Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
‘เด็กสำลักนม’ เป็นอาการที่พบบ่อยขณะคุณแม่ให้นมลูก โดยระหว่างที่เด็กทารกดูดนมหรือเข้าเต้าอาจมีอาการสำลักนมซึ่งสร้างความตกใจให้คุณแม่ได้ไม่น้อย ลูกสำลักนมเกิดจากอะไร คุณแม่ควรรับมือหรือปฐมพยาบาลอาการสำลักอย่างไร ทารกสำลักบ่อยอันตรายไหม Enfa จะพาคุณแม่ไปหาคำตอบเรื่องนี้กัน
เด็กสำลักนม มักมีอาการไอ แหวะหรือคายนมออกมา หากเด็กสำลักนมไม่นานและสามารถกินนมต่อได้ตามปกติถือว่าไม่เป็นอันตรายมาก แต่หากทารกสำลัก หายใจครืดคราด ไอรุนแรง หรือมีอาการสำลักนอกเหนือจากตอนกินนมถือเป็นเรื่องอันตราย คุณแม่ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ เพราะอาจเกิดกรดไหลย้อน ติดเชื้อทางเดินหายใจและปอดได้
การที่ทารกสำลักนมนั้นเกิดได้ทั้งจากการดูดขวดและเข้าเต้า โดยมีสาเหตุแตกต่างกัน คือ
ทารกดูดขวด
สาเหตุที่ทารกดูดขวดแล้วสำลักมักเกิดจากท่ากินนมที่ไม่เหมาะสม เช่น คุณแม่ไม่ได้จับขวดนมไว้ในท่าที่ลูกดูดนมได้ถนัด จุกนมขนาดไม่พอดี วางขวดนมพาดไว้ หนุนขวดนมด้วยสิ่งของ ทารกคาบจุกขวดนมไว้ หรือป้อนนมขณะลูกนอน
ทารกเข้าเต้า
ส่วนสาเหตุที่ลูกชอบสำลักเวลาเข้าเต้ามักเกิดจากน้ำนมไหลแรงเกินไป คุณแม่ให้นมผิดท่า โดยท่าให้นมหรือท่าเข้าเต้าที่เหมาะสมคือให้เด็กทารกดูดนมในท่าหัวสูงหรือส่วนหัวทารกอยู่สูงกว่าส่วนก้น คุณแม่ควรประคองลำคอทารกให้ดูดนมสบาย ๆ ไม่จับหัวทารกกดลงกับเต้านม
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดูดขวดหรือเข้าเต้า คุณแม่ไม่ควรปล่อยให้ลูกหิวจัด ไม่ควรให้นมบ่อยเกินไป และไม่ควรให้นมขณะลูกร้องไห้ เนื่องจากการร้องไห้อาจมาจากสาเหตุอื่น เช่น ร้องให้อุ้ม ไม่สบายตัว ปวดอึ เป็นต้น
นอกจากนี้ สาเหตุลูกสำลักนมพบได้ในเด็กแรกเกิด - หนึ่งปี โดยพบมากในเด็กแรกเกิดถึง 4 เดือน เนื่องจากกล้ามเนื้อหูรูดยังทำงานไม่สมบูรณ์ รวมถึงเด็กที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น เด็กคลอดก่อนกำหนด เด็กที่มีปัญหาการดูดกลืน มีโรคประจำตัวเป็นโรคหัวใจ โรคปอด และเด็กที่มีปัญหาด้านพัฒนาการล่าช้า เป็นต้น
คุณแม่ควรสังเกตขณะลูกกินนมอย่างใกล้ชิด หากเด็กทารกสำลักนมแล้วปฐมพยาบาลไม่ถูกวิธีอาจเกิดอันตรายได้ เมื่อเด็กทารกสำลักนมไม่ควรจับอุ้มขึ้นทันที คุณแม่ควรจับลูกนอนตะแคงให้ศีรษะอยู่ระดับเดียวกับลำตัวหรือต่ำกว่าเล็กน้อย เพื่อให้นมไหลออกมาข้างนอก ไม่สำลักนมเข้าหลอดลมหรือปอด และควรดูแลไม่ให้เด็กทารกสำลักนมบ่อยเกินไป
หากลูกสำลักนมบ่อยและมีอาการรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าคุณแม่จะให้นมทารกอย่างถูกวิธีแล้วก็ตาม อาจมีสาเหตุมาจากปัญหาด้านร่างกาย เช่น อวัยวะเกี่ยวกับการดูดกลืนผิดปกติ ปากแหว่งเพดานโหว่ มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจทำให้หายใจไม่ทันขณะดูดนม เป็นต้น
