นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เอนฟาสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนไปจนถึง 2 ปี หรือนานกว่าตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

ลูกท้องผูก 3 ขวบ รับมืออย่างไร ลูกไม่ถ่าย 7 วัน อันตรายไหม

Enfa สรุปให้

  • ลูกท้องผูก 3 ขวบ มักเกิดจากพฤติกรรมการกินเป็นหลัก เช่น กินอาหารไม่มีกากใย ไม่กินผักผลไม้ ดื่มน้ำน้อย ชอบกินอาหารแปรรูป ขนมกรุบกรอบ
  • ลูกไม่ถ่าย 7 วัน 3 ขวบ หากมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดท้องรุนแรง ท้องบวมโต อาเจียน กินน้อย น้ำหนักลด ควรพาไปพบแพทย์
  • ลูก 3 ขวบ ท้องผูก เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญซึ่งคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรละเลย เพราะปัญหาการขับถ่ายอาจส่งผลถึงพัฒนาการด้านการเรียนรู้และการเจริญเติบโต

เลือกอ่านตามหัวข้อ

ปัญหาการขับถ่ายเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่กวนใจคุณพ่อคุณแม่อย่างมาก เนื่องจากในเด็กเล็กมักมีการขับถ่ายไม่แน่นอน ทำให้ต้องคอยสังเกตว่าเมื่อไรที่ลูกไม่ถ่ายและเริ่มมีอาการท้องผูก โดยเฉพาะในลูกวัย 3 ขวบซึ่งเป็นวัยกำลังเรียนรู้ หากลูก 3 ขวบท้องผูกบ่อย ๆ จะส่งผลกระทบต่ออารมณ์และพฤติกรรมของเด็กได้

ในบทความนี้ Enfa จะพาคุณพ่อคุณแม่มาทำความเข้าใจเรื่องการขับถ่ายของลูก 3 ขวบ อาการลูกท้องผูก 3 ขวบ หรือลูกไม่ถ่าย 7 วัน 3 ขวบ เป็นอย่างไร มาหาคำตอบกันเลยค่ะ

ลูกท้องผูก 3 ขวบ รับมืออย่างไร

หากลูก 3 ขวบ ถ่ายยาก ไม่ถ่าย มีการเบ่งถ่าย หรือชอบกลั้นถ่ายอุจจาระ คุณพ่อคุณแม่ควรเร่งหาสาเหตุเพื่อรีบทำการแก้ไข ป้องกันไม่ให้เกิดผลเสียระยะยาว หรือเกิดอาการแทรกซ้อน โดยหากลูกถ่ายยากหรือไม่ถ่ายนานประมาณ 3-5 วัน คุณพ่อคุณแม่สามารถรับมือด้วยตนเองโดยใช้มีวิธีช่วยเหลือลูกในเบื้องต้น ดังนี้

1. ปรับอาหารการกิน

เพราะอาหารเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้ลูก 3 ขวบ ถ่ายยาก การรับมือลูกท้องผูก 3 ขวบทำได้โดยเพิ่มอาหารที่มีกากใย เช่น ผัก ผลไม้ และธัญพืชในมื้ออาหาร เช่น มะละกอ ส้ม กล้วยน้ำว้า ลูกพรุน หรือแอปเปิ้ล ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต หรือซีเรียลที่มีไฟเบอร์สูง และดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอเพื่อช่วยให้อุจจาระนุ่มขึ้น พร้อมทั้งลดอาหารที่ทำให้ลูก 3 ขวบท้องผูกได้ง่าย เช่น ขนมอบกรอบ ขนมปังขาว

2. ขับถ่ายให้เป็นเวลา

บ่อยครั้งที่พบว่าลูกท้องผูก 3 ขวบ เกิดจากการขับถ่ายไม่เป็นเวลา คุณพ่อคุณแม่ควรฝึกให้ลูกนั่งถ่ายในเวลาเดิมทุกวัน เช่น หลังมื้ออาหารเช้า หรือหลังอาหารเย็น อย่ากดดันลูกจนเครียด ระวังอย่าให้นั่งนานจนเกินไป และหากลูกถ่ายไม่ออกในครั้งนั้น ให้ลองใหม่ในเวลาอื่น

