Enfa สรุปให้:
Enfa สรุปให้:
ทำยังไงดี หากลูกปวดท้องตรงสะดือเป็น ๆ หาย ๆ สำหรับอาการปวดท้องตรงสะดือนั้น อาจเป็นสัญญาณของไส้ติ่งอักเสบได้ค่ะ โดยไส้ติ่งอักเสบจะทำให้เด็กเกิดอาการปวดรอบ ๆ สะดือหรือบริเวณสะดือ และอาการปวดนั้นจะเคลื่อนไปที่ด้านขวาล่างของช่องท้องและค่อย ๆ รุนแรงขึ้น
ดังนั้น หากลูกบอกว่าปวดท้องบริเวณสะดือ คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องคอยจับตาดูให้ดี โดยเฉพาะถ้าลูกเริ่มแสดงออกว่าปวดท้องมากขึ้น เริ่มเบื่ออาหาร อาเจียน นั่งตัวตรงหรือยืนตรงไม่ไหว และปวดเมื่อเคลื่อนไหวร่างกาย หรือเวลาที่อยู่นิ่ง ๆ ก็รู้สึกปวดท้องมาก อาจเป็นไปได้ว่าลูกกำลังมีอาการไส้ติ่งอักเสบค่ะ ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษา
ซึ่งอาการไส้ติ่งอักเสบในเด็กนั้น เกิดจากการที่รูไส้ติ่งมีการอุดตัน ซึ่งอาจมาจากการอุดตันของอุจจาระ พยาธิ น้ำเหลือง หรือแม้แต่มีการพับหรืองอของไส้ติ่ง ก็สามารถทำให้เกิดอาการไส้ติ่งอักเสบได้เช่นกัน
อาการปวดท้องนั้นสามารถเกิดขึ้นได้เรื่อย ๆ ค่ะ เด็กบางคนอาจจะนาน ๆ ปวดท้องสักครั้ง แต่เด็กบางคนมีอาการปวดท้องบ่อย เป็น ๆ หาย ๆ ซึ่งอาการปวดท้องในเด็กที่พบได้บ่อยนั้น สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุค่ะ ไม่ว่าจะเป็น
• อาหารไม่ย่อย
• การติดเชื้อในกระเพาะอาหาร
• ท้องผูก
• ความเครียดหรือความวิตกกังวล
• อาการลำไส้แปรปรวนหรือปวดท้องจากการทำงาน
• ไส้ติ่งอักเสบ (ทำให้เกิดอาการปวดเฉียบพลันหรือกะทันหัน)
ซึ่งนอกจากอาการปวดท้องแล้ว เด็ก ๆ อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็น ตะคริว ท้องเสีย มีแก๊ส ท้องอืด คลื่นไส้หรืออาเจียน และโดยมากแล้วอาการปวดท้องสามารถดีขึ้นได้เองตามลำดับ หรือด้วยการกินยาแก้ปวด
แต่ลูกไม่มีท่าทีว่าอาการปวดท้องจะทุเลาลงเลย หรือมีอาการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ควรพาลูกไปพบแพทย์ค่ะ
• ลูกมีอาการท้องผูกบ่อย
• อาการปวดท้องกำเริบโดยไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน
• มีเลือดในอุจจาระ
• ท้องเสีย
• ไข้และไอ
• ปวดท้องเมื่อปัสสาวะ
• น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
• อ่อนเพลียคล้ายกับมีอาการป่วย
• ปวดท้องจนไม่สามารถทำกิจกรรมตามปกติในชีวิตประจำวันได้
• มีอาการดีซ่าน
เด็กทารก แม้ว่าจะยังเล็กมาก แต่ก็สามารถมีอาการปวดท้องได้เช่นเดียวกันกับเด็กในช่วงวัยอื่น ๆ เช่นเดียวกัน โดยสาเหตุที่ทำให้เด็กทารกปวดท้องที่พบได้บ่อยที่สุด มีดังนี้
