นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เอนฟาสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนไปจนถึง 2 ปี หรือนานกว่าตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

ลูกมีผื่นคันขึ้นตามตัว แต่ไม่มีไข้ ควรรับมืออย่างไรดี

Enfa สรุปให้

  • ลูกมีผื่นคันขึ้นตามตัว แต่ไม่มีไข้ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคกลากเกลื้อน ผดร้อน แผลพุพอง ลมพิษ เป็นต้น ผื่นเหล่านี้ส่วนมากแล้วสามารถหายเองได้ โดยไม่ต้องรับการรักษา
  • ลูกมีตุ่มแดงขึ้นตามตัว ไม่คัน ไม่มีไข้ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น สิวข้าวสาร ผื่นแดง ENT สิวเด็ก ผื่นผ้าอ้อม เป็นต้น ผื่นเหล่านี้สามารถดูแลให้ดีขึ้นได้ด้วยการรักษาความสะอาด
  • ผื่นในเด็กบางครั้งอาจเกิดจากการติดเชื้อ ซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับการรักษาเฉพาะทาง และบางครั้งอาจเกิดจากการระคายเคือง การไม่รักษาความสะอาด ซึ่งการดูแลลูกที่ถูกวิธีจะช่วยป้องกันผื่นและปัญหาผิวหนังในเด็กได้

เลือกอ่านตามหัวข้อ

คุณพ่อคุณแม่หลายท่านคงกังวลใจเมื่อเห็นลูกน้อยมีผื่นคัน ผื่นแดง หรือผื่นเม็ดเล็ก ๆ ขึ้นตามตัว Enfa จึงอยากเชิญชวนคุณพ่อคุณแม่มาสำรวจปัญหาผื่นของลูกน้อยไปพร้อมกัน มาดูกันว่า หากลูกมีผื่นคันขึ้นตามตัว แต่ไม่มีไข้ จะเป็นอันตรายหรือเปล่า และหากลูกมีตุ่มแดงขึ้นตามตัว ไม่คัน ไม่มีไข้ ควรดูแลลูกน้อยอย่างไรดี

ลูกมีผื่นคันขึ้นตามตัว แต่ไม่มีไข้


ลูกมีผื่นแดงขึ้นตามตัว ลูกเป็นผื่นแดงทั้งตัว ไม่มีไข้ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

1. กลาก

เกิดจากเชื้อราบนผิวหนัง ที่อยู่ในกลุ่มเดอร์มาโตไฟต์ (Dermatophytes) ก่อให้เกิดอาการคัน แดง ผิวแห้งและแตกโดยเฉพาะในบริเวณรอยพับบริเวณหัวเข่าและข้อศอก

2. เกลื้อน

เกิดจากเชื้อราที่อยู่ในรูขุมขนชื่อว่า Pityrosporum เป็นโรคติดต่อทางผิวหนังที่ทำให้เกิดผื่นแดงคล้ายวงแหวนเล็ก ๆ รอบ ๆ บริเวณรูขุขมขน หรือบางครั้งก็พบเป็นปื้นสีขาวขนาดใหญ่

โดยผื่นภายในวงแหวนนั้นอาจจะเป็นสีขาว สีแดง หรือสีชมพูก็ได้ โดยจะพบได้บ่อยที่บริเวณหนังศีรษะ เท้า และขาหนีบ บางครั้งก็พบทั่วทั้งร่างกาย และก่อให้เกิดอาการคันได้

3. ผดร้อน

เป็นผดผื่นที่เกิดจากอากาศร้อนอบอ้าวหรือร้อนชื้น ปรากฎเป็นตุ่มแดงเม็ดเล็กๆ ตามผิวหนัง และมีอาการคันร่วมด้วย บางรายอาจคันเพียงนิดเดียว แต่เด็กบางคนอาจมีอาการคันมากได้ 

อย่างไรก็ตาม ผดผื่นร้อนสามารถหายเองได้โดยไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาเฉพาะทาง

4. แผลพุพอง

เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เกิดผื่นแดง และตุ่มหนองตามใบหน้า รอบจมูก ปาก มือและเท้า ซึ่งอาจมีทั้งตุ่มน้ำ และตุ่มทั่วไปที่ไม่มีน้ำ โดยมากมักจะก่อให้เกิดอาการคัน หากเด็ก ๆ เกาบ่อยหรือเกาแรง เสี่ยงจะทำให้ตุ่มหนองแตกออก จนเป็นแผลตกสะเก็ด ผื่นจากแผลพุพองนั้นมักเกิดขึ้นได้ง่ายหากไม่รักษาความสะอาดของร่างกาย หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่บกพร่องเรื่องของความสะอาดและสุขอนามัยที่ดี

