Enfa สรุปให้:
เด็กทารกไม่จำเป็นจะต้องได้รับอาหารเสริมหรือวิตามินเสริมใด ๆ ทั้งสิ้น การกินนมแม่และอาหารตามวัย ถือว่าเหมาะสมและเพียงพอต่อการเจริญเติบโตที่สมวัยแล้ว
เด็กที่อาจจำเป็นจะต้องกินอาหารเสริมหรือวิตามินเสริม คือเด็กกลุ่มที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีความเสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหาร แพทย์จึงรักษาโดยการให้วิตามินและอาหารเสริมเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง
คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรให้อาหารเสริมหรือวิตามินเสริมแก่เด็กโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ เพราะอาหารเสริมที่ไม่ได้การรับรองความปลอดภัย อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของเด็กมากกว่าจะส่งผลดี
เลือกอ่านตามหัวข้อ
โดยทั่วไปแล้วเวลาที่เราพูดถึงเรื่องของอาหารเสริม เราก็มักจะรู้สึกว่านี่คือเรื่องของผู้ใหญ่ที่จำเป็นจะต้องได้รับอาหารเสริมในการดูแลตัวเองเพื่อให้มีสุขภาพดี แต่รู้หรือไม่ว่า ... เด็ก ๆ เอง บางครั้งก็จำเป็นจะต้องได้รับอาหารเสริมด้วยเหมือนกันนะ
แต่เด็กจำเป็นต้องได้รับอาหารเสริมจริงหรือ แล้วอาหารเสริมที่เหมาะสำหรับเด็กมีอะไรบ้าง Enfa รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจมาฝากแล้วค่ะ
อาหารเสริมสำหรับเด็ก หรืออาหารเสริมทารก คือ สารอาหารหรือวิตามินต่าง ๆ ที่ทารกจำเป็นต้องได้รับเพิ่มเติมขึ้นมานอกเหนือไปจากการกินนมแม่ ซึ่งแน่นอนว่าในช่วงที่เด็กยังกินนมแม่อยู่นั้น ทารกยังไม่จำเป็นจะต้องได้รับวิตามินเสริมใด ๆ ค่ะ เพราะนมแม่นั้นมีสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของลูกอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม แม่แต่ละคนมีพื้นฐานสุขภาพที่แตกต่างกัน เด็กที่เกิดมาก็มีแนวโน้มความเสี่ยงต่อสุขภาพที่ต่างกันไปด้วย ดังนั้น เด็กบางคนอาจไม่จำเป็นต้องได้รับสารอาหารเสริมใด ๆ แค่กินนมแม่ทุกวันก็ถือว่าเพียงพอแล้ว
ยกเว้นในเด็กบางคนที่แพทย์วินิจฉัยว่ามีความเสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร หรือเสี่ยงที่จะได้รับสารอาหารบางอย่างน้อยเกินไป กรณีเช่นนี้แพทย์จึงจะเห็นชอบให้เด็กได้กินอาหารเสริมหรือวิตามินเสริม
กลุ่มวิตามินสำหรับเด็กที่แพทย์มักจะแนะนำให้มีการเสริมสำหรับทารกที่มีภาวะขาดแคลนสารอาหาร เพื่อให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน และเพียงพอต่อการเจริญเติบโต ได้แก่
• วิตามินดีสำหรับเด็ก: วิตามินดีจำเป็นต่อการสร้างกระดูกที่แข็งแรง และโดยมากแล้วในน้ำนมแม่มักมีวิตามินดีในปริมาณที่น้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของทารก แพทย์จึงอาจแนะนำให้ทารกที่กินนมแม่ทุกคนได้รับวิตามินดี 400 IU ต่อวันในรูปแบบของอาหารเสริม โดยบางครั้งอาจแนะนำให้เริ่มตั้งแต่ช่วง 2-3 วันหลังคลอด
• ธาตุเหล็กสำหรับเด็ก: ธาตุเหล็ก ทำหน้าที่สำคัญในกระบวนการสร้างเซลล์เม็ดเลือดให้แข็งแรง และดีต่อพัฒนาการสมอง แพทย์อาจแนะนำให้มีการเสริมธาตุเหล็กแก่ทารกเพื่อช่วยป้องกันการขาดธาตุเหล็กและโรคโลหิตจาง โดยเฉพาะในเด็กกลุ่มที่มีแนวโน้มความเสี่ยงต่อการขาดธาตุเหล็กหรือโลหิตจาง
