Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
หลายคนคงเคยได้ยินชื่อ Lactobacillus หรือ แลคโตบาซิลลัส จากนมเปรี้ยวและโยเกิร์ตที่รับประทานกันเป็นประจำทุกวัน แลคโตบาซิลลัส คือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะระบบทางเดินอาหาร ซึ่งช่วยเสริมสร้างสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้และช่วยย่อยอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในบทความนี้ Enfa จะพาคุณแม่ไปทำความรู้จักกับจุลินทรีย์แลคโตบาซิลลัสและประโยชน์ต่อลูกน้อยกันค่ะ
Lactobacillus acidophilus เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ของจุลินทรีย์แลคโตบาซิลลัส ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มแบคทีเรียกรดแลคติก (Lactic Acid Bacteria) มีความสามารถในการเปลี่ยนน้ำตาลเป็นกรดแลคติก ช่วยรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ ลดการเติบโตของแบคทีเรียที่เป็นอันตราย และช่วยย่อยแลคโตสในผลิตภัณฑ์นม เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการแพ้นมวัวหรือย่อยแลคโตสได้ไม่ดี พบได้ในระบบทางเดินอาหารและอาหารหมักดอง เช่น โยเกิร์ต นมเปรี้ยว กิมจิ มิโสะ
แลคโตบาซิลลัส รามโนซัส จีจี (Lactobacillus rhamnosus GG - LGG) เป็นหนึ่งในสายพันธุ์โพรไบโอติกส์ที่ได้รับการศึกษามากที่สุด พบว่ามีคุณสมบัติช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงของการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร และช่วยลดอาการท้องเสียที่เกิดจากเชื้อโรคหรือการใช้ยาปฏิชีวนะ LGG ยังช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้และส่งเสริมสุขภาพลำไส้ให้ดีขึ้น
โพรไบโอติกส์ แลคโตบาซิลลัส รามโนซัส จีจี (LGG) มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายด้าน ดังนี้
โพรไบโอติกส์ แลคโตบาซิลลัส รามโนซัส จีจี (LGG) พบได้ในอาหารหลายชนิด โดยเฉพาะโยเกิร์ตและนมเปรี้ยว กิมจิ มิโสะ เป็นต้น โดยทั่วไปเป็นอาหารที่ปลอดภัยสำหรับคนทั่วไป ยกเว้นผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือมีภาวะร่างกายอ่อนแอ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน
การให้เด็กได้รับ Lactobacillus acidophilus เป็นประจำ ช่วยส่งเสริมสุขภาพในหลายด้าน โดยเฉพาะระบบทางเดินอาหารและภูมิคุ้มกัน ดังนี้
Lactobacillus acidophilus เป็นจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่มีประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหารของเด็ก โดยเฉพาะในการป้องกันและลดอาการท้องร่วง ดังนี้
Lactobacillus acidophilus คือ จุลินทรีย์โพรไบโอติกที่มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นและเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของเด็กโดยช่วยปกป้องร่างกายจากเชื้อโรคและลดการเกิดโรคภูมิแพ้ ดังนี้
อาหารที่มีส่วนประกอบของ Lactobacillus acidophilus ส่วนใหญ่มักเป็นอาหารในกลุ่มของหมักดอง ซึ่งช่วยเสริมสุขภาพลำไส้และระบบภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะในอาหาร 4 ชนิดนี้ซึ่งสามารถรับประทานได้เป็นประจำ
โยเกิร์ตเป็นผลิตภัณฑ์นมหมักที่มีแบคทีเรียโพรไบโอติก เช่น Lactobacillus acidophilus ซึ่งช่วยเสริมสุขภาพลำไส้ ปรับสมดุลจุลินทรีย์ ลดอาการท้องเสีย และเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน การรับประทานโยเกิร์ตที่มี Lactobacillus acidophilus เป็นประจำช่วยให้ระบบย่อยอาหารแข็งแรงและลดความเสี่ยงของโรคเกี่ยวกับลำไส้ได้
ผักดอง เช่น กิมจิ แตงกวาดอง ที่ผ่านการหมักตามธรรมชาติมี Lactobacillus acidophilus และแบคทีเรียโrรไบโอติกอื่น ๆ ซึ่งช่วยปรับสมดุลลำไส้ เสริมการย่อยอาหาร และเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ทั้งนี้ ควรเลือกแบบไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์เพื่อคงคุณค่าของโปรไบโอติก แต่ควรเป็นผักดองที่ปรุงอย่างถูกสุขอนามัย ไม่ใส่สารกันเสียและสารปรุงแต่ง ทั้งนี้ ควรกินผักดองเป็นเครื่องเคียงคู่กับอาหารอื่น
มิโซะ (Miso) เป็นเครื่องปรุงหมักจากถั่วเหลืองที่อุดมไปด้วย Lactobacillus acidophilus ซึ่งช่วยเสริมสุขภาพลำไส้ ปรับสมดุลจุลินทรีย์ และเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน โดยควรเลือกมิโซะที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์และหลีกเลี่ยงการต้มนานเกินไปเพื่อรักษาจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์
คีเฟอร์ (Kefir) หรือบัวหิมะธิเบต เป็นนมหมักที่อุดมไปด้วย Lactobacillus acidophilus ซึ่งช่วยปรับสมดุลลำไส้ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และช่วยย่อยอาหาร โดยคีเฟอร์มีโปรไบโอติกมากกว่าโยเกิร์ตและสามารถช่วยลดอาการแพ้แลคโตส สามารถดื่มเป็นประจำเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพ
นมแม่เป็นแหล่งของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์รวมถึงแลคโตบาซิลลัส เช่น Lactobacillus acidophilus และ Lactobacillus reuteri ซึ่งช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและสุขภาพลำไส้ของทารก โดยแลคโตบาซิลลัสในนมแม่มีความสำคัญต่อลูกน้อย ดังนี้
แลคโตบาซิลลัสในนมแม่มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยระบบย่อยอาหาร ป้องกันโรคภูมิแพ้ และส่งเสริมพัฒนาการของทารก การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการให้จุลินทรีย์ที่ดีแก่ลูกน้อย
แลคโตบาซิลลัส โพรไบโอติกที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน แก้ปัญหาลูกป่วยบ่อยได้ มักพบในอาหารหมักและนมเปรี้ยว รวมถึงนมแม่ การรับประทานอาหารที่มีแลคโตบาซิลลัสเป็นประจำจะช่วยเสริมสร้างสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้และส่งเสริมสุขภาพโดยรวมได้เป็นอย่างดร โดยเฉพาะทารกควรได้รับนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด
Enfa สรุปให้ เด็กตาบวม เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยทั้งสาเหตุจากอุบัติเหตุ การพลัดตกหกล้ม การถูกกระแ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ลูกเป็นหวัด 2 อาทิตย์ยังไม่หาย อาจเป็นเพราะระบบภูมิคุ้มกันของลูกยังไม่แข็งแรง การพั...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ เด็กแพ้ฝุ่น อาจเกิดได้จากฝุ่นละอองหนาที่สะสมภายในบ้าน หรือฝุ่นละอองจากสภาพแวดล้อมภา...
อ่านต่อ