5. ลมพิษ

เป็นปัญหาสุขภาพโดยทั่วไปที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่โดยมากแล้วลมพิษมักเกิดจากอาการแพ้ เช่น แพ้ฝุ่น แพ้แสงแดด แพ้อาหารทะเล เมื่อร่างกายได้รับสารกระตุ้นภูมิแพ้ ก็จะทำให้เกิดอาการผื่นคันขึ้นตามร่างกาย

โดยทั่วไปผื่นลมพิษสามารถหายเองได้โดยใช้เวลาไม่นาน หรือสามารถรักษาให้หายได้ แต่ก็อาจมีบ้างในบางกรณีที่มีอาการแพ้รุนแรง อาการลมพิษก็อาจรุนแรงตามไปด้วย หากมีลมพิษและมีอาการอาเจียน วิงเวียนศีรษะ หรือหายใจลำบาก ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที

ตุ่มแดงขึ้นตามตัว ไม่คัน ไม่มีไข้ บอกอะไร


อาการตุ่มแดงขึ้นตามร่างกาย แต่ไม่มีอาการคัน และไม่มีไข้ร่วมด้วย เกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

1. ผื่น Milia หรือสิวเม็ดข้าวสาร หรือสิวข้าวสาร

มักพบในทารกแรกเกิด สิวข้าวสารนี้มีสาเหตุมาจากการอุดตันของรูขุมขนและท่อเหงื่อ ทำให้เกิดเป็นตุ่มสิวแข็ง ๆ สีขาวเหลืองตามใบหน้า แต่ตุ่มเล็ก ๆ พวกนี้ไม่ก่อให้เกิดอันตราย ไม่มีอาการคัน ไม่มีไข้ และไม่ทำให้เกิดการติดต่อ สามารถหายเองได้ภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ โดยไม่ต้องรับการรักษาเฉพาะทาง

2. ผื่นแดง ETN หรือ Erythema Toxicum Neonatorum

เป็นผื่นที่พบได้ทั่วไปในทารกแรกเกิดในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังคลอด ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด แต่จะมีผื่นแดงเม็ดเล็ก ๆ บนใบหน้า ลามไปยังแขน ลำตัว และขา ผื่นแดงนี้สามารถหายเองได้ภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ โดยไม่ต้องรับการรักษาเฉพาะทาง

3. สิวเด็ก (Baby acne)

เกิดจากต่อมไขมันของเด็กถูกกระตุ้นจากฮอร์โมนแม่ผ่านทางรก หรือเกิดจากฮอร์โมนในต่อมหมวกไตของทารกไปกระตุ้นการทำงานในต่อมไขมัน ทำให้เกิดเป็นสิวตุ่มนูนเม็ดเล็ก ๆ คล้ายกับสิวหัวเปิด มักพบที่บริเวณใบหน้า ลำคอ ช่วงอกหรือช่วงหลัง แต่สิวนี้สามารถหายเองได้โดยไม่ต้องรับการรักษาเฉพาะทาง ไม่ต้องแคะ แกะ เกา เพราะเสี่ยงจะทำให้เกิดการอักเสบได้

4. ผื่นผ้าอ้อม (Nappy Rash)

เกิดจากการอักเสบหรือการระคายเคืองของผิวหนังบริเวณที่สวมผ้าอ้อม ทำให้ผิวหนังมีอาการแดง เจ็บ และอักเสบ รวมถึงมีผื่นแดงเล็ก ๆ เกิดขึ้นบริเวณก้น อวัยวะเพศ ขาหนีบ และบริเวณขาอ่อน

ผื่นผ้าอ้อมลูกน้อย สามารถรักษาได้ด้วยการทายาฆ่าเชื้อรา ทาโลชั่น และมอยส์เจอไรเซอร์ที่แพทย์และเภสัชกรแนะนำ ควบคู่ไปกับการรักษาความสะอาดของลูกน้อย หมั่นเปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อย ๆ ทุกครั้งหลังอาบน้ำ และก่อนสวมผ้าอ้อม จะต้องเช็ดร่างกายให้สะอาดและแห้งสนิท ก็จะสามารถช่วยให้อาการผื่นผ้าอ้อมในเด็กค่อย ๆ ดีขึ้นตามลำดับ

5. ผื่นจากการระคายเคืองหรืออาการแพ้สารเคมี

ผิวหนังของเด็กบอบบาง จึงจำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ สำหรับเด็กเฉพาะสูตรที่มีความอ่อนโยนสูงและปลอดสารเคมีระคายเคืองเท่านั้น เพราะผลิตภัณฑ์บางชนิดอาจมีสารเคมีที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ ทำให้ลูกเป็นผื่นที่หน้าและหัว ลูกเป็นผื่นผิวหนังขึ้นมาได้

