ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด (newborn jaundice) เป็นภาวะที่ ส่วนใหญ่มักพบในทารกที่คลอดก่อนกำหนดและทารกที่กินนมแม่ อาการตัวเหลือง ที่เกิดขึ้นในทารกแรกเกิดนั้น เกิดจากเลือดของทารก มีปริมาณสารสีเหลืองที่เรียกว่า บิลิรูบิน (bilirubin หรือ bil-ih-ROO-bin) มากเกินไป ภาวะ ตัวเหลือง หลังคลอด เป็นอีกหนึ่งภาวะที่พบบ่อยในทารกแรกเกิด พบได้มากถึง 50% ของทารกแรกเกิดเลยทีเดียว วันนี้ เอนฟา จึงมีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับภาวะตัวเหลืองในทารกมาฝากกัน เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ได้รู้จักและเข้าใจถึงสาเหตุและอาการของภาวะดังกล่าว ตลอดจนวิธีการดูแลลูกน้อยอย่างเหมาะสม
เด็กตัวเหลือง เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในเด็กแรกเกิด โดยพบได้ถึง 25-50% สำหรับเด็กที่มีอาการ ตัวเหลือง เกิดจากสารที่มีชื่อว่า บิลิรูบิน (Bilirubin) ซึ่งเป็นสารที่มีสีเหลือง โดยทั่วไปแล้วเด็กแรกเกิดจะมีสารบิลิรูบินนี้ อยู่ในร่างกายในปริมาณที่พอเหมาะ แต่ในเด็กที่มีภาวะตัวเหลืองจะมีสารบิลิรูบินมากกว่าปกติ โดยสารชนิดนี้จะอยู่ทั้งในกระแสเลือดและแทรกตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทำให้มองเห็นว่าเด็กตัวเหลืองมากกว่าปกติ
ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดนั้นสามารถเกิดได้จาก 2 สาเหตุ
อาการตัวเหลืองในทารกส่วนใหญ่แล้วมักจะหายได้เอง เมื่อตับเริ่มโตและทำงานได้อย่างเต็มที่ สำหรับทารกที่มีอาการตัวเหลืองอย่างรุนแรงอาจจะต้องใช้การรักษาเข้าช่วย โดยการรักษาอาการเด็กตัวเหลืองนั้น ต้องรักษาตามสาเหตุเป็นหลัก ร่วมกับการลดระดับบิลิรูบินลง การส่องไฟ เป็นวิธีการรักษาทั่วไปที่มีประสิทธิภาพสูง โดยจะฉายแสงสีฟ้าที่ตัวเด็ก เพื่อกำจัดสารบิลิรูบินออกจากร่างกาย ในกรณีที่มีอาการตัวเหลืองอย่างรุนแรงอาจรักษาด้วยการเปลี่ยนถ่ายเลือด สำหรับทารกตัวเหลืองที่เกิดจากการกินนมแม่ ควรให้กินนมแม่ให้มากที่สุด และให้ถ่ายอุจจาระออกบ่อย ๆ เพื่อช่วยขับสารเหลืองออกทางลำไส้ให้เร็ว โดยอาจทำควบคู่ไปกับการฉายแสงรักษาถ้าระดับบิลิรูบินสูง
จริง ๆ แล้วยังไม่มีวิธีการใดที่สามารถป้องกันภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดได้ แต่การเข้ารับการตรวจสุขภาพ ตรวจเลือด เพื่อหาความผิดปกติทางพันธุกรรมก่อนตั้งครรภ์ทั้งคุณพ่อและคุณแม่นั้น หากมีความผิดปกติใด ๆ เกิดขึ้น แพทย์จะให้คำแนะนำในการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัยให้กับคุณแม่ได้ หากคุณแม่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับสุขภาพและการดูแลลูกน้อย สามารถรับคำปรึกษาหรือคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญได้เพียงร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเรา คลิก
สำหรับคุณแม่ที่สนใจเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ของลูกน้อย สามารถเข้าร่วม Enfa Smart Club และรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญได้
Enfa สรุปให้ ทารก 1 สัปดาห์กินนมประมาณ 1.5-3 ออนซ์ โดยควรแบ่งมื้อนมออกเป็น 6-8 มื้อต่อวัน ...
อ่านต่อลูกกินยากหรือกลัวการกิน ผักไม่แตะ ผลไม้ไม่เอา ไปโรงเรียนก็ไม่ยอมกินข้าว ปัญหาเหล่านี้ อาจเป็นเรื่...
อ่านต่อสติปัญญามักจะมาคู่กับความฉลาด พ่อแม่ทุกคนต่างต้องการให้ลูกเป็นเด็กฉลาด และความฉลาดกับพั...
อ่านต่อ