หากลูกมีอาการสำลักนมนาน 5-10 นาที มีอาการปากซีด ปากเขียว ปากคล้ำ น้ำนมพุ่งออกทางจมูก หน้าเริ่มเปลี่ยนสี หายใจแรงติดขัดเหมือนมีน้ำมูก โดยคุณแม่ปฐมพยาบาลและแก้ไขทุกวิธีแล้วลูกยังสำลักนมไม่หาย สำลักทุกมื้อนม ควรรีบพาไปโรงพยาบาลทันที
ทารกที่สำลักนมรุนแรงจนเกิดอาการน้ำนมไหลย้อนเข้าปอดจะมีอาการอื่นหลังจากสำลักนมร่วมด้วย โดยคุณแม่สามารถสังเกตอาการลูกเพิ่มเติมได้ คือ ลูกนอนอ้าปาก หายใจครืดคราดเหมือนมีเสมหะ มีไข้สูง 1-2 วัน ซึ่งเป็นสัญญาณของอาการปอดอักเสบ ควรรีบไปพบแพทย์
เพราะอาการไม่สบายท้องจะกระทบการเรียนรู้ของลูกน้อย และกว่า 70% ของเด็กมีอาการไม่สบายท้อง เลือกโภชนาการย่อยง่าย มี PHP ให้ลูก เพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ไม่มีอุปสรรคขัดขวาง
โดย PHP คือโปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วน ทำให้ย่อยง่าย ให้ลูกสบายท้อง เพราะระบบการย่อยอาหารที่ดี จะทำให้ลูกพร้อมเรียนรู้สิ่งต่างๆ จะทำให้เค้ามีพัฒนาการที่ก้าวล้ำกว่า ในวัยเข้าเรียนและในอนาคต
ทารกสำลักน้ำลายจะมีอาการไอ แหวะหรือขย้อนออกมา หลังจากนั้นจะดีขึ้นโดยใช้เวลาไม่นาน แต่หากทารกสำลักน้ำลายเป็นเวลานานเกิน 5 นาที หรือเป็นบ่อย ๆ ส่งผลให้หายใจผิดปกติ หายใจครืดคราด หายใจหอบ ควรรีบไปพบแพทย์
ทารกสำลักนมออกจมูกให้คุณแม่รีบจับทารกนอนตะแคงให้หัวสูงขึ้นเล็กน้อยเพื่อให้น้ำนมไหลออกให้หมด หากมีน้ำนมค้างในจมูกให้เช็ดออก จากนั้นสังเกตอาการลูกเพิ่มเติม หากมีการสำลักซ้ำ ไอจนหน้าเปลี่ยนสี หรือมีไข้สูง ควรรีบพาไปโรงพยาบาล
ทารกสำลักนมบ่อยควรรีบพาไปหาหมอ เพราะอาจเกิดจากอวัยวะผิดปกติ หรือเกิดความผิดปกติหลังอาการสำลักนม เช่น มีไข้สูง กรดไหลย้อน ปอดอักเสบ โดยเฉพาะทารกสำลักนมบ่อยทำให้ขาดอาหารอาจต้องเสริมอาหารตามคำแนะนำแพทย์ รวมถึงเพื่อป้องกันไม่ให้การเจ็บป่วยจากโรคต่าง ๆ ส่งผลต่อพัฒนาการทารก
หากพบว่าสาเหตุลูกสำลักนมมาจากน้ำนมไหลแรงเนื่องจากคุณแม่น้ำนมเยอะ สามารถแก้ปัญหาได้โดยการให้คุณแม่ปั๊มนมออกเล็กน้อยก่อนให้นมลูก แต่หากสาเหตุมาจากคุณแม่ให้นมผิดท่า อุ้มไม่ถนัด สรีระคุณแม่ยากต่อการปรับท่าให้นม หัวนมสั้น หัวนมบอด หรือให้ลูกเข้าเต้าได้เวลาจำกัด คุณแม่สามารถเปลี่ยนให้ลูกดูดขวดแทนโดยเลือกจุกนมขนาดเล็กสุดได้ เพื่อให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารเต็มที่ ร่างกายแข็งแรง และมีพัฒนาการดีตามช่วงวัย
ตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิดภาควิชากุมารเวชศา...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ อาการปวดท้องในเด็ก เกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งอาการท้องผูก อาหารเป็นพิษ ลำไส้แปรปรวน ...
อ่านต่อตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิดภาควิชากุมารเวชศา...
อ่านต่อ