หนึ่งในปัญหาพื้นฐานของเด็กทารกก็คือการมีแก๊สอยู่ในกระเพาะอาหารเยอะเกินไป ซึ่งเกิดจากการกลืนอากาศเข้าท้องตอนที่กินนมหรือตอนที่ร้องได้ ยิ่งกลืนอากาศเข้าไปมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้ทารกรู้สึกอึดอัดท้อง แน่นท้อง และปวดท้องมากเท่านั้น แต่โดยมากแล้วปัญหาเรื่องแก๊สในท้องทารกมักไม่ค่อยก่อให้เกิดอันตรายที่น่ากังวลค่ะ
เด็กทารกเองก็สามารถท้องผูกได้ค่ะ โดยเฉพาะเด็กทารกที่กินนมผงสลับกับนมแม่ หรือกินนมผงอย่างเดียว เนื่องจ่ากส่วนผสมในสูตรนมผงอาจจะไม่เหมาะสำหรับเด็ก จึงมักจะมีอาการท้องผูกได้ง่ายกว่าเด็กที่กินนมแม่อย่างเดียว ซึ่งเด็กทารกนั้นมักจะขับถ่ายหลายครั้ง หรือบางวันก็ไม่ถ่ายเลย
แต่ถ้าเด็กไม่ถ่ายหลายวัน อาจเป็นไปได้ว่ากำลังมีอาการท้องผูก โดยเฉพาะถ้าเด็กไม่ถ่ายและเริ่มรู้สึกไม่สบายท้อง ปวดท้อง ร้องไห้งอแง คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษา
เด็กทารกเองก็เป็นกรดไหลย้อนได้ค่ะ นั่นเป็นเพราะกล้ามเนื้อหูรูดของทารกนั้นยังไม่แข็งแรง จึงทำให้นมที่กินเข้าไปไหลย้อนกลับมายังหลอดอาหารได้ง่าย หรือเวลากินนม ทารกมักจะกินนมในท่านอน ก็เสี่ยงที่จะทำให้นมไหลย้อนกลับออกมาได้ง่ายด้วย โดยอาการกรดไหลย้อนนั้นส่งผลให้ทารกรู้สึกไม่สบายตัว ปวดท้อง ร้องไห้งอแง และมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย
คนเฒ่าคนแก่หลายคนเห็นเด็กทารกร้องไห้หิว ก็พร้อมเต็มที่ที่จะนำข้าวมาบด หรือนำกล้วยมาบดแล้วป้อนเด็ก ซึ่งเด็กทารกอายุน้อยกว่า 6 เดือน ระบบทางเดินอาหารยังไม่แข็งแรง การกินอาหารอื่น ๆ นอกเหนือจากนมแม่จึงถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะจะทำให้ระบบทางเดินอาหารของเด็กมีปัญหา ย่อยอาหารไม่ได้ ท้องผูก ท้องเสีย ปวดท้อง หรือันตรายไปจนถึงเกิดความผิดปกติในลำไส้
อาการปวดท้องมักจะทำให้ลูกไม่สบายตัว เริ่มร้องไห้งอแง นอนไม่หลับสนิท กินอาหารได้น้อยลง ซึ่งจะส่งผลต่อกระบวนการเจริญเติบโต ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงต้องหมั่นสังเกตอาการผิดปกติของลูกให้ดี เพื่อที่จะได้รับมือทัน และถ้าหากพบว่าทารกมีอาการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันทีค่ะ
• มีไข้สูง 38° หรือสูงกว่า
• มีอาการท้องเสียนานกว่า 48 ชั่วโมง
• มีอาการท้องผูกนานกว่า 5-7 วัน
• มีอาการไม่สบายตัว เช่น ร้องไห้งอแง กรีดร้องไม่หยุด
• อ่อนเพลียผิดปกติ ไม่ค่อยร่าเริง
• มีอาการท้องแข็ง
• น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
ตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิดภาควิชากุมารเวชศา...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ อาการปวดท้องในเด็ก เกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งอาการท้องผูก อาหารเป็นพิษ ลำไส้แปรปรวน ...
อ่านต่อตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิดภาควิชากุมารเวชศา...
อ่านต่อ