ลูกมีจุดแดงขึ้นตามตัว ไม่มีไข้ คุณพ่อคุณแม่ควรรับมืออย่างไร


หากลูกมีผื่นหรือจุดแดงขึ้นตามร่างกาย แต่ไม่มีไข้ร่วม คุณพ่อคุณแม่ควรดูลักษณะของจุดแดงนั้น ว่าเป็นอาการทางผิวหนังแบบใด ผื่นแดงบางชนิดอาจต้องมีการทายา แต่ผื่นแดงหลายชนิดก็สามารถหายเองได้โดยไม่ต้องรักษา แต่ถ้าผื่นแดงเหล่านั้นไม่ทุเลาลงภายใน 2-3 วัน ควรพาลูกไปพบแพทย์

หรือถ้าหากไม่แน่ใจว่าผื่นแดงนั้นเป็นผื่นแบบใด ให้พาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับคำแนะนำในการดูแลลูกที่ถูกต้อง
ทำอย่างไรเมื่อลูกมีผื่นคันขึ้นตามตัว มีไข้ร่วมด้วย 

ผื่นชนิดที่มีไข้ร่วมด้วย ส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อ สามารถดูแลลูกได้ด้วยการให้กินยาลดไข้ และทายาเพื่อบรรเทาอาการคันตามผิวหนัง หากอาการแย่ลง หรือภายใน 1-2 วันแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ควรพาลูกไปพบแพทย์

หากลูกมีไข้สูง อาเจียน วิงเวียนศีรษะ และผื่นลุกลามขึ้นตามร่างกายมากจนผิดปกติ ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที

ผื่นคัน หนึ่งในสัญญาณอาการแพ้นมวัวในทารก


อาการแพ้นมวัว ถือเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ทารกมีอาการผื่นคันตามร่างกาย เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง เซลล์ภูมิคุ้มกันถูกกระตุ้นให้ไวต่อปฏิกิริยาการแพ้ 

มากไปกว่านั้น ทารกมีผนังลำไส้ที่ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ ซึ่งมีสาเหตุมาจาก “จุลินทรีย์ในทางเดินอาหารไม่สมดุล” สิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ รวมถึงโปรตีนนมวัวหลุดเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ อาการแพ้นมวัวสามารถเกิดขึ้นได้ทันทีหลังกินนมวัว หรือใช้เวลานานหลายวัน แต่โดยทั่วไปแล้วมักพบอาการแสดงภายใน 1 สัปดาห์

สำหรับทารกที่มีอาการแพ้นมวัว สามารถดูแลได้ ดังนี้

  • ในกรณีที่คุณแม่ให้ลูกน้อยกินนมแม่อยู่แล้ว แนะนำให้ลูกกินนมแม่ต่อไปเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
  • ให้ลูกงดการกินนมวัวหรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของนมวัว รวมทั้งคุณแม่ก็ควรงดกินเช่นกัน เนื่องจากลูกน้อยอาจจะเกิดอาการแพ้นมวัวผ่านน้ำนมแม่ได้
  • ในกรณีที่คุณแม่มีน้ำนมไม่เพียงพอหรือไม่สามารถให้นมแม่ได้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งแพทย์มักจะแนะนำโปรตีนที่ผ่านการย่อยอย่างละเอียด* (EHP ) ที่มีคุณสมบัติ Hypoallergenic ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ และมีส่วนประกอบของโพรไบโอติก เช่น แล็กโทบาซิลลัส รามโนซัส จีจี (LGG) ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง หยุดอาการแพ้นมวัว รวมถึงลดโอกาส ในการเกิดภูมิแพ้อื่น ๆ ที่อาจจะตามมาในอนาคตได้ 

*แนวทางการรักษาโรคแพ้โปรตีนนมวัวของราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย



บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ดูแลลูก

* นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก
Enfa Smart Club สนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่าง
เดียวอย่างน้อย 6 เดือนและให้นมแม่ควบคู่อาหารตามวัยอีก 2 ปี หรือนานกว่านั้น ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO)
Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

คุณกำลังเข้าถึงเนื้อหาจากผู้ให้บริการภายนอกเกี่ยวกับการซื้อหรือ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท มี้ด จอห์นสัน นิวทริชัน (ประเทศไทย) จำกัด​

กรุณากดยืนยันเพื่อดำเนินการต่อ

Line TH
Shopee TH Lazada TH Join Enfamama