นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เอนฟาสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนไปจนถึง 2 ปี หรือนานกว่าตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

เด็กแพ้ฝุ่น ปัญหาจากฝุ่นเล็ก ๆ ที่ไม่เล็กอย่างที่คิด

Enfa สรุปให้

  • เด็กแพ้ฝุ่น อาจเกิดได้จากฝุ่นละอองหนาที่สะสมภายในบ้าน หรือฝุ่นละอองจากสภาพแวดล้อมภายนอก เช่น ฝุ่นควันจากท่อรถ หรือฝุ่นละออง PM 2.5 ในอากาศ
  • ลูกแพ้ฝุ่น จะส่งผลให้เกิดอาการไอ จาม แน่นหน้าออก หายใจไม่สะดวก มีผดผื่นขึ้นตามร่างกาย มีอาการคัน และยังทำให้มีอาการภูมิแพ้หรืออาการของโรคในระบบทางเดินหายใจกำเริบฉับพลัน
  • ลูกแพ้ไรฝุ่น จะต้องหมั่นทำความสะอาดภายในบ้านเป็นประจำ เพื่อไม่ให้มีฝุ่นละอองสะสม ลดโอกาสเกิดไรฝุ่น และลดความเสี่ยงของอาการแพ้ไรฝุ่นกำเริบ

เลือกอ่านตามหัวข้อ

มลภาวะทางอากาศเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยากในบางครั้ง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของลูกน้อย โดยเฉพาะเด็กที่ร่างกายไม่แข็งแรงหรือมีภาวะภูมิแพ้อยู่แล้ว อาจทำให้อาการแพ้กำเริบหรือเกิดปัญหาสุขภาพตามมาได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงต้องเตรียมวิธีรับมือกับอาการเด็กแพ้ฝุ่นให้พร้อม เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกน้อยมีปัญหาสุขภาพเรื้อรัง

เด็กแพ้ฝุ่น มีอาการอย่างไรบ้าง


ภูมิแพ้ฝุ่นละอองในอากาศ อาจพบได้ทั้งจากฝุ่นละอองภายในบ้าน และมลภาวะจากฝุ่นละอองในสภาพแวดล้อมนอกบ้าน หรืออากาศที่ไม่บริสุทธิ์ เมื่อมาเจอกับเด็กที่มีปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ หรือมีภาวะภูมิแพ้อยู่แล้ว ก็จะส่งผลให้เกิดอาการแพ้ฝุ่นได้ง่ายขึ้น ซึ่งอาการเด็กแพ้ฝุ่นที่สามารถพบได้โดยทั่วไป มีดังนี้

    • มีอาการระคายเคืองในจมูก ส่งผลให้เกิดอาการไอหรือจาม
    • เกิดการระคายเคืองในหลอดลม ทำให้มีอาการไอ มีเสมหะ
    • หายใจไม่สะดวก หรือหายใจไม่ออก
    • หายใจถี่ ๆ หรือหายใจแล้วมีเสียงวี๊ด
    • มีอาการแน่นหน้าอก

สำหรับเด็ก ๆ ที่เป็นโรคหอบหืด หรือมีภาวะภูมิแพ้ เช่น แพ้อากาศ  แพ้ฝุ่นละออง อาจมีอาการเกิดขึ้นแบบฉับพลัน หรือมีอาการแย่ลงในระยะเวลาไม่นาน หากลูกเริ่มมีอาการไอ จามรุนแรง และมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ออกร่วมด้วย ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที

ลูกแพ้ฝุ่น pm 2.5 คุณพ่อคุณแม่จะรับมือยังไงดี


ปัจจุบันนี้ ปัญหามลภาวะฝุ่น PM 2.5 ได้เข้ามากระทบการใช้ชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น และส่งผลต่อสุขภาพของเด็ก ๆ จนน่าเป็นห่วง เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของเด็กนั้นไม่แข็งแรงเท่าผู้ใหญ่ จึงอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาได้ง่าย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเด็กมีภาวะสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด หรือมีภาวะภูมิแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้ฝุ่น แพ้อากาศ อาจทำให้สุขภาพของลูกแย่ลงแบบฉับพลันได้ 

เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกมีอาการแพ้ฝุ่น PM 2.5 ในระดับรุนแรง คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลลูกได้ ดังนี้

    • หากสภาพอากาศอยู่ในระดับวิกฤติ เสี่ยงอันตราย ให้เลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือหยุดเรียน
    • หากจำเป็นต้องออกนอกบ้าน ควรสวมหน้ากากอนามัยที่สามารถป้องกันฝุ่นละออง PM 2.5 ได้
    • หมั่นทำความสะอาดบ้านอยู่เสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้มีฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกสะสม
    • ควรมีอุปกรณ์สำหรับกรองอากาศภายในบ้าน เพื่อดูแลให้อากาศภายในบ้านสะอาด เหมาะแก่การอยู่อาศัย
    • เมื่อกลับถึงบ้านรีบให้ลูกถอดเสื้อผ้าสำหรับแยกซักและอาบน้ำทันที เพื่อชำระล้างร่างกายไม่ให้มีฝุ่นละอองตกค้าง
    • สังเกตอาการของลูกเสมอ หากอาการของลูกเริ่มแย่ลงจนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ไอหนักมาก จามไม่หยุด หายใจไม่ออก ควรพาลูกไปพบแพทย์

