Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
เมื่อทารกเจริญวัยขึ้น นมแม่เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะช่วยให้ลูกน้อยเติบโตอย่างสมบูรณ์ได้ ทารกต้องการปริมาณอาหารและสารอาหารที่เพิ่มขึ้นนอกเหนือไปจากนมแม่ หรือก็คือทารกจำเป็นจะต้องได้กินอาหารตามวัยเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตที่สมวัย แต่เด็กกินข้าวกี่เดือน เริ่มให้ลูกกินข้าวได้ตอนไหนถึงจะเหมาะสม Enfa จะมาไขคำตอบในบทความนี้ค่ะ
คุณพ่อคุณแม่มือใหม่หลายคน อาจมีข้อสงสัยกันว่าควรเริ่มให้อาหารตามวัยแก่ลูกน้อยเมื่อไหร่ เด็กกี่เดือนกินข้าวได้ตอนไหน หรือเด็กเริ่มกินข้าวกี่เดือน
โดยปกตินั้นแพทย์จะแนะนำให้เริ่มฝึกลูกกินอาหารตามวัย หรือ Solid Food เมื่อทารกมีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปด้วยเหตุผลสำคัญ ดังนี้
หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นสัญญาณดังต่อไปนี้ แสดงว่าลูกน้อยพร้อมแล้วนะที่จะกินอาหารอื่น ๆ นอกเหนือไปจากนมแม่แค่เพียงอย่างเดียวแล้วนะ
ซึ่งสัญญาณเหล่านี้จะเริ่มพบได้ในเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป จึงเป็นช่วงวัยที่พร้อมและเหมาะสมต่อการเริ่มกินอาหารตามวัยค่ะ
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเด็กแต่ละคนมีพัฒนาการที่ไม่เหมือนกัน อาจมีเด็กบางคนที่สามารถกินอาหารตามวัยได้ก่อนอายุครบ 6 เดือน
แต่...กรณีเช่นนี้จะต้องปรึกษากับแพทย์ก่อนเสมอ ว่าลูกพร้อมแล้วที่จะกินอาหารแข็งก่อนวัยจริงไหม คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรให้ลูกกินอาหารอื่นนอกเหนือจากนมแม่ก่อน 6 เดือนโดยไม่ผ่านความเห็นชอบหรือการอนุญาตจากแพทย์ เนื่องจากการให้อาหารตามวัยก่อนเวลาที่สมควร จะส่งผลเสียต่อระบบขับถ่ายของทารก และเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อลูกน้อยได้ค่ะ
เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย เด็กควรได้เริ่มกินอาหารตามวัยเมื่ออายุ 6 เดือนขึ้นไปเท่านั้น แต่...ก็มีบางกรณีที่แพทย์เห็นชอบและอนุญาตให้เด็กกินข้าวตอน 4 เดือนได้ เนื่องจากลูกน้อยผ่านการประเมินขั้นต้นจากแพทย์ ดังนี้
หากแพทย์ประเมินแล้วว่าลูกมีความพร้อมปรากฎชัดตั้งแต่อายุ 4 เดือน แพทย์ก็จะเห็นชอบให้คุณพ่อคุณแม่เริ่มให้ลูกกินอาหารตามวัย เพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการเจริญเติบโต โดยไม่ต้องรอให้อายุครบ 6 เดือนค่ะ
สิ่งสำคัญคือ ควรต้องให้แพทย์ประเมินก่อนเท่านั้นว่าลูกวัย 4 เดือนพร้อมแล้วจริง ๆ ที่จะกินอาหารตามวัย คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรประเมินเองและตัดสินใจกันเองว่าลูกสามารถกินข้าวได้แล้ว เพราะอาจเกิดความผิดพลาดซึ่งนั่นก็หมายถึงอันตรายต่อสุขภาพของลูกน้อย
อาหารมื้อแรกของลูก 4 เดือน ควรเป็นอาหารที่ครบทั้ง 5 หมู่ ได้แก่
