Enfa สรุปให้
- ลูกหายใจแรงและเร็ว ทารกหายใจแรง ทารกหายใจเสียงดัง
มีที่มาที่ไปจากหลากหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเกิดการอุดตันในรูจมูก เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือทารกเป็นหอบหืด เป็นต้น
- คุณพ่อคุณพ่อควรหมั่นสังเกตการหายใจของลูกน้อย
เพื่อดูว่าลูกมีหารหายใจผิดปกติไปจากเดิมหรือไม่ เช่น สังเกตว่าปกติแล้วลูกหายใจแบบไหน
หรือโดยปกติแล้วเวลาลูกหายใจจะมีเสียงอย่างไร สังเกตรูจมูกของทารกว่าเวลาหายใจปกติ
รูจมูกจะบานออกมากหรือน้อยแค่ไหน เป็นต้น
- การหายใจผิดปกติ เช่น หายใจหอบเหนื่อย มีเสียงหวีด หรือมีผื่นแพ้ขึ้นใบหน้า
ตามร่างกาย ข้อพับ และมีความผิดปกติในระบบทางเดินอาหารอย่าง ท้องเสีย อาเจียน
อาจเป็นอาการของการแพ้โปรตีนนมวัว
- หากทารกมีอาการหายใจเสียงดัง และมีอาการอื่น ๆ ร่วม เช่น
มีอาการไอเรื้อรังหรือหายใจมีเสียงหวีด ทารกมีไข้สูง ทารกเป็นหวัด หรือมีอาการคล้ายหวัด
หายใจเข้า-ออกลึกจนมองเห็นซี่โครง เวลาหายใจจะสังเกตว่าจมูกบานออกมากกว่าปกติ มีเสียงครางเวลาหายใจ หายใจเร็ว
มากกว่า 60 ครั้งต่อนาที ริมฝีปาก ตา มือ เท้า มีสีฟ้า หรือมีอาการหยุดหายใจเกิน 10 วินาที
หากมีอาการร่วมเช่นนี้ ให้รีบพาลูกไปพบแพทย์ทันที
เวลาที่เด็กทารกหายใจแรง หายใจมีเสียงครืดคราด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลานอนหลับบางครั้งก็รู้สึกว่าทารกหายใจเสียงดัง
มักทำให้คุณพ่อคุณแม่รู้สึกกังวลว่าลูกน้อยอาจเกิดความผิดปกติได้
แต่อาการหายใจแรงของทารกเป็นอาการผิดปกติจริงหรือเปล่า หรือหายใจเสียงดังแบบไหนที่เป็นสัญญาณอันตราย มาหาคำตอบไปพร้อม ๆ
กันกับบทความนี้จาก Enfa ค่ะ
ลูกหายใจครืดคราด ลูกหายใจแรงและเร็วเกิดจากอะไร?
ทารกหายใจแรง ทารกหายใจเสียงดัง มีที่มาที่ไปจากหลากหลายสาเหตุด้วยกัน ดังนี้
-
เกิดการอุดตันในรูจมูก โพรงจมูกของทารกอาจมีเสมหะอุดตัน ทำให้หายใจไม่ค่อยสะดวก
จึงต้องออกแรงในการหายใจมากขึ้น ทำให้เวลาหายใจจะมีเสียงหวีวหวิว หรือเสียงครืดคราด
-
เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ การอักเสบหรือติดเชื้อที่บริเวณหลอดลมหรือลำคอ
ทำให้ระบบทางเดินหายใจทำงานได้ไม่ดี หายใจลำบาก ไม่สามารถสูดอากาศเข้าไปได้ตามปกติ
-
โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ อาจเกิดจากการแพ้อากาศหรือแพ้สารก่อภูมิแพ้อื่น ๆ เช่น ฝุ่นควัน
ละอองเกสรดอกไม้ ซึ่งอาการแพ้นี้มีผลทำให้เยื่อบุจมูกบวม ทำให้ทารกหายใจไม่สะดวก เวลาหายใจจะมีเสียงหวีวหวิว
หรือเสียงครืดคราด
-
ทารกหายใจเร็ว บางครั้งทารกก็มีอาการหายใจเร็ว จนมีเสียงดังครืดคราด
ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการร้องไห้ หรือการไอต่อเนื่อง หรือเกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรือเป็นไข้
-
ทารกเป็นหอบหืด อาการหอบหืดเกิดขึ้นได้จากหลายเหตุปัจจัย รวมถึงปัจจัยทางพันธุกรรมด้วย
ซึ่งในกรณีที่แพทย์วินิจฉัยว่าทารกมีอาการของโรคหอบหืด ก็อาจจะพบว่าบางครั้งลูกก็มีอาการหายใจแรง หายใจมีเสียงดัง
ลักษณะเสียงหายใจของเด็กแรกเกิดที่คุณแม่ควรรู้
เสียงหายใจของทารกสามารถแบ่งออกได้หลายลักษณะ ดังนี้
-
เสียงหวีดหวิว ส่วนใหญ่มักเกิดจากการอุดตันในจมูก หรือมีเสมหะในจมูกมาก ทำให้หายใจไม่ค่อยออก
เวลาหายใจจึงมักจะมีเสียงหวีดหวิว
-
เสียงแหบ ๆ หรือเสียงไอก้อง ส่วนใหญ่มักเกิดจากการอุดตันของหลอดลม โดยอาจจะมีเสมหะหนา
หรือเกิดการอักเสบในกล่องเสียง ทำให้หายใจลำบาก และเวลาหายใจจึงมีเสียงดัง
-
เสียงไอรุนแรง มักเกิดจากการอุดตันที่บริเวณหลอดลม
จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจวินิจฉัยยืนยันจากแพทย์
-
เสียงกรน มักเกิดจากการอุดตันของเสมหะในรูจมูก ทำให้หายใจไม่ค่อยออก
เวลาหายใจจึงมักจะมีเสียงคล้ายเสียงกรน หรือมีการกรนเกิดขึ้น ซึ่งการกรนอาจเป็นสัญญาณของปัญหาเรื้อรัง เช่น
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับหรือต่อมทอนซิลโต
-
เสียงหวีด ลักษณะเสียงหายใจเป็นเสียงหวีดนี้ อาจเกิดจากการอุดกั้นทางเดินหายใจ
หรือบางครั้งอาจเกิดจากหลอดลมอักเสบ
-
เสียงคราง ทารกที่หายใจมีเสียงคล้ายเสียงคราง มักเป็นสัญญาณของการติดเชื้อรุนแรง
หรือมีปัญหาสุขภาพปอด ควรพาไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย
ลูกหายใจแรงและเร็ว ลูกหายใจครืดคราด
บ่งบอกสัญญาณของอาการผิดปกติอย่างไรได้บ้าง
อาการเสียงหายใจครืดคราดของทารก อาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติได้หลายประการ ดังนี้
-
โรคหอบหืด เด็กที่เป็นโรคหอบหืดมักจะมีอาการหายใจเร็วและแรง จนมองเห็นปีกจมูกบานออก
เวลาหายใจมักจะมีเสียงหวีด หรือเสียงครืดคราดทั้งยังอาจพบว่ามีอาการหน้าอกบุ๋ม
-
โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ เด็กที่มีอาการของโรคภูมิแพ้ ไม่ว่าจะเป็นการแพ้อากาศหรือแพ้สารก่อภูมิแพ้อื่น
ๆ เช่น ฝุ่นควัน ละอองเกสรดอกไม้ ซึ่งอาการแพ้นี้มีผลทำให้เยื่อบุจมูกบวม ทำให้ทารกหายใจไม่สะดวก
เวลาหายใจจะมีเสียงครืดคราด
-
กระดูกอ่อนของหลอดลมยังไม่แข็งแรง กระดูกอ่อนเป็นส่วนที่ช่วยให้ท่อหลอดลมมีความแข็งแรง
เวลาหายใจท่อหลอดลมจะได้ไม่มีการฟีบหรือแบน ในเด็กบางคนที่กระดูกอ่อนส่วนนี้ไม่แข็งแรง
ทำให้เวลาหายใจท่อหลอดลมจะเกิดการฟีบหรือแบน ทำให้หายใจไม่สะดวก ต้องหายใจแรงขึ้น
และเวลาหายใจก็มักจะมีเสียงครืดคราดด้วย
-
กินนมมากเกินไป ทารกที่กินนมมากเกินไปอาจมีปัญหาเวลาหายใจได้ อาจหายใจไม่สะดวก