3. กระตุ้นการเคลื่อนไหวร่างกาย

หากลูก 3 ขวบถ่ายยาก ควรส่งเสริมให้ลูกเล่นและออกกำลังกายมากขึ้น เช่น พาไปวิ่งเล่น ปั่นจักรยาน เพราะการวิ่งเล่นหรือการทำกิจกรรมที่เคลื่อนไหวร่างกาย จะช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ได้ดี

4. ให้กำลังใจและสังเกตอาการผิดปกติ

คุณพ่อคุณแม่ควรให้เสริมสร้างกำลังใจ โดยเฉพาะหากเด็กไม่ถ่ายเนื่องจากปัญหาทางใจ เช่น กังวลเรื่องการแยกจาก ปรับตัวเข้ากับโรงเรียนใหม่ หรือต้องขับถ่ายในสถานที่ไม่คุ้นเคย พร้อมทั้งหมั่นสังเกตอาการผิดปกติของลูก หากปรับพฤติกรรมตามคำแนะนำไปแล้วยังพบว่าลูก 3 ขวบถ่ายยาก ถ่ายมีเลือดปนในอุจจาระ มีอาการปวดท้อง น้ำหนักลด และท้องผูกนานเกิน 1 สัปดาห์ ควรพาไปพบแพทย์

ลูกไม่ถ่าย 7 วัน 3 ขวบ อันตรายไหม

หากลูกท้องผูกเกิน 7 วัน อาจเป็นสัญญาณของปัญหาที่รุนแรง คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญและสังเกตอาการผิดปกติ เพราะอาจบ่งชี้ถึงปัญหาทางสุขภาพที่ร้ายแรงกว่าการท้องผูกทั่วไป หากปล่อยไว้โดยไม่ดูแล อาจนำไปสู่อันตรายได้

ลูกไม่ถ่าย 7 วัน อาจเกิดการสะสมของอุจจาระในลำไส้ หรืออุจจาระอาจสะสมจนแข็งตัวและทำให้ขับถ่ายยากยิ่งขึ้น ส่งผลให้มีโอกาสเกิดการติดเชื้อในลำไส้ มีปัญหาการอักเสบของลำไส้ โดยอาจมีอาการอื่นเพิ่มเติม เช่น

  • ปวดท้องและท้องอืด
  • ปวดท้องอย่างรุนแรง
  • อาเจียน
  • มีเลือดปนในอุจจาระ
  • เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
  • ท้องบวมโต
  • มีไข้

ลูก 3 ขวบ ท้องผูก เกิดจากอะไร

เด็ก 3 ขวบท้องผูก มักมีอาการอุจจาระเป็นก้อนแข็ง หรือเหมือนเม็ดกระสุน มีการเจ็บหรือร้องไห้เวลาถ่าย ถ่ายไม่บ่อยโดยอาจน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ท้องอืด แน่นท้อง

โดยลูก 3 ขวบท้องผูก เกิดจากหลายสาเหตุ ทั้งจากพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม พฤติกรรมการขับถ่าย และอาจพบการเปลี่ยนแปลงในชีวิตทำให้สภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป ดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย ไม่ชอบกินผักผลไม้
  • ชอบกินอาหารแปรรูป หรือขนมกรุบกรอบ
  • ดื่มน้ำน้อย หรือดื่มนมในปริมาณมากเกินไป
  • ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย วิ่งเล่น ติดจอ หรือมีพฤติกรรมอยู่เฉย
  • กลั้นอุจจาระเพราะไม่อยากใช้ห้องน้ำ หรือรู้สึกไม่สะดวก
  • มีการเปลี่ยนโรงเรียน ย้ายบ้าน หรือสถานการณ์ที่ทำให้เด็กเครียด
  • ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการขับถ่าย

ลูกถ่ายยาก 3 ขวบ ป้องกันอย่างไร

ลูกถ่ายยาก 3 ขวบป้องกันได้ไม่ยากเลยค่ะ โดยคุณพ่อคุณแม่ควรปรับพฤติกรรมการกินให้เหมาะสม หมั่นสังเกตการขับถ่ายของลูกเป็นประจำ รวมทั้งสร้างสภาพแวดล้อมในการขับถ่ายที่ดี ดังนี้