การดูแลและป้องกันให้ลูกอยู่ห่างจากมลภาวะของฝุ่น จะช่วยป้องกันไม่ให้อาการภูมิแพ้ของลูกกำเริบรุนแรง ลดความเสี่ยงต่อสุขภาพ และช่วยให้ลูกสามารถเรียนรู้ ทำกิจกรรมได้อย่างเต็มที่ มีพัฒนากที่สมวัย ไม่มีสะดุดเพราะอาการภูมิแพ้ฝุ่นกวนใจ

อันตรายของฝุ่น pm 2.5 ต่อทารกและเด็กเล็ก


PM 2.5 กับเด็ก มีผลกระทบต่อสุขภาพของลูกน้อยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ดังนี้

ผลกระทบของ PM 2.5 กับเด็กในระยะสั้น

อาการทางสุขภาพที่เกิดจากมลพิษในระยะสั้นที่พบได้ทั่วไป ได้แก่

    • ผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจ อาจทำให้ลูกน้อยหายใจไม่ออก หายใจไม่สะดวก มีอาการไอและจามบ่อย ในกรณีที่เป็นโรคหอบหืดอาจมีอาการกำเริบเกิดขึ้นบ่อยครั้ง
    • ผลเสียต่ออาการภูมิแพ้ เด็กที่มีอาการภูมิแพ้ต่อมลภาวะและฝุ่นละอองอยู่แล้ว อาจถูกกระตุ้นให้อาการภูมิแพ้กำเริบได้ง่ายขึ้น เป็นภูมิแพ้บ่อยขึ้น
    • ผลเสียต่อสุขภาพผิวหนัง อาจก่อให้เกิดการระคายเคือง มีอาการคัน เป็นผดผื่น แสบตา ทำให้ไม่สบายตัว

ผลกระทบของ PM 2.5 กับเด็กในระยะยาว

ผลเสียจากการสูดดมและได้รับ PM 2.5 เข้าสู่ร่างกายในระยะยาวคือจะทำให้สุขภาพของเด็กแย่ลง เช่น

    • อาจทำให้เกิดโรคปอด ปอดอักเสบ หอบหืดเรื้อรัง และมีอาการรุนแรงกว่าปกติ
    • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย และใช้เวลาพักฟื้นนานกว่าจะหายดี
    • เสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงตั้งแต่อายุยังน้อย
    • อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอดเมื่อลูกโตขึ้น

การดูแลลูกอย่างใกล้ชิดไม่ให้สูดดมฝุ่นละอองเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมาก จะช่วยลดความเสี่ยงของผลกระทบต่อสุขภาพของลูกในระยะยาวได้ เพราะถ้าหากละเลย จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงทำให้ลูกน้อยมีร่างกายไม่แข็งแรง และเจ็บป่วยง่าย เนื่องจากมลพิษอาจทำลายสมดุลของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้สุขภาพของลูกแย่ลง

ลูกแพ้ไรฝุ่น ดูแลอย่างไร


การไม่รักษาความสะอาดของสภาพแวดล้อมบริเวณที่อยู่อาศัยให้ดี โดยเฉพาะที่นอน หมอน ผ้าห่ม ตุ๊กตาของลูก ตู้เสื้อผ้า โซฟา พรมเช็ดเท้า หรือบริเวณต่าง ๆ ภายในบ้านที่มีฝุ่นจับหนา สิ่งเหล่านี้ถือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ชั้นดีที่ทำให้เกิดไรฝุ่นปริมาณมาก

ซึ่งหากลูกมีอาการภูมิแพ้อยู่แล้ว เมื่อต้องมาอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่สะอาด มีฝุ่นหนาจับ ก็จะทำให้ลูกมีอาการแพ้ไรฝุ่นได้ง่าย ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้อาการลูกแพ้ไรฝุ่นกำเริบบ่อย ๆ คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลลูกได้ ดังนี้

    • ซักทำความสะอาดที่นอนทุกสัปดาห์เพื่อป้องกันไรฝุ่น ทั้งผ้าปูที่นอน ผ้าห่ม หมอน หมอนข้าง หรือตุ๊กตา ควรจะต้องทำความสะอาดเป็นประจำ
    • สำหรับผ้าปูที่นอนและเครื่องนอน หากเป็นไปได้ควรเลือกที่มีคุณสมบัติกันไรฝุ่น
    • ดูแลให้อากาศภายในบ้านมีการถ่ายเท เปิดหน้าต่างระบายอากาศบ้าง เพื่อให้มีความชื้นภายในห้องเหมาะสม ช่วยป้องกันการเกิดไรฝุ่นได้
    • ทำความสะอาดบ้านเป็นประจำ ดูดฝุ่นและเช็ดฝุ่นตามโต๊ะ ตู้ เตียงให้สะอาด ป้องกันไม่ให้ฝุ่นจับหนา
    • หากลูกมีอาการภูมิแพ้ ควรมียาแก้ภูมิแพ้ติดบ้านและติดตัวลูกไว้เสมอ ทั้งยากินและยาชนิดพ่น
    • พาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับวัคซีนกันไรฝุ่น ไม่ว่าจะเป็นชนิดฉีดเข้าใต้ผิวหนัง หรือชนิดที่ต้องอมไว้ใต้ลิ้น เพื่อปรับสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย

