Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
การเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดไม่เคยเป็นเรื่องง่าย โดยเฉพาะกับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่เพิ่งรับบทบาทพ่อแม่ลูกอ่อนเป็นครั้งแรก เพียงแค่พาลูกวัยแรกเกิดใส่คาร์ซีทกลับมาบ้าน มหกรรมแห่งความปั่นป่วนก็เริ่มต้นขึ้นทันที ไม่ว่าจะเป็นการดูแลเมื่อลูกขับถ่าย ปลอบโยนเมื่อทารกร้องไห้ การอาบน้ำทารก เช็ดสะดือทารก การกล่อมนอน ไปจนถึงการให้นมทารกแรกเกิด ล้วนแต่เป็นประสบการณ์แปลกใหม่ชวนให้ปวดเศียรเวียนเกล้า
เพื่อให้ลูกน้อยวัยแรกเกิดได้รับนมในปริมาณที่เหมาะสม นอกจากจะต้องศึกษาว่าทารกแรกเกิดกินกี่ออนซ์ ให้ลูกเข้าเต้าทุกกี่ชั่วโมงแล้ว คุณพ่อคุณแม่ยังต้องทำความเข้าใจตารางกินนมของเด็กแรกเกิด ไปจนถึงสังเกตว่าลูกอิ่มหรือยังเพื่อป้องกันการให้นมลูกมากเกินไป มาดูกันค่ะว่าปริมาณการกินนมที่เหมาะสมกับทารกแต่ละวัยเป็นอย่างไร
เด็กทารก 1 สัปดาห์ จะกินนมประมาณ 1.5-3 ออนซ์ (ประมาณ 45-90 มิลลิลิตร) ต่อมื้อ โดยควรแบ่งมื้อนมออกเป็น 6-8 มื้อต่อวัน และให้นมลูกทุกๆ 2-3 ชั่วโมง
หากคุณแม่ให้ทารกวัย 1 สัปดาห์ดูดเต้า ควรให้ทารกเข้าเต้าประมาณ 8-12 ครั้งต่อวัน หรือให้ลูกเข้าเต้าทุกๆ 2-3 ชั่วโมง แต่ละรอบใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที
เด็กทารก 2 สัปดาห์ จะกินนมประมาณ 2-4 ออนซ์ (ประมาณ 60-120 มิลลิลิตร) ต่อมื้อ โดยคุณพ่อคุณแม่ยังคงต้องแบ่งมื้อนมออกเป็น 6-8 มื้อต่อวัน และให้นมลูกทุกๆ 2-3 ชั่วโมง
หากคุณแม่ให้ทารกวัย 2 สัปดาห์ดูดเต้า ควรให้ทารกเข้าเต้าประมาณ 8-12 ครั้งต่อวันเช่นเดิม แต่ระยะเวลาการเข้าเต้าแต่ละรอบอาจจะต่างกันไป เพราะลูกน้อยจะเริ่มค่อยๆ กินนมแม่ได้มากขึ้นค่ะ
ลูกวัย 1 เดือน จะกินนมประมาณ 3-4 ออนซ์ต่อครั้ง (ประมาณ 90-120 มิลลิลิตร) ทุกๆ 3-4 ชั่วโมง
หากคุณแม่ให้ทารกวัย 1 เดือนดูดเต้า ควรให้ทารกเข้าเต้าประมาณ 7-9 ครั้งต่อวัน แต่ละรอบใช้เวลาประมาณ 10-20 นาที
ลูก 2 เดือน จะกินนมประมาณ 4-5 ออนซ์ต่อครั้ง (ประมาณ 120-150 มิลลิลิตร) หรือประมาณ 24-32 ออนซ์ต่อวัน โดยยังคงให้นมลูกทุกๆ 3-4 ชั่วโมง
หากคุณแม่ให้ทารกวัย 2 เดือนดูดเต้า ควรให้ทารกเข้าเต้าประมาณ 7-9 ครั้งต่อวัน แต่ระยะเวลาการเข้าเต้าแต่ละรอบอาจจะต่างกันไป เพราะลูกจะค่อยๆ เริ่มกินนมได้มากขึ้นเรื่อยๆ
ทารกวัย 3 เดือนจะกินนมประมาณ 4-6 ออนซ์ต่อครั้ง (ประมาณ 120-180 มิลลิลิตร) โดยควรให้นมลูกทุกๆ 4-5 ชั่วโมง
หากคุณแม่ให้ทารกวัย 3 เดือนดูดเต้า อาจจะลดความถี่ในการเข้าเต้าเหลือ 6-8 ครั้งต่อวัน เนื่องจากทารกวัย 3 เดือนเริ่มนอนได้นานขึ้น
ทารกวัย 5 เดือนจะกินนมประมาณ 6-7 ออนซ์ต่อครั้ง (ประมาณ 180-210 มิลลิลิตร) โดยควรให้นมลูกทุกๆ 4-5 ชั่วโมง
หากคุณแม่ให้ทารกวัย 5 เดือนดูดเต้า ควรให้ลูกเข้าเต้าประมาณ 5-6 ครั้งต่อวัน ตามความต้องการของลูกน้อย โดยเมื่อเข้าสู่วัย 6 เดือน คุณแม่ก็ควรเริ่มให้ลูกหัดรับประทานอาหารแข็งหรือ Solid Food ได้
ตารางให้นมทารก ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 1 ขวบ สามารถเช็คปริมาณนมที่เหมาะสมกับช่วงวัยลูกน้อยได้ดังนี้
ทารกวัยแรกเกิดมักจะส่งสัญญาณแบบนี้ให้คุณแม่ เป็นการบอกว่า “หนูหิวนมแล้วนะ”
