Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
คุณแม่หลายคนคงเคยได้ยินเรื่องพรีไบโอติกส์และโพรไบโอติกส์ ที่ช่วยเรื่องระบบย่อยหาอาหารกันมาบ้างแล้ว แต่รู้หรือไม่ว่ายังมีสารอาหารอีกตัวที่น่าสนใจไม่แพ้กัน นั่นก็คือ "ซินไบโอติก" ที่ช่วยดูแลระบบย่อยอาหารของลูกน้อยให้แข็งแรง และกำลังได้รับความสนใจจากคุณแม่ยุคใหม่ทั่วโลกด้วยค่ะ
ซินไบโอติก คือ การรวมตัวกันของพรีไบโอติกส์และโพรไบโอติกส์ ซึ่งทำงานร่วมกันเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับร่างกาย โดยเฉพาะระบบย่อยอาหารและลำไส้ของเรา เปรียบเสมือนคู่หูที่ทำงานร่วมกันอย่างลงตัวช่วยเสริมจุดเด่นของกันและกัน
ซินไบโอติกช่วยเสริมสร้างระบบย่อยอาหารให้แข็งแรง โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่กำลังพัฒนาระบบย่อยอาหารค่ะ
ถ้าจะเปรียบให้เข้าใจง่ายๆ พรีไบโอติกส์ ก็เหมือนอาหารของแบคทีเรียดีในลำไส้ เป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยรักษาสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ เป็นสิ่งไม่มีชีวิตซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อยและดูดซึมได้ แต่จะสามารถถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ ทำให้กระตุ้นการเจริญเติบโตและการทำงานของโพรไอโอติกส์ สรุปง่ายๆ คือ พรีไบโอติกส์เป็นอาหารของโพรไบโอติกส์นั่นเอง
ส่วน โพรไบโอติกส์ ก็คือ ตัวแบคทีเรียดี ในร่างกายของเรามีโพรไบโอติกส์อยู่หลายชนิด แต่ชนิดที่พบได้บ่อยได้แก่ Lactobacillus และ Bifidobacterium รวมไปถึง Saccharomyces boulardii ซึ่งเป็นโพรไบโอติกส์เชื้อราเซลล์เดี่ยว โดยปกติแล้วโพรไบโอติกส์ที่เป็นประโยชน์นั้นสามารถพบได้ในลำไส้ โดยเฉพาะลำไส้ใหญ่ ปาก ผิวหนัง ปอด ช่องคลอด และระบบทางเดินปัสสาวะ
เมื่อเรานำทั้งสองอย่างมารวมกัน ก็จะกลายเป็นซินไบโอติกที่ทำให้แบคทีเรียดีเติบโตและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดในการดูแลระบบย่อยอาหาร
ซินไบโอติกมีประโยชน์มากมายทั้งในด้านการช่วยย่อยอาหารและเสริมสร้างสุขภาพโดยรวมให้ดีขึ้น โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่ยังมีระบบทางเดินอาหารที่อ่อนไหว ประโยชน์ของซินไบโอติกสำหรับลูกน้อย มีดังนี้
ช่วยปรับสมดุลลำไส้: ซินไบโอติกช่วยเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ ลดการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ไม่ดี ซึ่งจะช่วยให้การย่อยอาหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ลดอาการท้องผูก: ด้วยการเสริมสร้างจุลินทรีย์ที่ช่วยย่อยอาหาร ซินไบโอติกช่วยลดอาการท้องผูกในเด็กเล็ก
ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน: การกินซินไบโอติกสามารถช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันในเด็ก ทำให้ร่างกายพร้อมรับมือกับการติดเชื้อหรือโรคต่างๆ
ช่วยพัฒนาสมอง: การมีลำไส้ที่แข็งแรงช่วยเสริมพัฒนาการสมองของเด็กในระยะเริ่มต้น เนื่องจากระบบทางเดินอาหารและสมองมีการเชื่อมโยงกัน
ช่วยปรับอารมณ์: ซินไบโอติกช่วยปรับอารมณ์ ช่วยเสริมสร้างอารมณ์ไปในทิศทางที่ดีขึ้นและควบคุมอารมณ์ด้านลบให้น้อยลง
ลดการอักเสบในร่างกาย: ช่วยต่อต้านความแก่ชรา และทำให้ผิวพรรณมีความสุขภาพดี
คุณแม่หลายคนอาจสงสัยว่าอาหารอะไรบ้างที่มีซินไบโอติก ซินไบโอติกสามารถพบได้ในหลายแหล่งอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีส่วนประกอบของพรีไบโอติกส์และโพรไบโอติกส์ เช่น