หรือหายใจแล้วมีเสียงครืดคราด เนื่องจากน้ำนมในกระเพาะอาหารมีปริมาณมากเกินไปจนกระทั่งล้นมาถึงคอ
จนเกิดเป็นเสียงครืดคราดในลำคอเวลาที่หายใจเข้าออก
-
โรคหลอดลมอักเสบ อาจเกิดจากการที่หลอดลมมีการอักเสบ บวม ติดเชื้อ หรือมีเนื้องอกในหลอดลม
ก็อาจจะส่งผลให้ทารกหายใจได้ลำบาก เวลาไอหรือหายใจจึงมักมีเสียงครืดคราดร่วมด้วย
ในกรณีที่ลูกหายใจแล้วมีเสียงครืดคราดเช่นนี้ แล้วอาการไม่ดีขึ้นเลย ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที
เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาในกรณีที่เสียงครืดคราดนั้นมีที่มาจากสาเหตุทางสุขภาพที่ผิดปกติ
คุณพ่อคุณแม่ควรจะสังเกตลักษณะการหายใจของลูกยังไงดี
ทารกวัยแรกเกิด - 6 เดือน มักจะหายใจทางจมูกมากกว่าทางปาก ดังนั้น
คุณพ่อคุณแม่จึงสามารถที่จะสังเกตถึงความผิดปกติได้จากลักษณะกายหายใจที่เปลี่ยนไปของลูก
ซึ่งคุณพ่อคุณพ่อสามารถจับตาสังเกตการหายใจของลูกน้อยได้ ดังนี้
- สังเกตว่าปกติแล้วลูกหายใจแบบไหน หรือโดยปกติแล้วเวลาลูกหายใจจะมีเสียงอย่างไร
- สังเกตรูจมูกของทารกว่าเวลาหายใจปกติ รูจมูกจะบานออกมากหรือน้อยแค่ไหน
- สังเกตดูว่าเวลาอุ้ม หรือเวลาที่ทารกเปลี่ยนอริยาบถ ลักษณะการหายใจของทารกเป็นอย่างไร หายใจตามปกติไหม
หรือหายใจเร็วขึ้น
- สังเกตเสียงจาม ว่าทารกจามแบบไหน จามเป็นเสียงยังไง
- สังเกตเวลาที่ทารกดูดนมแม่ และกินนมขวด ว่าทารกชอบทำเสียงแบบไหน
แล้วเปรียบเทียบกันระหว่างเสียงเวลาดูดนมแม่ กับเสียงเวลากินนมจากขวด
- สังเกตจังหวะหน้าอกของทารกเวลาหายใจ ดูว่ามีจังหวะการขึ้นหรือลงของหน้าอกอย่างไร

ทารกหายใจแรง หายใจผิดปกติ อาจจะเป็นสัญญาณของอาการแพ้นมวัว
หากลูกน้อยมีอาการหายใจแรง หอบ หายใจมีเสียงวี้ด หรือมีอาการร่วมกับอาการอื่น ๆ เหล่านี้ เช่น ผื่นขึ้น แหวะนมหรืออาเจียน
ร้องไห้งอแงหลังกินนม น้ำมูกไหลเรื้อรัง ท้องเสีย และถ่ายเป็นมูกเลือด อาจจะเป็นสัญญาณของอาการแพ้โปรตีนนมวัว
โดยหากพบว่าลูกน้อยมีอาการแบบนี้
ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัดว่าเกิดจากการแพ้โปรตีนนมวัวหรือไม่ นอกจากนี้
คุณแม่ยังสามารถดูแลลูกน้อยที่มีอาการแพ้โปรตีนนมวัวได้ด้วยวิธี ดังนี้
1. หากคุณแม่ให้ลูกน้อยกินนมแม่อยู่แล้ว ก็จะแนะนำให้กินนมแม่ต่อไป
2. งดการกินนมวัวในเด็ก และคุณแม่ก็ต้องงดการกินนมวัวและอาหารทุกชนิดที่มีส่วนประกอบของนมวัวเช่นกัน
3. กรณีที่คุณแม่ไม่สามารถให้นมลูกได้ ควรให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แพทย์อาจแนะนำ* โปรตีนย่อยอย่างละเอียด ที่มีคุณสมบัติ Hypoallergenic ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ โมเลกุลเล็ก
