Enfa สรุปให้
- ลำไส้อักเสบในเด็กเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อไวรัส การติดเชื้อแบคทีเรีย
รวมถึงสาเหตุอื่น เช่น ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ภาวะลำไส้อุดตัน เป็นต้น
- ลูกเป็นลำไส้อักเสบกี่วันหายขึ้นกับสาเหตุและอาการ
หากติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียจะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์หรือมากกว่านั้น
- ลำไส้อักเสบและลำไส้อุดตันมักมีอาการคล้ายกัน คือ มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน
อุจจาระร่วง

ภาวะลำไส้อักเสบในทารก เป็นเรื่องน่ากังวลใจสำหรับคุณพ่อคุณแม่อย่างมาก
อาการลำไส้อักเสบอาจมีเพียงเล็กน้อยไปจนถึงอาการรุนแรง ขึ้นอยู่กับสาเหตุและวิธีการรักษา
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่สงสัยว่าหากลูกเป็นลำไส้อักเสบกี่วันหาย ลำไส้อักเสบในเด็กอาการเป็นอย่างไร
ลำไส้อุดตันในทารกอาการเหมือนหรือต่างกับลำไส้อักเสบอย่างไร มาหาคำตอบพร้อมกันเลยค่ะ
ลูกเป็นลําไส้อักเสบกี่วันหาย
เมื่อลูกมีอาการไข้ อาเจียน อุจจาระไม่ปกติ เป็นอาการเบื้องต้นที่สันนิษฐานได้ว่าลูกเป็นลำไส้อักเสบ
นอกจากเฝ้าระวังอาการและนำส่งโรงพยาบาลแล้ว สิ่งที่พ่อแม่อยากรู้คืออาการลำไส้ติดเชื้อในเด็กกี่วันหาย
เนื่องจากเมื่อลูกเล็กไม่สบาย พ่อแม่จำเป็นต้องหยุดงานเพื่อดูแลลูก ซึ่งอาการลำไส้อักเสบในเด็กหากมีอาการไม่รุนแรงมาก
เช่น มีอาการไข้และอาเจียน ส่วนมากจะดีขึ้นได้ใน 3-4 วัน ขึ้นกับอาการและวิธีดูแลรักษาด้วย เช่น
ลำไส้อักเสบจากไวรัสมักใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์
แต่หากลำไส้อักเสบหรือลำไส้ติดเชื้อแบคทีเรียจะใช้เวลานานกว่าและต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือคุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการลูกอย่างใกล้ชิด และจดบันทึกความถี่ของการขับถ่ายหรืออาเจียน
รวมถึงวัดไข้ เพื่อช่วยให้แพทย์วินิจฉัยได้ง่ายขึ้นและรักษาได้ถูกวิธี เพื่อลูกน้อยจะได้กลับมาแข็งแรงโดยเร็วค่ะ
ทารกลําไส้อักเสบ เกิดจาก
ลำไส้อักเสบในเด็กเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อไวรัส การติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นต้น
แต่ที่มักพบบ่อยเป็นการติดเชื้อไวรัสซึ่งทำให้ท้องเสียเฉียบพลัน
ส่วนการติดเชื้อแบคทีเรียอาจเกิดจากการปนเปื้อนมากับอาหาร ทำให้เกิดการอักเสบที่ลำไส้โดยตรง
ซึ่งมีอาการทั่วไปคล้ายกันคือ มีไข้ คลื่นไส้อาเจียน อุจจาระร่วง
นอกจากนี้ ลำไส้อักเสบในเด็กเกิดจากสาเหตุอื่นได้อีก เช่น ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ภูมิแพ้อาหาร ภาวะลำไส้อุดตัน
ผลข้างเคียงจากยาปฏิชีวนะบางชนิด เป็นต้น
ลําไส้อุดตันในทารก อาการ
ลำไส้อักเสบในเด็กมีอาการที่สังเกตได้ไม่ยาก
แต่ยังมีอีกโรคหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรระวังคือลำไส้อุดตันในทารกซึ่งมีอาการบางอย่างคล้ายกับลำไส้อักเสบ
โดยลำไส้อักเสบในเด็กมีอาการไข้ คลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง ส่วนลำไส้อุดตันในทารกมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น