นมแม่เป็นแหล่งของโภชนาการที่มีประโยชน์มากมายสำหรับทารก อุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน พัฒนาการด้านต่าง ๆ ของทารก อาทิ MFGM แลคโตเฟอร์ริน นอกจากนี้ ในนมแม่ยังพบซินไบโอติกด้วยเช่นกัน ซินไบโอติกที่พบในนมแม่ มีดังนี้
โอลิโกแซคคาไรด์ (HMO) : เป็นสารอาหารหลักที่สำคัญอันดับสามที่พบในน้ำนมแม่รองจากแลกโตส และไขมัน จะทำหน้าที่เสริมภูมิคุ้มกันของทารก โดยไปช่วยเพิ่มจำนวนแบคทีเรียดีในลำไส้ และยังช่วยป้องกันเชื้อโรคไม่ให้เข้ามาทำร้ายร่างกาย
2’-FL (2’-Fucosyllactose) หรือ 2’-ฟูโคซิลแลคโตส คือ โอลิโกแซคคาไรด์ หรือใยอาหารธรรมชาติชนิดที่พบมากที่สุดในน้ำนมแม่ (HMOs) ทำหน้าที่เป็นพรีไบโอติก หรือเป็นอาหารของจุลินทรีย์สุขภาพในลำไส้ใหญ่ ที่ช่วยส่งเสริมระบบทางเดินอาหาร ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ก่อโรค เป็นกลไลการป้องกันการติดเชื้อของลำไส้ ช่วยกระตุ้นและส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้กับลูกน้อยได้ดีขึ้น
Bifidobacterium หรือ บิฟิโดแบคทีเรียม คือ โพรไบโอติกส์ หรือจุลินทรีย์ชนิดดี ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคลำไส้เน่าในเด็กแรกเกิด อีกทั้งยังมีส่วนช่วยทำให้ผนังลำไส้แข็งแรงพัฒนาระบบทางเดินอาหารของลูกน้อย
Lactobacillus หรือ แลคโตบาซิลลัส พบมากในลำไส้ช่วยป้องกันและลดการเจริญเติบโตของแบคทีเรียชนิดร้าย ลดอาการท้องเสีย ปรับสมดุลลำไส้ และยังช่วยปรับภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรง มีภูมิคุ้มกันที่ดี
จะเห็นได้ว่า น้ำนมแม่ ถือเป็นแหล่งสารอาหารที่สำคัญกับการเจริญเติบโตของลูกน้อย ที่สำคัญยังถือเป็นจุดเริ่มต้นของการปูพื้นฐานที่ดีของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้กับเด็กๆ อีกด้วย โดยเฉพาะโอลิโกแซคคาไรด์ (HMO) และ 2'-FL ที่มีคุณสมบัติเป็นพรีไบโอติกส์ ช่วยปรับสมดุลลำไส้ทารก เสริมสร้างระบบทางเดินอาหารและปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ของทารก ทำให้ลูกน้อยสามารถย่อยอาหารได้ดีและขับถ่ายได้สะดวก
ระบบย่อยอาหารของเด็กเล็กยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์เหมือนกับของผู้ใหญ่ เพื่อป้องกันอาการไม่สบายท้องต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ โภชนาการที่ดีและย่อยง่ายสำหรับลูกน้อยก็คือ "นมแม่"
แต่ในกรณีที่คุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อแนะนำโภชนาการที่เหมาะสม โดยโภชนาการที่เหมาะสมอาจมีคุณสมบัติเป็น PHP หรือโปรตีนขนาดเล็กที่ย่อยมาแล้วบางส่วน ทำให้ย่อยและดูดซึมง่าย ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ลดอาการไม่สบายท้อง
นอกจากนี้ยังควรเลือกโภชนาการที่มีใยอาหาร อย่างโพลีเด็กซ์โตรส (PDX) และกาแลคโตโอลิโกแซคคาไรด์ (GOS) ซึ่งช่วยในการทำงานของแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้และปรับลักษณะอุจจาระให้นิ่มขึ้น
ควบคู่ไปกับสุดยอดสารอาหารสมองอย่าง MFGM ที่พบในนมแม่ ซึ่งประกอบไปด้วยโปรตีนและไขมันที่จำเป็นกว่า 150 ชนิด ได้แก่ เช่น สฟิงโกไมอีลิน ฟอสโฟลิปิด และแกงกลิโอไซด์ ก็จะช่วยให้ลูกน้อยผ่านช่วงหย่านมได้อย่างราบรื่น สบายท้องและเรียนรู้ไม่สะดุด
Enfa สรุปให้ ซินไบโอติก ช่วยเสริมสร้างระบบย่อยอาหารในลำไส้ให้แข็งแรง ถือว่าเป็นประโยชน์มากต่อร่า...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ไฟเบอร์เด็กมีความสำคัญมาก ที่ช่วยในเรื่องระบบขับถ่ายและสุขภาพลำไส้ของลูกน้อย อีกทั้...
อ่านต่อบ้านไหนกำลังฝึกลูกขับถ่ายด้วยตัวเองอยู่กันบ้าง ขอให้ยกมือขึ้น! กำลังคิดหาวิธีที่จะฝึกลูกน้อยกันใช...
อ่านต่อ