  • สร้างนิสัยการกินที่ดี เสริมอาหารที่มีกากใยในทุกมื้อ ฝึกลูกกินผักและกินอาหารให้หลากหลาย
  • ลดการให้ลูกกินขนมหวานและอาหารแปรรูป
  • หลีกเลี่ยงขนมที่มีน้ำตาลสูงและอาหารที่มีไขมันเยอะ รวมถึงน้ำหวาน
  • ส่งเสริมการดื่มน้ำ กระตุ้นให้ลูกดื่มน้ำตลอดวัน โดยเฉพาะน้ำเปล่า
  • สนับสนุนการเคลื่อนไหว พาไปวิ่งเล่น ปั่นจักรยาน เตะบอล ให้ลูกได้วิ่งเล่นหรือออกกำลังกายเพื่อกระตุ้นลำไส้
  • ฝึกนิสัยการขับถ่าย จัดเวลาให้ลูกนั่งถ่ายเป็นประจำ เช่น หลังมื้ออาหาร หรือหลังมื้อเย็น
  • เปลี่ยนฝารองชักโครก หรือใช้กระโถนนั่งถ่ายที่มีขนาดเหมาะกับตัวเด็ก
  • ชมเชยเมื่อลูกสามารถถ่ายได้สำเร็จ ให้ความรักและความเข้าใจ
  • หากลูกเคยมีประสบการณ์เจ็บเวลาถ่ายจนกลัว ควรพูดปลอบโยน และอธิบายให้ลูกเข้าใจว่าการถ่ายเป็นเรื่องปกติ
  • ลดความเครียดในชีวิตประจำวันของลูก สร้างบรรยากาศในครอบครัวที่อบอุ่นและปลอดภัย

ทั้งนี้ การป้องกันตามวิธีการดังกล่าวอาจใช้เวลาสักระยะ โดยอาจไม่ได้เห็นผลในทันที อย่างไรก็ดีควรทำอย่างสม่ำเสมอ และเตรียมความพร้อมสำหรับช่วยเหลือเด็กในการขับถ่ายทั้งในบ้านและสถานที่อื่นนอกบ้าน เช่น ห้างสรรพสินค้า ปั๊มน้ำมัน เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กกลั้นถ่ายเป็นนิสัย

เพราะเรื่องย่อยคือเรื่องใหญ่ เลือกโภชนาการที่ใช่ เพื่อให้ลูกสบายท้อง สมองดี

กว่า 70% ของเด็กมีอาการไม่สบายท้อง ซึ่งส่งผลต่อระบบย่อยอาหารและการขับถ่าย โดยระบบย่อยอาหารของลูกน้อยไม่ใช่แค่เรื่องสุขภาพท้อง แต่ยังเกี่ยวพันกับการพัฒนาสมองและสุขภาพโดยรวมอีกด้วย การเลือกโภชนาการที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ลูกสบายท้องและสมองพัฒนาตามวัยอย่างเต็มที่

เพื่อป้องกันอาการไม่สบายท้องต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงหลังหย่านม คุณแม่ควรมองหา “ทางเลือกในการเปลี่ยนที่ดีที่สุด” คุณแม่อาจมองหาโภชนาการที่ย่อยง่ายทีมี PHP หรือโปรตีนขนาดเล็กที่ย่อยมาแล้วบางส่วน ทำให้ย่อยและดูดซึมง่าย ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ลดอาการไม่สบายท้อง ควบคู่ไปกับสุดยอดสารอาหารสมองอย่าง MFGM ที่พบในนมแม่ ซึ่งประกอบไปด้วยโปรตีนและไขมันที่จำเป็นกว่า 150 ชนิด ได้แก่ เช่น สฟิงโกไมอีลิน ฟอสโฟลิปิด และแกงกลิโอไซด์ ก็จะช่วยให้ลูกน้อยผ่านช่วงหย่านมได้อย่างราบรื่น สบายท้องและเรียนรู้ไม่สะดุด

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่และลูกน้อย

* นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก
Enfa Smart Club สนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่าง
เดียวอย่างน้อย 6 เดือนและให้นมแม่ควบคู่อาหารตามวัยอีก 2 ปี หรือนานกว่านั้น ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO)
Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

คุณกำลังเข้าถึงเนื้อหาจากผู้ให้บริการภายนอกเกี่ยวกับการซื้อหรือ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท มี้ด จอห์นสัน นิวทริชัน (ประเทศไทย) จำกัด​

กรุณากดยืนยันเพื่อดำเนินการต่อ

Line TH
Shopee TH Lazada TH Join Enfamama