ดูดซึมได้ดี และอาจมีโพรไบโอติกส์ แลคโตบาซิลัส จีจี (LGG) ซึ่งมีบทบาทช่วยหยุดอาการแพ้นมวัว
ช่วยให้ลูกกลับมาทานนมวัวได้เร็วขึ้น อีกทั้งยังป้องกันการเกิดภูมิแพ้ในอนาคต
*อ้างอิงจากแนวทางการรักษาโรคแพ้โปรตีนนมวัวของราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
อาการทารกหายใจแรงแบบไหนอันตราย และควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์โดยด่วน
หากทารกมีอาการดังต่อไปนี้ในเวลาที่หายใจ หรือทุกครั้งที่หายใจ ควรพาไปพบแพทย์ทันที
- ทารกมีอาการไอเรื้อรังหรือหายใจมีเสียงหวีด
- ทารกมีไข้สูง
-
ทารกเป็นหวัด หรือมีอาการคล้ายหวัด
- หายใจเข้า-ออกลึกจนมองเห็นซี่โครง
- เวลาหายใจจะสังเกตว่าจมูกบานออกมากกว่าปกติ
- มีเสียงครางเวลาหายใจ
- หายใจเร็ว มากกว่า 60 ครั้งต่อนาที
- ริมฝีปาก ตา มือ เท้า มีเขียวคล้ำ
- มีอาการหยุดหายใจเกิน 10 วินาที
วิธีแก้ลูกหายใจครืดคราดเบื้องต้น
- ลองปรับอุณหภูมิแอร์ให้เหมาะสม ไม่ต่ำกว่า 25 องศา เนื่องจากเสียงหายใจที่เกิดขึ้นอาจมาจากอุณหภูมิที่ต่ำเกินไป
ทำให้ทางเดินหายใจของเด็กอาจมีเสมหะเกิดขึ้น แล้วทารกหายใจครืดคราดได้
- ทำความสะอาดห้อง กำจัดฝุ่น หรือสิ่งที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ เนื่องจากเสียงหายครืดคราดนี้ อาจมาจากอาการหอบหืด
หรือภูมิแพ้ของเด็ก
- ไม่ให้ลูกดื่มนมมากจนเกินไป(Overfeeding) เพราะอาจเกิดการสำรอกนม หรือมาเอ่อที่ส่วนคอแล้วเกิดเสียงขณะหายใจ
- ในกรณีที่ลูกมีอาการแพ้นมวัว ควรให้ลูกงดการกินนมวัวหรืออาหารที่มีส่วนประกอบของนมวัว นอกจากนี้
หากคุณแม่ยังให้นมแม่อยู่ ก็ควรงดการกินนมวัวและอาหารที่่มีส่วนประกอบของนมวัวเช่นกัน
เนื่องจากลูกน้อยอาจจะเกิดอาการแพ้ผ่านน้ำนมแม่ได้
- ปรับหมอนของเด็กให้สูงขึ้น เพื่อให้หายใจได้สะดวกขึ้น แต่ไม่แนะนำในเด็กอ่อน
เนื่องจากอาจเกิดการอุดกั้นช่องทางเดินหายใจได้
หากคุณพ่อ คุณแม่ เริ่มสังเกตุเห็นอาการหายใจของลูกมีเสียง หายใจครืดคราดแล้วล่ะก็
ลองนำวิธีเหล่านี้ไปใช้ดูเบื้องด้นได้ค่ะ หากอาการไม่ดีขึ้น
แนะนำให้พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อวินิจฉัยอาการผิดปกติของลูกน้อย
เพื่อที่จะรักษาและทราบวิธีแก้ลูกหายใจครืดคราดได้อย่างถูกจุดค่ะ
ไขข้อข้องใจเรื่องทารกหายใจแรงกับ Enfa Smart Club
ทารกหายใจแรง
อกบุ๋ม เป็นสัญญาณอันตรายหรือไม่
หากทารกหายใจแรงและมีอาการอกบุ๋มร่วม ควรพาไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณอันตรายต่อสุขภาพได้
ทารกหายใจครืดคราด
มีอาการคัดจมูก คุณแม่ควรทำอย่างไร
หากทารกมีอาการคัดจมูกและหายใจครืดคราด คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตดูว่าอาการเช่นนี้เป็นอยู่นานหรือไม่