ในขณะที่ลูกวัย 6 เดือนไปจนถึง 2 ขวบ อาจจะแสดงออกแบบนี้เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่รู้ว่าหนูกำลังหิว
ทารกกินเยอะเกินไม่ได้เป็นเรื่องอันตรายจนต้องกังวลจนเกินไป เพราะโดยปกติแล้วทารกจะค่อยๆ ปรับตัวกับปริมาณน้ำนมที่เพิ่มขึ้นในแต่ละมื้อได้ตามวัยของเค้า แต่หากคุณแม่ให้นมลูกเยอะเกินไปต่อมื้อ ก็อาจจะทำให้ลูกรู้สึกอึดอัดไม่สบายท้อง ลูกแหวะนม หรือมีแก๊สมากกว่าปกติ และในระยะยาวก็จะพบว่าลูกน้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็วและอาจน้ำหนักเกินเกณฑ์น้ำหนักส่วนสูงของทารก
หากคุณแม่สงสัยว่าลูกดูดเต้าจะรู้ได้ไงว่าลูกอิ่ม ทางที่ดีคือควรให้นมลูกตามปริมาณที่เหมาะสมกับน้ำหนักและช่วงวัยของทารก คอยสังเกตอาการหิวหรืออิ่มของลูก พยายามให้นมต่อมื้อไม่มากเกินแต่แบ่งมื้อนมให้ถี่มากขึ้น รวมถึงจับลูกเรอให้ถูกต้องและนานพอค่ะ
คุณแม่อาจจะไม่สบายใจเมื่อพบว่าลูกดูดเต้าไม่นานแล้วหลับ เพราะกลัวว่าลูกจะได้รับนมไม่เพียงพอ แต่ไม่ต้องกังวลไปนะคะ การหลับและตื่นมากินนมบ่อยๆ เป็นธรรมชาติของทารกวัยแรกเกิด การดูดเต้าจะช่วยกระตุ้นให้ฮอร์โมน Cholecystokinin (CCK) หลั่ง ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้มีฤทธิ์ทำให้ทารกรู้สึกง่วงนอน เป็นกลไกที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ขึ้นมา
ทารกแรกเกิดบางรายอาจจะร้องหิวนมทุกชั่วโมง ร้องกินตลอดเวลา แต่เมื่อจับเข้าเต้าไม่นานก็หลับคาเต้า แล้วอีกสักพักก็ตื่นมาร้องกินนมใหม่ หากไม่อยากให้ลูกหลับคาเต้า คุณแม่อาจจะลองสลับเต้าให้นมเมื่อเห็นว่าลูกค่อยๆ ดูดช้าลง หรือลูบหลัง ลูบเท้าทารกเบาๆ มองตาลูก พูดคุยกับลูก เป็นการช่วยกระตุ้นให้ลูกตื่นตัว ไม่ผล็อยหลับไปค่ะ
คุณแม่มือใหม่อาจจะรับมือไม่ถูกเมื่อทารกเดี๋ยวดูด เดี๋ยวร้อง เดี๋ยวดิ้น เดี๋ยวผลักแม่ออก สาเหตุที่พบได้บ่อยที่ทำให้ทารกกินไปบ่นไป มีดังนี้ค่ะ
นมแม่เป็นสารอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย และยังย่อยได้ง่าย จึงเหมาะสำหรับระบบย่อยอาหารของเด็กเล็กที่ยังไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ แต่ในบางครั้ง คุณแม่อาจจะมีความจำเป็นที่ไม่สามารถให้ลูกกินนมแม่ได้ และต้องหาทางเลือกอื่นเพื่อมาทดแทนนมแม่ การเลือกโภชนาการที่ย่อยง่ายจึงเข้ามาเป็นตัวเลือกสำคัญ เพื่อช่วยลดอาการไม่สบายท้องต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับลูกน้อยได้
ระบบบการย่อยอาหารที่ดี และไม่มีอาการไม่สบายท้อง ส่งผลให้เด็กๆ สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างต่อเนื่อง ไม่มีสะดุด ทำให้พัฒนาการด้านต่างๆ โดยเฉพาะพัฒนาการทางสมอง สามารถเติบโตได้เต็มที่ สังเกตได้ว่าเด็กที่ย่อยอาหารได้ดีจะอารมณ์ดี มีพัฒนาการทั้งทางร่างกายและสมองอย่างเต็มที่
Enfa สรุปให้ ทารก 1 สัปดาห์กินนมประมาณ 1.5-3 ออนซ์ โดยควรแบ่งมื้อนมออกเป็น 6-8 มื้อต่อวัน ...
อ่านต่อลูกกินยากหรือกลัวการกิน ผักไม่แตะ ผลไม้ไม่เอา ไปโรงเรียนก็ไม่ยอมกินข้าว ปัญหาเหล่านี้ อาจเป็นเรื่...
อ่านต่อสติปัญญามักจะมาคู่กับความฉลาด พ่อแม่ทุกคนต่างต้องการให้ลูกเป็นเด็กฉลาด และความฉลาดกับพั...
อ่านต่อ