ร้องไห้ไม่หยุด ท้องบวม ท้องอืด อาเจียนเป็นน้ำดีบ่อย ไม่ถ่ายอุจจาระหรือถ่ายน้อยผิดปกติ รวมถึงมีอาการซึม อ่อนเพลีย
มีไข้ หากพบอาการเหล่านี้ คุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาทารกไปพบแพทย์ เนื่องจากอาจเป็นสาเหตุมาจากลำไส้อุดตัน
สาเหตุหลักของการเกิดภาวะลำไส้อุดตันในทารกนั้น เกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างในระบบทางเดินอาหารของทารก
คือภาวะที่กระเพาะอาหารหรือสำไส้เกิดการอุดตัน ทำให้อาหารผ่านลงไปไม่ได้ ถือเป็นภาวะร้ายแรง
ซึ่งการรักษาจะซับซ้อนและเร่งด่วนกว่าอาการลำไส้อักเสบในเด็กที่เกิดจากการติดเชื้อ
วิธีรักษาลําไส้อักเสบ
อาการลำไส้อักเสบในเด็กมักมีอาการถ่ายเหลวมีน้ำมาก อาจมีเลือดปน มีไข้
หากเกิดจากการติดเชื้อไวรัสลูกอาจมีอาการไอและน้ำมูกไหลร่วมด้วย ถ้าเด็กขาดน้ำมากอย่างต่อเนื่องจนเริ่มมีอาการปากแห้ง
น้ำลายน้อย ปัสสาวะน้อยลง ตัวเย็น ซึมลง ควรรีบพาไปพบแพทย์
ลำไส้อักเสบในเด็กเป็นโรคฮิตในกลุ่มเด็กเล็กที่แม้รักษาหายแล้วก็กลับมาเป็นซ้ำได้อีก โดยมีการศึกษาพบว่า
เด็กกลุ่มนี้จะมีอุจจาระร่วงประมาณ 5-6 ครั้งต่อปี ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ก็เกิดจากเชื้อไวรัสประมาณ 50-60%
และเชื้อแบคทีเรียอีก 30% ที่เหลืออาจเป็นสาเหตุอื่นๆ เช่น อาหารเป็นพิษ
วิธีรักษาลำไส้อักเสบ หากลูกมีอาการไม่รุนแรงมากอาจให้ดื่มเกลือแร่หรือ ORS ทีละน้อย ๆ จิบบ่อย ๆ
หากไม่อาเจียนซ้ำหลังผ่านไปประมาณ 4 ชั่วโมง ให้เริ่มลองรับประทานอาหารอ่อน ๆ เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม แต่หากไม่ดีขึ้น
ยังมีอาเจียนซ้ำ ๆ และถ่ายเหลว ให้รีบนำส่งแพทย์
อาการลำไส้อักเสบในเด็กขึ้นกับสาเหตุของโรค ส่งผลให้วิธีรักษาลำไส้อักเสบต่างกันด้วย เช่น หากแพทย์วินิจฉัยแล้วพบว่า
เกิดจากการติดเชื้อไวรัส แพทย์อาจให้การรักษาตามอาการ เช่น การให้สารน้ำเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
แต่ในกรณีที่อาการลำไส้อักเสบเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แพทย์อาจสั่งยาปฏิชีวนะ เพื่อหยุดการแพร่กระจายของเชื้อ
ทั้งนี้ ในรายที่อาการรุนแรง ควรได้รับการรักษาในเวลาที่เหมาะสม และอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย
เด็กลําไส้อักเสบห้ามกินอะไร
รู้จักอาการลำไส้อักเสบในเด็กและวิธีดูรักษากันแล้ว มาดูกันต่อว่าเด็กลำไส้อักเสบห้ามกินอะไรบ้าง
หากคุณพ่อคุณแม่พาลูกไปหาหมอแล้วได้รับคำแนะนำอย่างไรให้ปฏิบัติตามนั้นอย่างเคร่งครัด หากเด็กมีอาการไม่มาก
ไม่ควรหายาให้เด็กกินเองโดยเด็ดขาด และควรระมัดระวังอาหารต่อไปนี้
- นมและผลิตภัณฑ์จากนม หากจำเป็นต้องให้นมแนะนำให้ใช้นมถั่วเหลือง หรือนมที่ไม่มีแลคโตส
เพื่อช่วยให้การย่อยและการดูดซึมดีขึ้น
- งดผัก ผลไม้ ทุกชนิด รวมถึงน้ำผลไม้ด้วย เพราะจะทำให้ถ่ายเหลวมากขึ้น
- งดอาหารไขมันสูง อาหารย่อยยาก
- งดอาหารแปรรูป และขนมขบเคี้ยว
- ไม่ควรใช้น้ำอัดลมและน้ำเกลือแร่สำหรับนักกีฬา
สำหรับอาหารที่แนะนำให้เด็กลำไส้อักเสบรับประทานได้คือ อาหารอ่อนจำพวกแป้งและโปรตีน เช่น ข้าวต้ม แครกเกอร์ น้ำแกงจืด
หรืออาหารเสริมตามที่แพทย์แนะนำ โดยคำนึงถึงความสะอาด ความสุก สด ของอาหาร และสุขอนามัยที่ถูกสุขลักษณะของลูก
ซึ่งตามปกติแล้วลูกจะมีอาการดีขึ้นได้ภายใน 1 สัปดาห์