ไรฝุ่นแม้จะเล็กจนมองไม่เห็น แต่สามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพของลูกในระดับรุนแรงและมีผลในระยะยาวได้ ดังนั้น การหมั่นดูแลรักษาความสะอาดภายในบ้านเป็นประจำและสม่ำเสมอ จึงถือเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะช่วยให้ลูกมีสุขภาพดี

นอกจากนี้ ควรหาโอกาสพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยหาภูมิแพ้ ตลอดจนรับวัคซีนตามที่แพทย์เห็นสมควร เพื่อช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี ลดความเสี่ยงของอาการภูมิแพ้กำเริบรุนแรง

ภูมิแพ้ป้องกันได้ เริ่มต้นวันนี้ เพื่ออนาคตที่ไม่แพ้


สำหรับภูมิแพ้ในเด็กนั้น หากคุณพ่อคุณแม่มีโอกาสพาลูกไปตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ตั้งแต่อายุยังน้อย หรือจับสังเกตความผิดปกติของลูกน้อยได้ตั้งแต่ยังเยาว์วัย ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายเป็นปกติ และไม่เป็นภูมิแพ้เรื้อรังในอนาคตได้

มากไปกว่านั้น การรู้ตัวตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็ยังช่วยป้องกันสารก่อภูมิแพ้ไม่ให้เข้าสู่ร่างกายของลูก ทั้งยังสามารถหาทางรับมือและป้องกันต่ออาการภูมิแพ้ของลูกได้อย่างเหมาะสม เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของอาการแพ้รุนแรงที่อาจเป็นอันตรายต่อลูกน้อยได้

นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถป้องกันภูมิแพ้ในเด็กได้ด้วยวิธีเหล่านี้

    • ให้ลูกได้กินนมแม่เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
      หลีกเลี่ยงสิ่งที่สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ได้
      หากคุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ในกรณีที่คุณแม่น้ำนมไม่เพียงพอหรือไม่สามารถให้นมแม่ได้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งแพทย์มักแนะนำ* โปรตีนที่ผ่านการย่อยอย่างละเอียด (eHP) ซึ่งมีคุณสมบัติ Hypoallergenic ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ และโพรไบโอติกส์ แล็กโทบาซิลลัส รามโนซัส จีจี (LGG) เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง รวมถึงลดโอกาสในการเกิดภูมิแพ้อื่น ๆ ที่อาจตามมาในอนาคต

*แนวทางเวชปฎิบัติการดูแลรักษาโรคแพ้โปรตีนนมวัว พ.ศ. 2555

  • สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี. ฝุ่น PM2.5 ตัวการทำเด็กป่วย. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก  https://www.childrenhospital.go.th/8827/. [10 มีนาคม 2025]  

  • โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์. เมื่อแพ้ไรฝุ่น...ต้องทำอย่างไร. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก  https://www.synphaet.co.th/children-ramintra/. [10 มีนาคม 2025]  

  • โรงพยาบาลพญาไท. คู่มือการดูแลตัวเองจากฝุ่น PM 2.5 สำหรับเด็กที่เป็นโรคภูมิแพ้อากาศ.​ [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.phyathai.com/th/article/2923. [10 มีนาคม 2025]  

  • โรงพยาบาลสมิติเวช. อาการแพ้ฝุ่น PM2.5 มีอะไรบ้าง เช็กอาการแพ้ และ วิธีดูแลรักษา. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://samitivejchinatown.com/th/article/health/pm2.5-allergy. [10 มีนาคม 2025]  

  • โรงพยาบาลสมิติเวช. ไรฝุ่น ภัยเงียบโรคภูมิแพ้ทางจมูกและโรคหืด. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/. [10 มีนาคม 2025] 

  • โรงพยาบาลนวเวช. PM 2.5 ภัยเงียบขนาดจิ๋ว ที่ไม่จิ๋วสำหรับเด็ก. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.navavej.com/articles/18916. [10 มีนาคม 2025]

* นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก
Enfa Smart Club สนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่าง
เดียวอย่างน้อย 6 เดือนและให้นมแม่ควบคู่อาหารตามวัยอีก 2 ปี หรือนานกว่านั้น ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO)
Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

คุณกำลังเข้าถึงเนื้อหาจากผู้ให้บริการภายนอกเกี่ยวกับการซื้อหรือ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท มี้ด จอห์นสัน นิวทริชัน (ประเทศไทย) จำกัด​

กรุณากดยืนยันเพื่อดำเนินการต่อ

Line TH
Shopee TH Lazada TH Join Enfamama