หากหายไปเองก็อาจจะไม่ต้องกังวล แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นเลย ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที
หรือถ้าหากทารกหายใจครืดคราด และมีอาการคัดจมูก ร่วมกับอาการดังต่อไปนี้ ก็ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที
- ทารกมีอาการไอเรื้อรังหรือหายใจมีเสียงหวีด
- ทารกมีไข้สูง
- ทารกเป็นหวัด หรือมีอาการคล้ายหวัด
- หายใจเข้า-ออกลึกจนมองเห็นซี่โครง
- เวลาหายใจจะสังเกตว่าจมูกบานออกมากกว่าปกติ
- มีเสียงครางเวลาหายใจ
- หายใจเร็ว มากกว่า 60 ครั้งต่อนาที
- ริมฝีปาก ตา มือ เท้า มีเขียวคล้ำ
- มีอาการหยุดหายใจเกิน 10 วินาที
เปิดแอร์แล้วลูกหายใจครืดคราด
ควรทำอย่างไร
อาจเป็นไปได้ว่าอากาศภายในห้องหนาวเย็นเกินไป ลองปรับอุณหภูมิในห้องให้เหมาะสม แล้วดูว่าลูกยังหายใจครืดคราดอยู่หรือไม่
แต่ถ้าลองปรับอุณหภูมิแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ควรพาไปพบแพทย์
ลูกหายใจเสียงดังหวีด อันตรายหรือไม่
อาการหายใจมีเสียงหวีด อาจเกิดจากสาเหตุโดยทั่วไป เช่น มีเสมหะอุดตันในโพรงจมูก
อาการนี้มักเกิดขึ้นโดยลูกมีเสมหะหายใจครืดคราดไม่มีไข้ ซึ่งอาจจะค่อย ๆ ดีขึ้นตามลำดับได้
แต่บางครั้งก็อาจหมายถึงการติดเชื้อที่ปอดได้หากมีไข้ร่วมด้วย หรือโรคหอบหืด
หากลูกหายใจแล้วมีเสียงวี้ดและอาการนั้นไม่ดีขึ้นเลย ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที
ลูกหายใจครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูกเกิดจากอะไร
อาการหายใจมีเสียงครืดคราดแต่ไม่มีน้ำมูกร่วมด้วย เกิดได้จากหลายสาเหตุ อาทิเช่น การอุดตันที่ผิดปกติในทางเดินหายใจ,
สำลักสิ่งแปลกปลอม, โรคหอบหืดหรือมีสิ่งระคายเคืองในทางเดินหายใจ, ภาวะความผิดปกติของทางเดินหายใจตั้งแต่กำเนิด
หรืออาจเกิดได้จากลูกน้อยดื่มนมมากเกินไป(Overfeeding) จนทำให้น้ำนมล้นมาถึงคอค่ะ แต่เพื่อค้นหาสาเหตุที่ถูกต้อง
และรักษาอาการได้อย่างเหมาะสม คุณแม่ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจร่างกายหาสาเหตุที่แท้จริงค่ะ
ลูกหายใจแรง
ครืดคราด อันตรายไหม
ลูกหายใจแรงและมีเสียงครืดคราด เกิดขึ้นได้จากเหตุปัจจัยที่แตกต่างกันไป บางครั้งอาจมาจากสาเหตุโดยทั่วไปที่ไม่น่ากังวล
เช่น เสมหะอุดตัน แต่บางครั้งก็อาจหมายถึงการติดเชื้อที่ปอด โรคหอบหืด โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้
กระดูกอ่อนของหลอดลมยังไม่แข็งแรง โรคหลอดลมอักเสบ หรือกินนมมากเกินไป
ดังนั้น หากลูกหายใจแรง แล้วมีเสียงครืดคราด ให้คุณพ่อคุณแม่สังเกตอาการของลูกดูว่าดีขึ้นหรือไม่
แต่ถ้าอาการนั้นไม่ดีขึ้นเลย ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่