โดยเนื้อสัตว์และผัก จะต้องนำไปต้มให้นิ่มและบดให้ละเอียดหรือพอหยาบเล็กน้อย ผลไม้ก็จะต้องหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วบดหรือปั่นให้ละเอียด เพื่อให้ลูกน้อยกลืนได้ง่าย ไม่ควรให้ลูกกินอาหารที่หยาบหรือแข็งจนเกินไป เพราะลูกยังไม่มีฟันสำหรับการบดเคี้ยว อาจทำให้ติดคอได้
หลีกเลี่ยงการปรุงอาหารด้วยเครื่องปรุงต่าง ๆ รวมเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูงด้วย เนื่องจากเครื่องปรุงมักจะมีปริมาณโซเดียมสูง หากสะสมเข้าสู่ร่างกายของลูกน้อยทุกวันก็จะเสี่ยงต่อสุขภาพได้
รวมถึงผักและผลไม้ที่มีน้ำตาลสูงก็ควรหลีกเลี่ยงให้ดี เพื่อป้องกันความเสี่ยงของปริมาณน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งจะทำให้ลูกเสี่ยงต่อเบาหวานตั้งแต่อายุยังน้อยได้ค่ะ
อย่างไรก็ตาม สำหรับเด็ก 4 เดือนก็ยังจำเป็นจะต้องได้กินนมแม่เป็นหลักอยู่เหมือนเดิมนะคะ เพียงแต่เพิ่มอาหารตามวัยเข้ามาเพื่อให้ลูกน้อยได้รับโภชนาการที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตอย่างสมวัย
สำหรับเด็ก 4 เดือน ยังไม่จำเป็นต้องกินอาหารตามวัยครบทั้ง 3 มื้อแบบผู้ใหญ่ ให้เริ่มจากวันละมื้อไปก่อนค่ะ โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถเลือกเป็นช่วงเวลาเช้าก็ได้ หรือในช่วงแรก ๆ ถ้าหากลูกยังไม่ชิน และไม่ให้ความร่วมมือ ก็เลื่อนไปเป็นมื้อสาย หรือมื้อเที่ยงแทนได้ ส่วนช่วงเวลาอื่น ๆ ให้ลูกกินนมแม่ตามปกติค่ะ
สำหรับเด็กบางคนที่แพทย์ประเมินแล้วว่ามีสัญญาณการเจริญเติบโตที่พร้อมแล้วสำหรับอาหารตามวัยตั้งแต่อายุได้ 5 เดือน คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มให้ลูกกินอาหารอื่นนอกจากนมแม่ได้เลยโดยไม่ต้องรอให้ลูกอายุครบ 6 เดือน
ซึ่งอาหารตามวัยสำหรับเด็ก 5 เดือน ควรจะต้องมีครบทั้ง 5 หมู่ คือเนื้อสัตว์ ไข่ ผัก ผลไม้ และน้ำมัน เพื่อให้ร่างกายของลูกได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตอย่างครบถ้วน
อาหารทุกอย่างควรจะต้องต้มสุกให้เปื่อย แล้วนำมาบดให้ละเอียดหรือพอหยาบ เพื่อให้ลูกน้อยสามารถกลืนอาหารได้ง่าย ไม่ติดคอ
อาหารตามวัยของเด็ก 5 เดือน ไม่ควรใส่เครื่องปรุงรสใด ๆ ทั้งสิ้น เพื่อลดความเสี่ยงของภาวะโซเดียมสูง หลีกเลี่ยงผักและผลไม้ที่มีปริมาณน้ำตาลสูง เพราะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานในเด็ก
เด็กควรได้กินนมแม่เพียงอย่างเดียวและต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือนแรกของชีวิต จากนั้นจึงค่อยเริ่มกินอาหารตามวัยเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มากขึ้นและเพียงพอต่อการเจริญเติบโต
แต่...สำหรับเด็กที่ได้กินอาหารตามวัยเร็วเกินไป โดยที่แพทย์ไม่ได้ประเมินความพร้อมของลูกว่าสามารถทำได้ กรณีแบบนี้ถือว่าเป็นอันตรายต่อเด็กนะคะ เนื่องจากระบบทางเดินอาหารของเด็กที่อายุน้อยกว่า 6 เดือนยังไม่แข็งแรง ระบบการขับถ่ายและการดูดซึมยังทำงานได้ไม่เต็มที่ อาจทำให้ลูกท้องเสีย ท้องผูก ท้องอืด อาหารไม่ย่อย หรืออาจเสี่ยงต่อภาวะลำไส้อุดตัน ซึ่งอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้