อาการลําไส้อุดตัน ทารก อาจเกิดจากภูมิแพ้
หลายคนมักคิดว่าอาการลำไส้อุดตันในทารกอาจเกิดจากภูมิแพ้ ความจริงแล้วภูมิแพ้ไม่ใช่สาเหตุโดยตรงของอาการลำไส้อุดตัน
เนื่องจากอาการลำไส้อุดตันในทารกเกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างในระบบทางเดินอาหาร
ซึ่งต่างจากลำไส้อักเสบที่มักเกิดจากการติดเชื้อ อีกทั้งยังพบอาการลำไส้อักเสบที่มีสาเหตุมาจากการแพ้โปรตีนนมวัวได้ด้วย
รองลงมาเป็นการแพ้โปรตีนจากถั่วเหลือง ไข่ และอาหารทะเล
ถึงแม้ว่าภูมิแพ้จะไม่ใช่สาเหตุของอาการลำไส้อุดตัน แต่ก็ควรเฝ้าระวังอาการภูมิแพ้ในทารกเช่นกัน
เพราะในรายที่อาการแพ้รุนแรงอาจส่งผลถึงแก่ชีวิตได้
หากสงสัยเรื่องการแพ้อาหารคุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง
ลูกเป็นภูมิแพ้ แพ้นมวัว คุณแม่ดูแลได้ เริ่มตั้งแต่วันนี้
ปัจจุบันเด็กไทยพบความเสี่ยงของการเกิดภูมิแพ้สูงถึง 30% กันเลยทีเดียว และยิ่งหากคนในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็น พ่อ แม่
หรือพี่น้อง มีประวัติการเป็นภูมิแพ้มาก่อน ลูกก็จะมีความเสี่ยงในการเป็นภูมิแพ้สูงขึ้นถึง 70% - 80% ด้วย
อาการแพ้นมวัวเกิดขึ้นจากระบบภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง เซลล์ภูมิคุ้มกันถูกกระตุ้นให้ไวต่อปฏิกิริยาการแพ้
ทารกมีผนังลำไส้ที่ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ ซึ่งมีสาเหตุมาจาก “จุลินทรีย์ในทางเดินอาหารไม่สมดุล” สิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ
รวมถึงโปรตีนนมวัวหลุดเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย จึงกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้
อาการแพ้นมวัวสามารถเกิดขึ้นได้ทันทีหรือภายใน
1 - 3 ชม. หรือใช้เวลานานหลายวันหรือเป็นสัปดาห์หลังรับประทานนมวัว หากคุณแม่สงสัยว่าลูกน้อยแพ้นมวัวหรือไม่
สามารถสังเกตอาการแพ้นมวัวได้ ดังนี้
-
ร้องงอแง
-
แหวะนม
-
ผื่นแดง
-
ถ่ายมีมูกเลือด
-
ผิวแห้ง
-
คัน
-
บวม
-
คัดจมูก
-
น้ำหนักตัวไม่ปกติ
-
เรอ
-
ท้องเสีย
-
ท้องผูก
-
ปวดท้อง
-
ความอยากอาหารลดลง
สำหรับวิธีการดูและและป้องกันลูกน้อยจากอาการแพ้นมวัว คุณแม่สามารถทำได้ง่าย ๆ คือ สังเกตอาการแพ้ของลูกน้อยอย่างใกล้ชิด
และควรพาไปพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง หากลูกน้อยกินนมแม่อยู่แล้ว แนะนำให้กินนมแม่ต่อไป
พร้อมทั้งให้ลูกงดกินนมวัวหรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบจากนมวัว
รวมทั้งคุณแม่ก็ควรงดกินเช่นกันเพื่อป้องกันการแพ้นมวัวผ่านน้ำนมแม่
ในกรณีที่คุณแม่มีน้ำนมไม่เพียงพอหรือไม่สามารถให้นมแม่ได้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ซึ่งแพทย์มักจะแนะนำโปรตีนที่ผ่านการย่อยอย่างละเอียด* (EHP ) ที่มีคุณสมบัติ Hypoallergenic
ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ และมีส่วนประกอบของโพรไบโอติก เช่น แล็กโทบาซิลลัส รามโนซัส จีจี (LGG)
ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง หยุดอาการแพ้นมวัว รวมถึงลดโอกาส ในการเกิดภูมิแพ้อื่น ๆ ที่อาจจะตามมาในอนาคตได้
*แนวทางการรักษาโรคแพ้โปรตีนนมวัวของราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่และลูกน้อย