องศา
- หมั่นเปลี่ยนผ้าปูที่นอนและซักให้สะอาด รวมถึงเลือกใช้วัสดุที่ระบายอากาศได้ดีและไม่ทำให้เหงื่อออกมากเกินไป
- เลี่ยงการอาบน้ำอุ่นจัด เพราะการอาบน้ำอุ่นจัดมากๆ ยิ่งทำให้ผิวลูกน้อยแห้งมากขึ้น เพราะสูญเสียความชุ่มชื้นในชั้นผิวไป
- ไม่อาบน้ำลูกนานเกินไป เพราะในระหว่างการอาบน้ำนั้น มีโอกาสที่ผิวลูกน้อยจะสูญเสียความชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา แนะนำว่าสำหรับทารกแรกเกิดถึง 1 ขวบ ควรอาบน้ำให้ลูกน้อยประมาณ 5-7 นาที สำหรับเด็กเล็ก สามารถอาบน้ำได้นานขึ้นเล็กน้อย ประมาณ 10-15 นาที
- ไม่ควรใช้ฟองน้ำถูตัวลูกน้อยอย่างรุนแรง ควรใช้มือและฟองน้ำสำหรับทารกโดยเฉพาะ ค่อยๆ ลูบอย่างเบามือ เพราะผิวเด็กนั้นบอบบางมากค่ะ หากคุณพ่อคุณแม่เผลอถูกผิวลูกแรง อาจทำให้ผิวระคายเคืองได้ และส่งผลให้ลูกน้อยมีผิวแห้ง และคัน
ลูกผิวแห้งสากคัน อาจเป็นสัญญาณของการแพ้นมวัว อาการแพ้นมวัวอาจจะทำให้ผิวของลูกแห้ง สาก และอาจมีผื่นขึ้นที่ผิวหนัง ทั้งนี้ ยังสามารถสังเกตอาการแพ้นมวัวอื่น ๆ ได้ ดังนี้
1. ร้องงอแงผิดปกติหลังกินนม หงุดหงิดเมื่อถึงเวลาให้นม
2. แหวะนมหรืออาเจียน
3. มีผื่นแดง
4. ถ่ายมีมูกเลือด
5. ผิวแห้งและอาจเป็นขุย
6. คันบริเวณผิวหนัง
7. บวมริมฝีปาก ใบหน้า หรือรอบดวงตา
8. เรอบ่อยกว่าปกติ
9. ท้องเสีย
10. ท้องผูก
11. ปวดท้อง ไม่สบายท้อง
12. คัดจมูก หายใจมีเสียงวี้ด
13. บางรายน้ำหนักตัวไม่ปกติ
14. ความอยากอาหารลดลง
หากลูกมีอาการแพ้นมวัว การจัดการกับปัญหาผิวแห้งและอาการอื่นๆ ที่เกิดจากการแพ้นมวัวสามารถทำได้โดย หากคุณแม่ให้ลูกน้อยกินนมแม่อยู่แล้ว ควรกินนมแม่ต่อไป เพื่อรับสารอาหารที่ดีที่สุดจากนมแม่ค่ะ
หากลูกกินกินนมวัวหรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของนมวัวควรงดกิน รวมทั้งคุณแม่ก็ควรงดกินเช่นกัน เนื่องจากลูกน้อยอาจจะเกิดอาการแพ้นมวัวผ่านน้ำนมแม่ได้
ในกรณีที่คุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อแนะนำโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับเด็กที่มีอาการแพ้ ซึ่งแพทย์มักแนะนำ* โปรตีนที่ผ่านการย่อยอย่างละเอียด (eHP) ซึ่งมีคุณสมบัติ Hypoallergenic ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ และโพรไบโอติกส์ แล็กโทบาซิลลัส รามโนซัส (LGG) เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกแข็งแรง รวมถึงลดโอกาสในการเกิดภูมิแพ้อื่น ๆ ที่อาจตามมาในอนาคต
*แนวทางการรักษาโรคแพ้โปรตีนนมวัวของราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
ลูกผิวแห้งเป็นวงไม่ใช่ปัญหาที่น่ากลัวแต่อย่างใดค่ะ หากคุณแม่เอาใจใส่และดูแลอย่างถูกวิธี ความรัก ความใส่ใจ และความรู้คือหัวใจสำคัญในการดูแลผิวลูกน้อย
Enfa สรุปให้ ลูก 1 ขวบ ท้องเสีย ไม่มีไข้ อาจเกิดจากการเปลี่ยนอาหารหรือเปลี่ยนนม อาการแพ้อาหารบาง...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ Hypoallergenic คือคำอธิบายคุณสมบัติผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อลดโอกาสในการกระตุ้นอากา...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ผื่นแพ้อากาศ หรือผื่นภูมิแพ้อากาศ เป็นผื่นที่เกิดจากการตอบสนองของผิวหนังต่อสิ่งกระต...
อ่านต่อ