Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
นอกจากจะต้องเลือกขวดนมลูกที่มีคุณภาพดี แข็งแรง ทนทาน ไม่มีสารแปลกปลอมตกค้างในร่างกายแล้ว สิ่งสำคัญต่อจากนั้นที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องให้ความสำคัญไม่แพ้กันก็คือการล้างขวดนมให้สะอาด เพื่อไม่ให้ขวดนมมีสิ่งสกปรกตกค้าง ไม่มีคราบนมสะสม ซึ่งนอกจากจะทำให้ขวดนมไม่สะอาดแล้ว ยังเสี่ยงต่อการสะสมแบคทีเรียและเชื้อโรคที่อาจทำทำให้ลูกไม่สบายอีกด้วย บทความนี้จาก Enfa มีวิธีล้างขวดนมให้สะอาดมาฝากคุณพ่อคุณแม่ค่ะ
การล้างขวดนม คุณพ่อคุณแม่จำเป็นจะต้องเตรียมอุปกรณ์สำหรับความสะอาดให้เรียบร้อย ดังนี้
1.น้ำยาล้างขวดนม
น้ำยาล้างขวดนม คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สำหรับล้างทำความสะอาดขวดนมหรืออุปกรณ์สำหรับเด็กโดยเฉพาะ เนื่องจากมีความอ่อนโยน และมีส่วนประกอบหลักที่ปลอดภัยกับทารก หลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาล้างประเภทอื่น ๆ ที่ไม่เหมาะสำหรับเด็ก เพราะอาจมีสารเคมีที่รุนแรง หรืออาจมีสารเคมีตกค้างกับขวดนม หากสะสมเข้าสู่ร่างกายเป็นเวลานาน ๆ อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของลูกได้ค่ะ
2.แปรงล้างขวดนม
แปรงที่ล้างขวดนม ควรเป็นแปรงที่แยกไว้ต่างหาก และใช้สำหรับการล้างขวดนมเพียงเท่านั้น ไม่ใช้แปรงล้างขวดนมร่วมกันแปรงที่ใช้ขัดล้างจานชามหรืออุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อป้องกันเชื้อโรค แบคทีเรีย หรือสารตกค้างจากภาชนะอื่น ๆ มาเจือปนในแปรงล้างขวดนมลูก
3.เครื่องล้างขวดนม
หากไม่ถนัดล้างขวดนมด้วยการใช้แปรง คุณพ่อคุณแม่อาจนำขวดนมเข้าไปล้างในเครื่องล้างขวดนมแทนก็ได้ค่ะ มากไปกว่านั้น หลังจากใช้แปรงล้างขวดนมขัดถูทำความสะอาดขวดนมเรียบร้อยแล้ว คุณพ่อคุณแม่สามารถนำขวดนมและจุกนมมาล้างอีกครั้งหลังจากล้างด้วยเครื่องล้างขวดนม เพื่อให้แน่ใจว่าสะอาดจริง
4.เครื่องนึ่งขวดนม หรือ เครื่องอบขวดนม
หลังจากล้างขวดนมเสร็จเรียบร้อยแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรทำการอบขวดนม เพื่อทำการฆ่าเชื้อโรคด้วยที่นึ่งขวดนม หรือเครื่องนึ่งขวดนมประมาณ 5-10 นาที อย่างไรก็ตาม การนึ่งขวดนมบ่อย ๆ อาจทำให้จุกนมเสื่อมสภาพได้เร็วขึ้น อย่าลืมตรวจเช็กดูจุกนมบ่อย ๆ ด้วยว่าเริ่มมีการแตก ขาดเป็นรูบ้างหรือเปล่า ถ้าจุกนมเริ่มเสียหายให้เปลี่ยนใหม่ทันทีค่ะ
วิธีล้างขวดนมให้สะอาด ก่อนที่จะนำไปฆ่าเชื้อด้วยเครื่องนึ่งขวดนม คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้
เห็นไหมคะว่า วิธีการล้างขวดนมลูกนั้นไม่ยากเลย! เพียงแค่หมั่นทำความสะอาดขวดนมทุกวัน ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการสะสมเชื้อโรคและแบคทีเรีย ซึ่งอาจเข้าสู่ร่างกายลูกน้อยขณะดื่มนม ทำให้คุณพ่อคุณแม่สามารถมั่นใจได้ว่าลูกจะได้รับการดูแลอย่างปลอดภัยที่สุดค่ะ
การนึ่งขวดนมด้วยความร้อนและไอน้ำโดยใช้เครื่องนึ่งขวดนม มีส่วนช่วยในการฆ่าเชื้อ ป้องกันไม่ให้แบคทีเรียเจริญเติบโตและตกค้างในขวดนมของลูก เพื่อลดความเสี่ยงของการเจ็บป่วยจากการได้รับเชื้อโรคต่าง ๆ
อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญกับการล้างขวดนมให้สะอาดมาก่อนเป็นอันดับแรก เพราะต่อให้นึ่งขวดนมเป็นประจำ แต่ถ้าล้างขวดนมไม่สะอาด ก็อาจทำให้ยังมีสิ่งสกปรกตกค้างอยู่ในขวดนม และอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลูกไม่สบายได้
มากไปกว่านั้น การนึ่งขวดนมยังมีส่วนทำให้จุกนมเสื่อมสภาพเร็วขึ้น ควรเช็กสภาพของจุกนมเป็นประจำ หากเริ่มมีการแตก หรือมีรอยรั่ว ควรเปลี่ยนจุกนมใหม่ทันที
หากคุณพ่อคุณแม่ไม่มีเครื่องนึ่งขวดนม ก็สามารถฆ่าเชื้อด้วยการใช้วิธีต้มขวดนมแทนได้ ดังนี้ค่ะ
ต้มขวดนม ควรต้มด้วยเวลา 5-10 นาที เพื่อให้ความร้อนกระจายตัวไปยังขวดนมและจุกนมอย่างทั่วถึง เสร็จแล้วปิดไฟรอให้เย็นแล้วจึงค่อยนำขวดนมกับจุกนมไปผึ่งให้แห้งค่ะ
หลังจากล้างทำความสะอาดขวดนมและทำการฆ่าเชื้อด้วยการต้มหรือเครื่องนึ่งขวดนมเสร็จแล้ว ก็จะต้องใช้วิธีทำให้ขวดนมแห้ง ซึ่งทำได้ง่ายมาก ๆ เพียงแค่นำผ้าเช็ดจาน กระดาษสำหรับเช็ดมือ หรือที่วางชั้นมาเตรียมไว้ แล้วนำขวดนมกับจุกนมวางลงไป รอผึ่งจนแห้งก็เก็บขวดนมกับจุกนมใส่กล่องให้เรียบร้อยค่ะ
ไม่ควรเช็ดด้วยผ้าขนหนู หรือผ้าเช็ดจานชาม เนื่องจากอาจเสี่ยงทำให้เชื้อโรคและสิ่งสกปรกกระจายมาติดขวดนมได้ เพียงตั้งวางไว้ในที่โล่งจนขวดนมกับจุกนมแห้งก็เพียงพอแล้วค่ะ
การรักษาความสะอาดของขวดนม เป็นสิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรละเลย และใช้เวลาในการทำความสะอาดอย่างเต็มที่ เพื่อลดความเสี่ยงไม่ให้ลูกน้อยได้รับอันตรายจากการติดเชื้อต่าง ๆ
มากไปกว่านั้น ควรดูแลให้ลูกได้รับโภชนาการที่เหมาะสมกับวัยและเพียงพอในทุก ๆ วัน เพื่อให้ลูกเจริญเติบโตตามวัย มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง มีพัฒนาการเรียนรู้ที่โดดเด่นและก้าวหน้าสมวัย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต ทารกควรจะต้องได้กินนมแม่อย่างต่อเนื่อง เพราะในนมแม่มี MFGM หนึ่งเดียวที่มีงานวิจัยรองรับว่า* ช่วยให้มี IQ และ EF ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก ให้ลูกพร้อมกว่าเมื่อถึงวัยเข้าเรียน โดย MFGM ในนมแม่ เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างเส้นใยประสาท (Myelin Sheath) และเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณประสาทเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง
*สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีและศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย. นมแม่กับการพัฒนาทักษะสมองส่วน Executive Function. 2561
Enfa สรุปให้ ทารก 1 สัปดาห์กินนมประมาณ 1.5-3 ออนซ์ โดยควรแบ่งมื้อนมออกเป็น 6-8 มื้อต่อวัน ...
อ่านต่อลูกกินยากหรือกลัวการกิน ผักไม่แตะ ผลไม้ไม่เอา ไปโรงเรียนก็ไม่ยอมกินข้าว ปัญหาเหล่านี้ อาจเป็นเรื่...
อ่านต่อสติปัญญามักจะมาคู่กับความฉลาด พ่อแม่ทุกคนต่างต้องการให้ลูกเป็นเด็กฉลาด และความฉลาดกับพั...
อ่านต่อ