ปัญหาลูกกินแต่นม ขนม ของกินเล่น เป็นปัญหาที่พบบ่อยในเด็กวัยเตาะแตะ จริงๆ แล้ว อาหารหลักของเด็กที่อายุ 1 ขวบขึ้นไป คือข้าว ไม่ใช่นม ดังนั้นหากลูกไม่ยอมกินข้าว กินแต่นม หรือขนม คุณแม่ควร...
ลดนม โดยจำกัดนมไม่ให้เกินวันละ 2-3 แก้ว งดนมมื้อดึกโดยเด็ดขาด
ลดขนม เด็กที่กินขนม ซึ่งส่วนใหญ่มีรสหวาน หลังกินจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ซึ่งจะไปกดศูนย์ควบคุมการหิวในสมอง เป็นเหตุให้เด็กไม่อยากอาหาร ทางที่ดีที่สุดคือ ระหว่างมื้ออาหาร คุณแม่ต้องไม่ให้ลูกกินขนมอีกเลยจนกว่าจะถึงอาหารมื้อใหม่ (อาจทิ้งช่วงได้ประมาณ 1 ชั่วโมงก่อนมื้ออาหาร) ซึ่งต้องใจแข็ง ถ้าเด็กหิวก่อนถึงเวลาของมื้อต่อไปก็อนุญาตให้กินอาหารเดิม คือมื้อที่เด็กปฏิเสธไปโดยอาจนำมาอุ่นให้ แต่ห้ามให้นมหรือขนมแทน ถ้ามื้อนี้กินน้อย มื้อหน้าเด็กจะกินมากขึ้นเอง เพราะมนุษย์เราทุกคนมีศูนย์ควบคุมการหิวอยู่ที่สมอง เมื่อหิวแล้วพบว่าเด็กหลายๆ คนเลือกอาหารน้อยลง เดิมไม่กินผักก็เริ่มกินได้
จัดเมนูที่หลากหลาย...ให้ลูกได้เลือก โดยไม่ต้องคำนึงถึงความชอบหรือไม่ชอบของตัวคุณพ่อคุณแม่ เพราะบางทีอาหารที่เราไม่ชอบ เมื่อลูกได้ลอง เขาอาจจะชอบก็ได้ มีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าเด็กวัยเตาะแตะมักจะกินอาหารใหม่ๆ ได้ง่าย (หลังจากกินอาหารเดิมๆ มาประมาณ 5-6 ครั้งแล้ว)
จัดสัดส่วนของอาหารให้เหมาะ คือไม่มากไปหรือน้อยไป ดูให้ลูกอิ่มในหนึ่งมื้อเมื่อลูกอิ่มก็ไม่ควรบังคับ แต่ควรกำหนดเวลาที่ชัดเจนในการกินอาหารเป็นมื้อๆ ไม่กินตลอดทั้งวัน
ฝึกให้ลูกช่วยเหลือตัวเองในการกิน เด็กวัยเตาะแตะเริ่มจะตักข้าวกินเองได้ โดยคุณแม่อาจยอมให้หกเลอะได้บ้าง ไม่ควรป้อน หรือพยายามบังคับให้ลูกกิน อีกวิธีหนึ่งคือการหาอาหารที่ลูกใช้มือหยิบจับกินเองได้สะดวก เช่น น่องไก่ ข้าวเหนียวปั้น เด็กจะรู้สึกสนุกกับการกินมากขึ้น
ให้กินอาหารพร้อมผู้ใหญ่ จะช่วยกระตุ้นให้ลูกอยากอาหารได้ คุณพ่อคุณแม่หลายคนแปลกใจ กับการที่ลูกกินอาหารได้มากขึ้นเวลากินร่วมโต๊ะอาหารกับพ่อแม่
Enfa สรุปให้ ทารก 1 สัปดาห์กินนมประมาณ 1.5-3 ออนซ์ โดยควรแบ่งมื้อนมออกเป็น 6-8 มื้อต่อวัน ...
อ่านต่อลูกกินยากหรือกลัวการกิน ผักไม่แตะ ผลไม้ไม่เอา ไปโรงเรียนก็ไม่ยอมกินข้าว ปัญหาเหล่านี้ อาจเป็นเรื่...
อ่านต่อสติปัญญามักจะมาคู่กับความฉลาด พ่อแม่ทุกคนต่างต้องการให้ลูกเป็นเด็กฉลาด และความฉลาดกับพั...
อ่านต่อ