Enfa สรุปให้:
DHA คือ กรดไขมันจำเป็นในตระกูลโอเมก้า 3 เป็นโครงสร้างพื้นฐานของเซลล์สมอง และจอประสาทตา โดยองค์ประกอบหลักในสมองมี DHA 40% และมี DHA ในจอประสาทตาถึง 60% DHA จะเสริมสร้างการเจริญเติบโตของปลายประสาทซึ่งทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณ ส่งผ่านข้อมูลระหว่างเซลล์สมองด้วยกัน
ร่างกายของมนุษย์ไม่สามารถสร้าง DHA เองได้ จะต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น ซึ่ง DHA จะพบมากในนมแม่ ปลาทะเลน้ำลึก และสามารถพบได้ในปลาน้ำจืดบางชนิดที่มีไขมันสูงอย่าง ปลาสวาย ปลาช่อน เป็นต้น
ทารกจะได้รับ DHA ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนสุดท้ายก่อนคลอด ทารกจะสะสม DHA ไว้ในสมองมากเป็นพิเศษ เพราะเป็นช่วงที่พัฒนาการของสมองเติบโตอย่างรวดเร็ว จากนั้นทารกจะได้รับ DHA จากการกินนมแม่หลังคลอดต่อเนื่องไป
DHA คือ กรดไขมันจำเป็นในตระกูลโอเมก้า 3 เป็นโครงสร้างพื้นฐานของเซลล์สมอง และจอประสาทตา โดยองค์ประกอบหลักในสมองมี DHA 40% และมี DHA ในจอประสาทตาถึง 60% DHA จะเสริมสร้างการเจริญเติบโตของปลายประสาทซึ่งทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณ ส่งผ่านข้อมูลระหว่างเซลล์สมองด้วยกัน
ปกติแล้วร่างกายของมนุษย์จะไม่สามารถสร้าง DHA เองได้ ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น DHA มีมากในนมแม่ ในปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาทูน่า ปลาแซลมอน ปลาโอลาย ปลาทู และสาหร่ายทะเลบางชนิด และมีมากในปลาน้ำจืดที่มีไขมันสูง เช่น ปลาสวาย ปลาช่อน
ทารกในครรภ์มีเอ็นไซม์ที่ใช้ในการสังเคราะห์กรดไขมันโอเมก้า 3 ให้เป็น DHA ไม่เพียงพอ นั่นจึงทำให้ทารกในครรภ์ได้รับ DHA ผ่านทางสายสะดือโดยตรง และทารกจะสะสม DHA ไว้ในสมองมากเป็นพิเศษในช่วง 3 เดือนสุดท้ายก่อนคลอด เนื่องจากในช่วงนี้อัตราการเจริญเติบโต และพัฒนาการของสมองจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว จากนั้นทารกจะได้รับ DHA จากการกินนมแม่ช่วงหลังคลอด
จะเห็นว่าเด็กได้รับ DHA ตั้งแต่อยู่ในครรภ์จากอาหารที่แม่ทานเข้าไป ต่อเนื่องจนถึงหลังคลอดที่สารอาหารถูกส่งผ่านจากน้ำนมแม่ องค์กรนานาชาติ FAO/WHO แนะนำให้แม่ตั้งครรภ์ และแม่ให้นมบุตรรับประทาน DHA ในปริมาณ 200 มก./วัน เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของสมองลูก
DHA เป็นสารอาหารบำรุงสมองที่พบในนมแม่ ซึ่ง DHA ในนมแม่ได้มาจากอาหารที่แม่รับประทาน ดังนั้นถ้าแม่ทานอาหารที่มี DHA สูง เช่น ปลาที่มี DHA สูง นม หรืออาหารเสริมที่มี DHA ปริมาณ DHA ในน้ำนมแม่ก็จะสูงด้วย ซึ่งจะส่งผลต่อการสร้างเซลล์สมองนับแสนล้านเซลล์ของลูก
เมื่อ DHA ผ่านเข้าไปในสมองจะช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของปลายประสาทที่เรียกว่า เดนไดรต์ (dendrite) ซึ่งจะทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณและสื่อสารระหว่างเซลล์สมอง ทำให้เกิดความจำและการเรียนรู้ จากผลการวิจัยพบว่าเด็กที่ได้รับ DHA จะมีพัฒนาการของสมองและสายตา ความสามารถในการจำ และการแก้ปัญหาดีกว่าเด็กที่ไม่ได้รับ DHA
ช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ถึง 1 ขวบปีแรก จอประสาทตาจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และ DHA เป็นโครงสร้างสำคัญของจอประสาทตา ซึ่งส่งผลต่อการมองเห็น
มีงานวิจัยทางการแพทย์รองรับว่า DHA และ ARA ในปริมาณ DHA 17 มก. และ ARA 34 มก. /100 กิโลแคลอรี ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณที่องค์กร FAO/WHO แนะนำ ช่วยพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา1 การมองเห็น2 ระดับสติปัญญา3 และทักษะทางภาษา4
Enfa สรุปให้ ทารก 1 สัปดาห์กินนมประมาณ 1.5-3 ออนซ์ โดยควรแบ่งมื้อนมออกเป็น 6-8 มื้อต่อวัน ...
อ่านต่อลูกกินยากหรือกลัวการกิน ผักไม่แตะ ผลไม้ไม่เอา ไปโรงเรียนก็ไม่ยอมกินข้าว ปัญหาเหล่านี้ อาจเป็นเรื่...
อ่านต่อสติปัญญามักจะมาคู่กับความฉลาด พ่อแม่ทุกคนต่างต้องการให้ลูกเป็นเด็กฉลาด และความฉลาดกับพั...
อ่านต่อ