• วิตามินซีสำหรับเด็ก: วิตามินซี มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง และยังทำหน้าที่สำคัญช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีขึ้นอีกด้วย ดังนั้น นี่จึงถือเป็นอีกหนึ่งอาหารเสริมสำคัญที่แพทย์อาจแนะนำให้เสริมวิตามินซีแก่ทารก เพื่อให้ทารกมีร่างกายแข็งแรง และสามารถดูดซึมธาตุเหล็กมาใช้ในกระบวนการสร้างเซลล์เม็ดเลือดได้ดีขึ้นด้วย
• วิตามินเอสำหรับเด็ก: วิตามินเอ จำเป็นต่อการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง และช่วยบำรุงสุขภาพดวงตาของทารก โดยเฉพาะในเด็กทารกหลายคนที่มีความเสี่ยงต่อการขาดวิตามินเอ แพทย์อาจแนะนำให้มีการเสริมวิตามินเอสำหรับเด็ก เพื่อให้เด็กได้รับวิตามินเออย่างเพียงพอ
คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจจะเป็นกังวล และกลัวว่าลูกจะขาดสารอาหาร จึงอยากจะเสริมวิตามินรวมเด็ก หรืออยากให้ลูกกินวิตามินเสริมดีไหม?
จริง ๆ แล้ววิตามินเสริมนี้ ไม่ได้ถือว่าเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับเด็กทุกคนนะคะ เพราะในช่วง 6 เดือนแรกนั้น เด็กที่กินนมแม่มักจะได้รับสารอาหารที่เพียงพออยู่แล้วค่ะ
เว้นเสียแต่ว่า คุณแม่มีภาวะขาดสารอาหารมาตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ หรือแพทย์วินิจฉัยว่าทารกที่คลอดออกมามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคขาดสารอาหารของทารก ในเด็กที่คลอดจากแม่ซึ่งมีปัญหาสุขภาพเหล่านี้ จึงอาจจำเป็นจะต้องมีการเสริมวิตามินและให้อาหารเสริมต่าง ๆ ที่จำเป็น
ส่วนเด็กคนอื่น ๆ ที่แม่ไม่ได้มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวข้องกับการขาดสารอาหาร หรือไม่ได้มีความเสี่ยงใด ๆ ต่อการขาดสารอาหาร แค่ให้นมแม่อย่างเดียวก็ถือว่าเพียงพอที่จะช่วยให้ลูกน้อยแข็งแรงแล้วค่ะ
ดังนั้น เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงและการเติบโตที่สมวัยของลูก ก่อนจะให้อาหารเสริมใด ๆ แก่ลูกน้อย ควรได้รับคำแนะนำหรือคำวินิจฉัยจากแพทย์เสียก่อนนะคะ
อาหารเสริมของเด็ก ไม่มีช่วงระยะเวลาที่ตายตัวค่ะ ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์เป็นสำคัญ โดยเด็กบางคนอาจถูกวินิจฉัยว่าเสี่ยงต่อการขาดสารอาหารตั้งแต่ช่วง 6 เดือนแรก แพทย์ก็อาจจะแนะนำให้มีการเสริมสารอาหารที่จำเป็นตั้งแต่ในช่วง 6 เดือนแรก เป็นต้น
ก่อนที่คุณพ่อคุณแม่จะซื้อวิตามินรวมของเด็ก ควรใส่ใจกับคำแนะนำในการเลือกซื้อวิตามินเสริม ดังนี้
• เลือกซื้อวิตามินเมื่อแพทย์วินิจฉัยเห็นชอบให้มีการเสริมวิตามินสำหรับเด็กเท่านั้น ไม่ควรซื้อวิตามินเสริมมาให้ลูกกินเองโดยพลการ
• เลือกซื้อวิตามินตามที่แพทย์แนะนำ หรือได้รับมาตรฐานทางการแพทย์
• เลือกซื้อวิตามินที่ได้รับมาตรฐานความปลอดภัย หรือมีอย.กำกับเอาไว้อย่างถูกต้อง
• เลือกซื้อวิตามินที่มีฉลากและคำแนะนำในการใช้งานอย่างชัดเจน
• ตรวจดูข้อมูลวันที่ผลิตและวันหมดอายุบนฉลากอย่างละเอียดและถี่ถ้วนทุกครั้ง