ลูกสามารถเริ่มกินอาหารตามวัยได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนเป็นต้นไป ซึ่งยังต้องเป็นอาหารบด ทั้งบดแบบละเอียดและบดแบบพอหยาบ เพื่อให้ลูกกินง่าย กลืนง่าย ย่อยง่าย ไม่ติดคอ
ส่วนอาหารแข็งแบบเดียวกับผู้ใหญ่ รวมไปถึงอาหารที่ต้องมีการปรุงรสด้วยเครื่องปรุงต่าง ๆ มีรสชาติจัดจ้านมากขึ้น ควรรอให้ลูกมีอายุตั้งแต่ 1-2 ปีขึ้นไปก่อนจึงจะสามารถกินได้อย่างปลอดภัย
อาหารที่ห้ามกินก่อนอายุ 1-2 ปี เช่น
แม้เด็กอายุ 6 เดือนจะถึงวัยที่ควรต้องเริ่มกินอาหารตามวัยแล้ว แต่ยังจำเป็นจะต้องให้กินควบคู่ไปกับนมแม่ เพื่อได้ลูกน้อยได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและเพียงพอต่อการเจริญเติบโต รวมถึงสารภูมิคุ้มกันจากนมแม่ที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง
มากไปกว่านั้น ยังจำเป็นจะต้องใส่ใจเลือกอาหารที่ย่อยง่ายให้กับลูกน้อยด้วย เพราะเรื่องย่อย คือเรื่องใหญ่ ควรเลือกโภชนาการที่ใช่ เพื่อให้ลูกสบายท้อง สมองดี เพราะอาการไม่สบายท้อง จะกระทบการเรียนรู้ของลูกน้อย
เลือกโภชนาการย่อยง่าย มี PHP ให้ลูก เพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ไม่มีอุปสรรคขัดขวาง PHP คือโปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วน ทำให้ย่อยง่าย ให้ลูกสบายท้อง เพราะระบบการย่อยอาหารที่ดี จะทำให้ลูกพร้อมเรียนรู้สิ่งต่างๆ จะทำให้เค้ามีพัฒนาการที่ก้าวล้ำกว่า ในวัยเข้าเรียนและในอนาคต
เด็กที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน ควรกินแค่นมแม่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น อาหารอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นส้ม หรือผลไม้อื่น ๆ ถือว่าไม่ปลอดภัยต่อทารกวัย 4 เดือนค่ะ
เว้นเสียแต่ว่าเด็ก 4 เดือนผ่านการประเมินจากแพทย์แล้วว่าลูกมีสัญญาณความพร้อมต่อการเริ่มกินอาหารตามวัยแล้วเท่านั้น จึงสามารถให้ลูกกินอาหารอื่น ๆ นอกจากนมแม่ได้ค่ะ
เด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน ไม่แนะนำให้กินกล้วยบดค่ะ เนื่องจากระบบทางเดินอาหารและระบบขับถ่ายของทารกยังทำงานได้ไม่เต็มที่ อาจเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพของลูกได้ เช่น ท้องผูก ท้องเสีย ท้องอืด หรือลำไส้อุดตัน
อย่างไรก็ตาม บางกรณีเด็ก 4 เดือนอาจผ่านการประเมินจากแพทย์แล้วว่าลูกมีสัญญาณความพร้อมต่อการเริ่มกินอาหารตามวัยแล้ว ในกรณีเช่นนี้คุณพ่อคุณแม่อาจสามารถให้ลูกกินกล้วยบดได้ค่ะ
Enfa สรุปให้ เด็กกินข้าวกี่เดือนกันนะ? เด็กควรเริ่มกินอาหารตามวัยเมื่ออายุ 6 เดือนขึ้นไป เพื่อให...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ น้ำมันเพิ่มน้ำหนักทารก คือ น้ำมันที่มีคุณสมบัติช่วยเพิ่มแคลอรี่ และไขมันให้กับลูกน้...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ น้ำลูกพรุนมีสารสำคัญอย่างไฟเบอร์และโซรบิทอล ที่ช่วยเพิ่มความชื้นในลำไส้และทำให้การข...
อ่านต่อ