Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
กรดไหลย้อนในเด็กและกรดไหลย้อนทารกเป็นภาวะที่พบได้บ่อย โดยกรดไหลย้อนเด็กเกิดจากกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปยังหลอดอาหาร ส่งผลให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอกและไม่สบายตัว โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่ระบบทางเดินอาหารยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ ซึ่งหากเกิดขึ้นบ่อยและรุนแรง อาจกระทบต่อการเจริญเติบโตของเด็กได้
กรดไหลย้อนในเด็ก คือ ภาวะที่กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร ส่งผลให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอก สำรอกอาหาร หรือไม่สบายตัว กรดไหลย้อนในทารกพบได้บ่อยเนื่องจากหูรูดหลอดอาหารส่วนล่างยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ ทำให้กรดและอาหารไหลย้อนขึ้นมาได้ง่าย
อาการกรดไหลย้อนในทารกบางรายอาจรุนแรงและส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมได้ คุณแม่จึงไม่ควรเพิกเฉย ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเนื่องจากเด็กในวัยนี้จำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ
ภาวะกรดไหลย้อนในเด็กมีสาเหตุจากหลายปัจจัย โดยหลัก ๆ เกิดจากสาเหตุทางกายภาพ เช่น ระบบย่อยและกระเพาะอาหารของทารกยังพัฒนาไม่เต็มที่ และสาเหตุจากพฤติกรรมการกินอาหารที่ส่งผลต่อระบบย่อยอาหารของเด็ก ดังนี้
อาการกรดไหลย้อนในทารกมักมีอาการต่างกันไปตามช่วงวัย เนื่องจากระบบทางเดินอาหารและพฤติกรรมการกินของเด็กเปลี่ยนแปลงไปตามอายุด้วย โดยสามารถสังเกตอาการกรดไหลย้อนในทารกได้ตามช่วงวัย ดังนี้
กรดไหลย้อนในทารกเป็นภาวะที่พบได้บ่อยและมักดีขึ้นเองเมื่อระบบทางเดินอาหารพัฒนาเต็มที่ อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยบรรเทาอาการของลูกได้ด้วยวิธีแก้กรดไหลย้อนในทารกโดย
วิธีแก้กรดไหลย้อนในทารกดังกล่าวนี้ หากคุณพ่อคุณแม่ทำแล้วลูกยังมีอาการไม่ดีขึ้น และยังคงแหวะนม ร้องไห้กวน หรือไอเรื้อรัง ควรพาไปพบแพทย์
เด็กเป็นกรดไหลย้อน ดูแลอย่างไรดี ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด โดยการดูแลเด็กที่มีภาวะกรดไหลย้อนคุณพ่อคุณแม่ควรช่วยปรับทั้งพฤติกรรมการกิน การนอน และการใช้ชีวิตประจำวันเพื่อบรรเทาอาการและป้องกันไม่ให้อาการแย่ลง ซึ่งตามปกติแล้วอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นและหายได้เอง
การปรับพฤติกรรมการกินทำได้ง่ายมากและสามารถเริ่มได้ทันที โดยให้ลูกกินมื้อเล็กลงแต่กินบ่อยขึ้น การแบ่งอาหารเป็นมื้อเล็ก ๆ จะช่วยลดแรงดันในกระเพาะอาหารได้ และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นกระไหลย้อน เช่น อาหารทอด มัน หรือรสจัด น้ำอัดลม น้ำผลไม้รสเปรี้ยว เช่น น้ำส้ม รวมถึงช็อกโกแลตและอาหารที่มีคาเฟอีน โดยหลังจากรับประทานอาหารไม่ควรให้ลูกนอนหรือวิ่งเล่นทันที แต่ควรให้ลูกอยู่ในท่านั่งอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
การปรับพฤติกรรมการนอนก็เป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับเด็กที่เป็นกรดไหลย้อน คุณพ่อคุณแม่ควรปรับหัวนอนให้สูงขึ้นเล็กน้อยประมาณ 15-30 องศา โดยใช้การปรับที่นอนสูงขึ้นแทนการใช้หมอนรองคอ พร้อมทั้งจัดท่านอนลูกให้เหมาะสม สำหรับเด็กโตที่สามารถนอนคะแคงได้แนะนำให้นอนคะแคงซ้ายเพื่อลดการกดทับกระเพาะอาหารและลดอาการกรดไหลย้อน นอกจากนี้ไม่ควรให้ลูกกินอาหารหรือดื่มนมก่อนนอนอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง
นอกจากนี้ น้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนก็เป็นอีกสาเหตุสำคัญของกรดไหลย้อนในเด็ก หากลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่มีน้ำหนักเกินหรือได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอ้วน ควรเริ่มการควบคุมน้ำหนักตัวเด็ก เพราะโรคอ้วนทำให้เกิดแรงดันในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้นและกระตุ้นให้เกิดกรดไหลย้อน จึงควรให้เด็กกินอาหารที่มีประโยชน์และส่งเสริมการออกกำลังกายที่เหมาะสม และควรหลีกเลี่ยงการสวมใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่นเกินไปด้วย
ทั้งนี้ หากลูกน้อยมีอาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการปวดท้องบ่อยหรือรุนแรง น้ำหนักลดหรือไม่ค่อยกินอาหาร ไอเรื้อรัง เสียงแหบ หรือหายใจลำบาก อาเจียนบ่อยหรือมีอาการสำลักอาหารบ่อย ควรพาไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติม
เพื่อการเรียนรู้แบบไม่สะดุด นมแม่ถือเป็นอาหารล้ำค่า ที่ไม่เพียงจะอุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญหลายชนิด แต่ยังดีต่อระบบการย่อยอาหารของลูกน้อยที่ยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ แต่ในกรณีที่คุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อแนะนำโภชนาการที่เหมาะสมต่อระบบย่อยอาหารที่ยังไม่สมบูรณ์ของลูกน้อย โดยโภชนาการที่เหมาะสมอาจมีคุณสมบัติ เป็นโปรตีนผ่านการย่อยบางส่วน หรือ PHP (Partially Hydrolyzed Protein) โปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วน มีโมเลกุลขนาดเล็ก ย่อยได้ง่าย และดูดซึมได้ดี ทำให้อุจจาระอ่อนนุ่มคงตัว ไม่แข็ง ขับถ่ายได้ง่าย
นอกจากนี้ยังควรเลือกโภชนาการที่มีใยอาหาร อย่าง โพลีเด็กซ์โตรส (PDX) และกาแลคโตโอลิโกแซคคาไรด์ (GOS) ซึ่งช่วยในการทำงานของแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้และปรับลักษณะอุจจาระให้นิ่มขึ้น
ตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิดภาควิชากุมารเวชศา...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ อาการปวดท้องในเด็ก เกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งอาการท้องผูก อาหารเป็นพิษ ลำไส้แปรปรวน ...
อ่านต่อตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิดภาควิชากุมารเวชศา...
อ่านต่อ