อาหารเสริมบางอย่าง ได้รับมากเกินไปก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ เช่น วิตามินซี บางยี่ห้ออาจมีการเพิ่มปริมาณน้ำตาลเพื่อให้เด็กสามารถกินได้ง่ายขึ้น กรณีนี้หากได้รับเข้าไปมาก ๆ ก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพฟัน หรือเพิ่มความเสี่ยงต่อน้ำหนักตัวของเด็กได้ค่ะ
ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของลูกน้อย คุณพ่อคุณแม่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงข้อแนะนำเหล่านี้
หากลูกเป็นหวัดบ่อย ๆ ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาทางการแพทย์เสียก่อน ส่วนแพทย์จะแนะนำให้เสริมวิตามินชนิดใด จึงค่อยเลือกวิตามินเสริมชนิดนั้นให้แก่ลูก
ไม่ควรซื้อวิตามินมาให้ลูกกินเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์นะคะ อย่างไรก็ตาม โดยมากแล้วแพทย์มักจะมีการแนะนำให้เสริมวิตามินซีสำหรับเด็กที่เป็นหวัดบ่อย ๆ ค่ะ
สารอาหารจำพวกดีเอชเอ โอเมก้า 3 และวิตามินบี 12 ถือเป็นกลุ่มสารอาหารที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาและเสริมสร้างการทำงานของระบบประสาทและสมองของเด็ก ซึ่งเด็กจะได้รับสารอาหารเหล่านี้จากอาหารที่กินอยู่ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว โดยไม่จำเป็นจะต้องกินอาหารเสริมค่ะ
หากลูกไม่ค่อยกินข้าว เบื่ออาหารบ่อย ๆ กรณีเช่นนี้ให้รีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเสียก่อนค่ะ แล้วแพทย์จะมีการแนะนำแนวทางการดูแลลูกที่ถูกต้อง ไม่ควรซื้อยาหรืออาหารเสริมใด ๆ มาให้ลูกกินเองด้วยความเชื่อผิด ๆ โดยไม่ปรึกษากับแพทย์นะคะ
เด็กที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ อาจมีแนวโน้มความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในระบบทางเดินอาหาร การขาดสารอาหาร หรือมีปัญหาที่ระบบหัวใจและหลอดเลือด
หากพบว่าลูกน้อยมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ให้คุณพ่อคุณแม่พาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุและรับการรักษาทางการแพทย์ต่อไป ไม่ควรซื้อยาหรืออาหารเสริมใด ๆ มาให้ลูกกินเองด้วยความเชื่อผิด ๆ โดยไม่ปรึกษากับแพทย์นะคะ
เด็กที่มีปัญหาเรื่องสมาธิสั้น คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตให้ไวว่าลูกกำลังมีแนวโน้มที่จะสมาธิสั้นหรือเปล่า และก่อนที่จะซื้อยาหรืออาหารเสริมใด ๆ มาให้ลูกกินด้วยความเชื่อแบบผิด ๆ ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเสียก่อน
เพราะปัญหาเด็กสมาธิสั้นนั้น คุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจในหลายเรื่อง เพื่อส่งเสริมและปรับปรุงพฤติกรรมของเด็ก ส่วนกรณีที่เด็กมีอาการสมาธิสั้นขั้นรุนแรง แพทย์จึงจะมีการพิจารณาสั่งจ่ายยาเพื่อช่วยให้เด็กมีอาการสงบและสามารถควบคุมตนเองได้ดีขึ้น
Enfa สรุปให้ ทารก 1 สัปดาห์กินนมประมาณ 1.5-3 ออนซ์ โดยควรแบ่งมื้อนมออกเป็น 6-8 มื้อต่อวัน ...
อ่านต่อลูกกินยากหรือกลัวการกิน ผักไม่แตะ ผลไม้ไม่เอา ไปโรงเรียนก็ไม่ยอมกินข้าว ปัญหาเหล่านี้ อาจเป็นเรื่...
อ่านต่อสติปัญญามักจะมาคู่กับความฉลาด พ่อแม่ทุกคนต่างต้องการให้ลูกเป็นเด็กฉลาด และความฉลาดกับพั...
อ่านต่อ